ธุรกิจรับประกันเป็นธุรกิจอีกประเภทหนึ่งซึ่งมุสลิมหลายคนสงสัยว่าเป็นว่าเป็นธุรกิจถูกต้องตามหลักการอิสลามหรือไม่ ถ้าหากไม่ถูกต้องแล้วอิสลามมีทางออกสำหรับธุรกิจประเภทนี้อย่างไร? เพราะปัจจุบันนี้ธุรกิจ
ธุรกิจรับประกันเป็นธุรกิจอีกประเภทหนึ่งซึ่งมุสลิมหลายคนสงสัยว่าเป็นว่าเป็นธุรกิจถูกต้องตามหลักการอิสลามหรือไม่ ถ้าหากไม่ถูกต้องแล้วอิสลามมีทางออกสำหรับธุรกิจประเภทนี้อย่างไร? เพราะปัจจุบันนี้ธุรกิจรับประกันไม่ว่าจะเป็นประกันภัยหรือประกันชีวิตได้กลายเป็นส่วนหนึ่ง ที่จำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตทางเศรษฐกิจของคนยุคใหม่ ไปเสียแล้ว
ก่อนที่จะทราบคำตอบดังกล่าวขอให้เรามาทำความเข้าใจให้เป็นที่กระจ่างเสียก่อนว่าธุรกิจการรับประกัน ไม่ว่าจะเป็นการรับประกันชีวิตหรือการรับประกันภัยนั้นไม่ได้หมายถึงการรับประกันว่าความตายจะไม่เกิดขึ้นแก่ชีวิตและอุบัติภัยจะไม่บังเกิดขึ้นกับทรัพย์สินดังที่บางคนคิดว่าเป็นไปได้อย่างไรที่มนุษย์จะไปฝ่าฝืนเจตนารมณ์ของพระเจ้า แต่ความจริงแล้วการประกันภัยและการประกันชีวิตในส่วนผู้เอาประกันก็คือการเตรียมพร้อมสำหรับการได้รับค่าชดเชยหรือค่าชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติต่างๆที่จะมีผลกระทบต่อทรัพย์สินและชีวิตต่างหากและในส่วนของผู้รับประกันนั้นก็คือผู้อาสาเขามาจัดการดูแลในเรื่องการชดเชยความเสียหายให้แก่ผู้เอาประกันนั้นก็คือผู้อาสาเข้ามาดูแลในเรื่องการชดเชยความเสียหายให้แกผู้เอาประกัน
มุสลิมไม่เคยปฏิเสธเจตนารมณ์ของพระเจ้าและคำสอนของอิสลามที่ว่าภัยพิบัติต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สินนั้นคือการทดสอบจากพระองค์ แต่ขณะเดียวกัน อิสลามก็ไม่ห้ามการเตรียมพร้อมที่จะเผชิญกับภัยพิบัติ ดังที่เราจะเห็นได้จากเรื่องราวของนบียูซุฟที่ล่วงรู้จากความฟันของกษัตริย์ว่าจะเกิดภัยแล้วอีกใน 7 ปีข้างหน้านบียูซุฟจึงได้จัดเตรียมความพร้อมสำหรับภัยพิบัติดังกล่าวด้วยการเก็บเกี่ยวพืชผลที่ยังอุดมสมบูรณ์ไว้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนยามเกิดภัยแล้ง หรือในกรณีของชาวอาหรับเร่ร่อนคนหนึ่งที่ปล่อยอูฐไว้โดยไม่ผูกเชือกแล้วอ้างส่งเดชว่าตัวเองมอบหมายทุกสิ่งไว้กับพระเจ้า ท่านศาสดามูฮำหมัดจึงได้บอกกล่าวกับชาวอาหรับคนนั้นให้ผูกอูฐไว้เสียก่อนแล้วมอบหมายทุกสิ่งไว้กับพระองค์ นอกจากนี้แล้ว ซะกาตก็ถือว่าเป็นการประกันอย่างหนึ่งเช่นกัน แต่เป็นการประกันสังคมโดยเจตนาช่วยเหลือและบรรเทาความทุกข์ยากของคนในสังคมซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่สำหรับมุสลิมต้องปฏิบัติ
