พจนานุกรมคําราชาศัพท์ การใช้คําราชาศัพท์สําหรับพระมหากษัตริย์ คําราชาศัพท์ต่างๆ


19,936 ผู้ชม


พจนานุกรมคําราชาศัพท์ การใช้คําราชาศัพท์สําหรับพระมหากษัตริย์ คําราชาศัพท์ต่างๆ 

คำราชาศัพท์ สำหรับพระมหากษัตริย์ : ใช้อย่างไรให้ถูกต้อง

เฉลียว เพชรแก้ว.......เรื่อง


ประเทศไทยปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และมีภาษาไทย เป็นภาษาประจำชาติที่มีเอกลักษณ์  มีระเบียบแบบแผนในการใช้ภาษาให้เหมาะสมกับฐานะและระดับของบุคคล โดยเฉพาะภาษาที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ ซึ่งรวมถึงพระบรมวงศานุวงศ์ด้วยเช่นกัน คือการใช้ “คำราชาศัพท์” ที่มีความสำคัญยิ่ง แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมทางสังคมที่ประชาชนมีต่อพระมหากษัตริย์ ด้วยความจงรักภักดี การยกย่องเทิดทูน และความผูกพันระหว่างกษัตริย์กับประชาชน
จากบันทึกประวัติศาสตร์ เขียนไว้ว่า คนไทยเราเริ่มใช้คำราชาศัพท์ตั้งแต่ในรัชสมัยพระมหาธรรม ราชาลิไท พระร่วงองค์ที่ ๕ แห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งในศิลาจารึกวัดศรีชุม ได้กล่าวถึงการตั้งราชวงศ์และกรุงสุโขทัย โดยมีคำว่า “อภิเษก” ซึ่งเป็นคำราชาศัพท์ที่ไทยเรารับมาใช้สำหรับประกอบพิธีการแต่งตั้งตำแหน่ง ชั้นสูง นอกจากนี้ ในวรรณคดีเรื่องไตรภูมิพระร่วง ปรากฏว่า มีคำราชาศัพท์อยู่เป็นจำนวนมาก เช่น คำว่า สมเด็จ เสด็จ พระสหาย ราชอาสน์ ราชกุมาร บังคม เสวยราชย์ ราชาภิเษก เป็นต้น
ทุกวันนี้การใช้คำราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์ เรารับรู้จากการนำเสนอผ่านทางหน้าหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ และ อินเทอร์เน็ต มีการสื่อสารการใช้คำราชาศัพท์ผิดๆ อยู่เป็นประจำ ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าผู้มีหน้าที่นำเสนอข่าวสาร ขาดความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการใช้คำราชาศัพท์ หรือเกิดจากความไม่รับผิดชอบ ปล่อยปละละเลย จึงนำเสนอให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งเป็นผลให้จดจำไปใช้กันผิดๆ ดังตัวอย่างการใช้คำราชาศัพท์ต่อไปนี้
“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประชวร”
ข้อความนี้ใช้คำราชาศัพท์ “ทรงประชวร” ผิด เพราะ “ประชวร” เป็นคำราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่ต้องใช้ “ทรง” นำหน้า เช่นเดียวกับคำว่า โปรด เสวย ตรัส เสด็จ กริ้ว ทูล ถวาย บรรทม ประทับ
คำเหล่านี้เป็นคำราชาศัพท์ทั้งสิ้น จึงไม่ต้องใช้ “ทรง” นำหน้า แต่ถ้าหากจะใช้ “ทรง” นำหน้า ต้องใช้ว่า “ทรงพระประชวร” เพราะใช้ “ทรง” นำหน้าคำนามราชาศัพท์ได้ เช่นเดียวกับคำว่า พระเมตตา พระอุตสาหะ พระพิโรธ พระสรวล พระราชนิพนธ์ พระราชสมภพ ใช้ “ทรง” นำหน้าได้ เพราะคำเหล่านี้เป็นคำนามราชาศัพท์
“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชปฏิสันถารกับประชาชนที่มารอรับเสด็จ”
ข้อความนี้ใช้คำราชาศัพท์ “ทรงมีพระราชปฏิสันถาร” ผิด ที่ถูกต้องคือ “มีพระราชปฏิสันถาร” ทั้งนี้เพราะว่าไม่ต้องใช้ “ทรง” นำหน้าคำกริยา “มี” หรือ “เป็น” ที่ต่อท้ายด้วยคำนามราชาศัพท์ เช่นเดียวกับคำว่า มีพระเมตตา มีพระราชดำริ มีพระบรมราชโองการ เป็นพระราชโอรส เป็นพระราชธิดา คำเหล่านี้ ใช้ “ทรง” นำหน้าไม่ได้เช่นกัน แต่ถ้าคำว่า “เป็น” มีคำสามัญธรรมดาต่อท้าย ใช้ “ทรง” นำหน้าได้ เช่น ทรงเป็นผู้นำ ทรงเป็นที่เคารพสักการะ เป็นต้น
“ประชาชนชาวไทยพร้อมใจกันถวายความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”
ข้อความนี้ควรแก้ไขให้ถูกต้องว่า “ประชาชนชาวไทยมีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว” ซึ่งไม่ควรใช้คำว่า “ถวาย” เพราะว่าความจงรักภักดีเป็นสิ่งที่ถวายให้กันไม่ได้
“โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจร่วมกันถ่ายทอดสดพิธีน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ควรเปลี่ยน “น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย ....” เป็น “ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย....” เพราะการถวายของแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีหลักการใช้ว่า ถ้าเป็นของเล็ก ให้ใช้ว่า “ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย....” ถ้าเป็นของใหญ่ ให้ใช้ว่า “น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย....”
หลักเกณฑ์การใช้คำราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์

