คําราชาศัพท์ในข่าวพระราชสํานัก คําราชาศัพท์หมวดราชวงศ์


16,278 ผู้ชม


คำราชาศัพท์ที่ใช้มากที่สุดในชีวิตประจำวัน — Presentation Transcript
    1. คำราชาศัพท์ที่ใช้มากที่สุดในชีวิตประจำวัน โครงงาน ก ก ก ร ร พ พ ท ท ส ส ธ ธ อ อ
    2. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน การเรียนภาษาไทยมีบทเรียนที่น่าสนใจมาก โดยเฉพาะบทเรียน เรื่อง คำราชาศัพท์ ซึ่งทางคณะผู้จัดทำมีความคิดเห็นว่า คำราชาศัพท์ เป็นเรื่องที่ยุ่งยากสำหรับผู้ที่ศึกษาแล้วไม่ได้นำไปใช้ ดังนั้น ทางผู้จัดทำ จึงได้จัดทำโครงงานภาษาไทยเรื่องคำราชาศัพท์ขึ้นเพื่อทำให้ผู้ที่ศึกษาเกิดความรู้ ความเข้าใจ ในคำราชาศัพท์มากขึ้น ทั้งยังได้รับความรู้เพิ่มเติมในด้านต่างๆเกี่ยวกับคำราชาศัพท์ที่ใช้มากที่สุดในชีวิตประจำวันคือหมวดใดบ้าง และมีบทบาทต่อการดำรงคงชีวิติของ เราอย่างไรบ้าง
    3. วัตถุประสงค์ ๑ . เพื่อให้ความรู้ในเรื่องคำราชาศัพท์ เพื่อนำคำราชาศัพท์ไปใช้ให้เหมาะสมกับ แต่ละโอกาส เพื่อทำให้ผู้ศึกษามีความกระตือรือร้นในการเรียน มากยิ่งขึ้น ๔ . เพื่อทำให้ผู้ศึกษามีความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ๕ . เพื่อสำรวจความพึงพอใจของผลงานในการทำโครงงาน
    4. 1. คำราชาศัพท์ที่มักพบเห็น ในข่าวเป็นประจำ ในชีวิติประจำวันของเราได้มีการพบปะผู้คนอยู่เสมอๆ เรา สามารถนำคำราชาศัพท์มาใช้ได้ในรูปแบบต่างๆและปัจจุบันมักพบในโทรทัศน์ตามข่าวในพระราชสำนักจะมีการใช้คำราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์ และโอกาสที่ใช้จะแตกต่างกันไปตามกาลเทศะ และความเหมะสมนั่นเอง ค่ะ .. ส่วนคำราชาศัพท์ที่ใกล้ตัวเรา ตัวอย่างเช่น คำราชาศัพท์ที่มักพบในบทเรียน คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระสงฆ์ และ ราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์ ได้แก่ หมวดร่างกาย หมวดกิริยาแสดงอาการ คำราชาศัพท์ที่ใช้ตามพระอิสริยศักดิ์ ราชาศัพท์ที่ใช้เรียกเครือญาติ คำที่ใช้เรียกเครื่องใช้ทั่วไป   หรือภาชนะใช้สอย 
    5. ราชาศัพท์สำหรับพระภิกษุสงฆ์ รูป อาราธนา ภัตตาหาร ประเคนฉัน ฉัน      ถวาย     ไทยธรรม อนุโมทนา      อาสนะ      อาสนสงฆ์      ธรรมาสน์      เสนาสนะ จำวัด         สรง     ลักษณะนามสำหรับพระภิกษุสงฆ์ ความหมายเท่ากับคำว่าองค์ ขอเชิญ อาหาร ยกของ ( ด้วยสองมือ ) ให้พระ กิน มอบให้ ของถวายพระ ยินดีด้วย ที่นั่ง ที่นั่ง ที่แสดงธรรม สถานที่ที่ภิกษุใช้ นอน อาบน้ำ คำ / ศัพท์ คำแปล / ความหมาย
    6. มรณภาพ ปลงผม กุฏิ จำพรรษา อุปสมบท บรรพชา ลาสิขา คิลานเภสัช ลิขิต ถาน อังสะ จีวร จังหัน      ปัจจัย คำ / ศัพท์ คำแปล / ความหมาย ตาย โกนผม เรือนพักในวัด อยู่ประจำวัด บวช ( เป็นพระ ) บวช ( เป็นสามเณร ) ลาบวช ยารักษาโรค จดหมาย ส้วม ผ้าพาดบ่า ผ้าห่ม ของกิน   เงิน   สิ่งของ
    7. คำราชาศัพท์สำหรับพระเจ้าแผ่นดินและพระราชวงศ์   1. พระเจ้าพี่นางเธอ    หมายถึง    พระองค์เจ้าที่เป็นพี่สาวของพระมหากษัตริย์ 2. เจ้าน้องนางเธอ   หมายถึง พระองค์เจ้าที่เป็นน้องสาวของพระมหากษัตริย์ พระเจ้าหลานเธอ   หมายถึง   พระองค์เจ้าที่เป็นหลานชายหรือ หลานสาวของพระมหากษัตริย์ 4. พระเจ้าพี่นางเธอ     หมายถึง    พระองค์เจ้าที่เป็นพี่สาวของพระมหากษัตริย์ 5. เจ้าเจ้าน้องนางเธอ หมายถึง    พระองค์เจ้าที่เป็นน้องสาวของพระมหากษัตริย์ พระเจ้าหลานเธอ    หมายถึง   พระองค์เจ้าที่เป็นหลานชายหรือ หลานสาวของพระมหากษัตริย์
    8. หมวดกิริยาแสดงอาการ   คำที่ใช้เรียกกิริยาอาการ   มีวิธีตกแต่งดังนี้ ทรงระลึกถึง          หมายถึง         ระลึกถึง      ใช้สำหรับพระราชวงศ์ ทรงเล่าเรียน          หมายถึง       เรียน   - ศึกษา    ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ ทรงยืน        หมายถึง   ยืน ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ ทรงกระแอม        หมายถึง          กระแอม       ใช้สำหรับพระราชวงศ์ ทรงอาเจียน           หมายถึง         อาเจียน       ใช้สำหรับพระราชวงศ์ ทรงช้าง    หมายถึง        ขี่ช้าง     ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์
    9. หมวดกิริยา
    10. หมวดคำสุภาพสำหรับคนทั่วไป การใช้ถ้อยคำสุภาพสำหรับบุคคลทั่วไป จะต้องรู้จักเลือกใช้ให้เหมาะสมกับ กาลเทศะและบุคคล โดยคำนึงถึงฐานะ ความสัมพันธ์ที่มีอยู่ การใช้ถ้อยคำสุภาพสำหรับบุคคลทั่วไปควรปฏิบัติ ดังนี้ ๑ . ใช้คำสรรพนามที่แสดงความสุภาพ เช่น คุณ ผม ดิฉัน กระผม ๒ . ใช้คำขยายเพื่อให้สุภาพ เช่นคำว่า กรุณา ขอโทษ โปรด อนุเคราะห์ เป็นต้น ๓ . ใช้คำลงท้ายหรือคำเรียกขานทุกครั้งที่จบคำถามหรือคำตอบคำเหล่านี้ เช่นคำว่า ครับ ค่ะ ๔ . ไม่เป็นคำหยาบ เช่น ขี้ เยี่ยว อ้าย อี ควรใช้คำว่า อุจจาระ ปัสสาวะ สิ่งนี้ สิ่งนั้น เป็นต้น ๕ . ไม่เป็นคำผวน คือ คำที่พูดกลับเสียงเดิมแล้วเป็นคำที่ไม่สุภาพ
    11. ตัวอย่างคำสุภาพ
    12. ราชาศัพท์ที่ใช้ต่างกันตามพระอิสริยศักดิ์   1. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น ราชาศัพท์ คำสามัญ พระราชโองการ คำสั่ง พระบรมราโชวาท โอวาท พระราชดำรัส คำพูด ( ใช้เมื่อพูดเป็นกลางๆ ) พระราชกระแสรับสั่ง คำพูด ( ใช้เมื่อพูดกับผู้ใดผู้หนึ่ง ) วันพระบรมราชสมภพ วันเกิด พระชนมพรรษา ... พรรษา อายุ ... ปี 2. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนาถ เช่น ราชาศัพท์ คำสามัญ พระราชเสาวนีย์ คำสั่ง พระราโชวาท โอวาท พระราชดำรัส คำพูด ( ใช้เมื่อพูดเป็นกลางๆ ) พระราชกระแสรับสั่ง คำพูด ( ใช้เมื่อพูดกับผู้ใดผู้หนึ่ง ) วันพระราชสมภพ วันเกิด พระชนมพรรษา ... พรรษา อายุ ... ปี
    13. 3. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมงกุฎราชกุมาร เช่น ราชาศัพท์ คำสามัญ พระราชบัณฑูร คำสั่ง พระราโชวาท โอวาท พระราชดำรัส คำพูด พระราชกระแสรับสั่ง คำพูด วันพระราชสมภพ วันเกิด พระชนมพรรษา ... พรรษา อายุ ... ปี พระมหากรุณาธิคุณ พระคุณ พระมหากรุณา ความกรุณา ลายพระราชหัตถ์ จดหมาย ราชาศัพท์ที่กล่าวถึงข้างต้นเป็นราชาศัพท์ที่กำหนดให้ใช้ต่างกันตาม พระอิสริยศักดิ์ของพระบรมวงศ์ชั้นสูงเท่านั้น คำราชาศัพท์อื่นๆ ไม่ได้กำหนดให้ใช้แตกต่างกันจึงไม่ได้นำมากล่าวในที่นี้
