หลักการทำงาน และ สาระสำคัญ ของสาหร่ายสไปรูลิน่า ต่อ ร่างกาย


1,007 ผู้ชม


หลักการทำงานและสารสำคัญของสาหร่ายสไปรูลิน่า ที่มีให้ต่อร่างกาย

  • ให้สารอาหารประเภทกรดอะมิโนในปริมาณสูง และล้วนเป็นกรดอะมิโนจำเป็น ( กรดอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ ) ที่สามารถเข้าไปช่วยซ่อมแซมเซลล์ของร่างกายที่สึกหรอหรือกำลังจะสึกหรอให้ กลับมีสุขภาพดีดังเดิม 
    1.1 กรดอะมิโนจำเป็น ( ร่างกายสร้างไม่ได้ ) ที่ได้จากสาหร่ายสไปรูลิน่ามีอยู่ครบทั้ง 8 ชนิดคือ 
    1.1.1 ไอโซลูซีน ( Isoluecine ) ที่ช่วยในการเจริญเติบโต พัฒนาการของความทรงจำ สมดุลแร่ธาตุ ไนโตรเจนในร่างกาย และยังใช้ในการสังเคราะห์กรดอะมิโนไม่จำเป็นบางตัวในร่างกายอีกด้วย 
    1.1.2  ลูซีน ( Luecine ) กระตุ้นการทำงานของสมอง. ทำให้กล้ามเนื้อมีกำลังมากขึ้น 
    1.1.3  ไลซีน ( Lysine ) เป็นโครงสร้างของเซลล์เม็ดเลือดที่มีหน้าสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย เพิ่มความแข็งแรงให้กับระบบไหลเวียนโลหิตและทำให้การเจริญเติบโตของเซลล์ใน ร่างกายเป็นไปอย่างปกติ 
    1.1.4  เมไธโอนีน ( Methionine ) ช่วยในกระบวนเผาพลาญไขมันและกรดไขมัน ทำให้ตับมีสุขภาพดี และยังลดความเครียดของสมอง 
    1.1.5  เฟนินอลานีน ( Phynylalanine ) ช่วยให้ต่อมไธรอยด์นำไปใช้สร้างไธรอยด์ฮอร์โมนที่ควบคุมพลังงานพื้นฐานของร่างกายที่เรียกว่า BMR 
    1.1.6  เทรโอนีน ( Threonoine ) ช่วยให้การทำงานของระบบทางเดินอาหารเป็นปกติและช่วยให้การดูดซึมสารอาหารเข้าสู่กระแสโลหิตจากทางเดินอาหารเป็นไปได้ด้วยดี 
    1.1.7  ทริปโตแฟน ( Tryptophan ) ทำให้ร่างกายสามารถนำเอาวิตามิน บี มาใช้ประโยชน์ ได้เป็นอย่างดีซึ่งส่งผลทำให้ระบบประสาททำงานได้ดีขึ้น เชื่อว่าให้ผลในการควบคุมอารมณ์และทำให้ใจเย็นลงได้ 
    1.1.8  วาลีน ( Valine ) กระตุ้นการทำงานของระบการควบคุมอารมณ์และการประสานงานการทำงานของระบบกล้ามเนื้อ 
    1.2 กรดอะมิโนไม่จำเป็นที่ได้จากสาหร่ายสไปรูลิน่า ( Non-essential Amino Acids ) 
    1.2.1 อลานีน ( Alanine ) ทำให้เยื้อหุ้มเซลล์มีความแข็งแรง 
    1.2.2 อาร์จินีน ( Arginine ) มีความสำคัญกับสุขภาพทางเพศ และมีสัดส่วนสูงในน้ำกาม ( Seminal Fluid )  นอกจากนั้นยังมีส่วนให้ผลในการขับพิษออกจากร่างกายได้ด้วย 
    1.2.3 ซีสตีน ( Cystine ) ช่วยให้สุขภาพของตับอ่อนดีขึ้น ซึ่งช่วยรักษาระดับของน้ำตาลในเลือด และ ควบคุมขบวนการเผาพลาญคาร์โบไฮเดรต เคยถูกนำมาใช้ในการช่วยบรรเทาอาการอาหารเป็นพิษ และ อาการดื้อยา 
    1.2.4 กรดกลูตามิค ( Glutamic Acids ) จะร่วมกับน้ำตาลกลูโคสเพื่อเป็นแหล่งพลังงานของเซลล์สมอง เคยถูกนำมาใช้ในการทดลองอดเหล้า และ การระงับภาวะผิดปกติบางอย่างทางสมอง 
