10 อาชีพ ที่ทำงานได้อย่างเสรีในประชาคมอาเซียน AEC


7,342 ผู้ชม

เผย 7 วิชาชีพน่าสนใจ ที่สามารถเลือกทำงานได้ในทุกประเทศของอาเซียน ตั้งแต่ บรูไนดารุสซาลาม, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, ลาว, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, ไทย, เวียดนาม และพม่า


           เผย 7 วิชาชีพน่าสนใจ ที่สามารถเลือกทำงานได้ในทุกประเทศของอาเซียน ตั้งแต่ บรูไนดารุสซาลาม, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, ลาว, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, ไทย, เวียดนาม และพม่า

           สำหรับผู้ที่กำลังติดตามข่าวสารเรื่อง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economics Community) หรือการรวมตัวกันระหว่างประเทศสมาชิก ทั้ง 10 ประเทศ ประกอบด้วย

            1.เนการาบรูไนดารุสซาลาม

            2.ราชอาณาจักรกัมพูชา

            3.สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

            4.สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

            5.สหพันธรัฐมาเลเซีย

            6.สาธารณรัฐฟิลิปปินส์

            7.สาธารณรัฐสิงคโปร์

            8.ราชอาณาจักรไทย

            9.สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

            10.สหภาพพม่า

           ซึ่งการรวมตัวกันในครั้งนี้ กำลังจะเริ่มขึ้นอย่างจริงจัง ในวันที่ 1 มกราคม 2558 หรือในอีก 3 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ ในแวดวงของผู้ประกอบอาชีพทั้งหลาย ต่างมีการตื่นตัวในเรื่องดังกล่าวด้วยเช่นกัน สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา มีรายงานว่า จาก ผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ได้กำหนดให้จัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements : MRAs) ด้านคุณสมบัติในสาขาวิชาชีพหลัก เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายนักวิชาชีพ หรือแรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษของอาเซียนได้อย่างเสรี

           และจากข้อตกลงดังกล่าว ทำให้ในอนาคต นักวิชาชีพ หรือผู้ใช้แรงงานในด้านต่าง ๆ สามารถเลือกไปทำงานในประเทศสมาชิกอาเซียนได้อย่างอิสระ โดยเบื้องต้นได้กำหนดครอบคลุมถึง 7 อาชีพหลัก ดังนี้

               อาชีพวิศวกร (Engineering Services)

               อาชีพพยาบาล (Nursing Services)

               อาชีพสถาปนิก (Architectural Services)

               อาชีพการสำรวจ (Surveying Qualifications)

               อาชีพพนักงานบัญชี (Accountancy Services)

               อาชีพทันตแพทย์ (Dental Practitioners)

               อาชีพแพทย์ (Medical Practitioners)

           ทั้งนี้ การเคลื่อนย้ายนักวิชาชีพในกลุ่ม 7 อาชีพ ดังกล่าว มี ผลดีต่อประเทศไทย เนื่องจากในภาพรวม สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในไทยมีศักยภาพในด้านการผลิตบุคลากรในสาย วิชาชีพทั้ง 7 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้ผู้จบการศึกษาในสายวิชาชีพทั้ง 7 ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี จนถึงปริญญาเอก มีตลาดงานที่เปิดกว้างมากขึ้น ซึ่งการที่คนไทยสามารถไปทำงานในประเทศอาเซียนได้อย่างเสรีนั้น สภาวิชาชีพ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลมาตรฐานของ ทั้ง 7 อาชีพดังกล่าว คงต้องทำการบ้านอย่างหนัก เพื่อรักษามาตรฐานของผู้จบวิชาชีพจากประเทศไทย หรืออาจต้องยกระดับมาตรฐานให้สูงขึ้นไปอีก เพื่อแข่งขันกับนานาประเทศในระดับสากล

           ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า ข้อตกลงเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในกลุ่มประเทศอาเซียน ทั้ง 7 อาชีพ ในปี 2558 แม้จะเป็นโอกาสทองของคนไทยในสายวิชาชีพดังกล่าว แต่ ก็มีจุดที่ต้องระวังคือการที่คนจากประเทศอื่นจะเข้ามาทำงานในประเทศไทย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสาขาวิชาชีพนั้น ๆ ในประเทศไทยด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังมองหาอาชีพหลัก ซึ่งมีหนทางเปิดกว้างในอนาคตนะคะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

region4.prd.go.th

อัพเดทล่าสุด