การเปลี่ยนคำสามัญเป็นคำราชาศัพท์
1. เปลี่ยนรากศัพท์ เช่น รับประทาน เป็น เสวย
2. เติมคำหน้านามหรือหลังนาม เช่น วังเป็นพระราชวัง รถ เป็น รถพระที่นั่ง
3. เติมคำว่า ทรง เช่น ทรงงาน ทรงทราบ ทรงเห็น ทรงพระอักษร
คำศัพท์ที่ใช้กับภิกษุ
- ส่งของให้พระ ใช้ว่า ประเคน
- อาหาร ใช้ว่า ภัตตาหาร
- จดหมาย ใช้ว่า ลิขิต
- กิน ใช้ว่า ฉัน
- นอน ใช้ว่า จำวัด
- อาบน้ำ ใช้ว่า สรงน้ำ
- สวดมนต์ ใช้ว่า เจริญพระพุทธมนต์
- เงิน ใช้ว่า ปัจจัย
- ที่อยู่ ใช้ว่า กุฏิ
- ที่นั่ง ใช้ว่า อาสนะ
- ป่วย ใช้ว่า อาพาธ
- ตาย ใช้ว่า มรณภาพ
การใช้คำราชาศัพท์
เป็นคำที่ใช้เหมาะสมกับระดับชั้นของบุคคล เช่น พระมหากษัตริย์ และพระราชวงศ์ รวมถึง กลุ่มคำที่ใช้กับพระภิกษุ
คำนามราชาศัพท์
- พระราชบิดา, พระชนก หมายถึง พ่อ
- พระราชมารดา, พระชนนี หมายถึง แม่
- พระเชษฐา หมายถึง พี่ชาย
- พระเชษฐภคินี หมายถึง พี่สาว
- พระราชธิดา หมายถึง ลูกสาว
- พระราชนัดดา, พระนัดดา หมายถึง หลาน
- พระเนตร, พระจักษุ หมายถึง ตา
- พระนาสา, พระนาสิก หมายถึง จมูก
- พระโอษฐ์ หมายถึง ปาก
- พระขนง หมายถึง คิ้ว
- พระเศียร หมายถึง ศีรษะ
- พระเกศา หมายถึง ผม
- พระพักตร์ หมายถึง ใบหน้า
- พระปราง หมายถึง แก้ม
- พระพาหา หมายถึง แขน
- พระหัตถ์ หมายถึง มือ
- พระบาท หมายถึง เท้า
- ฉลองพระองค์ หมายถึง เสื้อ
คำสรรพนามราชาศัพท์
- ข้าพระพุทธเจ้า หมายถึง คำแทนตัวเองเมื่อพูดกับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศ์ชั้นสูง
- ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท หมายถึง คำแทนพระมหากษัตริย์และพระราชินี
- ใต้ฝ่าละอองพระบาท หมายถึง คำแทนองค์พระราชินีสยามกุฎราชกุมาร สยามกุฎราชกุมารี
- พระองค์ หมายถึง ใช้เมื่อกล่าวถึงพระมหากษัตริย์ และพระบรมราชวงศ์
- พระพุทธเจ้า หมายถึง คำที่ใช้ขานรับเมื่อพูดกับพระมหากษัตริย์
คำกริยาราชาศัพท์
- ประสูติ หมายถึง คลอด
- ทอดพระเนตร หมายถึง มอง
- ประชวร หมายถึง เจ็บป่วย
- สวรรคต หมายถึง ตาย
- เสวย หมายถึง กิน
- ประทับ หมายถึง นั่ง
- พระราชทาน หมายถึง ให้
- ตรัส หมายถึง พูด
- สรงน้ำ หมายถึง อาบน้ำ
- กริ้ว หมายถึง โกรธ
- โปรด หมายถึง รัก ชอบ
พระภิกษุที่เป็นพระราชวงศ์ ใช้ราชาศัพท์ตามลำดับชั้นแห่งพระราชวงศ์ สำหรับสมเด็จพระสังฆราชเจ้า(ที่เป็นพระราชวงศ์) ใช้ดังนี้
คำขึ้นต้น ใช้ว่า ขอประทานกราบทูล (กล่าวพระนามเต็ม)
สรรพนามแทนผู้พูด ใช้ว่า ข้าพระพุทธเจ้า
สรรพนามแทนพระองค์ท่าน ใช้ว่า ใต้ฝ่าพระบาท
คำลงท้าย ใช้ว่า ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
สมเด็จพระสังฆราช ซึ่งดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายก ใช้ราชาศัพท์เสมอพระเจ้าวรวงศ์เธอ (ที่มิได้ทรงกรม) เช่น
คำขึ้นต้น ใช้ว่า กราบทูล (กล่าวพระนามเต็ม)
สรรพนามแทนผู้พูด ใช้ว่า เกล้ากระหม่อม (สำหรับชาย), เกล้ากระหม่อมฉัน(สำหรับหญิง)
สรรพนามแทนพระองค์ท่าน ใช้ว่า ฝ่าพระบาท
