หลักการใช้คำราชาศัพท์
การใช้คำราชาศัพท์ในการกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์หรือกราบทูลพระราชวงศ์นั้น
มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
๑. นามราชาศัพท์
๑.๑ พระบรมราชและพระบรม ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์นำหน้าคำที่สำคัญยิ่งในกรณีที่ต้องการเชิดชูเกียรติยศพระราชอำนาจและ พระราชกฤษฎาภินิหาร เช่น พระบรมราชโองการ พระบรมมหาราชวัง (มีแห่งเดียว) พระบรมราโชวาท พระบรมราชูปถัมภ์ พระบรมโพธิสมภาร (บุญบารมี) พระบรมฉายาลักษณ์ พระบรมรูป พระบรมราชินี
ข้อสังเกต
“พระบรม” ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์เท่านั้น เมื่อใช้กับสมเด็จพระบรมราชินี ให้ตัดคำว่า “บรม” ออก เช่น พระนามาภิไธย พระราชานุเคราะห์ พระราโชวาท เป็นต้น
๑.๒ พระราช นำหน้าคำที่ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์และเจ้านายที่ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรม เช่น สมเด็จพระบรมโอรสธิราช สมเด็จพระบรมราชกุมารี ได้แก่ พระราชวัง พระราชทรัพย์ พระราชนิพนธ์ ฯลฯ ส่วนเจ้านายอื่น ๆ ใช้คำว่า “พระ” นำหน้าเท่านั้น เช่น พระนิพนธ์ พระกุศล ฯลฯ
๑.๓ พระมหา ใช้เหมือน “พระราช” เช่น พระมหากรุณาธิคุณ พระมหาเศวตรฉัตร พระมหามงกุฎ
๑.๔ พระ เป็นคำใช้นำหน้าคำนามราชาศัพท์ที่เกี่ยวกับของใช้ อวัยวะ บุคคลที่เกี่ยวข้อง และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับร่างกาย ชีวิต เช่น พระแสง พระที่นั่ง พระหัตถ์ พระนาสิก พระวรกาย พระพี่เลี้ยง พระสหาย พระชาตา พระบังคนหนัก พระเคราะห์ เป็นต้น
ข้อสังเกต
๑. คำประสมที่เป็นคำราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่ต้องใช้ “พระ” นำหน้าอีก เช่น ฉลองพระเนตร ม้าพระที่นั่ง ธารพระกร บั้นพระองค์ เครื่องพระสำอาง เป็นต้น
๒. เจ้านายชั้นหม่อมเจ้า ใช้ราชาศัพท์เฉย ๆ ไม่ต้องมี “พระ” นำหน้า เช่น หัตถ์ กร ยกเว้นคำเฉพาะบางคำ เช่น ขอบพระทัย
๑.๕ ราช ใช้นำหน้าคำสามัญเพื่อบอกให้ทราบว่าเป็นของพระมหากษัตริย์ เช่น ราชรถ ราชพัสดุ ราชสมบัติ ราชยาน ราชทัณฑ์ เป็นต้น
๑.๖ ต้นหรือหลวง ใช้ประกอบท้ายคำที่เป็นคำไทยสามัญทั่วไป ทั้งคน สัตว์สิ่งของ เช่น ช้างต้น ม้าต้น เรือหลวง รถหลวง เป็นต้น
คำราชาศัพท์หมวดร่างกาย
ผม = พระเกศา ไหปลาร้า = พระรากขวัญ
จุก = พระโมฬี นม = พระถัน, พระเต้า
หน้าผาก = พระนลาฎ ท้อง = พระอุทร
ฟัน = พระทนต์ เอว = บั้นพระองค์, พระกฤษฎี
ลิ้น = พระชิวหา หลัง = พระขนอง
นิ้วมือ = พระองคุลี บ่า = พระอังสะ
นิ้วชี้ = พระดรรชนี ขนระหว่างคิ้ว = พระอุณาโลม
เงา = พระฉายา จอนหู = พระกรรเจียก
ผิวหน้า = พระราศี จมูก = พระนาสิก
ปอด = พระปับผาสะ ปาก = พระโอษฐ์
คาง = พระหนุ อก = พระอุระ, พระทรวง
หู = พระกรรณ รักแร้ = พระกัจฉะ
ดวงหน้า = พระพักตร์ สะดือ = พระนาภี
อุจจาระ = พระบังคนหนัก น้ำตา = น้ำพระเนตร,
ต้นขา = พระอุรุ พระอัสสุชล
หัวเข่า = พระชานุ ต้นแขน = พระพาหุ
แข้ง = พระชงฆ์ ข้อมือ = ข้อพระหัตถ์
ผิวหนัง = พระฉวี ข้อเท้า = ข้อพระบาท
คิ้ว = พระขนง ปัสสาวะ = พระบังคนเบา
ลิ้นไก่ = มูลพระชิวหา ไรฟัน = ไรพระทนต์
นิ้วก้อย = พระกนิษฐา คอ = พระศอ
เนื้อ = พระมังสา ขน = พระโลมา
เถ้ากระดูก = พระอังคาร น้ำลาย = พระเขฬะ
ตะโพก = พระโสณี เหงื่อ = พระเสโท
----------
คำราชาศัพท์ หมวดร่างกาย PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย ภาษาสยาม
วันอังคารที่ 09 กันยายน 2008 เวลา 13:39 น.
