https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ประวัติความเป็นมามุสลิมในเอเซีย - มุสลิมในประเทศไทย MUSLIMTHAIPOST

 

ประวัติความเป็นมามุสลิมในเอเซีย - มุสลิมในประเทศไทย


3,487 ผู้ชม


?ประวัติความเป็นมามุสลิมในเอเซีย  - มุสลิมในประเทศไทย?
? เมื่อเราพูดถึงคนที่นับถือศาสนาอิสลาม บางทีก็จะเรียกว่า “พวกแขก” ซึ่งหมายถึง ชาวมุสลิมโดยรวมหรือชาติพันธุ์ที่เข้ามาอยู่อาศัยในแผ่นดินสุวรรณภูมิหลาย ร้อยปีมาแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมา สำหรับการเข้ามาของมุสลิมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ตามรายงานของนักวิชาการต่าง ๆ พบว่าการเข้ามาของอิสลามหรือการแพร่ขยายของอิสลามในโลกใบนี้มี 3 วิธีด้วยกันคือ
? 1.ใช้กำลังทหารเหมือนที่อิสลามไปบุกตียุโรป เป็นต้น
? 2. มาทางนักบุญหรือผู้เผยแพร่ศาสนา
? 3. การเข้ามาของบรรดาพ่อค้า ซึ่งเป็นการเผยแพร่ศาสนาอย่างหนึ่ง
? จึงมีผู้ตั้งข้อสงสัยว่า การที่อิสลามเข้ามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนมากจะผ่านทางพ่อค้าวาณิช ทำให้อิสลามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดูสันติสุขจริงๆ
?ประวัติความเป็นมามุสลิมในเอเซีย  - มุสลิมในประเทศไทย ปกติเมื่อเรากล่าวถึงพี่น้องมุสลิม เราก็มักจะคิดกันว่า ชาวมุสลิมส่วนมากอาศัยอยู่ที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส แต่จากการศึกษากระทรวงการต่างประเทศได้ชี้ให้เห็นว่ามุสลิมทั้งหมดในประเทศ ไทย เพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่อาศัยอยู่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนที่เหลือพี่น้องมุสลิมก็จะกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ที่กรุงเทพฯ ภาคใต้ ภาคเหนือและภาคอีสานของประเทศ ?
? อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า คนไทยติดต่อกับชาวมุสลิมมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยมาจนถึงสมัยพระนครศรีอยุธยา เพราะว่ามีพ่อค้าชาวมุสลิมจากคาบสมุทรเปอร์เซียเข้ามาค้าขายในแหลมมลายูใน แถบประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซียในปัจจุบัน และได้นำศาสนาอิสลามเข้ามาด้วย ต่อมาภายหลังคนพื้นเมืองก็เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม บางท่านได้เป็นถึงขุนนางในราชสำนักไม่เฉพาะแต่ในเมืองไทย และในช่วงรัตนโกสินทร์ก็มีชาวมสุลิมมาจากมลายูมาเปลี่ยนสัญชาติและยังมีชาว อินเดียอีกด้วย
