ทารกเริ่มมีรูปร่างที่ชัดเจนมากขึ้นเมื่อการตั้งครรภ์เดือนที่ 2 เดือนนี้คุณแม่ควรดูแลตัวเองอย่างไร และทารกมีพัฒนาการอย่างไรถึงเรียกว่าเหมาะสมกับอายุครรภ์
การตั้งครรภ์ เดือนที่ 2
- การเปลี่ยนแปลงของแม่
- พัฒนาการของทารกในครรภ์
- ข้อควรปฏิบัติและข้อควรระวัง
- อาหารที่เหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์เดือนที่ 2
- การออกกำลังกาย
การเปลี่ยนแปลงของแม่
คุณแม่มักรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ในช่วงนี้ เพราะสังเกตเห็นอาการคลื่นไส้ วิงเวียน อยากอาเจียน เหนื่อยง่าย ปัสสาวะบ่อย เหม็นบางสิ่งบางอย่างจนทนไม่ได้ อารมณ์อ่อนไหว แปรปรวนง่าย
-
-
-
- เต้านม คุณแม่จะคัดเจ็บตึงเต้านม เต้านมขยายขึ้นมากถ้าสังเกตจะเห็นว่าบริเวณฐานของหัวนมจะกว้างและนุ่มขึ้น
- อวัยวะเพศ คุณแม่มีตกขาวมากขึ้นกว่าปกติ เพราะมีเลือดไปเลี้ยงช่องคลอดและอวัยวะเพศภายนอกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เห็นเป็นสีม่วงคล้ำ
- ระบบไหลเวียนของโลหิต ปริมาณเลือดในร่างกายของคุณแม่จะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 25 เพื่อนำไปใช้ในระบบหมุนเวียนของรก
- ระบบสันดาป การเผาผลาญอาหารเพื่อให้เกิดพลังงานมากขึ้น คุณแม่จึงต้องดูแลตัวเองเรื่องอาหารการกินให้ครบถ้วน เพิ่มโปรตีนและแป้งให้มากขึ้นในแต่ละมื้อ
- อาการแพ้ท้อง คุณแม่อาจมีอาการแพ้ท้องเช่นเดียวกับช่วงเดือนแรก เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เหม็นกลิ่นบางอย่างจนทนไม่ได้ กระทั่งรู้สึกอยากกินอาหารแปลกๆ ขณะที่บางคนแพ้มากจนไม่สามารถกินอะไรได้เลย ซึ่งหากปล่อยไว้จะไม่ดีต่อลูกในท้อง หากคุณแม่มีอาการแพ้ท้องมากให้ลองจิบน้ำขิงอุ่นๆ จะช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้องได้ แต่หากไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์
- อารมณ์span> ไม่ค่อยแตกต่างไปจากเดือนแรกนัก ยังคงแปรปรวน อ่อนไหว และซึมเศร้า เหนื่อยล้า อาการเหนื่อยล้าที่เกิดขึ้นอาจเป็นเพราะได้รับสารอาหารประเภทธาตุเหล็กและโปรตีนไม่เพียงพอ คุณแม่ควรเอาใจใส่เรื่องอาหารการกินให้มากขึ้น งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และแอลกอฮอล์เพราะอาจส่งผลร้ายแก่ร่างกายในระยะยาว
-
-
พัฒนาการของทารกในครรภ์
ตัวอ่อน มีการแบ่งตัวอย่างต่อเนื่องและเติบโตขึ้นกว่าเดือนแรกถึง 4 เท่า ลูกจะได้รับสารอาหารเพียงพอเพื่อให้ทันกับการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว รกจะช่วยกรอกสารอาหารจากคุณแม่ผ่านทางสายสะดือไปยังลูก
-
-
-
- สัดส่วนของลูก ลูกน้อยในครรภ์จะมีความยาว 2.5 เซนติเมตร และมีน้ำหนัก 3 กรัม
- ผิวหนังเริ่มแบ่งเป็นสองชั้นและมีการพัฒนาต่อมเหงื่อ ต่อมไขมัน รวมทั้งเริ่มมีขนงอกออกมาจากรูขุมขนบ้างแล้ว