สัตว์เองก็มีสัญชาติญาณแห่งการเตรียมพร้อมล่วงหน้าดังกล่าวเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากการที่มดตัวเล็กๆที่ทำงานขยันขันแข็งเพื่อสะสมอาหารไว้ในวันข้างหน้า คนป่าที่แต่เดิมออกล่าสัตว์และหาผลิตผบจากป่าก็รู้จักจักจับสัตว์มาเลี้ยงแล้วปลูกพืชเพราะเกรงว่าสัตว์ป่าจะหายากและผลผลิตจากป่าจะขาดแคลน การเตรียมพร้อมที่จะเผชิญปัญหาในอนาคตจึงเป็นสัญชาตญาณเป็นธรรมชาติ ที่พระเจ้าทรงประทานแก่ชีวิตที่พระองค์ทรงสร้างมา ดังนั้นจึงไม่เป็นการผิดแต่ประการใดที่มนุษย์จะใช้สัญชาตญาณนี้เป็นประโยชน์แก่ตัวเอง การไม่ใช้สัญชาตญาณดังกล่าวต่างหากที่เป็นความผิดและเป็นความโง่เขลาของมนุษย์เอง ปัจจุบันหน่วยงานใหญ่ๆ ได้วางแผนการเตรียมตัวสำหรับอนาคตไว้ให้แก่พนักงานของตนเช่น กองทุนบำเหน็จข้าราชการ (ก.บ.ข.) กองทุนประกันสังคม กองทุนอื่นๆ เป็นต้น
ธุรกิจการรับประกันเกิดขึ้นจากพื้นฐานแห่งความจริงดังกล่าวซึ่งไม่ขัดต่อหลักการอิสลามแต่ประการใด สมัยก่อนท่านศาสดามูฮำหมัด ชาวอาหรับเองก็เคยจัดเตรียมความพร้อมทางด้านนี้ไว้เช่นกัน นั่นคือการก่อนที่จะนำกองคาราวานสินค้าเดินทางออกไปค้าขายที่ต่างแดนซึ่งอาจจะต้องเผชิญกับภัยพิบัติจากธรรมชาติหรือถูกปล้น พ่อค้าชาวอาหรับแต่ละคนจะช่วยกันวางเงินจำนวนหนึ่งไว้เป็นกองทุนโดยจ้างหรือให้ค่าตอบแทนจำนวนหนึ่งแก่ผู้ดูแลกองทุนนั้น หากพ่อค้าคนใดได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติตามที่ได้ตกลงกันไว้ พ่อค้าคนนั้นจะได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนดังกล่าวเป็นการแบ่งเบาภาระและชดเชยความเสียหายให้แต่เมื่อโลกเจริญขึ้นหลักการประกันความเสียหายก็พัฒนาขึ้นเป็นหน่วยงานหรือบริษัทธุรกิจที่อาสาเข้ามาทำหน้าที่รับประกันความเสี่ยงต่อภัยพิบัติดังกล่าวเอง ดังนั้นหากพิจาราณาจากเจตนารมณ์และการปฏิบัติของการประกันภัยพิบัตดังกล่าวข้างต้นแล้วจะเห็นได้ว่ากิจการรับประกันดังกล่าวมิได้ขัดต่อเจตนารมณ์ของอิสลามแต่ประการใด แต่สิ่งที่ทำให้ธุรกิจประกันภัยสมัยขัดต่อทัศนะของหลักกฎหมายอิสลามก็คือ
1 ธุรกิจประกันภัยในปัจจุบันนำเงินเบี้ยประกันส่วนหนึ่งไปปล่อยกู้เพื่อหารายได้เพิ่มเติมให้แก่บริษัทเหมือนกับสถาบันการเงินอื่นๆแม้แต่กองทุนประกันสังคม หรือกองทุนบำเหน็จราชการ และกองทุนอื่นๆ ของราชการก็นำเงินสะสมของสมาชิกไปหารายได้ด้วยวิธีการเดียวกับสถาบันการเงินเช่นกัน
2 ธุรกิจรับประกันปัจจุบันดำเนินกิจการที่มีลักษณะของการพนันที่มีการเดิมพันโดยใช้ความเสี่ยงเหมือนกับการซื้อสลากกันแบ่ง ถ้าผู้ซื้อจ่ายเงินซื้อประกันแล้วไม่เกิดอุบัติเหตุ เบี้ยประกันก็ตกเป็นของบริษัทประกัน แต่ถ้าหากเกิดมีอุบัติเหตุ บริษัทประกันก็ต้องชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุซี่งไม่เป็นที่จัดเจนว่าเป็นจำนวนมากหรือน้อยเท่าใด
3 ด้วยเหตุผลจากข้อ 2 สัญญารับประกันจึงมีเรื่องของความไม่แน่นอนซึ่งนักกฎหมายอิสลามเห็นว่าขัดต่อหลักกฎหมายอิสลาม
ด้วยเหตุนี้เพื่อรักษาสถาบันประกันภัยที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของอิสลามไว้ให้พ้นจากสิ่งที่ขัดต่อกฎหมายอิสลามดังกล่าวข้างต้นนักกฎหมายอิสลามจึงได้วางแนวทาง "ตะกาฟุล" ไว้ให้บริษัทประกันภัยไปปฏิบัติเพื่อไม่ให้ขัดต่อกฎหมายอิสลาม
ตะกาฟุลคืออะไร?
