คิดเลขในใจ.....กับวัยสูงอายุ


1,391 ผู้ชม

หมอแนะผู้สูงวัย คิดเลขในใจ ช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อม


หมอแนะผู้สูงวัย คิดเลขในใจ ช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อม   

                                                            วัยผู้สูงอายุื่
                                     กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3


ภาพจาก...moph.go.th

                                                           บุคคลวัยสูงอายุ
        ประสิทธิภาพทางกาย...ผิวหนังเหี่ยวย่น...การมองเห็นเสื่อม..  การได้ยินลดลง...การรู้รส  รับรส รับกลิ่นเสื่อม ระบบต่างๆในร่างกายเสื่อม
        ประสิทธิภาพทางสมอง...น้ำหนักของสมองลดลง   อาจหลงลืม   ทำอะไรเชื่องช้า   ความจำเสื่อม   อาจย้ำคิดย้ำทำ
                                   หมอแนะผู้สูงวัย คิดเลขในใจ ช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อม
"โรคสมองเสื่อม" เป็นโรคหนึ่งที่สร้างปัญหาในการดำเนินชีวิตของผู้ที่ก้าวสู่วัยสูงอายุ หากไม่อยากให้สมองเสื่อม ต้องสร้างเกราะป้องกันด้วยการออกกำลังกายสมอง ซึ่ง นพ.สุวินัย บุษราคัมวงศ์ แพทย์ด้านอายุรกรรมสมอง สถานพยาบาลกล้วยน้ำไท 2 อธิบายว่า โรคสมองเสื่อมอาจเกิดขึ้นได้ในคนทุกวัย แต่พบบ่อยในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
 สำหรับในประเทศไทยยังไม่มีการสำรวจอย่างเป็นทางการ แต่คาดว่ามีผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 200,000-300,000 คน ในปกติคนเราจะมีเซลล์สมองอยู่กว่า 1 ล้านล้านเซลล์ ซึ่งแต่ละเซลล์อาจเชื่อมโยงกับเซลล์ประสาทอื่นๆ อีกประมาณ 80,000-100,0านเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ00 เซลล์ ในงานวิจัยปัจจุบันพบว่า เซลล์ประสาทจะถูกผลิตสร้างขึ้นมาเรื่อยๆ
 แต่จะเสื่อมสภาพลงถ้าไม่มีการใช้งาน ถ้าเราทำกิจกรรมใดๆ ใซ้บ่อยๆ ทำให้เซลล์สมองส่วนนั้นถูกกระตุ้นบ่อยๆ ทำให้เซลล์สมองส่วนนั้นแข็งแรงและไม่เสื่อมสภาพลงไปง่ายๆคุณหมอสุวินัยกล่าวอีกว่า สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจะสูญเสียเซลล์ประสาทเร็วกว่าปกติ ในระดับที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต ทั้งเรื่องความจำ การควบคุมอารมณ์ 
ไม่สามารถแยกถูกผิด ความฉลาดและการสั่งงานของสมอง เช่นการเปิดแก๊สหุงต้มทิ้งไว้เพราะลืม หรือเห็นแก๊สเปิดทิ้งไว้ก็ไม่ปิด เพราะนึกไม่ออกว่าจะปิดอย่างไร และไม่คิดว่าจะเกิดอันตรายขึ้นได้ เป็นต้น การป้องกันโรคสมองเสื่อม ทำได้โดยทำให้สมองได้ออกกำลังและเพิ่มการสื่อสัญญาณประสาทในสมอง
        วิธีการทำให้สมองออกกำลังนั้น คุณหมอสุวินัย บอกว่า ทำได้หลายวิธี อย่างการคิดเลขในใจทุกวันวันละหลายๆครั้ง จะกระตุ้นให้เกิดการออกกำลังของสมอง และกระตุ้นเซลล์สมองให้สร้างแขนงประสาทไปเชื่อมต่อเซลล์สมองส่วนอื่นๆ เพิ่มเส้นใยประสาทของเซลล์ประสาท ให้มีการเชื่อมโยงถึงกันมากขึ้น และยังอาจเพิ่มปริมาณสารเคมีที่บรรจุอยู่ในประสาทให้เพิ่มมากขึ้น การคิดเลขในใจทำได้อย่างเช่น เวลาไปจ่ายตลาด คิดเงินทอน คิดค่าอาหารและเงินทอนเวลาไปทานอาหารนอกบ้าน หรือคิดรายรับรายจ่ายในแต่ละเดือน คิดค่าใช้จ่ายในบ้าน ซึ่งต้องคิดเองห้ามใช้เครื่องคิดเลขเป็นอันขาด คุณหมอสุวินัยกล่าวแนะนำในที่สุด

คิดเลขในใจ.....กับวัยสูงอายุ

ภาพจาก..learners.in.th

ประเด็นคำถาม
1. ผู้สูงอายุหมายถึงใคร
2.ลักษณะของผู้สูงอายุคืออะไร
3.ผู้สูงอายุควรปฏิบัติตัวอย่างไร

กิจกรรมเสนอแนะ
1. บอกวิธีออกกำลังกายแบบง่ายๆสำหรับผู้สูงอายุ
2. สำรวจผู้สูงอายุในชุมชน
3. จัดทำโครงงานเยี่ยมบ้านผู้สุงอายุ

การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
1. การเขียนเรียงความ  ภาษาไทย
2. การออกกำลังกาย    พลศึกษา

แหล่งอ้างอิง

ไทยรัฐออนไลน์
โดย ทีมข่าวหน้าสตรี 
6 พฤษภาคม 2553, 05:45 น.

หนังสือเรียนสุขศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ปรีชา   ไวยโภคา

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2412

อัพเดทล่าสุด