คําราชาศัพท์ ดูคําราชาศัพท์ หลักการใช้คําราชาศัพท์


13,275 ผู้ชม


คําราชาศัพท์ ดูคําราชาศัพท์ หลักการใช้คําราชาศัพท์  

ความหมาย

คำว่า ราชาศัพท์ มีความหมายว่า ศัพท์หรือถ้อยคำสำหรับพระราชา ศัพท์หลวง ศัพท์ราชการแต่โดยทั่วไปหมายถึง คำสุภาพที่ใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมกับฐานะหรือสถานภาพของบุคคลต่างๆ ได้แก่ พระมหากษัตริย์ (พระราชา) พระราชวงศ์ ข้าราชการ พระภิกษุ และสุภาพชนทั่วไป

วิธีใช้ราชาศัพท์

การใช้ทรง

  1. ใช้ทรงนำหน้าคำนามสามัญบางคำทำให้เป็นกิริยา ราชาศัพท์ได้ เช่น ทรงกีฬา (เล่นกีฬา), ทรงธรรม (ฟังเทศน์), ทรงบาตร (ใส่บาตร), ทรงช้าง (ขี่ช้าง)
  2. ใช้ทรงนำหน้าคำกิริยาสามัญบางคำ ทำให้เป็นกิริยาราชาศัพท์ได้ เช่น ทรงวิ่ง, ทรงยินดี, ทรงอธิบาย, ทรงยิง, ทรงเล่น, ทรงสั่งสอน
  3. ใช้ทรงนำหน้าคำนามราชาศัพท์บางคำ ทำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ได้ เช่น ทรงพระราชดำริ (คิด), ทรงพระราชนิพนธ์ (แต่งหนังสือ), ทรงพระสรวล (ยิ้ม), ทรงพระอักษร (อ่าน, เขียน, เรียน)

การใช้คำ พระบรม/พระบรมราชม, พระราช, พระ

  1. พระบรม, พระบรมราช ใช้นำหน้าคำนามที่สำคัญที่เกี่ยวกับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเท่านั้น เช่น พระบรมราโชวาท, พระบรมมหาราชวัง, พระบรมฉายาลักษณ์, พระปรมาภิไธย, พระบรมราชวโรกาส, พระบรมราชโองการ
  2. พระราช ใช้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, สมเด็จพระบรมราชินีและอุปราช เช่น พระราชโทรเลข, พระราชหัตถเลขา, พระราชเสาวนีย์, พระราชปฏิสันถาร
  3. พระ ใช้นำหน้าคำที่เรียกอวัยวะเครื่องใช้ หรือนำหน้าคำสามัญบางคำที่ไม่มีราชาศัพท์ใช้ เช่น พระพักตร์, พระเศียร, พระบาท, พระเก้าอี้, พระมาลา, พระกระยาหาร

การใช้ราชาศัพท์ในคำขึ้นต้นและคำลงท้าย

  1. “ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า” ลงท้ายว่า “ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ” ใช้ในโอกาสกราบบังคมทูลขึ้นก่อนเป็นครั้งแรก
  2. “พระพุทธเจ้าข้าขอรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า...” ลงท้ายว่า “ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม” ใช้ในโอกาสที่มีพระราชดำรัสขึ้นก่อน
  3. “พระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นเกล้าล้น กระหม่อม...” หรือ “พระเดชพระคุณเป็นล้นเกล้าล้นกระหม่อม...” ลงท้ายว่า “ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม” ใช้ในโอกาสแสดงความขอบคุณที่ได้รับความช่วยเหลือ
  4. “เดชะพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม” หรือ “เดชะพระบรมเดชานุภาพเป็นล้นเกล้าล้นกระหม่อม...” ลงท้ายว่า “ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม” ใช้ในโอกาสแสดงว่ารอดพ้นอันตราย
  5. “พระราชอาญาไม่พ้นเกล้าพ้นกระหม่อม...” หรือ “พระราชอาญาเป็นล้นเกล้าล้นกระหม่อม...” ลงท้ายว่า “ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม” ใช้ในโอกาสทำผิดพลาด
  6. “ไม่ควรจะกราบบังคมทูลพระกรุณา...” หรือ “ไม่ควรจะกราบบังคมทูลให้ทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท...” ลงท้ายว่า “ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม” ใช้ในโอกาสที่จะต้องกล่าวถึงของไม่สุภาพ คำกราบบังคมทูลจะต้องใช้ “ฝ่าละอองธุลีพระบาท” ไม่ใช้ “ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท” เพราะคำว่า “ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท” เป็นคำสรรพนามมีความหมายว่า “ท่าน” เท่านั้น