ประเทศไทยหรือสยามประเทศสมัยก่อน มีการค้าขายติดต่อประเทศโลกอิสลามมาเป็นเวลาช้านานแล้ว อาจจะก่อนสมัยสุโขทัยด้วยซ้ำแต่ในช่วงนั้นยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด แต่เมื่อสมัยสุโขทัย หลักฐานได้บันทึกว่ามีชนชาติที่เก่งกาจทางด้านการเดินเรือเข้ามาบรรทุก สินค้าจากประเทศไทยไปยังประเทศตนและในขณะนั้นก็ไม่ได้มีรายงานว่าเป็นชาว ยุโรป เพราะฉะนั้นเราจึงได้คาดกันว่าเป็นชาวมุสลิมซึ่งเป็นพ่อค้าจากเปอร์เซียนี่ เองที่เข้ามาติดต่อซื้อขาย
ประวัติความเป็นมามุสลิมในเอเซีย  - มุสลิมในประเทศไทยประวัติความเป็นมามุสลิมในเอเซีย  - มุสลิมในประเทศไทย
? ต่อมาในสมัยอยุธยาการติดต่อในลักษณะเช่นนี้ก็ยังคงมีอยู่ เมื่อเร็วๆนี้กรมศิลปากรได้ขุดพบเจดีย์ที่วัดราชบูรณะ ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างในสมัยพระเจ้าสามพระยา ราวพุทธศักราช 1961-1962? นับเป็นสมัยแรกเริ่มของกรุงศรีอยุธยา ก็พบเหรียญทองคำที่ทำขึ้นในแคชเมียร์ ซึ่งเหรียญทองคำนั้นตรงกับรัชสมัยอิสลาม ชื่อว่า “พระเจ้าไซนูล อาบีดีน” แสดงให้เห็นว่าเรามีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศที่นับถือศาสนา อิสลามอย่างแน่ชัด และในสมัยกรุงศรีอยุธยานี่เอง มีหลักฐานที่แน่นอนว่าชาวมุสลิมเข้ามาอยู่อาศัยในกรุงศรีอยุธยาและได้ตั้ง เมืองเป็นหลักแหล่งขึ้นมาตามจดหมายเหตุ เรียกคนมุสลิมนี้ว่า “แขกเทศ” ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ สะพานประตูจีน ด้านตะวันตกของกรุงศรีอยุธยาไปจนถึงหลังวัดนางมุกและลงไปที่ท่ากาหยี่ ซึ่งเป็นชื่อท่าน้ำหนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่กล่าวมานี้เป็นบริเวณที่มุสลิมตั้งบ้านอยู่ โดยเฉพาะในกำแพงเมืองและนอกกำแพงเมืองออกไปก็มี ปลายประตูจีนฟากตะวันตกจนถึงตำบลที่เรียกว่า ฌะไกรน้อยฝั่งตะวันตก ซึ่งทำไร่นาด้วยตัวเอง นับได้ว่าพี่น้องมุสลิมในสมัยก่อนอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ ชาวบ้านเรียกบริเวณนี้มาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ว่า กระตีทอง หรือว่า กระตีเจ้าเซ็น ชื่อเจ้าเซ็น นี้มาจากชาวแขก “ฮุสเซ็น” นับถือศานาอิสลามนิกายชีอะห์ โดยพบว่ามีซากสุเหร่าหรือมัสยิดและตอนนี้ก็ยังคงมีอยู่? คาดว่าบริเวณนี้เป็นที่ตั้งบ้านเมืองดั้งเดิมของผู้นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งมาค้าขายและมาตั้งรกรากอยู่ที่พระนครศรีอยุธยา แขกพวกนี้มาจากประเทศอาหรับบ้าง ส่วนใหญ่คาดว่ามาจากเปอร์เซียหรืออิหร่าน และกลายมาเป็นคนไทย
?