คำลงท้าย ใช้ว่า ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
สรรพนามบุรุษที่ 1 ที่พระภิกษุใช้
คำที่ใช้ โอกาสที่ใช้
อาตมา พระภิกษุใช้กับบุคคลธรรมดาที่เป็นผู้ใหญ่หรือมีฐานะตำแหน่งสูงในโอกาสที่ไม่เป็นทางการ
อาตมาภาพ พระภิกษุใช้กับพระราชวงศ์ตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไป และใช้ในโอกาสที่เป็นทางการ เช่น การแสดงพระธรรมเทศนา
เกล้ากระผม พระภิกษุใช้กับพระภิกษุที่เป็นอุปัชฌาย์อาจารย์หรือที่ดำรงสมณศักดิ์สูงกว่า
ผม,กระผม พระภิกษุใช้กับพระภิกษุด้วยกันโดยทั่ว ๆ ไป
สรรพนามบุรุษที่ 2 ที่พระภิกษุใช้
คำที่ใช้ โอกาสที่ใช้
มหาบพิตร พระเจ้าแผ่นดิน
บพิตร พระราชวงค์
คุณโยม บิดา, มารดา, ญาติผู้ใหญ่หรือผู้ที่อาวุโสสูง
คุณ,เธอ ใช้กับบุคคลทั่วไป
สรรพนามบุรุษที่ 2 ที่ฆราวาสใช้
คำที่ใช้ โอกาสที่ใช้
พระคุณเจ้า ฆราวาสใช้กับสมเด็จพระราชาคณะ, รองสมเด็จพระราชาคณะ
พระคุณท่าน ฆราวาสใช้กับพระราชาคณะชั้นรองลงมา
ท่าน ใช้กับพระภิกษุทั่วไป
คำขานรับที่พระภิกษุใช้
คำที่ใช้ โอกาสที่ใช้
ขอถวายพระพร พระราชวงค์
เจริญพร ฆราวาสทั่วไป
ครับ,ขอรับ ใช้กับพระภิกษุด้วยกัน
ศัพท์สำหรับพระภิกษุที่พบบ่อย
รูป = ลักษณะนามสำหรับพระภิกษุสงฆ์ อาราธนา = ขอเชิญ
เจริญพระพุทธมนต์ = สวดมนต์ ภัตตาหาร = อาหาร
ประเคน = ยกของ(ด้วยมือ)ให้พระ ฉัน = กิน
ถวาย = มอบให้ เครื่องไทยธรรม ของถวายพระ, ของทำบุญต่าง ๆ อนุโมทนา = ยินดีด้วย
อาสนะ, อาสน์สงฆ์ = ที่นั่ง ธรรมาสน์ = ที่แสดงธรรม
เสนาสนะ = สถานที่ที่ภิกษุใช้ จำวัด = นอน
สรง = อาบน้ำ มรณภาพ = ตาย
ปลงผม = โกนผม กุฏิ = เรือนพักในวัด
จำพรรษา = อยู่ประจำวัด อุปสมบท = บวช (บวชเป็นพระภิกษุ)
บรรพชา = บวช (บวชเป็นสามเณร) ลาสิกขา = สึก
คิลานเภสัช = ยารักษาโรค ลิขิต = จดหมาย
ครองผ้า = แต่งตัว ถวายอดิเรก = กล่าวบทอวยพรพระมหากษัตริย์
บิณฑบาต = รับของใส่บาตร ปลงอาบัติ = แจ้งความผิดให้ทราบ
ปัจจัย = เงิน ทำวัตร = สวดมนต์
เผดียงสงฆ์ = แจ้งให้สงฆ์ทราบ สุผ้า = ซักผ้า, ย้อมผ้า
อาพาธ = ป่วย
คําราชาศัพท์ที่ใช้กับพระสงฆ์
คำที่ใช้กับพระสงฆ์
คำสามัญ | ราชาศัพท์ |
คำพูดแทนตัวเอง | อาตมา |
พระสงฆ์ใช้เรียกพระเจ้าแผ่นดิน | มหาบพิตร |
คนทั่วไป | โยม |
ให้, มอบให้ | ถวาย |
ยื่นให้ระยะห่างหัตถบาส (ระยะระหว่างพระสงฆ์ที่นั่งทําสังฆกรรมหรือระหว่างพระภิกษุ สามเณร กับคฤหัสถ์ผู้ถวายของ ห่างกันไม่เกินศอกหนึ่ง) (หรือยื่นของให้พระ ของนั้นสามารถเข้าปากแล้วกลืนได้) | ประเคน |
อาหารเช้า | จังหัน |
กิน | ฉัน |
ขอเชิญพระ (เดิน, นั่ง, เขียนหนังสือ) | นิมนต์ |
ขอเชิญพระแสดงธรรม | กราบอาราธนาธรรม |
ไหว้ | นมัสการ |
ห่มจีวร | ครองจีวร |
ผ้าห่ม | ผ้าจีวร |
ผ้าพาดบ่า | สังฆาฏิ |
ผ้านุ่ง | สบง |
อาบน้ำ | สรงน้ำ |
โกนผม | ปลงผม |
นอน | จำวัด |
สวดมนต์ | ทำวัตร |
เงิน | ปัจจัย |
บวชเณร | บรรพชา |
บวชพระ | อุปสมบท |
ป่วย | อาพาธ |
ตาย | มรณภาพ |