การใช้คำราชาศัพท์ให้ถูกต้อง ควรคำนึงถึงการใช้คำที่เป็นคำในลักษณะต่างๆ ได้แก่ คำนามราชาศัพท์ คำสรรพนามราชาศัพท์ คำกริยาราชาศัพท์ การใช้คำกราบบังคมทูล และการใช้คำราชาศัพท์ให้ถูกความหมาย
การใช้คำนามราชาศัพท์ มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
๑.คำนามที่เป็นชื่อสิ่งสำคัญที่ควรยกย่อง มีคำที่ใช้เติมข้างหน้า ได้แก่ พระบรมมหาราช พระบรมราช พระบรม พระราช พระอัครและพระมหา เช่น พระบรมมหาราชวัง พระบรมมหาชนก พระบรมราชชนนี พระบรมราชวงศ์ พระบรมอัฐิ พระราชโอรส พระอัครชายา พระมหาปราสาท เป็นต้น
๒. คำนามที่ใช้เป็นชื่อสามัญทั่วไป นำหน้าด้วยคำ “พระ” เช่น พระหัตถ์ พระบาท พระกร พระแท่น พระเคราะห์ เป็นต้น
๓. คำนามที่ต่อท้ายด้วยคำว่า “ต้น” และ “หลวง” เช่น ประพาสต้น ช้างต้น เรือนต้น วังหลวง รถหลวง เรือหลวง ส่วน “หลวง” ที่แปลว่าใหญ่ ไม่จัดว่าเป็นคำราชาศัพท์ เช่น ทะเลหลวง เขาหลวง ภรรยาหลวง
๔. คำนามที่ใช้คำไทยประสมกับคำต่างประเทศ เช่น ริมพระโอษฐ์ เส้นพระเกศา ฝ่าพระบาท ลายพระหัตถ์ ช่องพระนาสิก ขอบพระเนตร เป็นต้น
การใช้คำสรรพนามราชาศัพท์ มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
คำสรรพนามใช้แทนบุรุษที่ ๑
บุคคลทั่วไป ใช้คำว่า ข้าพระพุทธเจ้า
คำสรรพนามใช้แทนบุรุษที่ ๒
บุคคลทั่วไป ใช้คำว่า ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
คำสรรพนามใช้แทนบุรุษที่ ๓
บุคคลทั่วไป ใช้ว่า พระองค์, พระองค์ท่าน
การใช้คำกริยาราชาศัพท์ มีหลักเกณฑ์ที่สำคัญ ดังนี้
๑. ใช้ “ทรง” นำหน้าคำกริยาธรรมดา เช่น ทรงยืน ทรงยินดี ทรงชุบเลี้ยง ทรงฟัง ทรงมีเหตุผล ทรงตัดสิน เป็นต้น
๒. ใช้ “ทรง” นำหน้าคำนามธรรมดา เช่น ทรงศีล ทรงธรรม ทรงดนตรี ทรงบาตร เป็นต้น
๓. ใช้ “เสด็จ” นำหน้าคำกริยาบางคำ เช่น เสด็จขึ้น เสด็จลง เสด็จกลับ เสด็จออก เสด็จไป เป็นต้น
๔. ใช้ “เสด็จ” นำหน้าคำนามราชาศัพท์ เป็นคำกริยาราชาศัพท์ เช่น เสด็จพระราชสมภพ เสด็จพระราชดำเนิน คำเสด็จพระราชดำเนิน หมายถึงเดินทางโดยยานพาหนะ หรือเดินทางตามทางลาดพระบาท ต้องเติมคำที่เป็นใจความไว้ข้างหลัง เช่น เสด็จพระราชดำเนินตรวจพลสวนสนาม