ในสมัยกรุงสุโขทัย สยามก็ได้แผ่ขยายอิทธิพลไปจนถึงใต้แหลมมลายู มีรายงานว่าผู้คนในสมัยนั้นมีผู้นับถือศาสนาอิสลามอยู่แล้ว? ทั้งผู้เป็นใหญ่และขุนนางในกรุงสุโขทัยก็ไม่ถือเป็นข้อแตกต่าง และได้อยู่รวมกันอย่างสันติสุขเป็นเวลาหลายร้อยปี ไม่เคยมีข้อบาดหมางระหว่างศาสนาพุทธและศาสนาอิสลามเลย เป็นความร่วมมือร่วมใจซึ่งกันและกันระหว่างไทยพุทธและไทยมุสลิมในการบริหาร บ้านเมือง ต่อต้านอริราชศัตรูมาด้วยกัน ก็นับเป็นความอัศจรรย์อย่างหนึ่งภายใต้พระบารมีของพระมหากษัตริย์ไทยทุก พระองค์ ทุกราชวงศ์ที่ได้ทรงอุปถัมภ์ ค้ำชูแก่ศาสนาอิสลามมาโดยตลอด
? ส่วนทางตอนใต้ของประเทศไทยคาดกันว่า มีผู้นับถือศาสนาอิสลามมาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย ส่วนเมืองปัตตานีก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจของสยามประเทศ ตั้งแต่สมัยสุโขทัย เมืองเอกทางตอนใต้ของสยามคือ นครศรีธรรมราชโดยเขตปกครองของนครศรีธรรมราชก็กินพื้นที่ไปจนสุดปลายแหลม มลายู สิงคโปร์ มะละกา เป็นเมืองประเทศราชของไทยทั้งหมด วีธีการปกครองในสมัยนั้น ส่วนมากก็ไม่ได้ส่งคนเข้าไปปกครองมีแต่ให้เมืองประเทศราชเหล่านี้ส่งดอกไม้ เงินดอกไม้ทอง 3 ปีต่อครั้งเป็นการสวามิภักดิ์ต่อกรุงศรีอยุธยานั่นเอง
ประวัติความเป็นมามุสลิมในเอเซีย  - มุสลิมในประเทศไทย ประวัติความเป็นมามุสลิมในเอเซีย  - มุสลิมในประเทศไทย
ด้วยเหตุนี้จึงนับว่าเมืองปัตตานีขึ้นอยู่กับประเทศไทย อยู่ในความดูแลของนครศรีธรรมราช ในฐานะเมืองประเทศราชต้องส่งเครื่องราชบรรณาการเหมือนประเทศอื่นๆ เช่น เขมร เป็นต้น
?
ดังนั้นในกรุงสุโขทัย จึงมีชาวมาเลย์มาเป็นประชากรของสยามประเทศในขณะนั้นด้วย หลายท่านคงมีข้อสงสัยว่าทำไมในประเทศไทยจึงได้มีมุสลิมหลายกลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นมุสลิมกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดคือ กลุ่มมลายู มีเชื้อชายบรรพบุรุษเป็นชาวมลายู? กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มมุสลิมที่สืบเชื้อสายมาจากชาวเปอร์เซีย กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มมุสลิมที่มาจากชวา กลุ่มที่ 4 มาจากจามในเขมร กลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มมุสลิมที่มาจากเอเชียใต้ ปากีสถาน อินเดีย บังกลาเทศ อัฟกานิสถานและกลุ่มที่ 6 กลุ่มสุดท้ายเป็นกลุ่มมุสลิมที่สืบเชื้อสายมาจากจีน
ประวัติความเป็นมามุสลิมในเอเซีย  - มุสลิมในประเทศไทย? กลุ่มที่ 1 เป็นมุสลิมกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีบรรพบุรุษมาจากชาวมลายู ในหนังสือกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยมุสลิมของ อาจารย์เสาวนีย์ จิตต์หมวด ได้กล่าวว่า เนื่องจากชนพื้นเมืองทางตอนใต้ในสมัยก่อนนับถือศาสนาอิสลามอยู่แล้ว ในสมัยสุโขทัย เมื่อสมัยรัชกาลที่ 1 ก็เกิดการแข็งเมือง ไม่ส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทอง ฉะนั้นรัชกาลที่ 1 จึงทรงโปรดให้กรมพระราชวังยกทัพไปปราบพม่า ทางตอนใต้ และเลยไปตีเมืองปัตตานี ทำให้ชาวมุสลิมบางส่วนถูกกวาดต้อนเข้ามาในกรุงเทพมหานคร ถ้าหากเป็นเชื้อพระวงศ์ของทางปัตตานีก็จะมาอยู่ที่สี่แยกบ้านแขก ส่วนชาวเมืองทั่วไปก็จะอยู่ตามแถบถนนตก บ้านอูฐ ประตูน้ำ สามแยกท่าไข่ หรือถ้ามาไม่ถึงกรุงเทพก็จะไปอยู่แถบจังหวัดเพชรบุรี นครนายก ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา ปัจจุบันได้ขยายตัวออกไปอยู่แถบจังหวัดชลบุรีบ้าง ส่วนที่มาเป็นเชลยก็แยกไปอยู่หลายแห่งส่วนใหญ่จะเป็นแถวชานกรุง เช่น ธนบุรี ทุ่งครุ พระประแดง บางคอแหลม มหานาค พระโขนง คลองตัน มีนบุรี หนองจอก และจะมีอยู่แถบอำเภอท่าอิฐ จังหวัดนนทบุรีอีกด้วย
?
