คำกล่าวสั้นๆ อาจมีตั้งแต่วรรคเดียวหรือ 4 – 5 วรรค การแบ่งจังหวะของคำในวรรคหรือระหว่างวรรคมักมีจังหวะเท่าๆ กัน
คำกล่าวสั้นๆ อาจมีตั้งแต่วรรคเดียวหรือ 4 – 5 วรรค การแบ่งจังหวะของคำในวรรคหรือระหว่างวรรคมักมีจังหวะเท่าๆ กัน
คำขวัญ
ที่มาของภาพ : www.lib.ru.ac.th/journal/jan/jan-DayForChild.html
เป็นคำกล่าวสั้นๆ อาจมีตั้งแต่วรรคเดียวหรือ 4 – 5 วรรค การแบ่งจังหวะของคำในวรรคหรือระหว่างวรรคมักมีจังหวะเท่าๆ กัน นิยมใช้คำที่คล้องจองกันทั้งสัมผัสสระและสัมผัสพยัญชนะ โดยความหมายของคำขวัญจะเป็นไปในทางเชิญชวนให้ปฏิบัติตามมากกว่าจะเป็นการสั่งหรือบังคับ หรืออาจใช้สำหรับการประชาสัมพันธ์ต่างๆ การใช้ถ้อยคำที่คล้องจองกันมีส่วนทำให้คำขวัญนั้นมีลักษณะไม่เป็นทางการ ช่วยให้น่าสนใจ และจดจำได้ง่าย เช่น ยาบ้าอันตราย คนเสพตาย คนขายติดคุก เสียเหงื่อให้กีฬาดีกว่าเสียน้ำตาให้ยาเสพติด
1.1 หลักการใช้ภาษาในการเขียนคำขวัญ
การเขียนคำขวัญมีหลักเกณฑ์ทั่วไป ดังนี้
1) ใช้ถ้อยคำสั้น กะทัดรัด มีการใช้คำตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป แบ่งเป็นวรรคได้ ตั้งแต่ 1 – 4 วรรค เช่น
- ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ อดทน
- งดเหล้าเข้าพรรษา
- ขับไม่โทร โทรไม่ถือ เพื่อความปลอดภัย
2) มีใจความสำคัญเพียงอย่างเดียว เพื่อให้จดจำง่าย เช่น
- ททบ. 5 นำคุณค่าสู่สังคมไทย
- หยาดเหงื่อทุกหยด เพื่ออนาคตของลูก
- ช่อง 7 สี ทีวีเพื่อคุณ
3) มีการแบ่งจังหวะคำสม่ำเสมอกัน
- หม้อข้าวหรู คู่โต๊ะสวย
- เลิกเหล้า เลิกจน
4) มีการซ้ำคำ การเล่นคำทั้งเสียงและสัมผัส เช่น
- ลอรีอัล คุณค่าที่คุณคู่ควร
- เมาแล้วขับ ถูกจับแน่
ที่มาของภาพ : mazella_chocola.storythai.com/200704/
5) ถ้าเป็นคำขวัญโฆษณา ต้องมีชื่อสินค้ากำกับ เช่น
- S & P ชื่อนี้มีแต่ของอร่อย
1.2 การใช้ถ้อยคำในการเขียนคำขวัญ
การเขียนคำขวัญมีลักษณะการใช้ถ้อยคำ ดังนี้
1) คำขวัญที่ระบุชื่อกลุ่มผู้รับสารไว้ในคำขวัญ เช่น
- เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
- เยาวชนของชาติ ต้องไม่เป็นทาสยาเสพติด
2) คำขวัญที่กล่าวขึ้นลอยๆ โดยไม่มีประธานของประโยค และไม่ระบุผู้รับสาร แต่ผู้รับสารจะทราบได้เอง เช่น
- โค้ก รสชาติของคนรุ่นใหม่ (ผู้รับสาร ได้แก่ ทุกคน)
- โลกสวยด้วยมือเรา (ผู้รับสาร ได้แก่ ทุกคน)
3) คำขวัญที่ประกาศสรรพคุณตรงๆ เช่น มาม่า อร่อย เป๊ปซี่ ดีที่สุด