    1.2.5 ไกลซีน ( Glycine ) เสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงานและ อ๊อกซิเจนภายในเซลล์ 
    1.2.6 ฮีทติดีน  ( Histidine ) ช่วยทำให้ระบบประสาทแข็งแรง โดยเฉพาะในระบบการได้ยินหรือหู  เคยใช้ทำการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการหูหนวกมาแล้ว 
    1.2.7 โปรลีน ( Proline ) เป็นสารตั้งต้นที่ใช้ในการสังเคราะห์ กรดกลูตามิค 
    1.2.8 ซีรีน ( Serine ) พบว่าช่วยป้องกันเยื้อหุ้มเซลล์ประสาทที่เรียกว่า ไมอีลินชีท ( Myelin sheat ) ทำให้เซลล์ประสาททำงานได้อย่างปกติ 
    1.2.9 ไธโรซีน ( Thyrosine ) ชลอกความแก่ ลดความอยากอาหาร สามารถถูกสังเคราะห์จาก Phynylalanine ยังเกี่ยวข้องกับขบวนการสร้างสีของขน และ ผม รวมทั้งป้องการผิวพรรณจากการถูกเผาไหม้ด้วยแสงแดด
  • ให้วิตามิน B12 ที่พบว่ามีผลดีต่อการสร้างเม็ดเลือด ที่เป็นระบบภูมิต้านทานที่ดีของร่างกาย และทำงานร่วมกับสารรงควัตถุคลอโรฟิลล์ ( Clhlorophyl ) และ ไฟโคไซยานิน ( Phycocyanin ) ที่มีอยู่ในปริมาณสูงในสาหร่ายสไปรูลิน่าที่สามารถช่วยให้ร่างกายสามารถ สร้างเม็ดเลือดได้ดีขึ้น ภูมิต้านทานของร่างกายก็จะดีขึ้นตามไปด้วย
  • สาหร่ายสไปรูลิน่าให้แร่ธาตุจำนวนมาก และครบทุกชนิดตามที่ร่างกายของเราต้องการ ซึ่งได้แก่ โปรแตสเซียม, แคลเซียม, สังกะสี. แมงกานีส. แมกนีเซียม. ซีเรเนียม,เหล็ก, ฟอสฟอรัส ฯลฯ เพื่อนำไปร่วมกันในกระบวนการสร้างและซ่อมแซมเซล์เพื่อให้เซลล์สามารถใปฏิ กิริยาชีวเคมีเพื่อดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างแข็งแรงสม่ำเสมอ และนอกจากนี้ แร่ธาตุเหล่านี้จะอยู่ในรูปธรรมชาติที่เรียกว่า แร่ธาตุคีเลต ( Amino Acids Chaelate ) ที่สามารถทำให้ร่างกายของเราดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้อย่างรวดเร็วและสามารถ นเอาไปใช้ประโยชน์ที่จุดหรืออวัยวะที่ต้องการได้ในทันที เกลือแร่ดังกล่าวได้แก่ 
    3.1 โปแตสเซียม ( Potassium ) มีหน้าที่ในการช่วยทำให้ร่างกายมีระดับเกลือแร่สมดุล หากขาดอาจทำให้เกิดภาวะความบกพร่องของหัวใจ ภาวะความดันโลหิตสูง การทำงานของต่อมอดรีนอลที่มีหน้าที่หลั่งฮอร์โมนมากมายเช่น ฮอร์โมนเพศ ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ และอาจทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนเปลี้ย 
    3.2 แคลเซียม ( Calcium ) เป็นเกลือแร่ที่มีอยู่ในปริมาณสูงที่สุดที่ร่างกาย เป็นเกลือแร่ที่เป็นโครงสร้างหลักของกระดูกและฟัน เป็นเเกลือแร่ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในขบวนการส่งกระแสประสาทไป ยังกล้ามเนื้อ พบว่าส่าหร่ายสไปรูลิน่าสามารถให้แคลเซียมในปริมาณเท่ากับการรับประทานน้ำนม ( Milk ) กรัมต่อกรัมเลยทีเดียว 