    14. 1.   “ ถวายการต้อนรับ ”   คำนี้ผิด  ภาษาไทยมีคำใช้อยู่แล้ว  คือ  “ เฝ้าฯ รับเสด็จ ”   หรือ   “ รับเสด็จ ” 2.   “ อาคันตุกะ ”   และ   ” ราชอาคันตุกะ ”   ใช้ต่างกันดังนี้         “ อาคันตุกะ ”   ใช้เมื่อ          ก .   พระมหากษัตริย์เสด็จฯ  ไปทรงเป็นแขกของบุคคลสำคัญ          ข .   บุคคลสามัญไปเป็นแขกของบุคคลสามัญ         “ ราชอาคันตุกะ ”   ใช้เมื่อ          ก .   พระมหากษัตริย์เสด็จฯ  ไปทรงเป็นแขกของพระมหากษัตริย์     ข .   บุคคลสามัญไปเป็นแขกของพระมหากษัตริย์ 3.   “ ถวายความจงรักภักดี ”   ความจงรักภักดีเป็นของที่หยิบยื่นให้กันไม่ได้  เป็นสิ่งที่มีประจำตน   แสดงปรากฏให้ทราบได้  ฉะนั้นใช้   “ ถวาย ”   ไม่ได้  จึงควรใช้  “ มีความจงรักภักดี ” .          ข้อควรจำเกี่ยวกับคำราชาศัพท์ที่มักใช้ผิดกันเสมอ
    15. 4.   การใช้คำ   “ ถวาย ”   มีใช้อยู่สองคำ  คือ   “ ทูลเกล้าฯ   ถวาย ”   และ   “ น้อมเกล้าฯ ถวาย ”   ใช้ต่างกันดังนี้                   ก .   ถ้าสิ่งของนั้นเป้นของเล็กใช้   “ ทูลเกล้าฯ ”          ข .   ถ้าสิ่งของนั้นเป็นของใหญ่ใช้   “ น้อมเกล้าฯ  ถวาย ”   หรือ   “ ถวาย ”   เฉยๆ คำว่า   “ ขอบใจ ”   ถ้าจะกล่าวว่า  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงขอบใจ  ก็ใช้ว่า  “ ทรงขอบใจ ”   หรือ “ พระราชทานกระแสขอบใจ ”   ไม่ใช้   “ ขอบพระทัย ”   เว้นแต่ผู้ที่ทรงขอบใจนั้นเป็นพระราชวงศ์จึงใช้  “ ขอบพระทัย ” ได้๖ .   เมื่อกล่าวถึงการแสดงใด ๆ  ถวายทอดพระเนตร  มักจะใช้ว่า   “ แสดงหน้าพระพักตร์ ”   หรือ   “ แสดงหน้าพระที่นั่ง ”   ซึ่งผิด  ต้องใช้ว่า   “ แสดงเฉพาะพระพักตร์ ”   หรือ  “ แสดงหน้าที่นั่ง ” ๗ .   ถ้ามีผู้ถวายสิ่งของ  เช่น  หมวก  ผ้าเช็ดหน้า  ฯลฯ   ขณะที่ถวายนั้นต้องใช้คำสามัญจะใช้คำราชาศัพท์มิได้   เพราะสิ่งของนั้นยังมิได้เป็นของพระองค์ท่าน  เช่น             -   เจ้าของร้านทูลเกล้าฯ ถวายหมวกแด่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี
    16. ข้อสังเกตบางประการในการใช้ราชาศัพท์ คำที่เป็นราชาศัพท์ ถ้าเป็นคำนามมักมีคำว่า พระ หรือ พระราช นำหน้า เช่น พระองค์ พระพักตร์ พระเนตร พระบาท พระราชทรัพย์ พระราชวินิจฉัย พระราชโทรเลข   ถ้าเป็นคำกริยา มักมีคำว่า ทรง ทรงพระ หรือ ทรงพระราช นำหน้า เช่น ทรงยืน ทรงทักทาย ทรงเรือใบ ทรงม้า ทรงพระสรวล ทรงพระดำริ ทรงพระอักษร ทรงพระราชนิพนธ์ ทรงพระราชปรารภ ทรงพระราชวินิจฉัย   คำบางคำเป็นกริยาราชาศัพท์อยู่แล้วไม่ต้องมี ทรง ทรงพระ หรือ ทรงพระราช นำหน้า เช่น เสวย ( กิน ) บรรทม ( นอน ) โปรด ( ชอบ , รัก ) พระราชทาน ( ให้ ) ประทับ ( นั่ง ) กริ้ว ( โกรธ ) เสด็จพระราชดำเนิน ( เดินทางไป ) สด็จขึ้น ( ขึ้น ) 
    17. ความสำคัญของราชาศัพท์ อันที่จริง   ราชาศัพท์   มิได้หมายถึงถ้อยคำที่ใช้กับพระราชาเท่านั้น   หากแต่หมายถึงถ้อยคำที่ใช้พูดถึงบุคคล   เรื่องราวและสิ่งทั้งปวงที่กล่าวหรือเขียนอย่างถูกหลักเกณฑ์   เป็นคำสุภาพไม่หยาบกระด้างน่ารังเกียจ   สมควรจะกราบบังคมทูลพระกรุณาหรือใช้เป็นภาษาทางการ   เป็นภาษาแบบแผน   เช่น ใช้ว่าเจ้านายตรัส   คนพูด   นกร้อง   สุนัขเห่า   ราชาศัพท์โดยความหมายอย่างกว้าง จึงหมายถึงถ้อยคำภาษาที่สุภาพถูกแบบแผน   สำหรับใช้กับบุคคลทุกประเภท   ตลอดจน เทพยดา   อมนุษย์   แม้กระทั่งสัตว์จตุบาททวิบาท   และสรรพสิ่งเรื่องราวทั้งปวง ราชาศัพท์มีหลักเกณฑ์เป็นระบบเหมาะกับยุคสมัยและบริบททางสังคม   สอดคล้องกับธรรมชาติของภาษา   เป็นที่นิยมยอมรับร่วมกัน   ราชาศัพท์ประกอบด้วยคำศัพท์และสำนวนที่มีความหมายกระชับ   เหมาะสม   ถูกต้องตามหลักภาษาไทย   และมีความไพเราะน่าฟัง   สื่อความหมายได้อย่างมีประสิทธิผล   ฉะนั้นการใช้ราชาศัพท์   นอกจากจะเป็นการรักษาแบบแผนทางภาษาที่ดีงามไว้แล้ว   ยังเป็นการแสดงออกถึงความเคารพที่บุคคลพึงมีต่อบุคคลอื่นที่ควรเคารพ สรุปได้ว่า   ราชาศัพท์มีความสำคัญทั้งทางสังคมและวัฒนธรรม   รวมทั้งสุนทรียลักษณ์เชิงภาษาอีกด้วย   ดังตัวอย่างต่อไปนี้
    18. ประโยชน์ของการเรียนรู้คำราชาศัพท์ เพราะเหตุที่ว่าสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันที่สูงสุดของ ประเทศมาแต่โบราณ พระเจ้าแผ่นดินทรงใกล้ชิดกับประชาชนอย่างแนบแน่น คำราชาศัพท์นั้นเป็นแบบอย่างวัฒนธรรมอันดีงามทางด้านการใช้ภาษาไทย และการอ่านหรือศึกษาวรรณคดี การรับสารสื่อมวลชนในปัจจุบันก็ดี เหล่านี้ล้วนต้องมีคำราชาศัพท์เกี่ยวข้องอยู่ด้วยเสมอ ดังนั้นการเรียนรู้คำราชาศัพท์จึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ทั้ง ทางตรง และ ทางอ้อม
    19. ๑ . ประโยชน์ทางตรง : เป็นประโยชน์ที่เกิดจากการตั้งเป้าหมายไว้ล่วงหน้า อันได้แก่ ๑ . ประโยชน์จากการใช้คำราชาศัพท์ถูกต้อง ที่เรียกว่าใช้คำราชาศัพท์ถูกต้องนั้น คือ ถูกต้องตามบุคคลที่ใช้ว่าบุคคลใดควรใช้ราชาศัพท์ขั้นไหน อย่างไร ถูกต้องตามโอกาส คือ โอกาสใดใช้คำราชาศัพท์หรือไม่เพียงใด และถูกต้องตามวิธีการใช้ คือ ใช้ถูกต้องตามแบบแผนที่นิยม การใช้คำราชาศัพท์ต้องใช้ทั้งความรู้และประสบการณ์เป็นดุลยพินิจให้ถูกต้อง ๒ . ประโยชน์จากการเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่ว่าจากการอ่านหนังสือประเภทต่างๆ เช่น วรรณคดี วรรณกรรม หนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ทั้งหลาย โทรทัศน์ วิทยุ ตลอดจนสิ่งบันเทิง ภาพยนตร์ ละคร โขน ลิเก เป็นต้น เพราะการรับรู้ รับฟัง บางครั้งต้องมีสิ่งที่เรียกว่า คำราชาศัพท์ร่วมอยู่ด้วยเสมอ
    20. ๒ . ประโยชน์ทางอ้อม : เป็นผลพลอยได้ แม้ตั้งเป้าหมายไว้ล่วงหน้าหรือไม่ตั้งเป้าหมายไว้ก็ตาม คือ เมื่อรู้คำราชาศัพท์ดี ถูกต้อง ฟังหรืออ่านเรื่องราวที่มีคำราชาศัพท์เข้าใจผลประโยชน์พลอยได้ก็จะเกิดขึ้นเสมอ เช่น - ธำรงรักษาวัฒนธรรมอันดีงานของชาติไว้ คือ รักษาให้คงอยู่ไม่เสื่อมสูญ ถือเป็นการธำรงรักษาวัฒนธรรมและความมั่นคงของประเทศชาติ - เพิ่มความมีเสน่ห์ในตัวบุคคล คือ บุคคลผู้รู้และใช้คำราชาศัพท์ได้อย่างถูกต้อง เป็นการแสดงออกซึ่งความมีวัฒนธรรมอันดีงามทางภาษา
    21. แหล่งอ้างอิง https://www.trueplookpanya.com article.konmun.com/know308.htm https://rachasub.blogspot.com/ www.thainame.net/weblampang/nanoi/na7.html https://www.jd.in.th/e_learning/th41102/pan08/htm/lajasab.htm https://www.thainame.net/weblampang/nanoi/na8.html ขอขอบคุณข้อมูลจาก