2. คำคม เป็นถ้อยคำที่มีลักษณะคมคาย ให้ข้อคิด โดยมีลักษณะการใช้ถ้อยคำล้อเสียงหรือนำเหตุการณ์ที่อยู่ในความสนใจของคนมาเรียบเรียงใหม่ (มักใช้พูดมากกว่าเขียน) เช่น
1) คำคมที่มีลักษณะล้อเสียง เช่น
- คนเราท้อได้แต่อย่าถอย
- คนเราล้มได้ แต่ล้มแล้วต้องลุก ไม่ใช่ล้มแล้วเลิก
2) คำคมที่นำเอาเหตุการณ์ที่คนสนใจมาเรียบเรียงใหม่ เช่น
- “กทม. ไม่ใช่สนามสำหรับฝึกงานสำหรับคนไม่มีประสบการณ์”
- “...กลับมาในครั้งนี้ ก็เหมือนเครื่องบินน้ำมันหมด หาที่จอดไม่ได้ต้องมาจอดที่กรุงเทพฯ”
3) คำคมที่เสนอแง่คิด
- ศิลปะยืนยาว ชีวิตนั้นสั้น (นิรนาม)
- เริ่มต้นไม่ดี ย่อมลงท้ายไม่ดี (ปรัชญากรีก)
3. คำสแลง พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2542 อธิบายความหมายของคำสแลงไว้ว่า ถ้อยคำหรือสำนวนที่ใช้เฉพาะกลุ่ม หรือชั่วระยะเวลาหนึ่ง โดยไม่ใช่ภาษาที่ยอมรับกันว่าถูกต้องตามหลักภาษา
3.1 ลักษณะของคำสแลง สามารถแบ่งได้ 5 ลักษณะ ดังนี้
1) การนำเอาคำหรือวลีที่มีอยู่แล้วในภาษามาใช้สื่อความหมายใหม่ เช่น
- ควาย ความหมายเดิม สัตว์เคี้ยวเอื้อง รูปร่างใหญ่ ตัวสีดำ หรือสีเทา เขาโค้งยาว
คำสแลง มีความหมายว่า คำด่าคนที่เซ่อโง่
- ขึ้นคาน ความหมายเดิม ชักเรือขึ้นสู่คานเพื่อเก็บหรือซ่อม
คำสแลง มีความหมายว่า หญิงไร้คู่แต่งงาน จนอายุมากขึ้นทุกที
2) สแลงอาจเกิดจากการสร้างคำขึ้นใหม่ เพื่อสื่อความหมายที่ต้องการ เช่น
- ติ๊งต๊อง มีความหมายว่า บ้าๆ บอๆ ไม่เต็มบาท
- เด๋อด๋า มีความหมายว่า เร่อร่า ไม่เข้ากับกาลเทศะ
3) สแลงอาจเกิดจากภาษาถิ่นหรือภาษาอื่น มาใช้แทนคำที่มีอยู่แล้วหรือนำคำดังกล่าวนี้มาใช้กับกลุ่มคนหรือสิ่งของที่มีลักษณะเฉพาะตัวอย่างใดอย่างหนึ่ง เซียน อึ้งกิมกี่ อย่าให้แซ่ด
4) สแลงส่วนมากเป็นเรื่องเกี่ยวกับปัจจุบัน สิ่งที่เกิดขึ้นประจำ หรือเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สแลงมักเป็นคำที่ใหม่อยู่เสมอ เมื่อเวลาผ่านไปก็เลิกใช้ บางครั้งสแลงก็สามารถเป็นเครื่องชี้วัดได้ว่า ผู้ใช้เป็นคนรุ่นใด
- เชย มาจากลักษณะนิสัยของตัวละครชื่อ เชย ในหนังสือ พลนิกร กิมหงวน
5) สแลงเป็นภาษาที่ใช้กันเฉพาะกลุ่มที่มีความสนใจร่วมกัน หรือมีอาชีพเหมือนกัน ซึ่งคนที่ไม่ใช่สมาชิกของกลุ่มฟังแล้วอาจไม่เข้าใจ เช่น
- รถตะลัย เป็นรถโดยสารภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ที่มา : th.wikipedia.org/wiki/
สมพร มันตะสูตร. การเขียนเพื่อการสื่อสาร. โอเดียนสโตร์ : กรุงเทพฯ, 2540.
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=747