วัตถุประสงค์ในการเอาเชลยปัตตานีขึ้นมาด้วยก็เพื่อต้องการเพิ่มพลังพลเมือง? เพราะในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น การก่อสร้างกรุงเทพยังไม่มีความมั่นคงนัก พลเมืองมีไม่มากพอต่อความต้องการของบ้านเมืองและต้องประสบปัญหาภัยสงคราม อยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นในสมัยรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชนั้น มีการอพยพเชลยชาวปัตตานีถึง 2 ครั้งในปี 2329 และปี 2334 เพื่อต้องการให้กำลังพลเพิ่มขึ้นในเมืองหลวงและให้ปัตตานีนั้นมีกำลังน้อยลง เพื่อไม่ให้ทำสงครามก่อกบฏต่อไทยอีก
?
สมัยรัชกาลที่ 3 สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เกิดความไม่สงบอีก ทำให้มุสลิมจากไทรบุรี ปัตตานีถูกกวาดต้อนขึ้นมาบริเวณนครศรีธรรมราช? กรุงเทพและจังหวัดใกล้เคียงอีกครั้ง ส่วนมุสลิมในคลอง 22 อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายกนั้นเป็นมุสลิมจากไทรบุรี เปอร์ลิส กลันตัน ปีนัง และเกดะห์ ตอนแรกมาอยู่กันที่คลองแสนแสบ และแถบมีนบุรีด้วย แต่เมื่อคนที่มาจากเมืองดังกล่าวเสียชีวิตกันหมด เหลือแต่ลูกหลานและไม่คิดที่จะย้อนกลับไปอีก จึงชวนกันไปตั้งหลักแหล่งกันใหม่ ทำให้มุสลิมส่วนหนึ่งจากถนนตกทรายกองดิน มาอยู่ที่คลอง 22 แทน ส่วนหนึ่งก็ไปอยู่ที่คลอง 17 คลอง 20 และคลอง 21 บางส่วนก็ถูกชักชวนไปอยู่ที่อำเภอท่าอิฐบ้าง? ทำให้มุสลิมกระจัดกระจายอยู่บริเวณภาคกลางก็เพราะผลเนื่องมาจากสงครามและการ สู้รบตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั่นเอง
ประวัติความเป็นมามุสลิมในเอเซีย  - มุสลิมในประเทศไทย? กลุ่มที่ 2 ก็คือ มุสลิมที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษชาวอาหรับเปอร์เซีย ดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้วว่าคนอาหรับเปอร์เซียส่วนมากเดินเรือ ทำมาค้าขาย จนมาตั้งหลักแหล่งอยู่ในประเทศไทยในกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ ทางตอนใต้ ก็มีการไปตั้งหลักแหล่งอยู่ที่นั่นด้วย เพราะฉะนั้นชาวมุสลิมในทางภาคใต้จึงมีบรรพบุรุษที่มาจากอาหรับเปอร์เซีย ที่มีทั้งนิกายสุหนี่และนิกายชีอะห์ สำหรับนิกายชีอะห์นั้นส่วนหนึ่งเผยแพร่สู่ประเทศไทยโดยชาวอิหร่านที่มาทำการ ค้าขาย