พนักงานพระภูษา    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        ข้าราชการในราชสํานักมีหน้าที่ถวายทรงพระเครื่องใหญ่ ถวายพระกลด ถวายสุกํา ทําสุกํา เปลื้องเครื่องสุกําศพพระบรมศพ พระศพ และเปลื้องเครื่องสุกําศพที่ได้รับพระราชทานโกศ เป็นต้น โบราณมีหน้าที่ถวายเครื่องต้นด้วย, ในกฎหมายตราสามดวงเรียกแยกเป็น พนักงานพระภูษา พนักงาน พระมาลา
 
พนักงานพระมาลา    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        ข้าราชการในราชสํานักมีหน้าที่ถวายทรงพระเครื่องใหญ่ ถวายพระกลด ถวายสุกํา ทําสุกํา เปลื้องเครื่องสุกําศพพระบรมศพ พระศพ และเปลื้องเครื่องสุกําศพที่ได้รับพระราชทานโกศ เป็นต้น โบราณมีหน้าที่ถวายเครื่องต้นด้วย, ในกฎหมายตราสามดวงเรียกแยกเป็น พนักงานพระภูษา พนักงาน พระมาลา
 
พระกลด    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        [กฺลด] น. ร่มขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ขอบร่มมีระบาย คันยาวกว่าก้านร่ม ใช้ถือกั้นเจ้านาย หรือพระภิกษุที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์, ราชาศัพท์ว่า พระกลด, เรียกร่มขนาดใหญ่มีด้าม สำหรับพระธุดงค์โดยเฉพาะ, เรียกดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ที่มีแสงสีรุ้งเป็นวงกลมล้อมรอบว่า ดวงอาทิตย์ทรงกลด ดวงจันทร์ทรงกลด. (ข. กฺลส).
 
พระกัปปาสิกะสูตร    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        ด้ายสายสิญจน์หรือด้ายดิบ
 
พระจิตกาธาน    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        เชิงตะกอน (สำหรับเจ้านาย), (ราชา) พระจิตกาธาน
 
พระชฎา    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        เครื่องสวมศีรษะยอดแหลมสูง (พระราชวงศ์)
 
พระที่นั่งชุมสาย    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        เรียกพระที่นั่งสําหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี ประทับในงานต่าง ๆ ของทหาร ลูกเสือ และงานพิเศษบางโอกาส ลักษณะเป็นแท่นสี่เหลี่ยม ดาดด้วยหลังคาผ้าระบาย ๓ ชั้น มีสายไหมห้อย
 
พระที่นั่งทรงธรรม    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        อาคารโถง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของพระเมรุ ใช้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่่จะเสด็จพระราชดำเนินมาทรงบำเพ็ญพระราชกุศล และเป็นที่สำหรับพระสงฆ์สดับปกรณ์ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ
 
พระธรรมเทศนา    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
 
พระนาภี    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        น. สะดือ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนาภี, เช่น พระพุทธรูปส่วนสูงวัดจากพระบาทถึงพระนาภี, ท้อง เช่น ประชวรพระนาภี; ดุมเกวียน, ดุมรถ; ศูนย์กลาง
 
พระบรมราชวินิจฉัย    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        คำตัดสิน
 
พระบรมราชโองการ    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        คำสั่งราชการของพระราชา
 
พระบรมศพ    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        ศพ
 
พระบรมอัฐิ    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        กระดูกที่เผาแล้ว
 
พระบุพโพ    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        [บุบโพ] น. นํ้าหนอง, นํ้าเหลือง. (ป. ปุพฺพ)
 
พระประชวร    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        ป่วย
 
พระพักตร์    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        ดวงหน้า
 
พระพันปี    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        คำเรียกพระราชชนนี
 
พระพิธีธรรม    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        พระพิธีธรรมไม่ใช่ชื่อของพิธีกรรม แต่เป็นชื่อตำแหน่งของพระสงฆ์ที่มาสวดพระอภิธรรมในพิธีหลวง
 
พระมหาพิชัยราชรถ    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        ราชรถทรงพระบรมโกศ
 