ราชาศัพท์ ความหมาย
พระเจ้า หัว ศีรษะ ( พระมหากษัตริย์ )
พระเศียร หัว ศีรษะ
พระสิรัฐิ ( สิ - รัด - ถิ ) พระสีสกฏาหะ กะโหลกศีรษะ
เส้นพระเจ้า เส้นผมของพระมหากษัตริย์
พระเกศา พระเกศ พระศก เส้นผม
ไรพระเกศ ไรพระเกศา ไรพระศก ไรผม
ขมวดพระศก ขมวดพระเกศา ขมวดผมที่เป็นก้นหอย
พระโมลี พระเมาลี จุก หรือ มวยผม
พระจุไร ไรจุก ไรผม
พระจุฑามาศ มวยผม ท้ายทอย
พระเวณิ เปียผม ช้องผม
พระนลาฏ หน้าผาก
พระขนง พระภมู คิ้ว
พระอุนาโลม ขนหว่างคิ้ว
พระเนตร พระนัยนะ พระจักษุ ดวงตา
พระเนตรดำ ดวงพระเนตรดำ ตาดำ
ดวงเนตรขาว ดวงพระเนตรขาว ตาขาว
พระกนีนิกา พระเนตรดารา แก้วตา
หนังพระเนตร หลังพระเนตร หนังตา หลังตา
พระโลมจักษะ ขนพระเนตร ขนตา
ม่านพระเนตร ม่านตา
ต่อมพระเนตร ต่อมน้ำตา
พระอัสสุธารา พระอัสสุชล น้ำพระเนตร น้ำตา
พระนาสิก พระนาสา จมูก
สันพระนาสิก สันพระนาสา สันจมูก
ช่องพระนาสิก ช่องจมูก
พระโลมนาสิก ขนพระนาสิก ขนจมูก
พระปราง แก้ม
พระกำโบล กระพุ้งพระปราง กระพุ้งแก้ม
พระมัสสุ หนวด
พระทาฐิกะ พระทาฒิกะ เครา
พระโอษฐ์ ปาก ริมฝีปาก
พระตาลุ เพดานพระโอษฐ์ เพดานปาก
พระทนต์ ฟัน
พระทันตมังสะ พระทันตมังสา เหงือก
ไรพระทนต์ ไรฟัน
พระทาฐะ พระทาฒะ เขี้ยว
พระกราม ฟันกราม
พระชิวหา ลิ้น
ต้นพระชิวหา มูลพระชิวหา โคนลิ้น ลิ้นไก่
พระหนุ ( หะ - นุ ) คาง
ต้นพระหนุ ขากรรไกร
พระกรรณ หู ใบหู
ช่องพระโสต ช่องพระกรรณ ช่องหู
พระพักตร์ ดวงหน้า
พระศอ คอ
พระกัณฐมณี ลูกกระเดือก
ลำพระศอ ลำคอ
พระชัตตุ คอต่อ
พระรากขวัญ ไหปลาร้า
พระอังสา บ่า
พระอังสกุฏ จะงอยบ่า
พระพาหา พระพาหุ บ่า
พระกร ศอกถึงข้อมือ
พระกัประ พระกะโประ ข้อศอก
พระกัจฉะ รักแร้
พระกัจฉโลมะ ขนรักแร้
พระหัตถ์ มือ
ข้อพระกร ข้อพระหัตถ์ ข้อมือ
ฝ่าพระหัตถ์ ฝ่ามือ
หลังพระหัตถ์ หลังมือ
พระองคุลี นิ้วพระหัตถ์ นิ้วมือ
พระอังคุฐ นิ้วหัวแม่มือ
พระดัชนี นิ้วชี้
พระมัชฌิมา นิ้วกลาง
พระอนามิกา นิ้วนาง
พระกนิษฐา นิ้วก้อย
ข้อนิ้วพระหัตถ์ พระองคุลีบัพ ข้อนิ้วมือ
พระมุฐิ กำพระหัตถ์ กำปั้น กำมือ
พระนขา พระกรชะ เล็บ
พระอุระ พระทรวง อก
พระหทัย พระกมล หัวใจ
พระถัน พระเต้า พระปโยธร เต้านม
