รักษาโรคริดสีดวงด้วยตัวเอง วิธีรักษาโรคริดสีดวงให้หายขาด โรคริดสีดวงทวานหนักเกิดจาก
รักษาโรคริดสีดวงด้วยตัวเองแนะนำการรักษาโรคริดสีดวงทวารด้วยตนเอง |
รายละเอียดประกาศ ใครที่เป็นโรครีิดสีดวงทวาร แล้วมีอาการแบบนี้ คือมีติ่งหัวริดสีดวง เริ่มจากเล็กๆ ตรงบริเวณปากรูทวาร มีอาการเจ็บนิดๆแต่ผ่านไป ก็บวมขึ้นเรื่อยๆ จนหัวริดสีดวงมีขนาดใหญ่ขึ้น ไม่สามารถดันกลับเข้าไปในรูทวารได้ (ระยะที่4) และมีอาการปวดตึงคับรูทวาร ปวดแสบปวดร้อนที่หัวริดสีดวง ทรมานมาก นั่ง/นอน ทับตรงๆไม่ได้ ต้องนั่ง/นอน ตะแครงตลอด เดินไม่ถนัด ปัสสาวะไม่ค่อยออก มีอาการเจ็บปวดตลอด เวลาถ่ายก็ลำบากมาก กินยาทั้งแผนปัจจุบัน และสมุนไพร ก็ไม่ยุบ เหน็บยาก็ไม่ช่วยอะไรดีขึ้นมา มีแต่ความเจ็บปวดเพิ่มขึ้นตลอด ปวดมากก็ได้แต่กินยาพาราฯ แก้ปวด กับนั่งแช่น้ำอุ่นจัดๆ ก็พอช่วยให้หายปวดได้นิดหน่อย คิดได้อย่างเดียวคือต้องผ่าตัด โทรไปเช็คราคาการผ่าตัด ก็แสนแพง ผ่าตัดแบบธรรมดาประมาณ 30000 บาทขึ้น ถ้าผ่าตัดแบบสมัยใหม่ pph ก็ประมาณ 60000 บาทขึ้นไป แล้วแต่โรงพยาบาล คิดแล้วเครียดมาก ไหนจะต้องเสียเงิน เสียเวลา เจ็บตัว อายหมอ อายนางพยาบาล อื่นๆอีกมากมาย แต่ตอนนี้ ผมหายดีแล้ว ที่เข้ามาโพส เพราะเห็นใจคนที่เป็นโรคริดสีดวงและมีอาการดังที่กล่าวมา(ทรมานมาก) หรือกลัวว่าอาการริดสีดวงจะกำเริบ สนใจอยากจะหายโดยการรักษาด้วยตัวเอง สนใจโทรมาเบอร์นี้ 0894555323 ตลอด 24 ชม. ( อยากให้เป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษา ก่อนที่จะต้องไปให้หมอผ่าตัด ) |
Link https://health.sawasdmarket.com
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วิธีรักษาโรคริดสีดวงให้หายขาด
ฤทธิ์ของ ริดสีดวง ทวารหนัก
ฤทธิ์ของ ริดสีดวง ทวารหนัก
โรค ริดสีดวง ทวารหนัก
ฤทธิ์ของ...ริดสีดวงทวารหนัก (ไทยรัฐ)
ข้อมูลจากโรงพยาบาลเวชธานี
ถ่ายเป็นเลือด!! อาการเด่นชัดอย่างหนึ่งของโรคริดสีดวงทวารหนักที่มักทำให้ผู้ที่เป็นตื่นตระหนกตกใจ และสร้างความทุกข์ทรมานอย่างมากแก่ผู้ป่วยทั้งชายและหญิงที่มีอาการท้องผูก และไม่นิยมดื่มน้ำ พบได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 20 – 30 ปี อาการเริ่มแรกมักจะเป็นๆ หายๆ และจะรุนแรงขึ้นในช่วงอายุประมาณ 40-50 ปี