พระมหาเศวตฉัตร    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        ฉัตร ๙ ชั้น เป็นฉัตรชั้นสูงสุดสำหรับพระมหากษัตริย์ ทำด้วยผ้าขาวขลิบทอง ใช้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งผ่านพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว
 
พระยานมาศสามลำคาน    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        พระราชยานชั้นสูงใช้เฉพาะในงานพระบรมศพ
 
พระราชกรณียกิจ    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        งานที่พระเจ้าแผ่นดินทรงกระทำ
 
พระราชสาส์น    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        จดหมายหรือหนังสือของพระเจ้าแผ่นดินหรือพระบรมวงศานุวงศ์
 
พระวอสีวิกากาญจน์    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        เป็นพระราชยานประทับราบสำหรับเจ้านายฝ่ายในและพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ นอกจากใช้เสด็จพระราชดำเนินในงานพระราชพิธีแล้ว ยังใช้ในงานพระบรมศพสมเด็จพระบรมราชินีด้วย คือ เชิญพระราชสรีรางคารจากพระเมรุมาศท้องสนามหลวงกลับเ้ข้าพระบรมมหาราชวัง
 
พระวักกะ    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        ไต
 
พระวิสูตร    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        คำราชาศัพท์ แปลว่า ม่าน หรือ มุ้ง
 
พระสัปตปฎลเศวตฉัตร    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        ฉัตร ๗ ชั้น คือฉัตรขาวมีลักษณะเหมือนพระนพปฎลมหาเศวตฉัตรทุกประการเพียงแต่ลดจำนวนชั้นลงเหลือ ๗ ชั้น พระสัปตปฎลเศวตฉัตรเป็นฉัตรประกอบพระอิสริยยศสำหรับพระมหากษัตริย์ที่ยังไม่ผ่านการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
 
พระสาง    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        หวี
 
พระอังคาร    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        เถ้ากระดูก
 
พระอัฐิ    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        กระดูก
 
พระอิสริยยศ    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        ยศอันยิ่งใหญ่, ยศที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ หมายถึง สกุลยศของพระราชวงศ์ที่ถือกำเนิดมาว่ามียศทางขัตติยราชสกุลชั้นใด เช่น เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หม่อมเจ้า, ถ้าพระราชวงศ์พระองค์ใดได้ปฏิบัติราชการแผ่นดิน มีความดีความชอบ ก็อาจได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็นเจ้าต่างกรมจึงต่อพระนามกรมไว้ท้ายพระ นามเดิม เช่น พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
 
พระอุระ    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        อก
 
พระเกศา    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        ผม (พระมหากษัตริย์)
 
พระเขนย    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        หมอนหนุน
 
พระเพลา    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        ขา,ตัก
 
พระเมรุ    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        เป็นเมรุที่ใช้สำหรับราชวงศ์ที่ทรงฐานานุศักดิ์ เมื่อตายใช้ราชาศัพท์ว่า ทิวงคต หรือสิ้นพระชนม์โดยที่ภายในพระเมรุไม่มีพระเมรุทอง
 
พระเมรุบรรพต    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        พระเมรุซึ่งสร้างบนภูเขาสมมุติ
 
พระเมรุพิมาน    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        อาคารถาวรที่ใดที่หนึ่ง ซึ่งตั้งพระบรมศพ หรือพระศพเวลาถวายพระเพลิงอัญเชิญพระบรมศพหรือพระศพจากพระเมรุพิมานไปถวายพระเพลิงที่พระเมรุ (ขนาดน้อย) อีกแห่งใกล้ ๆ หรือไม่ไกลกันมาก
 
พระเมรุมาศ    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        พระเมรุขนาดสูงใหญ่ ลักษณะเป็น กุฎาคาร คือ เรือนยอด หมายถึงเรือนซึ่งทำหลังคาต่อกันเป็นยอดแหลม
 
พระเสลี่ยงกลีบบัว    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        พระเสลี่ยงกลีบบัว ทำด้วยไม้ปิดทองประดับกระจกทั้งองค์ มีคานหาม ๒ คาน ขนาดกว้าง ๐.๘๒ เมตร ยาวรวมคาน ๔.๒๐ เมตร สูง ๑.๑๐ เมตร ลำคานเป็นไม้กลมกลึงทาสีแดง ปลายกลึงเป็นหัวเม็ดทรงมัณฑ์ปิดทองประดับกระจก ใช้สำหรับพระสงฆ์พระราชคณะสงฆ์สวดนำพระโกศเวียนรอบพระเมรุ
 
พระเสลี่ยงแว่นฟ้า    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        มีลักษณะเป็นฐานแท่นไม้สี่เหลี่ยม ปิดทองประดับกระจกทั้งองค์ มีคาน ๒ คาน ใช้สำหรับเชิญพระโกศพระบรมศพ
 
พระแท่นแว่นฟ้า    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        กระจก, เรียกพระแท่นที่ประดับกระจกว่า พระแท่นแว่นฟ้า เรียกพานที่ซ้อนกัน ๒ ชั้น ชนิดหนึ่งประดับมุกหรือกระจกเป็นต้นใบบนเป็นพานทรงสูงซ้อนกันอยู่บนตะลุ่ม อีกชนิดหนึ่งทําด้วยโลหะจําหลักลายกะไหล่ทองใบบนเป็นพานเล็กซ้อนอยู่บนพานใหญ่ว่า พานแว่นฟ้า
 
พระโกศ    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        ที่ใส่พระบรมศพ และพระศพเจ้านาย ของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศ์ กับโกศที่พระราชทานสำหรับศพข้าราชการผู้มีบรรดาศักดิ์สูง ตามคตินิยมของพราหมณ์ที่เชื่อว่า ต้องตั้งพระศพในท่ายืน, นั่ง, คุกเข่า หรือกอดเข่าประสานมือ เพื่อส่งพระศพและพระวิญญาณเสด็จกลับสู่สรวงสวรรค์ พระโกศสามารถแบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้งานได้ ๒ ประเภท ๑. พระโกศสำหรับทรงพระบรมศพหรือพระศพ ๒. พระโกศพระบรมอัฐิหรือพระอัฐิ
 
พระโกศจันทน์    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        พระโกศที่สร้างด้วยไม้จันทน์ มีลักษณะเป็นโกศแปดเหลี่ยม มียอดประกอบด้วยโครงลวดตาข่ายประดับลายฉลุเป็นลายซ้อนไม้ทั้งองค์
 
พลับพลายก    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        มี ๓ หลัง ตั้งที่ท้องสนามหลวง นอกรั้วราชวัติ ด้านทิศเหนือ ๑ หลัง ใช้สำหรับเสร็จรับพระศพลงจากราชรถ ที่หน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท ๑ หลัง ใช้สำหรับเจ้านายฝ่ายในและประทับทอดพระเนตรกระบวนและถวายบังคมพระศพ และที่หน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามอีก ๑ หลัง ใช้สำหรับเสด็จส่งพระศพขึ้นราชรถ
 
พวงมาลา    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        ดอกไม้ที่จัดแต่งขึ้นตามโครงรูปต่าง ๆ เช่น วงกลม วงรี มักมีใบไม้เป็นส่วนประกอบด้วย สําหรับวางที่อนุสาวรีย์ พระบรมรูป หรือศพ เป็นต้น เพื่อเป็นเกียรติหรือแสดงความเคารพ
 
พสกนิกร    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        [พะสกกะนิกอน, พะสกนิกอน] คนที่อยู่ในประเทศไม่ว่าจะเป็นพลเมืองของประเทศนั้นหรือคนต่างด้าวที่มาอาศัยอยู่ก็ตาม
 
พัดสังเค็ด    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        เป็นหนึ่งในสิ่งของที่รวมอยู่ในเครื่องสังเค็ดสำหรับถวายพระภิกษุสงฆ์
 
พิราลัย    ไม่ระบุศัพท์บัญญัติ        ตาย (ใช้แก่เจ้าประเทศราช และสมเด็จเจ้าพระยา)