คำกราบบังคมทูลจะต้องใช้ “ฝ่าละอองธุลีพระบาท” ไม่ใช้ “ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท” เพราะคำว่า “ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท” เป็นคำสรรพนามมีความหมายว่า “ท่าน” เท่านั้น

การใช้คำราชาศัพท์ให้ถูกต้อง

  1. ใช้ เฝ้าฯ รับเสด็จหรือรับเสด็จ ไม่ใช้ ถวายการต้อนรับ
    ใช้ มีความจงรักภักดี หรือ จงรักภักดี ไม่ใช้ ถวายความจงรักภักดี
  2. อาคันตุกะ หมายถึง แขกที่มาหานั้นเป็นแขกของประธานาธิบดี หรือแขกของบุคคลอื่นที่ไม่ใช่พระมหากษัตริย์ประเทศใดประเทศหนึ่ง
    ราชอาคันตุกะ, พระราชอาคันตุกะ หมายถึง แขกของพระมหากษัตริย์ประเทศใดประเทศหนึ่ง
  3. ขอบใจ ใช้สำหรับสุภาพคนเสมอกัน ผู้ใหญ่ใช้พูดกับผู้น้อย พระราชวงศ์ ทรงใช้กับคนสามัญ และพระราชาทรงใช้กับประชาชน
    ขอบพระทัย ใช้สำหรับคนสามัญกล่าวกับพระราชวงศ์, พระราชวงศ์ทรงใช้กับพระราชวงศ์หรือพระราชาทรงใช้กับพระราชวงศ์
  4. ในการถวายของแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
    ถ้าเป็นของเล็ก ใช้คำว่า ทูลเกล้าฯ ถวาย อ่านว่า ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย
    ถ้าเป็นของใหญ่ ใช้คำว่า “น้อมเกล้าฯ ถวาย อ่านว่า น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย

แหล่งข้อมูล  https://www.kanzuksa.com

...................................................................................................

คําราชาศัพท์ ดูคําราชาศัพท์ หลักการใช้คําราชาศัพท์	คําราชาศัพท์ ดูคําราชาศัพท์ หลักการใช้คําราชาศัพท์	คําราชาศัพท์ ดูคําราชาศัพท์ หลักการใช้คําราชาศัพท์


คำราชาศัพท์

คำราชาศัพท์ หมายความว่า ศัพท์หลวง ศัพท์ราชการ และหมายรวมถึงคำสุภาพซึ่งนำมาใช้ให้ถูกต้องตามชั้นหรือฐานะของบุคคล บุคคลผู้ที่พูดต้องใช้ราชาศัพท์ด้วย

จำแนกเป็น 5 ประเภท คือ
1. พระมหากษัตริย์
2. พระบรมวงศานุวงศ์
3. พระสงฆ์
4. ข้าราชการชั้นสูงหรือขุนนาง
5. สุภาพชนทั่วไป

คำราชาศัพท์แบ่งได้  6 หมวด คือ
1. หมวดร่างกาย
2. หมวดเครือญาติ
3. หมวดเครื่องใช้
4. หมวดกริยา
5. หมวดสรรพนาม
6. หมวดคำที่ใช้กับพระสงฆ์

