https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ธุรกิจ กิจการ บริหารธุรกิจ ผลิต 'น้ำข้าวกล้องงอก' เพื่อสุขภาพ MUSLIMTHAIPOST

 

ธุรกิจ กิจการ บริหารธุรกิจ ผลิต 'น้ำข้าวกล้องงอก' เพื่อสุขภาพ


914 ผู้ชม


"ข้าวกล้อง” ถือว่ามีคุณค่ามีคุณประโยชน์ต่อร่างกายผู้บริโภคมากมาย แต่ของเก่าย่อมตกไปเมื่อมีของใหม่เข้ามา ฉะนั้นขณะนี้ “ข้าวกล้องงอก” จึงอยู่ในความสนใจของผู้รักสุขภาพอย่างแรง! ตอนนี้จึงมีผู้คนหันมาทำมาหากินกับข้าวกล้องงอกกันมากมาย รวมถึงการแปรรูปจากข้าวกล้องงอกเป็นอย่างอื่นด้วย เช่นสตรีผู้นี้แปรรูปข้าวกล้องงอกเป็น “น้ำข้าวกล้องงอก” ขายดิบขายดีทำให้มี        รายได้เป็นกอบเป็นกำ เธอคือ พัชรี อินปา
 
พัชรี อินปา หนึ่งในเกษตรกรบ้านดอนมูล ต.ศรีภูมิ อ.ท่าวังผา จ.น่าน ที่เดิมนั้นเลี้ยงปลาเป็นอาชีพ ครั้นเมื่อเกิดอุทกภัยเสียหายไปกว่า 2 แสนบาทไม่ได้ทำให้พัชรีท้อถอยกลับฮึดสู้ คิดแล้วคิดอีกจึงหันมาทำน้ำข้าวกล้องเพื่อสุขภาพซึ่งในฐานะผู้ยึดอาชีพผลิตน้ำข้าวกล้องจำหน่ายในชุมชนมานานระยะหนึ่งพบว่าการผลิตน้ำข้าวกล้องต้องอาศัยการงอกของข้าวกล้องและข้าวก่ำ (ข้าวก่ำ คือข้าวที่เป็นสีแดงเข้มหรือน้ำตาลเข้ม ก่ำเป็นภาษาอีสานหมายถึง ดำ คล้ำ) ในปริมาณสูงมากจึงจะคุ้มค่ากับการลงทุน ข้าวที่นำไปสีจะต้องเป็นข้าวเปลือกใหม่ที่ผ่านการสีไม่เกิน 2 สัปดาห์ และที่สำคัญข้าวที่สีต้องสีแล้วได้ข้าวที่มีจมูกข้าวติดอยู่ที่ปลายเมล็ดข้าว จึงจะสามารถนำมาทำให้งอกได้ความงอกในเปอร์เซ็นต์ที่สูง ซึ่งเมื่อนำไปแปรรูปเป็นน้ำข้าวกล้องงอกแล้วจะได้น้ำข้าวกล้องงอกที่มีคุณประโยชน์ต่อผู้บริโภคอย่างสูง
 
พัชรีเล่าว่า ได้นำข้าวกล้องจากโรงสีพระราชทานฯไปทดลองแช่ดูความงอก พบว่า การงอกของข้าวกล้องมีถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าคุ้มค่ากับการลงทุน เพราะความงอกที่มีมากทำให้ไม่เกิดการสูญเสีย ต้นทุนที่ผลิตได้จึงต่ำ ทำให้ธุรกิจการทำน้ำข้าวกล้องงอกเกิดขึ้นได้และคิดว่าอยู่รอดด้วย  
 
ปัจจุบันพัชรี ยึดอาชีพจำหน่ายน้ำข้าวกล้องงอกหน้าตลาดสดเทศบาลอำเภอท่าวังผา จ.น่าน ซึ่งแต่เดิมจะขายเฉพาะน้ำถั่วเหลืองเท่านั้น ปัจจุบันเพิ่มความหลากหลายในการจำหน่ายให้ผู้บริโภคได้เลือกสรร คือสูตรน้ำข้าวกล้องอย่างเดียว   น้ำถั่วเหลือง+จมูกข้าว+งาขาว+ใบเตย และน้ำถั่วเหลือง+จมูกข้าว+งาดำ เฉลี่ยวันละ 4 หม้อเบอร์ 40 โดยจำหน่ายถุงละ 5 บาท มีรายได้ประมาณ 1,000 กว่าบาทต่อวัน ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างรายได้ที่ดีแล้วยังช่วยให้ผู้บริโภคได้คุณค่าทางอาหารอย่างแท้จริง
 
