มาดูกันว่า ศัพท์อาชีพภาษาอังกฤษเกี่ยวกับโรงพยาบาล มีอะไรบ้าง
เราเตรียมรับมือการเปิดเสรีประชาคมอาเซียนในปี 2558 กันหรือยัง??
เป็นที่ทราบกันดีว่า 10 ประเทศในกลุ่มอาเซียน หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) ได้แก่ ประเทศไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย พม่า บรูไน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ได้รวมกลุ่มเห็นชอบให้จัดตั้ง “ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)” ส่งผลให้ลักษณะการรวมกลุ่มประเทศเปลี่ยนไปเป็น “ประชาคมเศรษฐกิจ” หรือ Economic Community เช่นเดียวกับ “ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป” (European Economic Community) ซึ่งถือเป็นก้าวย่างที่สำคัญอีกก้าวหนึ่ง ที่จะช่วยเพิ่มการแข่งขันทางเศรษฐกิจของภูมิภาคและการเคลื่อนย้ายแรงงาน เชี่ยวชาญหรือผู้มีความสามารถพิเศษได้อย่างเสรีและเต็มรูปแบบมากยิ่งขึ้น รวมทั้งมีบทบาทอย่างมากในการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาคุณภาพของแรงงานไทยให้มี มาตรฐานทัดเทียมกับนานาประเทศ โดยกลุ่มสมาชิกอาเซียนได้จัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมกันในเรื่องคุณสมบัติหรือ มาตรฐานในแต่ละวิชาชีพ หรือ Mutual Recognition Arrangements : MRAs ปัจจุบันมีข้อตกลงยอมรับร่วมในคุณสมบัตินักวิชาชีพของ อาเซียน (MRAs) ทั้งหมด 7 สาขา คือ แพทย์ (Medical Practitioners) ทันตแพทย์ (Dental Practitioners) พยาบาล (Nursing Services) สถาปัตยกรรม (Architectural Services) การสำรวจ (Surveying Qualifications) นักบัญชี (Accountancy Services) และวิศวกรรม (Engineering Services) โดยในข้อตกลงดังกล่าว ภาษาอังกฤษจะเป็นภาษากลางของ ASEAN เป็น เหตุให้แรงงานฝีมือไทยควรรีบพัฒนาความรู้และทักษะทางด้านภาษาอังกฤษให้อยู่ ในระดับที่สามารถสื่อสารได้ เพื่อแลกเปลี่ยน และเรียนรู้จากแรงงานฝีมือต่างชาติที่จะ่เข้ามาในไทยให้ได้มากที่สุด ใน การพัฒนาองค์กรของอาเซียนไปเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ครั้งนี้ ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานในภูมิภาค ประเทศผู้รับและประเทศผู้ส่งออกแรงงานจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในการพัฒนา บุคลากรของตน และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาทักษะด้านภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสาร โดยเฉพาะภาษาอังกฤษที่คนไทยส่วนให่ยังประสบปัญหาอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย เพราะปัญหาทางด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษนี้ จะทำให้แรงงานไทย ซึ่งแม้จะมีฝีมือดี ไม่สามารถแข่งขันกับแรงงานชาติอื่นได้ ส่งผลให้ได้ตำแหน่ง หรือค่าจ้างที่ต่ำกว่าแรงงานฝีมือในระดับเดียวกัน ดังนั้นการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน การจัดหลักสูตร และการเปิดอบรมภาษาอังกฤษจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชาชีพ เนื่องจากอัตราการแข่งขันที่สูงมาก โดยเฉพาะแรงงานฝีมือในประเทศเอเชีย ประเทศไทยจึงต้องหันมาพัฒนาความพร้อมของแรงงานไทยที่จะออกสู่ตลาดต่างประเทศ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะในที่สุดเราคงไม่อาจทัดทานกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกได้ มาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศจะเป็นเครื่องมือที่นานาประเทศใช้เป็นบรรทัดฐาน ร่วมกันในข้อตกลงยอมรับร่วมกันในคุณสมบัตินักวิชาชีพของอาเซียน (MRAs)