? ปัจจุบันมีผู้นับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์อยู่จำนวนหนึ่ง ที่มีอยู่มากคือในแถบเจริญพาศน์ กรุงเทพฯ และอิทธิพลอย่างหนึ่งของบรรดาชาวเปอร์เซียที่มาอยู่คือ ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ในศิลาจารึกมีบอกว่า มีตลาดประสาน หมายถึงตลาดขายของแห้งนักวิชาการหลายท่านก็เชื่อกันว่ามาจาก “บาซา” หรือตลาดบาซานั่นเอง? เมื่อสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พ.ศ. 2163 มีเชคอะหมัด ได้เข้ามาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพาณิชย์ ช่วยปรับปรุงงานราชการด้านกรมท่าขวาและได้เป็นจุฬาราชมนตรี มีหน้าที่เก็บภาษีสินค้าเข้าออก ดูแลเรือและการระหว่างประเทศ ดูแลกิจการงานศาสนาอิสลามในประเทศไทย นับตั้งแต่สมัยพระเจ้าทรงธรรมมาตลอดจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาและ รัตนโกสินทร์ เราจะพบว่ามีผู้คนเข้ารับราชการในสมัยนั้นเป็นมุสลิมสายเปอร์เซียทั้งหมด ในสมัยกรุงศรีอยุธยาดังที่กล่าวมาแล้วว่าที่เรียกว่า “แขกเทศ” หรือ “แขกแพ” เพราะพวกเขาชอบสร้างแพตามริมฝั่งแม่น้ำเพื่อทำการค้าขาย เมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากแขกแพเป็นนักเดินเรือ ลูกหลานสุลต่านสุไลมาน จึงมีชาติตระกูลดี เพราะได้รับโปรดเกล้าให้รับราชการกันหลายสกุล เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียให้กับชาวพม่า ชาวมุสลิมที่เข้ามาในกรุงเทพฯ ก็ยังใช้แพเป็นที่ค้าขายและใช้มัสยิดบางกอกใหญ่หรือมัสยิดต้นสนเป็นที่ ประกอบศาสนกิจ ปัจจุบันชาวมุสลิมเปอร์เซียกลุ่มนี้ได้ตั้งหลักแหล่งอยู่แถวมัสยิดผดุงธรรม ซอยกุฎีจีน และเจริญพาศน์แถวฝั่งธนบุรี
ประวัติความเป็นมามุสลิมในเอเซีย  - มุสลิมในประเทศไทย? กลุ่มที่ 3 เป็นมุสลิมที่มีเชื้อสายมาจากชวา โดยที่อินโดนีเซียได้มีการพบชามสังคโลกซึ่งอยู่ในลักษณะที่สมบูรณ์มากกว่า อยู่ที่เมืองไทยมาก เพราะที่เมืองไทยส่วนมากที่พบนั้นเป็นเครื่องสังคโลกที่เผาแล้วคุณภาพไม่ดี จึงไม่ได้ส่งออก ที่ส่งออกนั้นจะไปพบที่ต่างประเทศซึ่งคุณภาพดีกว่ากันมาก คาดกันว่าชาวชวาที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนมาถึงสมัย กรุงศรีอยุธยา และได้ปรากฏขึ้นมาในประวัติศาสตร์อีกครั้งหนึ่งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ มหาราช และหลังจากนั้นก็ไม่ถูกกล่าวขานอีกเลย โดยคาดว่าน่าจะถูกกลืนไปกับกลุ่มเชื้อสายมาเลย์
? ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการกล่าวว่า มีชาวชวาเข้ามาในเมืองไทยด้วยเรือใบและเรือกลไฟ โดยเข้ามาเพื่อการทำมาหากิน ค้าขาย ซึ่งอัตราค่าจ้างของชนชั้นแรงงานในไทยขณะนั้นสูงกว่าชาวชวาถึง 3 เท่าและรัชกาลที่ 5 ก็เคยเสด็จประพาสที่ชวาด้วย