- รูปร่างของลูก ส่วนหัวของลูกยังโตมากเมื่อเทียบกับลำตัวจึงทำให้โน้มถ่วงลงไปชิดหน้าอก ในขณะที่ลำตัวจะค่อยๆ ยืดยาวออก ส่วนของแขนขาก็เริ่มแยกให้เห็นนิ้วมือ ข้อมือ และข้อศอก เมื่อดูจากอัลตร้าซาวนด์อาจมองเห็นตัวอ่อนมีการเคลื่อนไหว
- อวัยวะภายใน คุณแม่จะแปลกใจเมื่อรู้ว่าลูกมีอวัยวะครบทั้งหมดแล้ว รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างหลักใหญ่ๆ ของอวัยวะเหล่านี้ด้วย
- อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการเต้นของหัวใจลูกจะเต้นเร็วกว่าคุณแม่ประมาณเท่าตัว คือ 140-150 ครั้งต่อนาที
- เริ่มมีรูปร่างหน้าตา ลูกเริ่มมีการพัฒนาให้เห็นเค้าโครงของใบหน้า เห็นลูกตาดำรางๆ มีจมูก ริมฝีปาก และหู
-
-
-
-
-
- เป็นการดีอย่างยิ่งถ้าคุณแม่ไปฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะจะได้รับคำแนะนำในการดูแลตนเองให้ถูกต้องเหมาะสม คุณหมอจะซักประวัติส่วนตัวและประวัติครอบครัว ประวัติการเจ็บป่วย โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และโรคที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
- จากนั้นก็จะตรวจสุขภาพโดยทั่วไปของคุณแม่รวมทั้งตรวจเลือดและปัสสาวะอย่างละเอียดเพื่อป้องกันและดูแลรักษาสิ่งผิดปกติที่ซุกซ่อนอยู่และเป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์
- ช่วงนี้คุณแม่อาจจะเริ่มจดบันทึกการเปลี่ยนแปลง บันทึกถึงลูกน้อยในครรภ์ ซึ่งจะทำให้รู้สึกมีความสุขและผ่อนคลายมากขึ้น
-
-
อาหารที่เหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์เดือนที่ 2
-
-
-
- โอเมก้า 3 คุณแม่ควรกินอาหารที่อุดมด้วยโอเมก้า 3 ที่มีอยู่ในเนื้อปลาทะเลและถั่วต่างๆ เพราะเป็นช่วงที่ลูกน้อยกำลังพัฒนาสมอง ระบบประสาท และไขสันหลัง
- แคลเซียม อย่าให้ขาดเพราะเป็นสารอาหารหลักที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกที่แข็งแรงแก่ลูกน้อย คุณแม่ควรได้รับวันละ 700-800 มิลลิกรัมต่อวัน กินปลา ไข่ นม เพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น และควรออกไปรับวิตามินดีจากแสงแดดอ่อนยามเช้า
- งดและเลี่ยงอาหารวิตามินเอสูง คุณแม่ควรงดการกินตับและน้ำมันตับปลา หรืออาหารที่มีวิตามินเอสูง เพราะอาหารกลุ่มนี้จะมีกรดไขมันอิ่มตัวสามารถสะสมในร่างกายได้
- วิตามินบี 2 จำเป็นต่อเอนไซม์ต่างๆ ที่ช่วยให้กระบวนการเผาผลาญพลังงานทำงานได้ดี ช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือดด้วย ขณะเดียวกันก็ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันและมีรสจัด
-
-
การออกกำลังกาย
อาการแพ้ท้องอาจจะยังไม่ทุเลาลงเท่าไร แต่คุณแม่เริ่มเคลื่อนไหวร่างกายเบาๆได้บ้างแล้ว อาจเดินรอบๆ บ้าน แกว่งแขนตามสบาย โดยที่ไม่ต้องกำหนดเวลา