สาเหตุการเกิด โรคริดสีดวงทวารหนัก ที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีความสัมพันธ์กับการเบ่งถ่ายรุนแรงและเรื้อรัง เนื่องจากท้องผูกหรือท้องเสียเรื้อรัง การยืนนาน การยกของหนัก การมีครรภ์ ภาวะเหล่านี้สามารถทำให้เลือดคั่งในเส้นเลือดดำที่ผนังรูทวาร ส่งผลให้กลุ่มเส้นเลือดและเนื้อเยื่อบริเวณส่วนปลายของลำไส้โตขึ้น ซึ่งปกติจะมีหน้าที่ป้องกันกล้ามเนื้อของทวารหนัก รวมทั้งหูรูดระหว่างขับถ่ายอุจจาระ และช่วยให้ทวารหนักปิดได้สนิทในขณะที่เราอยู่เฉย
อาการสำคัญของ ริดสีดวงทวารหนัก
ถ่ายเป็นเลือดสีแดงสดหรือพุ่งออกมาขณะเบ่งถ่ายอุจจาระและหมดไปเมื่อหยุดเบ่ง
มีก้อนปลิ้นออกมาเวลาเบ่งถ่าย
ก้นแฉะและคันก้น
มีก้อนออกมาคาบริเวณทวารหนักและปวด
ปัจจัยที่ทำให้เกิด ริดสีดวงทวารหนัก
ท้องผูกเรื้อรัง ท้องเสียถ่ายอุจจาระบ่อยๆ นิสัยเบ่งอุจจาระมาก เพื่อพยายามเอาอุจจาระก้อนสุดท้ายออก ชอบนั่งถ่ายนานๆ เช่น อ่านหนังสือไปด้วย ชอบใช้ยาสวนหรือยาระบายพร่ำเพรื่อ หญิงตั้งครรภ์ ภาวะตับแข็ง อายุมากขึ้น ด้วยสาเหตุเหล่านี้ทำให้มีโอกาสที่กลุ่มเส้นเลือดและเนื้อเยื่อบริเวณส่วนปลายลำไส้โตและยืดออก ซึ่งการที่มีเลือดออกนั้นเกิดจากการบาดเจ็บของเส้นเลือดบริเวณดังกล่าว กรณีที่พบบ่อยมักมาจากอุจจาระที่แข็งมากๆ ร่วมกับการเบ่งนานๆ ทำให้มีเลือดสดๆ ไหลออกจากทวารหนักได้
ริดสีดวงแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ ดังนี้
ริดสีดวงภายใน ริดสีดวงภายในจะอยู่ภายในทวาร โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 หัวริดสีดวงยังอยู่ภายในทวารหนัก มีอาการเลือดออกเพียงอย่างเดียว
ระยะที่ 2 หัวริดสีดวงยื่นออกมานอกทวารหนักเวลาเบ่งและเลื่อนกลับเข้าได้เองเมื่อหยุดเบ่ง
ระยะที่ 3 หัวริดสีดวงยื่นออกมาเวลาเบ่งและต้องดันกลับเข้าไปในทวารหนัก
ระยะที่ 4 หัวริดสีดวงโตมากและยื่นออกมาอยู่นอกทวารหนักตลอดเวลา ไม่สามารถดันกลับเข้าไปในทวารหนักได้
แนวทางในการรักษา ริดสีดวงทวารหนัก
การรักษาจะมุ่งระงับอาการมากกว่าที่จะขจัดหัวริดสีดวงให้หมดไป การผ่าตัดจำเป็นในรายที่มีข้อบ่งชี้ชัดเจนเท่านั้น
การรักษาทั่วไป
ดูแลการขับถ่ายให้เป็นปกติ หมั่นออกกำลังกาย ดื่มน้ำให้เพียงพอ รับประทานผักและผลไม้จะช่วยให้ขับถ่ายได้สะดวกขึ้น ถ้าก้นแฉะหรือชื้นต้องหมั่นล้างและเช็ดให้แห้ง ไม่ควรใช้น้ำยาฆ่าเชื้อมาเช็ดล้างทวารหนักเพราะจะทำให้อักเสบได้ ระวังการดื่มของมึนเมา เช่น เหล้า เบียร์ ซึ่งอาจทำให้หัวริดสีดวงพองมากขึ้น
การรักษาแบบเฉพาะเจาะจง มีหลายวิธี เช่น
การฉีดยา เพื่อทําให้หัวริดสีดวงยุบลง โดยฉีดยาเข้าไปในชั้นใต้เยื่อบุทําให้เกิดพังผืดรัดหลอดเลือดบริเวณริดสีดวง และรั้งเนื้อเยื่อริดสีดวงไม่ให้เลื่อนตัวลงมา ใช้กับผู้ป่วยที่มีเลือดออกและหัวริดสีดวงยื่นออกมาไม่มาก แพทย์จะทำการฉีดยาทุก 2-4 สัปดาห์จนอาการทุเลา ผลข้างเคียงอาจทําให้เวียนศีรษะและระคายเคืองทวารหนักเป็นระยะเวลาสั้นๆ ได้