---------

.การลำดับราชวงศ์และคำเรียก
     ในสมัยอยุธยาแบ่งลำดับพระบรมวงศานุวงศ์ ตามกฎมณเฑียรบาล เริ่มจากสมเด็จหน่อพระพุทธเจ้า ลูกหลวงเอก ลูกหลวงโท และพระเยาวราช อันดับแรกประสูติจากพระอัครมเหสี รองลงมากินเมืองเอกและโท มีพระมารดาเป็นพระสนมไม่ได้กินเมือง ต่อมาภายหลังแบ่งเป็น 5 ชั้นคือ ชั้นเจ้าฟ้า ชั้นพระองค์เจ้า หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ หม่อมหลวง ใช้กันมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ยศเจ้าฟ้านี้ เดิมพวกไทยใหญ่เรียกเจ้าครองเมือง สมัยพระเจ้าปราสาททอง ระบุราชสกุลเจ้าฟ้า ต้องเป็นพระราชโอรสธิดาที่มีพระมารดาเป็นเจ้า พระราชนัดดาซึ่งมีสมเด็จหน่อพระพุทธเจ้าหายไปจากพงศาวดาร
            ลำดับราชอิสริยยศ การใช้คำราชาศัพท์พระบรมวงศานุวงศ์ มีลำดับชั้นพระบรมราชวงศ์ตามประสูติกาลที่ใช้ในรัชกาลปัจจุบัน
            1. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ
            2. พระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จพระบรม
                สมเด็จพระบรมชนกนาถ สมเด็จพระบรมราชชนนี
                สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
                สมเด็จพระบรมราชกุมารี
            3. พระบรมวงศ์ชั้นเจ้าฟ้า
                สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า
                สมเด็จพระภคินีเธอ เจ้าฟ้า
                สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้า
            อนึ่ง คำว่า ทูลกระหม่อมชาย ทูลกระหม่อมหญิง ใช้เรียกเจ้าฟ้าที่มีพระราชชนนีเป็นอัครมเหสี ในกรณีที่เจ้าฟ้ากราบถวายบังคมลาออกจากราชอิสริยยศเพื่อสมรสกับสามัญชน ยังไม่มีพระบรมราชโองการสถาปนาขึ้นใหม่ บุคคลทั่วไปนิยมใช้ราชาศัพท์ตามราชอิสริยยศครั้งประสูติกาล คือครั้งยังเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้า ในข่าวพระราชสำนักก็ใช้คำราชาศัพท์แต่ประสูติกาลเช่นเดียวกัน
            4. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเป็นราชสกุลรองลงมาในรัชกาลก่อนๆ เป็นพระราชโอรสธิดาประสูติจากพระสนมที่เป็นเจ้าจอมมารดา เรียกตามกฎมณเฑียรบาลว่า พระเยาวราช หรือ พระองค์เจ้าที่เป็นพระเจ้าหลานเธอ หรือเป็นพระประยูรญาติหากเป็นพระราชโอรสธิดาใช้เรียกลำลองว่า "เสด็จ" แต่ถึงชั้นพระเจ้าหลานเธอเรียก "พระองค์ชาย" "พระองค์หญิง" ส่วนคำว่า "เสด็จในกรม" เรียกพระราชโอรสธิดาว่า "เสด็จในกรม" พระองค์เจ้ามี 3 ลักษณะ คือ
                        (1) พระองค์เจ้ายก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาอิสริยยศ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฯ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฯ พระวรราชาทินัดดามาตุ อิสริยยศพระวรชายา ถือเป็นสตรีสูงศักดิ์แม้สามัญชนก็ได้ยกตลอดสายถึงพระโอรสธิดา
                        (2) พระองค์เจ้าตั้ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระ วรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า เฉพาะพระองค์เป็นพิเศษ เป็นอิสริยยศรองจากการทรงกรม สำหรับสถาปนาเลื่อนยศหม่อมเจ้าขึ้นเป็นกรณีพิเศษและอาจเลื่อนให้สูงขึ้นเป็นกรมหมื่น กรมขุน กรมหลวงได้ แต่โอรสธิดายังคงเป็นหม่อมราชวงศ์ตามเดิม
                        (3) พระองค์เจ้าแต่ประสูติกาล เป็นพระองค์เจ้าตลอดสายก่อนประสูติ คือพระองค์เจ้าชั้นพระราชโอรส พระราชธิดา และพระราชนัดดาที่โปรดเกล้าฯ ให้ยกขึ้นเป็นพระองค์เจ้าตลอดสายไว้ก่อนประสูติแล้ว เป็นพระองค์เจ้าโดยกำเนิดซึ่งต่างจากพระองค์เจ้าตั้งเพราะขณะที่เกิดเป็นหม่อมเจ้า และโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นพระองค์เจ้าภายหลัง พระเจ้าหลานเธอแต่ประสูติกาลพระองค์แรกในรัชกาลปัจจุบัน คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา
            พระองค์เจ้าขึ้นไปไม่นิยมใช้พระนามราชสกุลต่อท้ายพระนามเฉพาะพระองค์ เว้นแต่ชั้นหม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์และหม่อมหลวง ต้องระบุพระนามราชสกุลด้วย โดยไม่ต้องมีคำ ณ อยุธยา ต่อท้าย ส่วนผู้ที่สืบราชสกุลต่อจากหม่อมหลวงลงมา หรือเป็นสะใภ้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ให้มีคำ "ณ อยุธยา" ต่อนามราชสกุล
            5. หม่อมเจ้า พระบุตรบุตรี ที่พระองค์เจ้ามารดาไม่ได้เป็นพระองค์เจ้าต้องเป็นหม่อมเจ้า คำลำลองใช้ "ท่านชาย" "ท่านหญิง" แต่ก่อนพระบุตรบุตรี ไม่ใช่โอรสธิดา ปัจจุบันยกย่องใช้ได้ ใช้คำราชาศัพท์ตรงคำส่วนใหญ่ไม่ต้องเติม ทรงพระ มากเหมือนชั้นสูงขึ้นไป
            6. หม่อมราชวงศ์ ในสมัยอยุธยาเคยมีในทำเนียบศักดินา แต่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทางสันนิษฐานว่าเป็นคำที่เติมขึ้นมาใหม่ ก่อนหน้านี้ใช้เรียกว่า "เจ้า" หรือ "คุณ" เป็นราชนิกุลที่เริ่มใช้เป็นทางการในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ใช้คำว่าราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์ใช้คำสุภาพชน แต่เรียกลำลองว่า "คุณชาย" "คุณหญิง" ถ้าเป็นราช  นิกุล พจนานุกรมฯ ให้คำจำกัดความว่าตระกูลฝ่ายพระมหากษัตริย์ ถ้าเป็นตระกูลฝ่ายพระมเหสีใช้ว่า ราชินิกุล หรือราชินีกุล
            7. หม่อมหลวง เริ่มใช้ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นบุตรบุตรีของหม่อมราชวงศ์ชาย ใช้คำสุภาพชนทั่วไป ไม่ใช้ราชาศัพท์ มีบุตรบุตรี ใช้นามสกุลตามราชสกุล ต่อท้ายด้วย ณ อยุธยา
            ชายาของพระองค์เจ้าลงมาจนถึงหม่อมเจ้า เรียกว่า "หม่อม" นอกจากนี้คำว่า "หม่อม" ยังใช้เป็นราชทินนาม คือ บรรดาศักดิ์เจ้านาย หรือขุนนาง เช่น หม่อมราโชทัย หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์
            ราชทินนาม บุคคลที่จะมีราชทินนามได้เริ่มตั้งแต่ชั้นเจ้านายถึงพระสงฆ์ ชั้นพระราชาไม่มีราชทินนามเพราะเป็นนามพระราชทานอยู่แล้ว เจ้านายที่ดำรงพระเกียรติยศสูง ก็ทรงสถาปนาพระราชทินนามใหม่ได้ เช่น ตำแหน่งชั้นกรม เป็น กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมพระยา ส่วนที่เป็นวิสามานยนาม คือ เจ้านายที่ทรงกรมมีชั้นเจ้าฟ้ากับพระองค์เจ้าเท่านั้น พระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์ มักมีราชทินนามเป็นพื้น เช่น สมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะ พระครู พระฐานานุกรม
            การจัดลำดับฐานันดร ลำดับในการกำหนดชั้นบุคคลตามอิสริยยศและสมณศักดิ์ พระยาอุปกิตศิลปสาร จำแนกไว้ 5 ชั้น คือ 1. พระราชา 2. เจ้านาย
3. พระสงฆ์ 4. ขุนนาง 5. คนสุภาพ หม่อมหลวงปีย์ มาลากุล จำแนกเป็น 5 ชั้น คือ
1. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ 2. พระราชวงศ์ หรือ พระบรมวงศานุวงศ์ 3. พระภิกษุ 4. ข้าราชการ 5. บุคคลทั่วไป
กระทรวงศึกษาธิการ จัดลำดับบุคคลไว้ดังนี้
                        1.   พระมหากษัตริย์
                        2.   พระบรมวงศานุวงศ์
                        3.   พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
                        4.   ขุนนางและข้าราชการ
                        5.   คนสุภาพ
            พระบรมวงศานุวงศ์ตามลำดับชั้นมีดังต่อไปนี้ (สำหรับรายนามลำดับที่ 16 และ 17 ใช้ราชาศัพท์ระดับสุภาพชนทั่วไป เรียกลำลองคำนำหน้าว่าคุณ ไม่ใช้คำราชาศัพท์เฉพาะสำหรับพระราชาและพระบรมวงศานุวงศ์)
                        1.   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                        2.   สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