๕. ไม่ใช้ “ทรง” นำหน้าคำกริยาราชาศัพท์ เช่น ตรัส โปรด ถวาย ทูล ประสูติ เป็นต้น
๖. ใช้คำไทยประสมกับคำต่างประเทศใหเป็นคำกริยาราชาศัพท์ เช่น ขอบพระทัย สนพระทัย ทอดพระเนตร แย้มพระโอษฐ์ เอาพระทัยใส่ ลงพระปรมาภิไทย เป็นต้น
การใช้คำกราบบังคมทูล มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
คำขึ้นต้น : ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
คำลงท้าย : ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
เมื่อจะกราบบังคมทูลเรื่องใด ควรใช้ข้อความที่แสดงถึงเรื่องที่จะกราบบังคมทูล โดยเริ่มต้นข้อความ ให้เหมาะสมกับเรื่องที่จะกราบบังคมทูล ดังนี้
๑. เมื่อกล่าวถึงความสะดวกสบายหรือรอดพ้นอันตราย ใช้ข้อความว่า ขอเดชะพระบารมีปกเกล้า ปกกระหม่อม
๒. เมื่อกล่าวถึงข้อความที่หยาบหรือไม่เหมาะสม ใช้ข้อความว่า ไม่บังควรจะกราบบังคมทูลพระกรุณา
๓. เมื่อกล่าวถึงการที่ได้ทำผิดพลาด หรือทำในสิ่งที่ไม่ควรใช้ข้อความว่า พระราชอาญาไม่พ้นเกล้า พ้นกระหม่อม
๔. เมื่อกล่าวข้อความเป็นการขอบพระคุณ ใช้ข้อความว่า พระมหากรุณาธิคุณ ล้นเกล้าล้นกระหม่อม
๕. เมื่อกล่าวข้อความเป็นกลาง เพื่อจะได้ทรงเลือกให้ใช้ข้อความลงท้ายคำกราบบังคมทูลว่า การจะควรมิควรประการใด สุดแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
๖. เมื่อจะกราบบังคมทูลความเห็นของตน ใช้ข้อความว่า เห็นด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม
๗. เมื่อจะกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาต ใช้ข้อความว่า ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต
๘. เมื่อจะกราบทูลถึงสิ่งที่ทราบมา ใช้ข้อความว่า ทราบเกล้าทราบกระหม่อมว่า
๙. เมื่อจะกราบบังคมทูลถึงการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งถวาย ใช้ข้อความว่า สนองพระมหากรุณาธิคุณ
๑o. เมื่อจะขอพระราชทานโอกาสทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ใช้ข้อความว่า ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส

การใช้คำราชาศัพท์ให้ถูกต้องตามความหมาย ซึ่งแบ่งเป็นหมวดต่างๆ เช่น
หมวดร่างกาย พระปราง (แก้ม) พระทาฒิกะ (เครา) พระโลมจักษุ (ขนตา) เส้นพระเจ้า (เส้นผม) พระรากขวัญ (ไหปลาร้า) พระจักษุ (ดวงตา) ฟัน (พระทนต์) พระอังสา (บ่า ไหล่) พระโอษฐ์ (ปาก) พระนลาฎ (หน้าผาก) พระนขา (เล็บ) พระอุทร (ท้อง) พระปัปผาสะ (ปอด) พระองคุลี (นิ้วมือ) เป็นต้น
หมวดเครื่องใช้ พระโอสถ (ยา) ฉลองพระเนตร (แว่นตา) พระแสง (อาวุธ) พระคลุมบรรทม (ผ้าห่มนอน) พระภูษาทรง (ผ้านุ่ง) ผ้าซับพระพักตร์ (ผ้าเช็ดหน้า) พระสุธารส (น้ำ) พระสุธารสชา (น้ำชา) พระกระยาเสวย (ข้าว) พระธำมรงค์ (แหวน) เป็นต้น
หมวดราชตระกูล พระอัยกา (ปู่) พระอัยกี (ย่า) พระปิตุลา (ลุง พี่ชายของพ่อ) พระปิตุจฉา (ป้า พี่สาวของพ่อ) พระมาตุลา (ลุง พี่ชายของแม่) พระมาตุจฉา (ป้า พี่สาวของแม่) พระชามาดา (ลูกเขย) พระสุณิสา (ลูกสะใภ้) พระพี่นาง พระเจ้าน้องยาเธอ พระเจ้าลูกยาเธอ เป็นต้น
การใช้คำราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์ มีหลักเกณฑ์อยู่มากพอสมควร ที่ยกตัวอย่างมานี้เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ซึ่งการที่จะใช้คำราชาศัพท์ให้ถูกต้อง ต้องศึกษาหลักเกณฑ์การใช้อย่างละเอียดถี่ถ้วน ถ้าหากใช้ไม่ถูกต้อง หรือไม่เหมาะสม ก็อาจจะเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้
การใช้คำราชาศัพท์ให้ถูกต้อง เป็นการแสดงให้เห็นถึงความเป็นคนสุภาพมีสัมมาคารวะ มีความประณีตในการใช้ภาษา อีกทั้งเป็นการฝึกทักษะการใช้ภาษาลักษณะหนึ่งที่ทำให้ผู้ใช้ภาษาใช้ได้อย่าง ถูกต้อง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความรอบรู้ของผู้ใช้ ดังนั้นการใช้คำราชาศัพท์จึงเป็นการปลูกฝังให้คนไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญ ของภาษาไทย และเป็นการส่งเสริมให้มีความภาคภูมิใจที่ประเทศไทยเรามีวัฒนธรรมอันทรงคุณ ค่าควรแก่การอนุรักษ์สืบไป