หมวดร่างกาย
คําราชาศัพท์ ดูคําราชาศัพท์ หลักการใช้คําราชาศัพท์

หมวดเครือญาติ   
คําราชาศัพท์ ดูคําราชาศัพท์ หลักการใช้คําราชาศัพท์

หมวดเครื่องใช้
คําราชาศัพท์ ดูคําราชาศัพท์ หลักการใช้คําราชาศัพท์

หมวดคำกริยา
คําราชาศัพท์ ดูคําราชาศัพท์ หลักการใช้คําราชาศัพท์

หมวดสรรพนาม
คําราชาศัพท์ ดูคําราชาศัพท์ หลักการใช้คําราชาศัพท์

หมวดคำที่ใช้กับพระสงฆ์
คําราชาศัพท์ ดูคําราชาศัพท์ หลักการใช้คําราชาศัพท์
คำสุภาพ
คำที่เหมาะใช้กับบุคคลทั่วไป เป็นคำที่มีความหมายเหมือนกัน
คําราชาศัพท์ ดูคําราชาศัพท์ หลักการใช้คําราชาศัพท์
คําราชาศัพท์ ดูคําราชาศัพท์ หลักการใช้คําราชาศัพท์

ข้อสังเกต
เกี่ยวกับการใช้คำราชาศัพท์ ระดับพระมหากษัตริย์และบรมวงศานุวงศ์
คำนาม
1. ใช้คำ “พระบรม” หรือ “พระบรมราช” นำหน้าคำนามที่สำคัญ ซึ่งสมควรจะเชิดชูให้เป็นเกียรติ
ตัวอย่าง พระบรมราชโองการ
พระบรมราชูปถัมภ์
พระบรมมหาราชวัง
พระบรมวงศานุวงศ์
2. ใช้คำ “พระราช” นำหน้าคำนามที่ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์ซึ่งต้องการกล่าวไม่ให้ปนกับพระบรมวงศานุวงศ์ ตัวอย่าง
พระราชลัญจกร
พระราชประวัติ
พระราชดำริ
พระราชทรัพย์
3. ใช้คำ “พระ” นำหน้าคำนามทั่วไปเพื่อให้แตกต่างจากสามัญชน ตัวอย่าง
พระเก้าอี้
พระชะตา
พระโรค
พระตำหนัก
4. ใช้คำ “พระ” นำหน้าคำนามทั่วไปเพื่อให้แตกต่างจากสามัญชน
ยกเว้น
คําราชาศัพท์ ดูคําราชาศัพท์ หลักการใช้คําราชาศัพท์

คำกริยา
คําราชาศัพท์ ดูคําราชาศัพท์ หลักการใช้คําราชาศัพท์
กริยา คำว่า “ทรง”
คำว่าทรง ทรง ตามด้วย คำนาม มีความหมายถึง กษัตริย์เทพเจ้า
ตัวอย่าง ทรงธรรม ทรงชัย ทรงฉัตร     หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน
    ทรงหงส์            หมายถึง พระพรหม
    ทรงโค              หมายถึง พระอิศวร
    ทรงครุฑ            หมายถึง พระนารายณ์

คำว่าทรง คำนาม ตามด้วย ทรง บอกให้ทราบว่า สิ่งนั้นเป็นของพระมหากษัตริย์ หรือพระบรมวงศานุวงศ์ ตัวอย่าง เครื่องทรง รถพระที่นั่งทรง ม้าทรง

คำว่าทรงตามด้วยนามราชาศัพท์  ตัวอย่าง ทรงยินดี ทรงฟัง ทรงนิ่ง
คำว่าทรงหมายถึงทำ ตัวอย่าง ทรงบาตร     หมายถึง ใส่บาตร
    ทรงม้า        หมายถึง ขี่ม้า
    ทรงกรม        หมายถึง มีฐานันดรเป็นเจ้าต่างกรม

คำว่าทรงเมื่อใช้กับกริยา “มี” และ “เป็น”
• ถ้าคำนามข้างหน้าเป็นราชาศัพท์ ไม่ต้องใช้ทรง
ตัวอย่าง เป็นพระราชโอรส มีพระบรมราชโองการ
• ถ้าคำนามข้างหลังเป็นคำสามัญ ต้องใช้ทรง
ตัวอย่าง ทรงเป็นประธาน ทรงมีทุกข์

แหล่งข้อมูล https://www.trueplookpanya.com

อัพเดทล่าสุด