                        3.   สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
                        4.   สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
                        5.   สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี
                        6.   สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาสิริโสภาพัณณวดี
                        7.   สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
                        8.   ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
                        9.   พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
                        10. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ
                        11. พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา
                        12. พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์
                        13. พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ
                        14. พระเจ้าหลานเธอ พระองคฺเจ้าสิริภาจุฑาภรณ์
                        15. พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ
                        16. คุณพลอยไพลิน เจนเซน
                        17. คุณสิริกิติยา เจนเซน
            พระราชอิสริยยศต่างกรม ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยกรุงธนบุรีมี 4 ชั้นคือ
            ชั้นที่ 1 กรมพระ พระอิสริยยศสำหรับสมเด็จพระพันปีหลวง พระมหาอุปราชและวังหลัง
            ชั้นที่ 2 กรมหลวง พระอิสริยยศสำหรับพระมเหสี ชั้นกรมหลวงสมัยกรุงธนบุรี
            ชั้นที่ 3 กรมขุน พระอิสริยยศสำหรับเจ้าฟ้าราชกุมาร
            ชั้นที่ 4 กรมหมื่น พระอิสริยยศสำหรับพระองค์เจ้า
            ในรัชกาลที่ 4 ทรงสถาปนาพระองค์เจ้าต่างกรมผู้ใหญ่เป็น "กรมสมเด็จพระ" เป็นชั้นสูงพิเศษอีกชั้นหนึ่ง ในรัชกาลที่ 5 ทรงเปลี่ยนพระนามอิสริยยศสมเด็จหน่อพุทธางกูร เป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ในรัชกาลที่ 6 ทรงประกาศยกเลิก "กรมสมเด็จพระ" โปรดเกล้าให้ใช้ "สมเด็จ กรมพระยา" แทน และทรงตั้งคำ "กรมพระยา" ขึ้นใช้ในราชการด้วย
            บรรดาศักดิ์ขุนนาง ฝ่ายพลเรือนทั่วไปมี 6 ตำแหน่งคือ
            สมเด็จเจ้าพระยา เช่น       สมเด็จเจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์
            เจ้าพระยา          เช่น       เจ้าพระยารามราฆพ
            พระยา               เช่น       พระยาอดุลยเดชสยาเมศวรภักดีพิริยะพาหะ
            หลวง                 เช่น       หลวงนิคมพรรณเขตต์
            ขุน                    เช่น       ขุนจารุวรประสาท
            นอกจากนี้ยังมีตำแหน่งเจ้าหมื่น หมื่น หลวง (นายเวร) นาย (บรรดาศักดิ์ เช่น นายวรการบัญชา) นายรอง ใช้ประกอบข้างหน้าราชทินนามสตรีที่เป็นภรรยาเอกของขุนนางจะมีคำเรียกเฉพาะเช่น ภรรยาเจ้าพระยา เป็นท่านผู้หญิง ภรรยาเอกของพระยาเป็นคุณหญิงและยังมีบรรดาศักดิ์เหมือนชายได้แก่เจ้าคุณท้าว พระ
ข้อสังเกตว่าเป็นคำราชาศัพท์
            คำราชาศัพท์มีคำนามหมวดเครือญาติ หมวดอวัยวะร่างกาย หมวดเครื่องใช้ เครื่องราชูปโภค มีวิธีใช้ที่เป็นหลักสังเกตให้แยกแยะจากคำประเภทอื่นได้
            1. มีคำว่า ทรง นำหน้าคำไทยที่เป็นกริยา เช่น ทรงออกกำลังกาย ทรงขับร้อง ทรงวิ่ง ทรงทราบ ทรงลา ทรงม้า ทรงดนตรี ฯลฯ ที่เป็นคำนามเช่น ทรงม้า ทรงดนตรี ทรงเครื่องใหญ่ (ตัดผม) มีคำว่า ทรง นำหน้าคำราชาศัพท์ที่เป็นภาษาอื่นใช้เป็นคำนาม เช่น ข้อพระหัตถ์ ถุงพระบาท ฯลฯ และใช้เป็นคำกริยา เช่น ทรงพระราชนิพนธ์ ทรงพระดำเนิน ทรงพระอักษร ทรงพระบรรทม ทรงพระประชวร ฯลฯ
            2. มีคำว่า ต้น ใช้เนื่องในพระเจ้าแผ่นดิน ลงท้ายคำนามหรือกริยา เช่น เสด็จประพาสต้น กฐินต้น ช้างต้น ม้าต้น เครื่องต้น (เครื่องทรงสำหรับพระเจ้าแผ่นดินในพระราชพิธี เรียกเต็มว่าฉลองพระองค์เครื่องต้น ใช้เป็นของใช้ของเสวยสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน
            3. มีคำว่า หลวง ที่เป็นของพระเจ้าแผ่นดิน เช่น ศาลหลวง วังหลวง รถหลวง เรือหลวง วัดหลวง โรงเรียนหลวง พระเจ้าหลวง พระพุทธเจ้าหลวง ฯลฯ ต่อมามีคำเพี้ยนไปจากกลุ่มคำเหล่านี้ใช้ในความหมายแตกต่างกันไป เช่น งานราษฎร์งานหลวง หมายถึงงานราชการ ในหลวง หมายถึงพระเจ้าแผ่นดินเป็นภาษาปากแบบไม่เป็นทางการไม่ใช่ราชาศัพท์และมีคำซึ่งไม่ใช่ราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์ เช่น ภรรยาหลวง เขาหลวง ฯลฯ หมายถึงใหญ่
            4. การใช้คำ พระบรมราช-พระบรม พระราช พระ ราช พระบรมราช-พระบรม ใช้หน้า สำคัญยิ่งสำหรับพระมหากษัตริย์เพื่อเชิดชูพระอิสริยยศ เช่น พระบรมราชโองการ พระบรมมหาราชวัง พระบรมรูป พระบรมโพธิสมภาร พระบรมเดชานุภาพ พระบรมอัฐิ พระบรมฉายาลักษณ์ พระบรมวงศานุวงศ์ พระบรมราชวินิจฉัย พระบรมราโชวาท ฯลฯ
            พระราช-ราช-พระ ใช้หน้าคำสามัญสำคัญรองลงมาหรือเป็นคำสามัญทั่วไปเช่น พระราชดำรัส พระราชโองการ พระราชนิพนธ์ พระราชประวัติ พระราชประสงค์ พระราชดำริ พระราชดำเนิน พระภูษา พระเต้าทักษิโณทก พระเนตร พระกรรณ พระสุพรรณศรี พระอัฐิ พระปิฐิกัณฐกัฐิ (กระดูกสันหลัง) ฯลฯ
            พระภิกษุสงฆ์
            การใช้คำสำหรับพระภิกษุสงฆ์ต่างจากราชาศัพท์ของพระมหากษัตริย์ เพราะพระมหากษัตริย์จะไม่ทรงใช้ราชาศัพท์กับพระองค์ท่าน จะทรงใช้เมื่อมีพระราชกระแสกับผู้อื่น แต่พระภิกษุสงฆ์ใช้คำสำหรับตัวท่านเองกับผู้ที่ท่านสนทนาด้วย
            สำดับสมณศักดิ์ของพระสงฆ์
            พระสมณศักดิ์
            พระสมณศักดิ์ในประเทศ                         16,431 รูป
                        สมเด็จพระสังฆราช                                1 รูป
                        สมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ                     8 รูป
                        พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ      19 รูป
                        พระราชาคณะ ชั้นธรรม                         43 รูป
                        พระราชาคณะ ชั้นเทพ                           84 รูป
                        พระราชาคณะ ชั้นราช                         184 รูป
                        พระราชาคณะ ชั้นสามัญ                      402 รูป
                        พระครูสัญญาบัติ                         15,690 รูป
            พระสมณศักดิ์ในต่างประเทศ                            43 รูป
                        พระราชาคณะ ชั้นเทพ                             2 รูป
                        พระราชาคณะ ชั้นราช                             3 รูป
                        พระราชาคณะ ชั้นสามัญ                          9 รูป
                        พระครูสัญญาบัตร                                             29 รูป
                        รวม                                            16,474 รูป
                        ที่มา :    สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม
                                    ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547
          