    3.3 สังกะสี หรือ ซิงค์ ( Zinc ) พบว่าเอ็นไซม์ที่ใช้ในปฎิกริยาทางชีวเคมีในร่างกายมากกว่า 30 ชนิด มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เกลือแร่สังกะสีในการเป็นตัวร่วมเร่งปฏิกริยาทาง เคมี และยังมีความสำคัญต่อ สภาวะสมดุลทางจิตใจ ระบบการสร้างและเสริมสุขภาพของผิวพรรณ การทำงานของต่อมลูกหมาก และ มีส่วนช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น 
    3.4 แมกนีเซียม ( Magnesium ) หากร่างกายขาดแมกนีเซียมจะส่งผลทำให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้ออย่างผิดปกติ รวมทั้งความผิดปกติของกล้ามเนื้อและการทำงานของหัวใจ แมกนีเซียมยังมีผลในการช่วยร่างกายในการดูดซึมวิตามิน ซี วิตามิน บี และ โปรตีนเข้าสู่ร่างกายอย่างเป็นปกติ 
    3.5 แมงกานีส ( Manganese ) มีผลในการช่วยกระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์ชนิดต่างๆ ร่วมกับเกลือแร่สังกะสี ช่วยส่งเสริมการทำงานของสารสื่อประสาทที่ชื่อ อะเซทิลโคลีน ( Acetylcholine ) และยังพบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการในการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดและการ ทำงานของตับอ่อนในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติได้เป็นอย่างดี ด้วย 
    3.6 เซเลเนียม ( Selenium ) เดิมที่เดียวเราเข้าใจว่าเกลือแร่ชนิดนี้เป็นเกลือแร่ที่เป็นพิษหากมีการ สะสม แต่จากการวิจัยอย่างแท้จริงพบว่าเกลือแร่เซเลเนียม มีความจำเป็นในกระบวนการป้องกันการทำลายเซลล์จากอนุมูลอิสระหรือ Free Radical ที่จะเกิดปฎิกิริยาอ๊อกซิเดชั่น นอกจากนี้ยังช่วยลดความเป็นพิษของสารก่อมะเร็ง ( Carcinogen ) และช่วยปรับสมดุลประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ 
    3.7 เหล็ก หรือ ไอรอน ( Iron ) มีหน้าที่ในการสร้างฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ซึ่งมีหน้าที่นำพาอ๊อกซิเจนไปหล่อเลี้ยงเซลล์ต่างๆของร่างกาย เราพบว่าสตรีที่มีการเสียเลือดประจำเดือนมากๆหรือเป็นประจำจะมีผลทำให้มี ความต้องการเกลือแร่เหล็กมากเป็นพิเศษ ไม่เช่นนั้นอาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้ 
    3.8 ฟอสฟอรัส ( Phosphorus ) เป็นเกลือแร่ที่มีมากรองเป็นอันดับสองจาก แคลเซียมในร่างกายซึ่งเราสามารถพบเกลือแร่ฟอสฟอรัสได้ในทุกเซลล์ของร่างกาย ปกติแล้วจะทำงานร่วมกันกับเกลือแร่แคลเซียมในการรักษาระดับความแข็งแรงและ ความหนาแน่นของกระดูกและฟัน นอกจากนี้ยังช่วยในกระบวนการย่อยสารอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต, ขบวนการทำงานของวิตามิน บีไนอะซิน และ ไรโบฟลาวิน