การใช้ยางรัด จะใช้ในกรณีที่หัวริดสีดวงที่ยื่นออกมามีขั้วขนาดเหมาะที่จะรัดได้ เพื่อให้หัวริดสีดวงหลุดออก และพังผืดที่เกิดจากแผลจะรั้งริดสีดวงที่เหลือให้หดกลับเข้าไปในทวารหนัก ไม่ควรทําในรายที่มีภูมิคุ้มกันผิดปกติ หรือมีภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ถ้ามีอาการเจ็บมากควรเอายางที่รัดออกทันที ผลข้างเคียงหลังการรัดอาจมีอาการระคายเคืองหรือปวดถ่วงในทวารหนัก แต่อาการไม่รุนแรงมากนักและกินเวลานานประมาณ 24-48 ชั่วโมง บรรเทาโดยให้ยาระงับปวด เมื่อหัวริดสีดวงหลุดจะมีเลือดออกประมาณ 3-7 วัน แต่มักออกไม่มากและหยุดได้เอง ข้อพึงระวังคือหัวริดสีดวงอาจอักเสบ บวม เจ็บ และยื่นออกมาได้หรืออาจเกิดภาวะติดเชื้อบริเวณทวารหนักซึ่งเกิดขึ้นได้น้อยมาก โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณทวารหนัก มีไข้สูง และปัสสาวะไม่ออก ภาวะเช่นนี้อาจรุนแรงมากจนผู้ป่วยถึงแก่กรรมได้ ควรรีบนำผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
การจี้ริดสีดวงทวารด้วยอินฟราเรด เพื่อให้ริดสีดวงทวารยุบลงและหยุดอาการเลือดออก ทำในกรณีที่ริดสีดวงยังอยู่ในระยะที่ 1 และ 2 หลังการจี้ 1-2 สัปดาห์อาจมีผลข้างเคียงคือมีเลือดออกจากแผลได้ แต่จะไม่มากและสามารถหยุดได้เอง
การผ่าตัด
การผ่าตัดใช้หลักในการตัดเนื้อเยื่อทวารหนักส่วนเกิน และเย็บดึงรั้งริดสีดวงทวารส่วนที่เหลือขึ้นไปในทวารหนัก การรักษาโดยการผ่าตัดจะทำก็ต่อเมื่อหัวริดสีดวงใหญ่และยื่นออกมา หรือตั้งแต่ระยะที่ 3 เป็นต้นไป อาจเสริมด้วยการตกแต่งขอบทวารหนัก เช่น ตัดติ่งหนัง หรือขยายปากทวาร หรือตกแต่งแผลที่มีร่วมด้วย หลังผ่าตัดจะได้รับยาแก้ปวดและยาช่วยให้อุจจาระไม่แข็งมาก ควรแช่น้ำอุ่นจะทำให้กล้ามเนื้อหูรูดคลายเกร็งและทุเลาปวดได้
นอกจากนี้ ปัจจุบันยังมีการรักษาโดยการเย็บหลอดเลือดที่วิ่งมาที่หัวริดสีดวงทวารหนัก โดยใช้เครื่องตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Doppler Ultrasound) เข้ามาช่วย และถ้าเป็นระยะที่ 3 ซึ่งมีก้อนยื่นออกมา ก็สามารถเย็บหัวริดสีดวงเข้าไปด้านใน โดยไม่มีการตัดเนื้อเยื่อออก ทำให้ไม่เจ็บเหมือนการตัดหัวริดสีดวงออก ซึ่งผลข้างเคียงน้อยและไม่รุนแรงเหมือนการตัดด้วยเครื่องมือตัดเย็บหัวริดสีดวงที่เรียกว่า Hemorrhoid Stapler
ริดสีดวงภายนอก