การอ้างอิง
คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ, ราชาศัพท์ กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ดาว, ๒๕๔๒.
สาส์นสมเด็จ ฉบับองค์การค้าคุรุสภาพิมพ์จำหน่าย เล่ม ๒๓. (๒๕o๕) พระนคร : โรงพิมพ์คุรุสภา.
รายการปกิณกะ สำนักงานเลขาธิการ สถานีวิทยุสราญรมย์ ๑๕ เมกะเฮิรตซ์
www.mfa.go.th/web/149.php.

....................................................................................

  พจนานุกรมคําราชาศัพท์ การใช้คําราชาศัพท์สําหรับพระมหากษัตริย์ คําราชาศัพท์ต่างๆ

หมวด ก 

เเก้ม

พระปราง

กรรไกร

พระแสงกรรไกร

กระจกส่อง

พระฉาย

กระดูก

พระบรมอัฐิ

กระโปรง

ฉลองพระองค์กระโปรง

กล้ามเนื้อ

กล้ามพระมังสา

กั้นร่มให้

ถวายพระกลด

กับข้าว

เครื่องคาว

กางเกง

พระสนับเพลา

กางร่ม

ขึ้นพระกลด

กาแฟ

พระสุธารสกาแฟ

กิน

เสวย (พระเจ้าแผ่นดิน, พระราชวงศ์)

กิน

ฉัน(ใช้กับพระสงฆ์)

เกิด

ทรงพระราฃสมภพ, เสด็จพระราชสมภพ (พระเจ้าแผ่นดิน, สมเด็จฯพระบรมราชินีฯ) ประสูติ, สมภพ (พระราชวงศ์)

แก้วน้ำดื่ม

แก้วน้ำเสวย

โกรธ

ทรงพระพิโรธ (พระเจ้าแผ่นดิน) พิโรธ, กริ้ว (พระราชวงศ์)

หมวด ข 

ขน

พระโลมา

ขนจมูก

พระโลมะนาสิก

ข้อเท้า

ข้อพระบาท

ขอบตา

ขอบพระเนตร

ข้อมือ

ข้อพระหัตถ์

ข้อศอก

พระกโบร

ขา

พระเพลา

ข้าว

พระเสวย (พระราชวงศ์)

ขี้ไคล

พระเสโท

ขี้จมูก

มูลพระนาสิก

ขี้ตา

มูลพระจักษุ

ขี้แมลงวัน

พระปิลกะ

ขี้หู

มูลพระโสต

เข็มขัด

รัดพระองค์

เข่า

พระชานุ

เขียนหนังสือ

ทรงพระอักษร

แข้ง

พระชงฆ์

หมวด ค 

ครัว

ห้องเครื่อง

ครุฑ หรือ พญาแห่งนกในนิยาย

สุบรรณ

คลอดลูก

ประสูติ

ความคิด

พระราชดำริ

คอ

พระกัณฐ์

คาง

พระหนุ

คำตัดสิน

พระบรมราชวินิจฉัย

คำถาม

พระราชปุจฉา

คำพูด

พระราชดำรัส, พระราชกระแส

คำสอน

พระบรมราโชวาท

คำสั่งราชการ

พระบรมราชโองการ

คิ้ว

พระภมู

หมวด ง 

งานฉลองในพิธีมงคลเพื่อความยินดีร่าเริง

สมโภช

เงา

พระฉายา

เงิน

พระราชทรัพย์

หมวด จ 

จดหมาย

พระราชหัตถเลขา พระราชสาส์น ลายพระหัตถ์

จมูก

พระนาสา, พระนาสิก

จานอาหาร

จานเครื่องต้น

จุก (ผม)

พระโมลี, พระเมาลี

เจ็บ

ทรงพระประชวร (พระเจ้าแผ่นดิน) ประชวร (พระราชวงศ์)

ใจ

พระหทัย, พระหฤทัย, พระกมล

หมวด ช 

ช้อน

ฉลองพระหัตถ์

ชอบ

โปรด (พระเจ้าแผ่นดิน)

ชามอาหาร

ชามเครื่องต้น

หมวด ด 

ดู หรือ ชม

ทอดพระเนตร

เดินไป

ทรงพระราชดำเนิน, เสด็จพระราชดำเนิน (พระเจ้าแผ่นดิน)/ เสด็จ (พระราชวงศ์)