ตะกะฟุล คือ สัญญาของคนกลุ่มหนึ่งที่ร่วมตกลงกันไว้จะช่วยเหลือสมาชิกภายในกลุ่มที่ประสบความเสียหายจากอุบัติภัยที่เกิดขึ้น
ดังนั้น สัญญาหรือกรมธรรม์ประกันภัยตามหลักการอิสลามจึงต้องระบุออกมาชัดเจนว่าผู้เอาประกันจะจ่ายเบี้ยประกันจำนวนหนึ่งที่กำหนดไว้ให้แก่บริษัท ตะกาฟุล โดยในเบี้ยประกันจำนวนนี้ผู้เอาประกันยินดีที่จะ "บริจาค" เงินส่วนหนึ่งไว้สำหรับชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นกับธุรกิจตะกาฟุลโดยบริษัทรับประกันจะเป็นผู้ที่กำหนดและเป็นผู้ที่ดูแลรับผิดชอบเองถ้าหากว่าไม่พอเพียงต่อการชดใช้ค่าเสียหายส่วนเงินที่เหลือนั้น บริษัทตะกาฟุล จะนำไปลงทุนหากำไรเพิ่มเติมอย่างไรก็ได้ที่ไม่เกี่ยวกับดอกเบี้ยและไม่ขัดกับหลักกฎหมายอิสลามหากมีกำไรก็จะแบ่งกำไรแก่ผู้ถือกรมธรรม์เป็นการตอบแทน ส่วนในเรื่องชดเชยการเสียหายเป็นจำนวนเท่าใดนั้น กรมธรรม์จะระบุไว้เป็นการชัดเจนว่าผู้เอาประกันจะได้ค่าชดเชยความเสียหายเป็นจำนวนเท่าใดซึ่งในปัจจุบันนี้กรมธรรม์สมัยใหม่ได้ระบุไว้ชัดเจนแล้ว ในประเทศมาเลเซียมีบริษัทตะกาฟุลซึ่งเป็นบริษัทประกันภัยตามหลักการอิสลามเปิดให้บริการสำหรับคนที่ต้องการหลีกเลี่ยงจากระบบดอกเบี้ย บริษัทตะกาฟุลเป็นบริษัทในครือธนาคารอิสลามแห่งประเทศมาเลเซีย เปิดให้บริการหลังจากธนาคารอิสลามได้ก่อตั้งประมาณ 2 ปี ผู้เขียนทราบว่าในกรณีการประกันรถยนต์ หากผู้เอาประกันไม่เรียกร้องค่าเสียหายระหว่างอายุกรรมธรรม์บริษัทประกันภัยจะคืนเงินให้แก่ผู้เอาประกันเป็นเงินสดจำนวน 40 เปอร์เซ็นต์ ของเบี้ยประกันไม่ว่าจะต่อสัญญาใหม่หรือไม่ ส่วนบริษัทประกันภัยประเทศไทยจะคืนเบี้ยประกันจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้ถือกรรมธรรม์ที่ไม่เรียกร้องค่าเสียหายเช่นกัน แต่จะคืนให้เป็นส่วนลดเบี้ยประกันในการต่อสัญญาใหม่กับบริษัทเดิม หากไม่ต่อสัญญากับบริษัทเดิมก็จะไม่ได้อะไรคืน
ตะกาฟุล ครอบครัว ตะกาฟุลครอบครัวเป็นโครงการสำหรับบุคลที่มีความประสงค์เตรียมตัวทางการเงินไว้ให้พร้อมในกรณีที่ตัวเองจะต้องประสบเคราะห์กรรมขึ้นเช่นอุบัติเหตุที่ทำให้ทุพลภาพหรือเสียชีวิตซึ่งอาจจะทำให้ครอบครัวของตนเองจะได้รับความเดือดร้อน ดังนั้นโครงการตะกาฟุลครอบครัวจึงได้ถูกจัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านนี้สำหรับผู้ที่จะหลีกเลี่ยงการประกันระบบเก่าที่เกี่ยวพันกับดอกเบี้ยโครงการตะกาฟุลครอบครัวถูกออกแบบเพื่อให้สมาชิกเข้าร่วมโครงการสามารถ
1 สะสมเงินเป็นประจำ
2 ร่วมลงทุนในกิจการที่มีผลกำไรโดยไม่ขัดต่อหลักกาศาสนา
3 สะสมเงินไว้แก่ทายาทถ้าหากว่าตัวเองต้องมีอันต้องเสียชีวิตไปก่อนที่จะสิ้นสุดสัญญาตะกาฟุลกับบริษัท
การดำเนินงานของโครงการตะกาฟุลครอบครัว
ผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องจ่ายเงินตะกาฟุลให้แก่บริษัทเป็นงวดๆตามที่ตกลงกันไว้โดยที่ผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องเป็นผู้ตัดสินใจเองว่าจะจ่ายให้กับริษัทงวดละเท่าไหร่แต่จะต้องไม่น้อยกว่าเงินฟากขั้นต่ำสุดที่ทางบริษัทกำหนดไว้และจะเข้าร่วมโครงการระยะเวลานานเท่าใด ซึ่งทางบริษัทมีทางเลือกไว้ 3 ประเภท คือ ประเภทระยะเวลา 10 ปี 15 ปี 20 ปี เงินตะกาฟุลที่สมาชิกเข้าร่วมโครงการจ่ายให้แก่บริษัทนั้นจะถูกแยกนำไปใส่ในสองบัญชีด้วยกัน นั่นคือ 95 เปอร์เซ็นต์ จะถูกนำไปใส่บัญชีสมาชิกและอีก 5 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือจะนำไปใส่บัญชีพิเศษของสมาชิกในฐานะเป็นเงิน "บริจาค"(ภาษาอาหรับเรียกว่า ตาบัรรุอฺ) เพื่อให้บริษัทในฐานะตัวแทนนำไปจ่ายแก่สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการคนอื่นที่รับเคราะห์กรรมหรือประสพภัยพิบัติ
อย่างไรก็ตาม เงินฟากที่นำไปใส่ในสองบัญชีนี้จะถูกแบ่งสรรไปลงทุนในกิจการต่างๆ ที่ไม่ขัดต่อกฎหมายอิสลาม ผลกำไรที่เกิดขึ้นจากการลงทุนนี้จะถูกนำมาแบ่งกันระหว่างผู้ร่วมโครงการและบริษัทตามอัตราส่วนที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญา ด้วยส่วนแบ่งนี้เองที่จะทำให้ยอดเงินฝากในบัญชีทั้งสองขอ ลงผู้เข้าร่วมโครงการเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
ผลประโยชน์ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการ ในกรณีที่ผู้เข้าร่วมโครงการเสียชีวิตก่อนครบกำหนดอายุโครงการผลประโยชน์ต่อไปนี้จะตกเป็นของทายาทผู้เข้าร่วมโครงการ
1 จำนวนเงินตะกาฟุล ทุกงวดที่สมาชิกเสียชีวิตจ่ายให้แก่บริษัทตั้งแต่งวดแรกจนถึงงวดสุดท้ายก่อนที่จะเสียชีวิตรวมทั้งส่วนแบ่งของผลกำไรที่เกิดขึ้นจากการที่บริษัทนำเงินของสมาชิกไปลงทุน
2 เงินตะกาฟุลของสมาชิกที่เสียชีวิตจะต้องจ่ายให้แก่บริษัทถ้าหากว่าสมาชิกผู้นั้นยังมีชีวิตอยู่ เงินจำนวนนี้ทางบริษัทจะคิดให้ตั้งแต่วันที่สมาชิกเสียชีวิตไปจนถึงวันสิ้นสุดสัญญาตะกาฟุลของสมาชิกผู้นั้นโดยเงินจำนวนนี้บริษัทจะนำเอามาจากบัญชีพิเศษของสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนดังที่ตกลงกันไว้ในสัญญา
แต่ถ้าหากผู้เข้าร่วมสัญญามีชีวิตอยู่จนถึงวันครบสัญญา สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการจะได้ประโยชน์ดังต่อไปนี้
จำนวนเงินตะกาฟุล ทุกงวดในบัญชีของสมาชิกบวกส่วนแบ่งจากผลกำไรที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาเข้าร่วมโครงการ
เงินส่วนเกินสุทธิที่อยู่ในบัญชีพิเศษทั้งหมด
ในกรณีที่สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการมีความจำเป็นต้องออกจากโครงการก่อนวันสิ้นสุดสัญญานั้น ในกรณีนี้สมาชิกจะได้เงินตะกาฟุลที่จ่ายให้กับบริษัททุกงวดพร้อมกับส่วนแบ่งกำไรที่เกิดขึ้นจากเงินของสมาชิกแต่ "เงินบริจาค" ที่อยู่ในบัญชีพิเศษของสมาชิกนั้นทางบริษัทจะไม่คืนให้ดังนั้นในธุรกิจตะกาฟุล ผู้ถือสัญญากรรมธรรม์จึงเสมือนมีส่วนร่วมในความเป็นเจ้าของบริษัทตะกาฟุลด้วย เพราะบริษัทจะจำทำหน้าที่เป็นตัวกลางให้ความช่วยเหลือผู้ถือกรมธรรม์ตะกาฟุลที่ประสบความเสียหายและในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่นำเงินเบี้ยประกันไปหาผลตอบแทนที่ถูกต้องตามหลักการอิสลามมาแบ่งปันกันแก่ผู้ถือกรรมธรรม์