  • ให้เอ็นไซมย์ ( Enzyme ) และ สารเคมีจากพืช ( Phytochemicals ) เช่น SOD ( Superoxide Dismutase ) ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ถือเป็นตัวอันตรายในการทำลายเซลล์ ทำให้เซลล์ของร่างกายปลอดภัยและทำงานได้อย่างปกติ นอกจากนั้นยังพบว่าให้สารกรดไขกรดไขมันจำเป็นในกลุ่มโอเมก้า -6 เช่น GLA ( Gamma Linoleic Acids ) ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ แต่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในขบวนการเผาพบพลาญไขมันขนาดเล็กๆในเซลล์ทำให้ เซลล์ไม่มีการสะสมไขมันมากจนเกินไป นอกจากนั้นยังพบว่า GLA ยังให้ผลในการ ปรับสมดุลระดับฮอร์โมนต่างๆในร่างกาย ทำให้ไม่เกิดภาวะปวดประจำเดือนหรือภาวะอารมณ์แปรปรวนในสตรีที่มีปัญหาขาดสาร GLA ดังกล่าว
  • การวิจัยพบว่าสาหร่ายสไปรูลิน่าให้สารสำคัญที่เรียกว่า แคลเซียมสไปรูแลน ( Calcium Spirulane ) ที่ให้ผลการวิจัยว่าสามารถเพิ่มภูมิต้านทานและ T-helper Cell ที่เป็นเซลล์ที่มีปริมาณน้อยมากในผู้ป่วยภูมิแพ้หรือโรคเอดส์ และยังผลให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญอีกด้วย
  • เราพบว่าสาหร่ายสไปรูลิน่า มี ปริมาณ สารอาหารโปรตีนจากธรรมชาติบริสุทธ์มากกว่า สารอาหารโปรตีนจากถั่วเหลืองซึ่งเดิมถือว่าเป็นแหล่งของสารอาหารที่ดีที่สุด ถึง 3-4 เท่า และ เป็นกรดอะมิโน หรือ โปรตีนที่มีสามารถถูกดูดซึมได้ดีกว่า โปรตีนจากถั่วเหลืองถึง 3 เท่าเลยทีเดียว
  • มีผลการวิจัยในภาควิชาชีวเคมี โดยทีมแพทย์ในประเทศแมกซิโก มหาวิทยาลัยแมกซิโก พบว่า สารสำคัญหลายชนิดจากสาหร่ายสไปรูลิน่า มีความสามารถช่วยป้องกันพิษอันอาจจะเกิดที่ตับจากสารในกลุ่มของคลอโรฟอร์ม ได้ อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งก็จะส่งผลทำให้ โอกาสการเป็นมะเร็งจากสารกลุ่มดังกล่าวน้อยลง สารในกลุ่มของ คอลโรฟอร์มได้ แก่ โฟมพลาสติค บรรจุอาหาร ถุงพลาสติกบางชนิด และนอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำจนทำให้เซลล์ตับมีสภาพ ความเสื่อมหรือทรุดโทรมลงสารสำคัญจากสาหร่ายสไปรูลิน่าก็จะให้ผลในฟื้นฟู สมรรถภาพของตับให้กลับคืนสู่สภาพปกติแบบค่อยเป็นค่อยไปได้ ซึ่งตับถือเป็นอวัยวะสำคัญหรือแหล่งพลังงานที่ใหญ่ที่สุดของร่างกาย ดังนั้น หากมีความผิดปกติก็จะทำให้เป็นโรคต่างๆมากมาย เช่น โรคโลหิตจาง โรคไขมันสะสมในตับสูง หรือ แม้แต่มะเร็งในตับในกรณีที่ปลอ่ยทิ้งไว้นานๆ ในความเป็นจริง ไม่ใช่แอลกอฮอล์ตัวเดียวเท่านั้นที่จะทำให้เกิดมะเร็งในตับ สารเคมีแปลกปลอมหรือแม้แต่ยาหลายชนิดที่รับประทานสะสมกันเป็นเวลานานๆ ก็สามารถเป็นสาเหตุได้ ซึ่งสารสำคัญในสาหร่ายสไปรูลิน่าก็สามารถที่จะกำจัดสารพิษดังกล่าวออกไปจาก ตับได้ทุกชนิด