หมวด ต 

ตลับเพชร

พระรัตนกรัณฑ์ หรือ ตลับพระมณฑปเล็ก

ตะเกียบ

ฉลองพระหัตถ์ตะเกียบ

ตัดผม

ทรงพระเครื่องใหญ่

ตา

พระเนตร

ตาย

สวรรคต

เต้ากรวดน้ำ

พระเต้าทักษิโณทก

แต่งงาน

อภิเษกสมรส

แตงโม

ผลอุลิด

โต๊ะเขียนหนังสือ

โต๊ะทรงพระอักษร

ไต

พระวักกะ

หมวด ถ 

ถ้วยชามอาหาร

ถ้วยชามเครื่องต้น

ถ้วยน้ำชาจีน

ถ้วยพระสุธารส

ถาม

มีพระราชปุจฉา (พระเจ้าแผ่นดิน)

ถือศีล

ทรงศีล

ถุงเท้า

ถุงพระบาท

ถุงมือ

ถุงพระหัตถ์

หมวด ท 

ทวารหนัก

เวจมรรค

ท้อง

อุทร

ทักทายปราศรัย

พระราชปฏิสันถาร

ทำบุญ

ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล, ทรงบำเพ็ญพระกุศล (พระเจ้าแผ่นดิน)

ที่นอน

ที่ประทับ

ที่นั่ง

พระราชอาสน์

เท้า

พระบาท

หมวด น 

นม

พระถัน, พระเต้า

น้องชาย

พระอนุชา, พระกนิษฐภาดา

นอน

บรรทม

นอน

จำวัด (ใช้กับพระสงฆ์)

นั่ง

ประทับ

น้ำชาจีน,น้ำกิน

พระสุธารส

น้ำลาย

พระเขฬะ

น้ำหอม

พระสุคนธ์

นิ้วก้อย

พระกนิษฐา

นิ้วมือ

พระองคุลี

เนื้อ

พระมังสา

หมวด บ 

บวช

ทรงพระผนวช

บ่า

พระอังสา

บ้าน

พระราชวัง

บุหรี่

พระร่วม

หมวด ป

ความประพฤติของเจ้านาย การปฏิบัติองค์ของเจ้านาย

พระจริยาวัตร

ประตู

พระทวาร

ปอด

พระปัปผาสะ

ปัสสาวะ

พระบังคนเบา

ป้า

พระมาตุจฉา

ปาก

พระโอษฐ์

ปู่ / ตา ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์และเจ้านายหมายถึง ปู่และตา ที่มิใช่พระมหากษัตริย์ หรือแม้มิใช่เจ้านาย

พระอัยกา, พระไอยกา (เขียนแบบเก่า)

หมวด ผ

ผม

พระเกศา

ผ้า, ผ้านุ่ง

พระภูษา

ผ้าเช็ดตัว

ซับพระองค์

ผ้าเช็ดหน้า

ซับพระพักตร์

ผ้าพันคอ

ผ้าพันพระศอ

ผ้าโสร่ง

พระภูษาโสร่ง

ผิวหนัง

พระฉวี

หมวด ฝ

ฝัน

ทรงพระสุบิน (พระเจ้าแผ่นดิน) ทรงสุบิน (พระราชวงศ์)

ฝ่ามือ

ฝ่าพระหัตถ์

ไฝ

พระปีฬก (ปีละกะ)

หมวด พ

พูด

พระราชดำรัส, พระราชกระแส

พูดถึง

พระราชปรารภ

หมวด ฟ

ฟังเทศน์

ทรงธรรม, ทรงสดับพระธรรมเทศนา (พระเจ้าแผ่นดิน)

ฟังอย่างตั้งใจ

สดับ

ฟัน

พระทนต์

ฟันกราม

พระกราม

หมวด ภ

ภาพถ่าย

พระบรมฉายาลักษณ์

หมวด ม

มดลูก

กล่องพระสกุล

มอง

ทอดพระเนตร

ม่าน หรือ มุ้ง

พระวิสูตร

มีดโกน

พระแสงกรรบิด

มือ

พระหัตถ์

เมตตา

พระเมตตา

แม่ ใช้สำหรับเจ้านาย หมายถึง แม่ที่เป็นเจ้านายหรือแม้มิใช่เจ้านาย

พระมารดา, พระชนนี

แม่ ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ หมายถึง แม่ ที่เป็นสมเด็จพระบรมราชินีหรือเทียบเท่าสมเด็จพระบรมราชินี

