โรคสันนิบาตลูกนก - โรคสันนิบาตตีนตก หรือก็คือ โรคพาร์กินสัน


4,097 ผู้ชม

ในสมองมีสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย ได้แก่ โดปามีนและอะซิทิลโคลีน ซึ่งปกติจะอยู่ในภาวะสมดุล เมื่อเซลล์สมองที่สร้างโดปามีนตายไปสมดุลดังกล่าวก็เสียไป ร่างกายจึงเกิดความผิดปกติทำให้มีอาการเคลื่อนไหวผิดปกติปรากฏเป็นอาการของ โรคพาร์กินสัน


โรคพาร์กินสัน เป็นโรคทางระบบประสาทที่พบได้บ่อย เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ คนไทยเรียก สั่นสันนิบาต หรือ สันนิบาตลูกนก โรคพาร์กินสันเป็นโรคที่รู้จักกันครั้งแรกในวงการแพทย์ในปี พ.ศ. 2360 โดยนายแพทย์เจมส์ พาร์กินสัน ชาวอังกฤษ เป็นผู้รายงานโรคพาร์กินสันเป็นคนแรก
บุคคลที่มีชื่อเสียงที่เป็นโรคพาร์กินสัน ได้แก่ สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2, มูฮัมหมัด อาลี, ไมเคิล เจ. ฟ็อกซ์, โจเซฟ สตาลิน, พล พต, ยัสเซอร์ อาราฟัต, ดัดลีย์ มัวร์ และจอนนี่ แคช
โรคพาร์กินสันเกิดจากการเสียสมดุลของสารโดปามีนในสมอง เซลล์สมองส่วนที่สร้างโดปามีนตายไปมากกว่าร้อยละ 80 โดปามีนเป็นสารเคมีในสมอง ทำหน้าที่ควบคุมระบบการเคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อสมองขาดโดปามีน จึงเกิดอาการเคลื่อนไหวผิดปกติขึ้น

พาร์กินสัน… โรคสั่นสันนิบาต (ไทยรัฐ)
          โรค พาร์กินสัน หรือที่คนไทยเรียกว่า โรคสั่นสันนิบาต เป็นโรคทางระบบประสาทที่พบได้บ่อย เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ ตัวอย่างบุคคลที่มีชื่อเสียงที่เป็นโรคพาร์กินสัน ได้แก่ สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2, โมฮัมเหม็ด อาลี, ไมเคิล เจ. ฟ็อกซ์, อดอล์ฟ ฮิตเลอร์, ยัสเซอร์ อาราฟัต, ดัดลีย์ มัวร์, จอนนี่ แคช เป็นต้น
          โรคพาร์กินสันเป็นโรคที่รู้จักกันครั้งแรกในวงการแพทย์ในปี พ.ศ. 2360 หรือเกือบ 200 ปีมาแล้ว โดยนายแพทย์เจมส์ พาร์กินสัน ชาวอังกฤษ เป็นผู้รายงานโรคพาร์กินสันเป็นคนแรก
          ในอดีตเข้าใจผิดว่า โรคพาร์กินสันมีความผิดปกติที่ไขสันหลัง แต่ในปัจจุบันเป็นที่ทราบแน่ชัดแล้วว่า พยาธิสภาพของโรคพาร์กินสัน เกิด ขึ้นที่ในเนื้อสมองส่วนลึก อาการของโรคพาร์กินสันในระยะแรก แพทย์อาจยังไม่สามารถให้การวินิจฉัยได้ เมื่อติดตามผู้ป่วยไปสักระยะหนึ่ง อาการต่างๆ ถึงจะปรากฎเด่นชัดขึ้น

โรคสันนิบาตลูกนก - โรคสันนิบาตตีนตก หรือก็คือ โรคพาร์กินสัน


โรคสันนิบาตลูกนก - โรคสันนิบาตตีนตก หรือก็คือ โรคพาร์กินสัน  กลไกการเกิดโรค
          ในสมองมีสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย ได้แก่ โดปามีนและอะซิทิลโคลีน ซึ่งปกติจะอยู่ในภาวะสมดุล เมื่อเซลล์สมองที่สร้างโดปามีนตายไปสมดุลดังกล่าวก็เสียไป ร่างกายจึงเกิดความผิดปกติทำให้มีอาการเคลื่อนไหวผิดปกติปรากฏเป็นอาการของ โรคพาร์กินสัน
โรคสันนิบาตลูกนก - โรคสันนิบาตตีนตก หรือก็คือ โรคพาร์กินสัน  อาการของโรค
          โรคพาร์กินสันทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการทางระบบประสาทที่เด่นชัด 3 ประการ ได้แก่ อาการสั่น เกร็ง และเคลื่อนไหวช้า 
          อาการสั่น มักเกิดขึ้นขณะอยู่เฉยๆ มีลักษณะเฉพาะคือ สั่นมากเวลาอยู่นิ่งๆ แต่ถ้าเคลื่อนไหว หรือยื่นมือทำอะไร อาการสั่นจะลดลงหรือหายไป มักเกิดขึ้นที่มือข้างใดข้างหนึ่ง
          อาการเกร็ง มักมีอาการแข็งตึงของแขนขาและลำตัว ทำให้เคลื่อนไหวลำบาก ปวดตามกล้ามเนื้อ
          อาการเคลื่อนไหวช้า ทำอะไรช้าลงไปจากเดิมมาก ไม่กระฉับกระเฉงว่องไวเหมือนเดิม เดินช้าและงุ่มง่าม สังเกตได้ว่าแขนไม่แกว่ง และผู้ป่วยมักบ่นว่าแขนขาไม่มีแรง

อัพเดทล่าสุด