  • พบว่านอกจาก วิตามิน B 12 แล้ว สาหร่ายสไปรูลิยังให้วิตามินเอ ในรูปของ เบต้าแคโรทีน ( Betacarotene ) ที่ให้ผลเป็นสารต้านการเกิดปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่น โดยการกำจัดอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นภายในและมาจากภายนอกเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ต่างๆให้หมดไป ทำให้เซล์มีความแข็งแรงมีอายุยืนนานขึ้น
  • สาหร่ายสไปรูลิน่ายังให้วิตามินอย่างครบถ้วนอันได้แก่ 
    9.1  ไพริด๊อกซิน ( Pyridoxin หรือวิตามิน บี 6 ที่พบว่ามีผลเกี่ยวข้องกับการเผาพลาญโปรตีนให้มี ขนาดเล็กลง ป้องกันโรคหัวใจ ลดอาการบวมน้ำ รักษาระดับฮอร์โมนเพศหญิงให้ปกติ และ ดร. คาร์ล ไฟฟ์เฟอร์ ยังพบว่าการรับประทาน วิตามิน บี 6 ร่วมกับ แร่ธาตุสังกะสี สามารถส่งผลดีในผู้ป่วยทีมีปัญหาระบบประสาทชนิด ชิโซฟีเนีย ( Shisohphenia ) 
    9.2  ไบโอติน ( Biotin ) มีหน้าที่เป็นเอ็นไชม์ในการ ช่วยนำพากาซ คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ ในระหว่างขบวนการเผาพลาญสารอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต และยังเป็น โคเอ็นไซม์ ในการช่วยทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมเอาวิตามิน บีชนิดต่างๆเข้าสู่ร่างกายได้ดีและมีประสิทธิภาพขึ้น แต่พบว่า ไบโอตินนี้จะถูกทำลายได้ด้วยการรับประทานไข่ขาวดิบๆ หรือ ปลาดิบบางชนิด 
    9.3  โคบาลามิน ( Cobalamin ) หรือวิตามิน บี 12 เป็นวิตามินที่ถูกดึงออกมาจากอาหารจำพวกผักเพื่อเข้าสู่ร่างกายของเราได้ยาก ที่สุด แต่สาหร่ายสไปรูลิน่า สามารถที่จะให้วิตามิน บี 12 ให้กับร่างกายได้อย่างง่ายดาย พบว่า ในสาหร่ายสไปรูลิน่ามีวิตามิน บี 12 ถึง 250 เปอร์เซ็นต์ที่มีอยู่ในตับ ซึ่ง ตับเอง เคยถูกถือว่าเป็นแหล่งของวิตามิน บี 12 ที่ใหญ่ที่สุดด้วยซ้ำ เราพบว่า ค่า RDA ของวิตามิน บี 12 อยูที่ 1.3-5 ไมโครกรัมต่อวัน และพบว่าผู้ขาดวิตามิน บี 12 จะปรากฏภาวะอาการที่เรียกว่าโลหิตจางชนิด เพอนิเชียส ( Pernicious anemia ) อาจมีภาวะความบกพร่องของระบบประสาท แก่ก่อนวัยอันควร อ่อนเพลีย และอาจถึงขึ้นมีปัญหาในระบบประสาทหรือ อาการโรคจิต ชิโซฟีเนีย ( Shisophenia ) 
    9.4  กรดแ พนโธเทนิค ( Pantothenic Acic ) เราตั้งชื่อวิตามินตัวนี้ว่า stress vitamin ที่ไม่ได้แปลว่าวิตามินนี้ทำให้เครียด แต่วิตามินนี้จะเป็นวิตามินที่สามารถทำงานร่วมกันกับ โคเรสเตอรอล และ วิตามิน ซี ในขบวนการสร้างสารที่ชื่อ คอร์ติซอล ( Cortisol ) และสาร เสตรีย์รอยด์ ( Stroid ) อื่นๆในสมอง ซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมระบบการทำงานของระบบประสาทสมองของมนุษย์ โดยเฉพาะการควบคุมความเครียด การขาดวิตามินนี้อาจทำให้เกิดภาวะการแพ้สารต่างๆได้ง่าย การติดเชื้อง่าย และยังพบว่า ภาวะมะเร็งและภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำก็จะมีความสัมพันธ์กับการขาดวิตามินนี้ เช่นกัน 