เมื่อสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปก เกล้าเจ้าอยู่หัว ชาวชวาได้เดินทางเข้ามาตั้งแหล่งในประทศไทยด้วยความสมัครใจ และในระหว่างสงครามโลก ชาวอินโดนีเซียก็ถูกญี่ปุ่นเกณฑ์มาสร้างรถไฟสายมรณะ เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม ชาวชวาเหล่านี้ก็ได้หนีทัพ บางกลุ่มก็ไม่ได้กลับประเทศ อยู่ที่เมืองไทยต่อและบางส่วนก็ได้อพยพออกนอกประเทศ เนื่องจากจากปัญหาการเมือง เศรษฐกิจและสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่อินโดนีเซียตกอยู่ภายใต้การ ปกครองของฮอลันดา ชาวชวาจึงได้ตั้งหลักแหล่งอยู่ในแถบชนะสงคราม บางขุนพรหม สามเสน ดุสิต นางเลิ้ง ปทุมวัน บ้านทวาย สาทร บางรัก สำราญราษฎร์ สามยอด พหุรัดและป้อมปราบศัตรูพ่าย? เป็นต้น
ประวัติความเป็นมามุสลิมในเอเซีย  - มุสลิมในประเทศไทย? กลุ่มที่ 4? มุสลิมที่สืบเชื้อสายมาจากจาม หรือเขมร ในอดีตจามมีประเทศเป็นของตัวเอง ปัจจุบันเป็นเผ่าพันธุ์ ในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ เมื่อขาดแคลนทหารก็ได้มีทหารอาสามาแทนทหารไทย มาจากจาม กัมพูชาที่นับถือศาสนาอิสลามเรียกกันว่า “แขกครัว” เพราะอพยพกันมาเป็นครอบครัว สาเหตุที่เข้ามาก็เนื่องจาก ถูกเวียดนามรุกราน เมื่ออาณาจักรจามปาพ่ายแพ้ให้กับเวียดนาม ชาวจามส่วนหนึ่ง ก็หลบออกมาจากประเทศและเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก ชาวจามบางคนก็ถูกจับเป็นเชลยด้วย บางคนก็เข้ามาตั้งรกรากอยู่ที่คลองแสนแสบ ที่เรียกว่า เจริญผล
? ในสมัยรัชกาลที่ 5 ชาวจามส่วนหนึ่งก็อพยพเข้ามาตามพระยาอภัยภูเบศร์ ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองเขมรในขณะนั้นและอพยพมาพร้อมกับท่านและตั้ง หลักแหล่งอยู่บริเวณบ้านครัว ตั้งแต่เจริญผล ตรงสนามกีฬาแห่งชาติ ไปแถวอุรุพงษ์ ส่วนแหล่งอื่นก็มีที่ถนนเจริญนคร แหลมงอบ จังหวัดตาก และบางส่วนที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ประวัติความเป็นมามุสลิมในเอเซีย  - มุสลิมในประเทศไทย? กลุ่มที่ 5 กลุ่มมุสลิมที่มีเชื้อสายมาจากเอเชียใต้ มีหลักฐานกล่าวว่า สมัยอยุธยามีชาวอินเดียที่เข้ามาค้าขายแล้วเกิดความมั่งคั่ง จนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ได้มีการทำสนธิสัญญากับมหาอำนาจต่างๆ มีมุสลิมจากอินเดีย ปากีสถาน อัฟกานิสถาน มาตั้งถิ่นฐานในไทยมากขึ้น โดยยึดถืออาชีพค้าขาย เมื่อมาอยู่ในเมืองไทยก็ขอเป็นคนในบังคับต่างชาติ เพื่อจะได้ประกอบอาชีพสะดวกขึ้นเพราะมหาอำนาจได้ทำสนธิสัญญาไว้กับไทย ทำให้คนเหล่านี้ได้ไปตั้งถิ่นฐานในแหล่งสำคัญ อาทิ บางรัก ราชวงศ์ เยาวราช วรจักร สีลม พวกมุสลิมที่มาจากเอเชียใต้เหล่านี้ มักชอบสร้างเรือนในแถบที่มีมุสลิมตั้งบ้านเรือนอยู่แล้ว ที่มีมัสยิดเป็นศูนย์กลาง อาทิ ในแถบสัมพันธวงศ์ วัดตึก ฝั่งธนบุรี เป็นต้น และบางท่านก็ได้แต่งงานกับหญิงพื้นเมืองด้วย
?