สำหรับข้าวกล้องงอก มีคุณประโยชน์     คือข้าวกล้องงอกจะมีสาร “กาบา” (GABA)
มากกว่าข้าวกล้องปกติ 15 เท่า สามารถป้องกันการทำลายสมอง และโรคสูญเสียความทรงจำ หรืออัลไซเมอร์ได้ ดังนั้น จึงมีการนำสารกาบามาใช้ในวงการแพทย์เพื่อการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาทต่าง ๆ เช่น โรควิตกกังวล โรคนอนไม่หลับ โรคลมชัก เป็นต้น 
 
กล่าวถึงข้าวกล้องที่ได้มาจากโรงสีข้าวพระราชทานแล้ว ขอเล่าถึงโรงสีข้าวพระราชทานด้วย คือ นายสน คำอินทร์ ประธานกรรมการโครงการโรงสีข้าวพระราชทานฯ เล่าให้ฟังว่า โรงสีข้าวพระราชทานแห่งนี้ได้เริ่มจดทะเบียนเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 นับเป็นโรงสีข้าวพระราชทานแห่งแรกของภาคเหนือ มีสมาชิก 1,017 ราย ประกอบด้วย 12 กลุ่ม ใน ต.ศรีภูมิ บริหารจัดการให้บริการสีข้าวให้กับสมาชิกที่รวมตัวกันมีการบริหารจัดการคล้ายรูปแบบสหกรณ์เปิดโอกาศให้ถือหุ้น     หุ้นละ 10 บาท คนละไม่เกิน 10,000 หุ้น โดยโครงการฯแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 มีจำนวนสมาชิกบ้านดอนมูล หมู่ที่ 2 103 ราย มี      พื้นที่เพาะปลูก 322.50 ไร่ ได้ผลผลิตพันธุ์ กข 6   133,630 กิโลกรัม ผลผลิต กข 10 145,957 กิโลกรัม ระยะที่ 2 ขยายผลสู่หมู่บ้านดอนตันหมู่ที่ 4, 10 และ 12 มีจำนวนสมาชิก 170 ราย ครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูก จำนวน 573.5 ไร่ และในอนาคตให้จุดนี้เป็นโครงการนำร่องขยายต่อสู่ตำบลอื่น ๆ และอำเภออื่น ๆ ในจังหวัดน่านต่อไป
 
นอกจากนี้ในฐานะประธานกรรมการโรงสีข้าวพระราชทานฯ นายสนยังกล่าวถึงศักยภาพโรงสีข้าวแห่งนี้ว่า สามารถช่วยสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับชุมชน ซึ่งนับจากโรงสีข้าวพระราชทานแห่งนี้เริ่มเปิดทำการในเดือนพฤศจิกายน 2551 ถึงปัจจุบันเกษตรกรสามารถนำข้าวเปลือกที่เกษตรกรปลูกในโครงการกองทุนข้าวมาสี ซึ่งโรงสีนี้นับว่าเป็นโรงสีชุมชนที่สามารถสีแปรรูปจากข้าวเปลือกเป็นข้าวสารได้คุณภาพดี คือ มีข้าวเต็มเมล็ดสูง (เปอร์เซ็นต์ข้าวต้นสูง) ไม่แพ้โรงสีใหญ่ทั่วไป รวมทั้งมีขนาดเล็ก กะทัดรัด ไม่เปลืองพื้นที่ มีความคล่องตัวสูงต่อการใช้งาน ลงทุนต่ำ สะดวก รวดเร็ว ที่สำคัญโรงสีชุมชนต้องสามารถสีข้าวตามความต้องการของตลาดได้อย่างหลากหลาย เนื่องจากมีการสีข้าวด้วยแรง     กระทำที่นุ่มนวลจึงทำให้ยังคงรักษาจมูกข้าวไว้ได้ในเปอร์เซ็นต์ที่สูง.
ที่มา https://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=964

อัพเดทล่าสุด