    9.5  กรดโฟลิค ( Folic Acids ) มีความจำเป็นสำหรับขนวนการสร้างเม็ดเลือดแดง หากขาดก็จะพบว่าอาจมีอาการของโลหิตจาง การเจริญเติบโตผิดปกติ สีผิวผิดปกติ และมีภาวะของผมหงอกก่อนวัยอันควร 
    9.6  อินอซิทอล ( Inositol ) เป็นสารอาหารชนิดที่ชอบน้ำมัน ( Lipotropic Nutrient ) ที่มีช่วยพยุงการทำงานของตับ ช่วยตับในการขับสารพิษที่เป็นต้นเหตุการก่อมะเร็ง โดนเฉพาะในสตรีที่มีภาวะของระดับฮอร์โมนผิดปกติมากเกินไป , ช่วยในการรักษาระดับสารโคเรสเตอรอลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ และจะทำงานร่วมกับ สารโคลีน ( Choline ) ในตับ เพื่อสังเคราะห์สารที่ชื่อ เลซิติน ( lecithin ) ในตับได้ อินอซิทอลถือเป็นวิตามินที่มีปริมาณสูงในร่างกายรองมาเป็นอันดับสอง รองจาก ไนอะซิน ( Niacin ) และพบว่าผลการวิจัยล่าสุด การรับประทานอินอซิทอลร่วมกับไบโอติน จะช่วยลดการหลุดล่วงของเส้นผมได้ด้วย 
    9.7  ไนอะซิน ( Niacin ) เรารู้จักกันในชื่อของ กรดนิโคตินิค และ นิโคตินาไมด์ ซึ่งจริงๆแล้วก็คือ อนุพันธ์ของ ไนอะซินนั่นเอง ไนอะซิน มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพทางจิต ดร. แอปร่าม ฮอฟเรอร์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ทางจิตระดับโมเลกุลคนแรกที่สามารถใช้ ไนอะซิน ในการรักษาผู้ช่วยทางจิต ชนิด ชิโซฟีเนีย ( Shisophenia ) ให้หายได้อย่างสมบูรณ์ แต่ส่วนใหญ่แพทย์มักสั่งจ่าย ไนอะซิน เพื่อลดระดับไขมัน โคเรสเตอรอลในร่างกายให้เป็นปกติ 
    9.8  ไรโปฟลาวิน ( Riboflavin ) หรือ วิตามิน บี 2 เป็นวิตามินที่พบได้ทั่วไป หากร่างกายขาดก็จะทำให้เกิดภาวะ ต้อกระจก การมองเห็นผิดปกติ น้ำตาในตามากเกินไป และ ภาวะที่ควบคุมไม่ได้ของโรคผิวหนังเอคซีม่า ( Eczema ) 
    9.9  ไธอะมีน ( Thyamine ) หรือ วิตามิน บี 1 เป็นโคเอ็นไซม็ในขบวนการเผาพลาญสารอาหารคาร์โบไฮเดรต รักษาระดับกลูโคสในเลือด หากร่างกายขาดวิตามนิ บี 1 จะทำให้เกิดภาวะอ่อนเพลีย, หัวใจล้มเหลว ความผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร และ ร่างกายขาดประสิทธิภาพการนำกาซออกซิเจนไปใช้ประโยชน์ และหากขาดเป็นระยะเวลานานอาจทำให้เสียชีวิตได้ หรืออาจเกิดอาการเป็นพิษในร่างกายที่เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถนำเอา คาร์โบไฮเดรตไปใช้ประโยชน์ได้ 
    9.10 โทโคเฟรอล ( Tocopherol ) หรือ วิตามิน อี พบว่าสาหร่ายสไปรูลิน่ามีปริมาณ วิตามิน อีมากกว่า ข้าวสาลี เมื่อเปรีบเทียมกรัมต่อกรัม สารอาหารนี้สามารถปกปอ้งระบบหัวใจและระบบเส้นเลือด ช่วยให้เซลล์ต่างๆในร่างกายสามารถนำเอาอ๊อกซิเจนไปใช้ได้เป็นอย่างดี และ พบว่าให้ผลชลดความแก่ได้

สารอาหารสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ที่พบใน
สาหร่ายสไปรูลิน่า ที่ได้มาตรฐานสากล ญี่ปุ่น และ ยุโรป

    1.  