ใน ทั้งหมด 7 สาขาวิชาชีพนั้น กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์เป็นงานที่ต้องให้การดูแลคนไข้อย่างใกล้ชิดตลอดเวลา ทุกขั้นตอน ตั้งแต่ก้าวแรกที่คนไข้เข้ามาในโรงพยาบาลจนกระทั่งหายเป็นปกติกลับบ้าน จากการสำรวจพบว่าส่วนใหญ่่ยังประสบปัญหาในการติดต่อสื่อสารกับผู้รับ บริการชาวต่างประเทศอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย จากประสบการณ์ทำงาน การสอน และจัดทำหลักสูตรภาษาอังกฤษเฉพาะสาขาอาชีพให้กับพยาบาล แพทย์ เภสัชกร และบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ ทำให้เข้าใจถึงปัญหาและความต้องการในการใช้ภาษาอังกฤษของกลุ่มบุคลากรทาง การแพทย์เป็นอย่างดี เราจึงมุ่งมั่นที่พัฒนาสื่อการสอนภาษาอังกฤษสำหรับบุคลากรณ์ทางการแพทย์ อย่างจริงจัง มีคุณสมบัติในการใช้งานง่าย เอาไปใช้ได้จริง และไม่ยุ่งยากซับซ้อนเหมือนกับสื่อการเรียนภาษาอังกฤษข้ามชาติทั่วไป
คำศัพท์ทางการแพทย์ ภาษาอังกฤษ คำศัพท์เกี่ยวกับหมอ อาการเจ็บป่วย
November 14th, 2011 | Posted by in คำศัพท์ภาษาอังกฤษ | เรียนภาษาอังกฤษคำศัพท์ทางการแพทย์ ภาษาอังกฤษ คำศัพท์ภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับหมอ อาการเจ็บป่วย
- forensic medicine นิติเวชศาสตร์
- doctor หมอ/นายแพทย์
- physician แพทย์อายุรเวช
- family doctor หมอบ้าน
- pediatrician, pediatrist กุมารแพทย์
- gynecologist นรีแพทย์
- tocologist, obstetrician สูติแพทย์
- neurologist ผู้เชี่ยวชาญทางด้านประสาทวิทยา
- psychiatrist จิตแพทย์
- oculist จักษุแพทย์
- dentist, odontologist หมอฟัน
- surgeon หมอศัลยกรรม
- anesthetist, anaesthetist ผู้วางยาชาหรือยาสลบ
- nurse นางพยาบาล
- hospital โรงพยาบาล
- clinic คลินิก
- sanatorium สถานพักฟื้นของผู้ป่วย
- health สุขภาพ
- healthy (บุคคล) แข็งแรง
- wholesome ส่งเสริมสุขภาพ/เสริมสร้างสุขภาพ
- hygiene อนามัย
- to get vaccinated ปลูกฝี
- sick person, patient ผู้ป่วย
- to be sick, to be ill เป็นไข้
- sickly ขี้โรค
- ailment, complaint โรคภัยไข้เจ็บ/เจ็บไข้ได้ป่วย
- pain เจ็บ/ปวด
- indisposition, slight illness รู้สึกไม่สบาย
- unwell, indisposed ไม่สบาย/ป่วย
- ulcer แผลเปื่อย/บาดแผลที่พุพอง
- wound บาดแผล
- injury เสียหาย/บาดเจ็บล้มตาย
- rash, eruption เป็นผื่นหรือตุ่มขึ้นตามผิวหนัง
- spot จุดด่างดำ
- pimple สิว
- Blackhead สิวหัวดำ
- blister เม็ดพุพองบนผิวหนัง
- scab, boil สะเก็ดแผล
- scar แผลเป็น
- wart หูด
- callus, callosity หนังที่ตายด้าน
- corn ตาปลา
- chilblain ภาวะมือและเท้าอักเสบเนื่องจากถูกความหนาวและความชื้น
- Bruise/ contusion ฟกช้ำดำเขียว
- swelling บวม/บวมเป่ง
- sprain, twist เคล็ด
- fracture กระดูกหัก
- symptom อาการ
- diagnosis การวินิจฉัยโรค
- case เคส(คนไข้)
- incubation การฟักตัว
- epidemic เกี่ยวกับการระบาดเป็นครั้งคราวของโรค
- contagion การติดต่อของโรค/โรคติดต่อ
- fever ไข้/อุณหภูมิร่างกายที่สูงกว่าปกติ
- attack, access, fit ออกฤทธิ์/กำเริบ
- coughing fit อาการไอกำเริบ
- to sneeze จาม
- faint, fainting fit สลบ/เป็นลม
- vertigo, dizziness อาการวิงเวียนศรีษะ
- to feel sick คลื่นเหียนอาเจียร
- to lose consciousness ไม่มีความรู้สึก
- concussion ภาวะสมอง, ไขสันหลังถูกกระทบอย่างแรง
- coma โคม่า
- diet โภชนาการ
- treatment วิธีการรักษา
- to get better, to improve (อาการ)ดีขึ้น
- cure รักษาให้หาย
- relapse อาการกำเริบขึ้นมาใหม่