ริดสีดวงภายนอกเป็นเส้นเลือดดำที่อยู่รอบริมปากทวารหนักที่พองออกเวลาเบ่งถ่ายอุจจาระ และจะยุบลงเมื่อหยุดเบ่ง จะมีปัญหาก็ต่อเมื่อเกิดลิ่มเลือดที่ทำให้เส้นเลือดอุดตัน และเกิดเป็นตุ่มแข็งที่ขอบทวารหนักหลังถ่ายอุจจาระ จะทำให้เจ็บมากภายใน 3 – 4 วันแรก และถ้าปล่อยไว้อาจแตกมีเลือดซึมหรือมีก้อนเลือดหลุดออกมาหรือยุบลงจนเป็นปกติภายใน 2 สัปดาห์ บางรายจะยุบไม่หมดทำให้ผิวหนังขอบทวารหนักแข็งนูนออกเป็นติ่ง
แนวทางในการรักษา
ถ้าเป็นก้อนเล็กและไม่เจ็บมากก็ไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด แต่ถ้าเป็นก้อนใหญ่และเจ็บมากควรผ่าเอาก้อนเลือดที่คั่งออกโดยใช้ยาชาฉีดเฉพาะที่ ซึ่งผู้ป่วยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน คลิกเลย
คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ได้ที่นี่ค่ะ
Link https://health.kapook.com
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
โรคริดสีดวงทวานหนักเกิดจาก
ริดสีดวงทวารหนักเกิดจากอะไร
ริดสีดวงทวารหนัก หมายถึง การมีหลอดเลือดขอดโป่งพองของผนังเยื่อบุทวารหนัก ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นจะพบเป็นก้อนโป่งพอง โผล่ออกมาขณะอุจจาระ หรืออาจทำให้เกิดอาการเลือดออกขณะหรือหลังถ่ายอุจจาระได้
ริดสีดวงทวารหนักเกิดขึ้นได้อย่างไร : โดยปกติแล้วที่ บริเวณทวารหนักจะมีเลือดมาเลี้ยงมาก และมีลักษณะพิเศษอีก คือ มีกลุ่มหลอดเลือดดำสานเป็นร่างแหที่บริเวณเยื่อบุทวารหนัก 3 กลุ่มใหญ่ โดยรอบทวารหนัก เลือดภายในกลุ่มหลอดเลือดดำเหล่านี้จะไหลถ่ายเทขึ้นไปสู่หลอดเลือดดำใหญ่ภาย ในช่องท้อง แต่ถ้าหลอดเลือดไหลถ่ายเทไม่สะดวก และเป็นบ่อย ๆ จะเกิดการคั่งขึ้นภายในร่างแหหลอดเลือดดำ เกิดเป็นหลอดเลือดขอดโป่งพองขึ้นได้ เรียกว่า ริดสีดวงทวารหนัก ริดสีดวงทวารหนักอาจเกิดเป็นแบบภายในหรือภายนอก ขึ้นกับว่าเกิดที่หลอดเลือดภายใน หรือนอกทวารหนัก ส่วนมากมักเป็นแบบภายใน
สาเหตุของการเกิดริดสีดวงทวารหนัก : ที่พบบ่อยที่สุด คือ อุปนิสัยในการขับถ่ายอุจจาระ และการรับประทานอาหาร
ท้องผูก คือ การถ่ายอุจจาระลำบาก หลายๆ วันถ่ายครั้งหนึ่ง พวกนี้มักมีอุจจาระแข็ง ต้องเบ่งอยู่นานขณะขับถ่าย นั่งถ่ายอุจจาระนาน การรับประทานอาหาร ที่ไม่ค่อยมีผัก และผลไม้ จะทำให้อุจจาระมีกากอาหารน้อย ทำให้ท้องผูกได้มาก
สาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดริดสีดวงทวารหนัก ได้แก่ การตั้งครรภ์ เพราะมดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้น กดทับทำให้เลือดดำไหลถ่ายเทลำบาก เกิดการคั่งได้ง่าย นอกจากนั้นยังกดลำไส้ใหญ่ทำให้ท้องผูกบ่อย ๆ ยิ่งทำให้เกิดริดสีดวงทวารหนักมากขึ้น หรือมีเนื้องอกอยู่ภายในลำไส้ใหญ่ อุจจาระออกลำบาก ต้องใช้แรงเบ่งมากก็มีโอกาสเกิดได้ง่ายขึ้น
อาการ : ผู้ที่เป็นริดสีดวงทวารหนัก โดยมากมักมีอาการถ่ายเป็นเลือด เลือดที่ออกมักจะเป็นเลือดสดๆ ระยะแรกอาจสังเกตว่ามีเลือดติดกระดาษชำระหลังอุจจาระ หรือเคลือบอุจจาระออกมา ต่อมาอาจออกมากจนมีเลือดหยดลงในโถส้วมขณะถ่ายอุจจาระ ถ้าเป็นมากขึ้นจะพบว่ามีก้อนโผล่ออกมาทางทวารหนัก โดยเฉพาะหลังถ่ายอุจจาระโดยมากจะไม่มีอาการเจ็บปวด (นอกจากถ้ามีการอักเสบร่วมด้วย) ยกเว้นในพวกที่เป็นริดสีดวงทวารหนักแบบภายนอก ซึ่งมักพบก้อนที่ทวารหนักตั้งแต่ระยะแรก และโดยมากจะเจ็บปวดที่ก้อนริดสีดวง จากอาการดังกล่าวทำให้แพทย์แบ่งริดสีดวงทวารหนักออกเป็น 4 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีแต่อาการเลือดออก การตรวจต้องใช้เครื่องมือพิเศษส่องเข้าไปดูภายในทวารหนัก มองจากภายนอก หรือคลำดูจะไม่สามารถบอกได้เลย
ระยะที่ 2 ถ่ายอุจจาระแล้วมีก้อนริดสีดวงทวารหนักโผล่ออกมาเวลาเบ่ง แต่หดกลับเข้าไปได้เอง
ระยะที่ 3 ถ่ายอุจจาระแล้วริดสีดวงโผล่ออกมา และไม่หดกลับเข้าเองต้องใช้นิ้วมือดันกลับจึงเข้า
ระยะที่ 4 ริดสีดวงทวารโผล่ออกมาภายนอก และไม่สามารถดันกลับเข้าไปได้
อาการเลือดออกทางทวารหนัก หรือถ่ายเป็นเลือดแม้ว่ากว่า 90% จะเป็นริดสีดวงทวารหนัก แต่ก็อาจเกิดจากโรคอื่นได้ โดยเฉพาะโรคที่ร้ายแรง เช่น มะเร็งของลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก ดังนั้นจึงควรได้รับการตรวจยืนยันว่าไม่มีโรคร้ายแรงเกิดขึ้น แต่ริดสีดวงทวารหนักเองนั้นไม่ใช่มะเร็ง และไม่ใช่สาเหตุให้เกิดมะเร็ง และการวินิจฉัยที่แน่นอนจะต้องตรวจโดยใช้กล้องส่องดูภายในทวารหนัก
การรักษา : แพทย์จะเลือกวิธีรักษาตามระยะของโรคอาจจะเป็น
1. ให้ยาชนิดป้าย หรือยาเหน็บทวารหนัก ใช้กับโรคระยะที่ 1
2. ใช้ยาฉีดหัวริดสีดวงทวารหนัก ยาจะทำให้หลอดเลือดดำฝ่อ และหัวริดสีดวงทวารหนักยุบลง ใช้กับโรคระยะที่ 2 การฉีดยาจะไม่เกิดอาการเจ็บปวดเลย ได้ผลดีมาก
3. ใช้ยางรัดหัวริดสีดวงทวารหนัก วิธีนี้จะรัดที่หัวริดสีดวงทำให้หัวริดสีดวงฝ่อแล้วหลุดไปเอง หลังรัดด้วยยางประมาณ 7 วัน ได้ประโยชน์ และผลดีในโรคระยะที่ 2 โดยเฉพาะเมื่อหัวริดสีดวงมีขนาดใหญ่ และพบว่ามักไม่มีอาการเจ็บปวดขณะใช้ยารักษาเช่นเดียวกัน