ยอดพระถัน พระจูจุกะ หัวนม
พระครรโภทร พระคัพโภทร มีครรภ์ มีท้อง
พระอุทร ท้อง
พระนาภี สะดือ ท้อง
พระสกุล พระครรภมล รก สิ่งที่ติดมากับสายสะดือเด็กในครรภ์
สายพระสกุล สายรก
กล่องพระสกุล มดลูก
พระกฤษฎี บั้นพระองค์ พระกฏิ สะเอว เอว
พระปรัศว์ สีข้าง
พระผาสุกะ ซี่โครง
พระปฤษฏางค์ พระขนอง หลัง
พระโสณี ตะโพก
พระที่นั่ง ก้น
พระวัตถิ กระเพาะปัสสาวะ
พระคุยหฐาน พระคุยหประเทศ องค์ที่ลับชาย
พระโยนี องค์ที่ลับหญิง
พระอัณฑะ ลูกอัณฑะ
พระอูรุ ต้นขา
พระเพลา ขาตัก
พระชานุ เข่า
พระชงฆ์ แข้ง
หลังพระชงฆ์ น่อง
พระโคปผกะ ตาตุ่ม
นิ้วพระบาท นิ้วเท้า
พระบาท เท้า
ข้อพระบาท ข้อเท้า
หลังพระบาท หลังเท้า
ฝ่าพระบาท ฝ่าเท้า
พระปัณหิ พระปราษณี ส้นพระบาท ส้นเท้า
พระฉวี ผิวหนัง
พระฉายา เงา
พระโลมา ขน
ผิวพระพักตร์ พระราศี ผิวหน้า
พระมังสา เนื้อ
กล้ามพระมังสา กล้ามเนื้อ
พระอสา สิว
พระปีฬกะ ไฝ ขี้แมลงวัน
พระปัปผาสะ ปอด
พระยกนะ ( ยะ - กะ- นะ ) ไต
พระปิหกะ ม้าม
พระอันตะ ไส้ใหญ่
พระอันตคุณ ไส้น้อย ไส้ทบ
พระกุญชะ ไส้พุง
พระนหารู เส้น เอ็น
เส้นพระโลหิต หลอดพระโลหิต เส้นเลือด หลอดเลือด
หลอกพระวาโย หลอดลม
พระกิโลมกะ พังผืด
พระองคาพยพ ส่วนต่างๆของร่างกาย
พระมัตถลุงค์ มันในสมอง
พระธมนี เส้นประสาท
พระลสิกา น้ำในไขข้อ
พระปิตตะ ดี
พระเขฬะ น้ำลาย
พระเสมหะ เสลด
มูลพระนาสิก น้ำมูก
มูลพระนขา ขี้เล็บ
พระเสโท เหงื่อ
พระเมโท ไคล
พระบุพโพ น้ำหนอง น้ำเหลือง
พระอุหลบ พระบุษปะ เลือดประจำเดือน
พระอัฐิ กระดูก
พระอังคาร พระสรรางคาร เถ้ากระดูก
พระอังสัฐิ กระดูกไหล่
พระหนุฐิ กระดูกคาง
พระคีวัฐิ กระดูกคอ
พระพาหัฐิ กระดูกแขน
พระอุรัฐิ กระดูกหน้าอก
พระผาสุกัฐิ กระดูกซี่โครง
พระปิฐิกัณฐกัฐิ กระดูกสันหลัง
พระกฏิฐิ กระดูกสะเอว
พระอูรัฐิ กระดูกขา
พระชังฆัฐิ กระดูกแข้ง
พระปาทัฐิ กระดูกเท้า
พระหัตถัฐิ กระดูกมือ
พระยอด ฝี หัวฝี
พระบังคนหนัก อุจจาระ
พระบังคนเบา ปัสสาวะ
พระปัสสาสะ ลมหายใจเข้า
พระอัสสาสะ ลมหายใจออก
พระชีพจร ชีพจร
อุณหภูมิพระวรกาย อุณหภูมิร่างกาย
พระวาโย ลม
ที่มา จากหนังสือคำราชาศัพท์ ของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ๒๕๓๙