สมเด็จพระบรมราชชนนี,สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง

แม่ ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ หมายถึง แม่ ที่มิได้เป็นพระมเหสี หรือแม้เป็นเจ้านายที่ทรงอิสริยศักดิ์สูง

พระราชชนนี, พระราชมารดา

แม่ ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์หมายถึงแม่ ที่เป็นเจ้านายที่ทรงอิสริยศักดิ์สูง

สมเด็จพระราชชนนี

ไม้เกาหลัง มีลักษณนามเป็น องค์

ฉลองได

ไม้เท้า

ธารพระกร

หมวด ย

คำว่า "โอษฐ์" หมายความว่า "ริมฝีปาก, ปาก" เพราะฉะนั้นแล้ว "แย้มพระโอษฐ์" จึงหมายความว่า "เผยอริมฝีปากแต่น้อยๆ" หรือที่เราเข้าใจกันคือการ "ยิ้ม" นั่นเอง

แย้มพระโอษฐ์

ย่า

พระอัยยิกา, พระอัยกี

ยารักษาโรค

พระโอสถ

หมวด ร

รถ

รถพระที่นั่ง

ร่ม

พระกลด

รองเท้า (พระเจ้าแผ่นดิน)

ฉลองพระบาท

ร้องไห้

กันแสง

ร่างกาย

พระวรกาย

ริมฝีปาก

ริมพระโอษฐ์

รูปถ่าย

พระบรมฉายาลักษณ์

หมวด ล

ลมหายใจเข้า

พระอัสสาสะ

ลมหายใจออก

พระปัสสาสะ

ลิ้น

พระซิวหา

ลิ้นไก่

มูลพระชิวหา

ลุง(พี่ของพ่อ)

พระปิตุลา

ลูกเขย

พระชามาดา

ลูกสะใภ้

พระสุณิสา

ลูกสาว

พระราชธิดา

เล็บ

พระนขา

เลือด

พระโลหิต

หมวด ว

วันเกิด

วันพระราชสมภพ

แว่นตา

ฉลองพระเนตร

หมวด ศ

ศอก

พระกับประ (ปะระ)

ศีรษะ

พระเจ้า

หมวด ส

สนใจ

สนพระทัย

สนุก

ทรงพระอารมณ์ขัน

ส้อม

ฉลองพระหัตถ์ส้อม

สายรก

สายพระสกุล

สิว

พระอสา

สุรา

น้ำจันท์

เส้นผม

เส้นพระเจ้า

เสื้อ

ฉลองพระองค์

หมวด ห

หนวด

พระมัสสุ

หน้า

พระพักตร์

หน้าต่างสำหรับพระเจ้าแผ่นดินเสด็จออกให้เฝ้าในโอกาสสำคัญ

พระสีหบัญชร

หน้าผาก

พระนลาฏ

หมวก

พระมาลา

หมอนหนุน

พระเขนย

หมาก

พระสลา

หลัง

พระปฤษฎางค์,พระขนอง

หลาน

พระนัดดา

หวี

พระสาง

หัวใจ

ฤทัย

หัวเราะ

ทรงพระสรวล

หู

พระกรรณ

เหงื่อ

พระเสโท

เหลน

พระปนัดดา

แหวน

พระธำมรงค์

ให้

พระราชทาน

หมวด อ

อก

พระทรวง, พระอุรา

อาบน้ำ

สรงน้ำ

อาบน้ำ

สรงน้ำ

อายุของพระมหากษัตรย์ และใช้คำว่า 'พรรษา' แทนคำว่า 'ปี'

พระชนมพรรษา

อุจจาระ

พระบังคนหนัก

เอว

พระกฤษฎี, บั้นพระองค์

ไอ

ทรงพระกรรสะ, ทรงพระกาสะ

อัพเดทล่าสุด