4. ใช้เครื่องขยายทวารหนัก หรือใช้ความเย็นจัด หรือใช้แสงอินฟราเรด เป็นวิธีการรักษาที่ใช้กับระยะที่ 2 แต่ยังไม่ค่อยนิยมเท่าแบบที่ 2, 3
5. ผ่าตัดใช้สำหรับโรคระยะที่ 3 และ 4 ซึ่งนับว่าเป็นมากแล้ว ความจริงการผ่าตัดไม่น่ากลัวเลย และไม่เจ็บขณะทำผ่าตัด เพราะแพทย์จะให้ยาสลบหรือฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง หลังผ่าตัดอาจจะเจ็บปวดบ้าง แต่ก็ไม่มากมาย และสามารถระงับได้โดยยาแก้ปวด อยู่โรงพยาบาลประมาณ 3-4 วัน
ขณะทำการรักษาไม่ว่าโดยวิธีใด แพทย์จะแนะนำวิธีปฏิบัติตน รวมทั้งให้ยาบางอย่างที่จำเป็นเพื่อไม่ให้มีอาการท้องผูก หรือถ่ายอุจจาระลำบากร่วมด้วยเสมอ และการใช้ยากัดริดสีดวงทวารหนักนั้นเป็นสิ่งที่ไม่แนะนำ และจะก่อให้เกิดข้อแทรกซ้อนรุนแรงตามมา เช่น ทวารหนักเน่าหรือตีบตัน
คำแนะนำ
1. ฝึกอุปนิสัยในการถ่ายอุจจาระให้ถ่ายเป็นเวลา และไม่นั่งถ่ายนานหรือเบ่งอยู่นาน ๆ
2. พยายามอย่าให้ท้องผูก โดยการรับประทานอาหารประเภทผัก และผลไม้ ดื่มน้ำมากๆ การออกกำลังกายเป็นประจำ มีผู้พบว่าช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น
3. ถ้าท้องผูก อาจรับประทานยาระบายชนิดอ่อน โดยเฉพาะประเภทที่ช่วยเพิ่มกากอาหารได้ และควรอยู่ในความดูแลของแพทย์
4. เมื่อมีปัญหาถ่ายเป็นเลือด ควรพบปรึกษาแพทย์ เพื่อให้ได้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคริดสีดวงทวารหนักแน่ ไม่ใช่โรคร้ายแรงอื่น นอกจากนั้นถ้าเป็นโรคนี้ในระยะแรกๆ จะได้รีบรักษาซึ่งสามารถหลีกเลี่ยงการรักษาโดยการผ่าตัดได้ อย่าอายที่จะพบหรือได้รับการตรวจรักษาโดยแพทย์ การวินิจฉัยให้ได้แน่นอนจำเป็นต้องใช้เครื่องมือพิเศษส่องเข้าไปตรวจภายใน ทวารหนัก ซึ่งก็ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดแต่ประการใด และการรักษาโรคโดยการฉีดยา หรือรัดด้วยยางก็ไม่ยุ่งยาก ไม่เจ็บปวด เช่นเดียวกัน
5. ถึงแม้จะเป็นมากแล้ว และต้องรักษาโดยการผ่าตัด ก็ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว การปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา ก่อให้เกิดปัญหาตามมาได้มาก เช่น มีแผลเกิดขึ้นที่หัวริดสีดวง มีการติดเชื้อบางครั้งเลือดออกมากจนเกิดอาการซีด เลือดจางได้ การผ่าตัดทำให้โรคหายขาดเกือบ 100% ถ้าระวังไม่ให้ท้องผูกอีก
6. อย่าซื้อยาเหน็บ หรือยากัดริดสีดวงทวารหนักใช้เอง เพราะมักเกิดอันตรายได้มาก
ข้อมูลจาก : https://www.bangkokhealth.com/gi_htdoc/gi_health_detail.asp?Number=9020
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++