            สมเด็จพระสังฆราชที่เป็นเจ้านายแต่เดิมต้องเติมคำว่า "เจ้า" ต่อท้าย ส่วนพระสังฆราชจากสามัญชน ไม่ต้องใช้ราชทินนาม สมเด็จพระอริยวงศาคตญาน ร.6 ทรงเปลี่ยนคำนำหน้านามเจ้านายทรงกรมแสดงพระอิสริยยศ จาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เป็น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ใช้ราชาศัพท์สำหรับสมเด็จพระสังฆราชเทียบชั้นพระองค์เจ้า แต่สมเด็จพระราชาคณะถ้าไม่ใช่เจ้านายอยู่แล้ว ไม่ต้องใช้ราชาศัพท์พระองค์เจ้า
            พระราชาคณะ ชั้นหิรัญบัฏ มี 4 ชั้น คือ ชั้นธรรม ชั้นเทพ ชั้นราช และ ชั้นสามัญ
            ชั้นพระครู พระครูฐานานุกรม พระราชาคณะชั้นราชขึ้นไปจะมีพระครูปลัด พระครูใบฎีกา พระครูสังฆรักษ์ พระครูชั้นประทวน (ได้ตำแหน่งพระปลัด พระสมุห์ พระใบฎีกา ไม่มีนิตยภัต)
            นามฉายา คือนามที่พระอุปัชฌาย์ให้เป็นภาษาบาลีเวลาบวช
            การใช้คำราชาศัพท์ของพระภิกษุ
            ราชาศัพท์ที่ไม่ใช้ศัพท์เฉพาะพระราชา แต่หมายถึงพระภิกษุมีความแตกต่างกัน เพราะพระราชาจะไม่ทรงใช้คำราชาศัพท์สำหรับพระองค์ท่านเอง แต่เป็นคำที่คนทั่วไปใช้สำหรับพระองค์ท่านเพื่อเทิดพระเกียรติด้วยความจงรักภักดี พระภิกษุใช้พูดสำหรับท่านเองและเป็นคำที่ฆราวาสใช้พูดกับท่านหรือท่านพูดกับฆราวาส จึงเป็นศัพท์เฉพาะใช้สำหรับพระภิกษุ
            การใช้ถ้อยคำสำหรับพระภิกษุ ตัวอย่างเช่น
            อาตมา อาตมภาพ (อาตม + ภาว) ใช้เป็นคำแทนพระภิกษุผู้พูด เมื่อพูดกับฆราวาส
            เกล้า พระสงฆ์ใช้พูดกับสมเด็จพระสังฆราชใช้แทนตัวผู้พูดว่าเกล้ากระผม หรือพูดกับพระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์พูดสั้นๆ ว่า เกล้า
            ท่าน ใช้เป็นสรรพนามกล่าวถึงพระภิกษุสามเณรทั่วไป
            พระคุณท่าน ใช้กล่าวถึงสรรพนามของพระภิกษุสมณศักดิ์ชั้นธรรม รองจากสมเด็จพระราชาคณะ   
            พระคุณเจ้า ใช้กับสมเด็จพระราชาคณะ รองจากสมเด็จพระสังฆราช
            นมัสการ คำขึ้นต้นในจดหมายถึงพระสงฆ์ทั่วไป หรือกล่าวคำปราศรัยด้วย
            เจริญพร พระภิกษุใช้กับฆราวาสในคำขึ้นต้นจดหมายและกล่าวคำปราศรัยด้วย
            คำราชาศัพท์ที่ใช้กับสมเด็จพระสังฆราช ใช้ระดับพระองค์เจ้า ถ้าสมเด็จพระสังฆราชเจ้า มิใช่เชื้อพระวงศ์ แต่ถ้าสมเด็จพระสังฆราชเจ้าแสดงว่ามีฐานันดรศักดิ์เดิมชั้นหม่อมเจ้าหรือพระองค์เจ้าอยู่แล้ว จะใช้คำราชาศัพท์ระดับ พระเจ้าบรมวงศ์ พระภิกษุทรงสมณศักดิ์ สมเด็จพระราชาคณะลงมาถ้ามิได้มีฐานันดรเดิมชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปก็ไม่ต้องใช้ราชาศัพท์ มีเฉพาะสมเด็จพระสังฆราชเท่านั้น
            เจริญพระพุทธมนต์ ใช้ในการนิมนต์พระภิกษุเกี่ยวด้วยงานมงคล ถ้านิมนต์เกี่ยวด้วยงานศพ พึงกล่าวว่าสวดมนต์
            การนิมนต์พระ ตามความนิยม นิมนต์ 5 รูป 7 รูป หรือ 9 รูป เป็นเลขคี่เพราะถือว่ารวมพระพุทธด้วยก็เป็นจำนวนคู่ นิมนต์ไปงานมงคลสมรสนิยมนิมนต์พระ 8 รูปเป็นสิริมงคล แต่สำหรับพิธีหลวงทุกพิธี ทางราชการต้องนิมนต์ตั้งแต่ 10 รูปเป็นอย่างน้อย ถ้านิมนต์ไปงานศพ นิมนต์เพียง 4 รูป
            ใบปวารณา การถวายจตุปัจจัยแด่พระภิกษุสามเณร ต้องใช้ใบปวารณามิให้กล่าวถึงเงินโดยตรง ให้ใช้คำว่า ข้าพเจ้าขอถวายจตุปัจจัยแด่พระคุณท่านเป็นมูลค่าบาทสตางค์
            เบญจางคประดิษฐ์ การกราบพระพุทธรูป, พระภิกษุ, พระรัตนตรัยแบบคุกเข่าทั้งสองจดพื้น คว่ำฝ่ามือทั้งสองวางแผ่ราบจดพื้นให้ข้อศอกแนบลำตัว หน้าผากจดลงบนพื้น รวมเป็นองค์ 5 กล่าวคือ การกราบโดยให้อวัยวะทั้ง 5 ได้แก่เข้าทั้ง 2 มือทั้ง 2 และหน้าผากจดลงกับพื้น
            การกรวดน้ำ ควรหยดน้ำหลั่งเป็นสายเดียวอย่างสม่ำเสมอทีละน้อยไม่ขาดสาย ไม่ควรให้มีเสียงน้ำหยดหรือไหลดังเกินควร ให้เริ่มกรวดน้ำตอนคำอนุโมทนาว่า "ยถาวรีวหา" ผู้กรวดจึงตั้งจิตแผ่ส่วนกุศลไปยังบุพการี ผู้ที่ประสงค์จะแผ่กุศลไปให้ รวมถึงสรรพสัตว์ทั้งหลาย เมื่อพระสวดจบบนยถา จึงหยุดกรวดน้ำ นั่งประนมมือฟังพระอนุโมทนาต่อไปจนจบ
            รูป ลักษณะใช้เรียกกับพระภิกษุสามเณร เช่นพระรูปหนึ่ง สามเณร 3 รูป เป็นคำใช้แทนตัวผู้พูด สำหรับพระภิกษุสามเณรพูดกับคฤหัสถ์ เป็นสรรพนามบุรุษที่ 1
            องค์ ลักษณะนามใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชา เช่น พระพุทธรูป 1 องค์ บาทหลวง 1 องค์ เป็นลักษณนามใช้กับสมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จพระราชาคณะว่ามีจำนวน "องค์" แทน "รูป" ใช้กับนักบวชในศาสนาอื่นด้วย
            ชี นักบวช เช่น ชีปะขาว คำเรียกหญิงที่นุ่งขาวห่มขาว โกนคิ้วโกนผม ถือศีล แม่ชีก็เรียก ชีต้น พระสงฆ์ที่เป็นอาจารย์ ภาษาโบราณใช้เรียกนักบวชหญิงว่ารูปชี ก็มี
            ถวาย บุคคลทั่วไปใช้ถึงพระภิกษุ หรือพระภิกษุถวายพระพรพระมหากษัตริย์และเจ้านาย