    2. กรดอะมิโนจำเป็น ( Essential Amino Acids ) 
      1.1 ไอโซลิวซีน ( Isoleucine ) 4.1% 
      1.2 ลิวซีน ( Leucine ) 5.8% 
      1.3 ไลซีน ( Lysine ) 4.0% 
      1.4 เมไธโอนีน ( Methionine ) 2.2% 
      1.5 เฟนิลอะลานีน ( Phenylalanine ) 4.0% 
      1.6 เทรโอนีน ( Threonine ) 4.2% 
      1.7 ทริปโตแฟน ( Tryptophane ) 1.1% 
      1.8 วาลีน ( Valine ) 6.0%
    3. กรดอะมิโนชนิดไม่จำเป็น ( Non-essential Amino Acids ) 
      2.1 อะลานีน ( Alanine ) 5.8% 
      2.2 อาร์จินีน ( Arginine ) 6.0% 
      2.3 กรดแอสปาร์ติค ( Aspartic Acids ) 6.4% 
      2.4 ซีสตีน ( Cystine ) 0.7% 
      2.5 กรดกลูตามิค ( Glutamic Acids ) 8.9% 
      2.6 ไกลซีน ( Glycine ) 3.5% 
      2.7 ฮีสติดีน ( Histidine ) 1.1% 
      2.8 โปรลีน ( Proline ) 3.0% 
      2.9 เซอรีน ( Serine ) 4.0% 
      2.10ไธโรซีน ( Thyrosine ) 4.6%

โปรตีน ( Protein ) 71% 
เส้นใยธรรมชาติ ( Crude Fiber )                 0.9% 
คาร์โบไฮเดรต ( Carbohydrate )               16.9% 
ไขมัน ( Fat ) 7.0% 
โคเรสเตอรอล ( Cholesterol )     น้อยกว่า 0.05% 
กรดนิวคลีอิค ( Nucleic Acids )                 4.5% 
แคโรทีนอยด์ ( Carotenoids )                 0.4% 
คลอโรฟิลล์ ( Chlorophyll ) 0.8% 
ความชื้น ( Moisture )     น้อยกว่า 7.0%  
กลุ่มของวิตามินที่พบจะมีปริมาณเฉลี่ยต่อสาหร่ายสไปรูลิน่า 1 กิโลกรัม มีดังนี้ 
ไบโอติน ( Biotin ) 0.4 มิลลิกรัม 
วิตามิน บี 12 ( Vitamin B 12 )                 2.0 มิลลิกรัม 
ดี-แคลเซียม แพนโธเทเนต ( D-Calcium-Pantothenate )                                 11 มิลลิกรัม 
กรดโฟลิค ( Folic Acids ) 0.5 มิลลิกรัม 
อินอซิทอล ( Inositol )               350 มิลลิกรัม 
กรดนิโคตินิค ( Nicotinic Acids )               118 มิลลิกรัม 
วิตามิน บี 6 ( Vitamin B 6 )                   3 มิลลิกรัม 
วิตามิน บี 2 ( Vitamin B 2 )                   40 มิลลิกรัม 
วิตามิน บี 1 ( Vitamin B 1 )                   55 มิลลิกรัม 
วิตามิน อี ( Vitamin E ) 190 มิลลิกรัม  
กลุ่มของเลือแร่หรือแร่ธาตุที่พบจะมีปริมาณเฉลี่ยต่อสาหร่ายสไปรูลิน่า 1 กิโลกรัม มีดังนี้ 
แคลเซียม ( Calcium )               1315 มิลลิกรัม 
ฟอสฟอรัส ( Phosphorus ) 8942 มิลลิกรัม 
เหล็ก ( Iron )   580 มิลลิกรัม 
โซเดียม ( Sodium )                   412 มิลลิกรัม 
แมกนีเซียม ( Magnesium ) 1915 มิลลิกรัม 
แมงกานีส ( Manganese )     25 มิลลิกรัม 
สังกะสี ( Zinc )     39 มิลลิกรัม 
โพแทสเซียม ( Potassium )               15400 มิลลิกรัม 
เซเลเนียม ( Selenium )   0.4 มิลลิกรัม  
ปริมาณกรดอะมิโนแต่ละชนิดที่พบในสาหร่ายสไปรูลิน่าที่ได้มาตราฐานสากลโลก
ที่มา
https://group.wunjun.com/#!/tiensstar/topic/137763-3393 

อัพเดทล่าสุด