? ประวัติความเป็นมามุสลิมในเอเซีย  - มุสลิมในประเทศไทย กลุ่มที่ 6? กลุ่มสุดท้าย เป็นมุสลิมที่มาจากเชื้อสายจีน ชาวจีนได้เข้ามาประเทศไทยทางภาคเหนือที่ติดกับไทย ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เชียงราย ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน และที่อื่นๆ และมักจะเรียกมุสลิมเหล่านี้ว่า “มุสลิมจีนฮ่อ” ซึ่งอพยพมาจากจีนทางตอนใต้หรือยูนนาน หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง นายพลเจียง ไค เชค ต้องอพยพรัฐบาลของตนไปอยู่เกาะไต้หวันและเมื่อจีนถูกยึดครองโดย เหมาเจ๋อตุง กลายเป็นคอมมิวนิสต์ไปและไม่อนุญาตให้นับถือศาสนาใดเลย มีกองพลที่ 93 ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้เป็นทหารของจีนก๊กมินตั๋ง เป็นมุสลิม ไม่อาจอยู่ในประเทศจีนได้อีกต่อไป จึงย้ายมาตั้งหลักแหล่งอยู่แถวอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ทหารจีนจากกองพล 93 ส่วนมากเป็นมุสลิมเช่นเดียวกับจีนฮ่อที่อยู่เมืองไทยมาช้านานแล้ว ก็ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่แถบภาคเหนือ เช่น มุสลิมที่ปาย? แม่ฮ่องสอน มีสถาปัตยกรรมมัสยิดที่น่าสนใจ
? จะเห็นได้ว่า ชาวไทยมุสลิมชาติพันธุ์ต่างๆในแผ่นดินไทย มีมิติที่กว้างขวางทั้งด้านชาติพันธุ์ ประวัติศาสตร์ สังคม อารยธรรม ศิลปวัฒนธรรมและภาษา ชาวมุสลิมก็คือคนไทยส่วนหนึ่งที่หล่อหลอมเป็นเนื้อเดียวกับสังคมไทยมาช้านาน มีบูรณาการร่วมกัน ที่เรียกว่า ความเป็นไทยอย่างกลมกลืนจนกระทั่งไม่สามารถแยกความเป็นมุสลิมออกไปได้ใน สังคมไทย
?
ประวัติความเป็นมามุสลิมในเอเซีย  - มุสลิมในประเทศไทย? ประวัติความเป็นมามุสลิมในเอเซีย  - มุสลิมในประเทศไทย?
? นี่ก็เป็นข้อเท็จจริงที่เราไม่อาจลืมไปได้ เพราะฉะนั้นการทำความรู้จัก แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และเรียนรู้ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสังคมไทยในมิติต่างๆ ก็คงจะเป็นหนึ่งในการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกัน ระหว่างไทยพุทธและไทยมุสลิม เพื่อดำรงชีวิตร่วมกันอย่างสงบสุขในสังคมไทยต่อไป

รายการวิทยุโลกมุสลิม โดยคุณโชติรัตน์ โกมารทัต
ภาพประกอบจา
https://www.google.co.th
https://www.masjidklangchachengsao.com/main/content.php?page=sub&category=10&id=57

https://www.saudiaramcoworld.com/issue/200504/the.seas.of.sindbad.htm

อัพเดทล่าสุด