            เผดียงสงฆ์ แจ้งให้สงฆ์ทราบ
            นิมนต์ (เชิญ, เชื้อเชิญ) เช่นนิมนต์ไปฉัน นิมนต์รับบาตร
            อาราธนา (เชื้อเชิญ, นิมนต์, อ้อนวอน) เช่น อาราธนาแสดงธรรม อาราธนาพระปริตร อาราธนาศีล
            อุบาสก-อุบาสิกา บุรุษ-สตรีที่นับถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง คำลำลองว่าประสก-สีกา เป็นคฤหัสถ์ชายหญิงที่นับถือพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง
            ฉัน ฉันภัตตาคาร กินอาหาร ภิกษุฉันวันละ 2 ครั้งคือ ตอนเช้ากับตอนกลางวัน เรียกว่าฉันจังหันและฉันเพล
            โยม พระภิกษุใช้เรียกญาติผู้ใหญ่ หรือผู้มีอาวุโส เช่นบิดา เรียกว่าโยมผู้ชาย มารดาเรียกว่าโยมผู้หญิง หรือโยมพ่อโยมแม่ ฆราวาสจะกล่าวถึงญาติผู้ใหญ่ของท่านก็ใช้คำนี้ด้วย
            มรณภาพ, ถึงแก่มรณภาพ ตาย
            อาพาธ เจ็บไข้
            ประเคน มอบของส่งให้พระภิกษุกับมือ ผู้ชายต้องใช้สองมือยก ผู้หญิงจะยกส่งถึงมือต่อมือไม่ได้ พระภิกษุจะต้องเอาผ้าวางรองรับ โดยท่านถือชายผ้าอีกข้างหนึ่งไว้ ให้ผู้หญิงประเคนของนั้นลงบนผ้า
            หัตถบาส ระยะระหว่างพระสงฆ์ที่นั่งทำสังฆกรรมหรือระหว่างพระภิกษุสามเณรกับคฤหัสถ์ผู้ถวายของ ห่างกันไม่เกินศอกหนึ่ง
            ครองผ้า ครองจีวร นุ่งห่ม ถ้าใช้กับพระสังฆราชใช้ทรงจีวร ทรงสบง
            ภัตตาหาร อาหาร
            ปลงอาบัติ พระภิกษุแสดงความผิดของตนเพื่อเปลื้องโทษทางวินัย
            ปลงธรรมสังเวช พระภิกษุเกิดความสังเวชโดยธรรมเมื่อเห็นความแตกดับของสังขาร
            ปลงบริขาร พระภิกษุมอบบริขารให้ผู้อื่นเวลาใกล้ตาย
            ปลงผม โกนผม
            กุฏิ ที่อยู่ของพระภิกษุสามเณร
            บิณฑบาต รับอาหารใส่บาตรโดยพุทธศาสนิกชนตักบาตร
            ทำวัตร สวดมนต์ จำวัด นอน
            สรง อาบน้ำใช้แก่บรรพชิตและเจ้านาย
            คำราชาศัพท์ที่มักใช้ผิด
            1. คำที่ใช้ประกอบกริยา มักจะมีคำ ทรง นำหน้าคำธรรมดา หรือ ทรงพระ หน้าคำราชาศัพท์ หรือมี ต้น หลวง ประกอบท้ายให้เป็นราชาศัพท์ แต่ถ้าเป็นคำราชาศัพท์อยู่แล้วไม่ต้องเติมทรง จึงมักมีผู้ใช้ผิดเช่น ทรงเสด็จ ทรงตรัส ทรงโปรด ฯลฯ ต้องใช้คำว่า เสด็จ ตรัส โปรด จึงจะถูก
            2. คำกริยาที่มักจะเป็นปัญหาในการใช้ราชาศัพท์อีก 2 คำได้แก่คำว่า "เป็น" กับ "มี" คำทั้งสองนี้ถ้าใช้นำหน้าคำที่เป็นราชาศัพท์ จะไม่มีคำว่า "ทรง" นำหน้า เช่น เป็นพระราชโอรส เป็นพระราชนัดดา มีพระบรมราชโองการ มีพระราชเสาวนีย์ ฯลฯ เป็นต้น ต่อเมื่อ "เป็น" กับ "มี" นำหน้าคำธรรมดาจึงจะใช้ "ทรงเป็น" "ทรงมี" เช่น ทรงเป็นทหาร ทรงเป็นครู ทรงเป็นนักปราชญ์ ทรงมีกรรม ทรงมีทุกข์ ทรงมีเงิน ฯลฯ เป็นต้น
            3. คำว่า รับเสด็จ ไม่ใช้ ถวายการต้อนรับ เพราะไม่ใช่สิ่งของและไม่ใช่คำราชาศัพท์เหมือนถวายพระพรชัย นอกจากนี้ หากเป็นพระราชาต่างประเทศไม่ใช้บรม เช่น พระราชินีนาถวิกตอเรีย ไม่ใช้สมเด็จพระบรมราชินีนาถ คำว่า บรม ใช้เฉพาะพระเจ้าแผ่นดินไทย
            4. มีราชาศัพท์บางคำใช้เฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเท่านั้น ได้แก่ วันพระบรมราชสมภพ เพราะสมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมฯ จะใช้วันพระราชสมภพ พระราชวงศ์ทั่วไป ใช้วันประสูติ พระบรมราชโองการ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ใช้พระราชเสาวนีย์เหนือเกล้าเหนือกระหม่อมสั่งว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ใช้พระราชบัณฑูรเหนือเกล้าเหนือกระหม่อม สมเด็จพระบรมราชกุมารี มีพระราชบัญชาเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมสั่งว่า พระราชวงศ์ทั่วไปใช้พระราชดำรัสสั่ง
            5. คำขึ้นต้น ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม ลงท้ายด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ใช้เฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ สำหรับพระบรมโอรสาธิราชและสมเด็จพระบรมราชกุมารีใช้ขอพระราชทานกราบบังคมทูล ทราบฝ่าละอองพระบาท ส่วนสมเด็จเจ้าฟ้าใช้ขอพระราชทานกราบทูล ทรงฝ่าพระบาท ลงท้ายว่าด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมหรือควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม กับควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ตามลำดับ ชั้นพระองค์เจ้าพระราชโอรสธิดาทุกรัชกาลใช้ขอประทานกราบทูลทราบฝ่าพระบาท ลงท้ายเหมือนเจ้าฟ้า ชั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอพระ
วรวงศ์เธอใช้กราบทูล ทราบฝ่าพระบาท ลงท้ายควรมิควรแล้วแต่จะโปรด ชั้นหม่อมเจ้าทูล ทรงทราบ ลงท้ายแล้วแต่จะโปรด
            จากเรื่อง "วัฒนธรรมทางภาษา" ของ ประภาศรี สีหอำไพ, โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549

อัพเดทล่าสุด