การเตรียมความพร้อมและการตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์


1,274 ผู้ชม

ก่อนการตั้งครรภ์ คุณพ่อคุณแม่จะต้องเตรียมความพร้อมทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคมที่พร้อมจะเลี้ยงดูลูกที่กำลังจะเกิดมา ดังนั้นพ่อแม่ที่อยากมีลูกจึงควรตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ และยังต้องวางแผนการใช้เงินและการเลี้ยงดูลูกในอนาคตด้วย


การเตรียมความพร้อมและการตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์



pregnancy_momypedia
การเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์
การเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ไม่ได้ความหมายเพียงแค่การเตรียมความพร้อมทางร่างกายเพื่อให้สามารถมีลูกได้เท่านั้น หากแต่ยังรวมถึงสภาพแวดล้อมและองค์ประกอบต่างๆ ในชีวิตที่พ่อแม่ควรให้ความสำคัญและใส่ใจรอบด้าน เพื่อให้กำเนิดทารกที่มีสุขภาพแข็งแรง และเติบโตขึ้นในสภาพแวดล้อมและการเลี้ยงดูที่มีคุณภาพ

ต่อไปนี้คือสิ่งที่พ่อแม่จะต้องคำนึงถึงในการเตรียมความพร้อมก่อนการมีลูก

        • พันธุกรรม ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่มีความเฉลียวฉลาด ย่อมมีโอกาสที่จะฉลาดได้มากเหมือนพ่อแม่ ดังนั้นการเลือกคู่สมรสที่มีสุขภาพดีและเฉลียวฉลาด ย่อมเป็นก้าวสำคัญในการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ
        • ค่าใช้จ่าย การมีลูกสักคนหมายถึงครอบครัวจะมีภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นคู่สมรสที่ต้องการมีลูกควรวางแผนและจัดสรรปันส่วนเงินให้ถูกต้องและระมัดระวัง เช่น ตัดทอนรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป วางแผนการออมเงินเพื่อเตรียมคลอดและการดูแลลูกหลังคลอด เป็นต้น ตามปกติแล้วการเลี้ยงลูก 1 คนจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 5-25% ของรายได้ของครอบครัว
        • เวลา เมื่อคู่สมรสวางแผนจะมีลูกจะต้องยอมรับเรื่องการแบ่งเวลาและการใช้เวลาที่ต้องปรับให้เหมาะสม และต่างไปจากเดิม คือ เมื่อมีลูกแล้วจะทำให้เวลาอิสระส่วนตัวแบบคู่รักลดน้อยลง เวลาพักผ่อนอาจจะน้อยลง เพราะต้องใช้เวลามากขึ้นกับการเลี้ยงดูลูกอย่างใกล้ชิด พ่อแม่ที่กำลังจะมีลูกจึงต้องเตรียมใจไว้ว่า ต่อไปนี้เวลาส่วนตัวจะลดน้อยลงและหาวิธีอื่นในการใช้เวลาร่วมกันแบบสามีภรรยา เพื่อรักษาสมดุลของทั้งชีวิตครอบครัวและชีวิตคู่
        • แหล่งให้คำปรึกษา ผู้ใหญ่หรือผู้ที่มีประสบการณ์จะให้คำแนะนำในการมีชีวิตครอบครัวและการเลี้ยงดูลูกได้ดี นอกจากนี้หนังสือเกี่ยวกับคู่มือดูแลครรภ์และพัฒนาการเด็กก็จะเป็นเสมือนแหล่งความรู้ให้คุณพ่อคุณแม่ หรือคู่สมรสอาจจะขอรับคำปรึกษาได้จากแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนครอบครัวหรือการตั้งครรภ์โดยเฉพาะ เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงในการเตรียมตัวเตรียมใจก่อนตั้งครรภ์
        • บุหรี่ การสูบบุหรี่ไม่เพียงเป็นอันตรายต่อผู้สูบเท่านั้น แต่ยังอันตรายต่อคนที่อยู่ใกล้ชิดด้วย สำหรับกการตั้งครรภ์นั้น แม่ที่เตรียมตั้งครรภ์หรือกำลังตั้งครรภ์ไม่ควรสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด รวมถึงพ่อที่ต้องอยู่ใกล้ชิดดูแลแม่ตั้งครรภ์ก็ไม่ควรสูบบุหรี่ เนื่องจากปัจจุบันมีการศึกษาพบว่าควันบุหรี่ที่แม่ตั้งครรภ์สูดดมทั้งจากการสูบเอง หรือจากพ่อที่สูบอยู่ใกล้ๆ จะมีผลต่อลูกในครรภ์ อาจทำให้แท้ง คลอดก่อนกำหนด หรือคลอดลูกน้ำหนักตัวน้อยมาก และในรายที่รุนแรงอาจทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์ นอกจากนี้พ่อสูบบุหรี่มักมีร่างกายไม่แข็งแรง ทำให้ผลิตอสุจิไม่มีคุณภาพซึ่งหมายถึงการก่อกำเนิดลูกน้อยที่ไม่ค่อยมีคุณภาพ สุขภาพอ่อนแอได้
        • เครื่องดื่มมึนเมา หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด โดยเฉพาะสุราที่จะไปทำลายคุณภาพของอสุจิของพ่อ และไข่ของแม่ทำให้มีลูกยาก แม่ตั้งครรภ์ที่ดื่มสุราจะมีโอกาสทำให้ทารกที่เกิดมาตัวเล็ก มีระดับสติปัญญาต่ำ และมีพัฒนาการช้ากว่าเด็กทั่วไป เนื่องจากเซลล์สมองถูกทำลาย สิ่งสำคัญที่แม่ตั้งครรภ์ควรรู้มากเป็นพิเศษคือ แม้ผู้หญิงและผู้ชายดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เท่ากัน แต่ร่างกายของผู้หญิงจะดูซึมและกักเก็บไว้ในร่างกายได้นานกว่า และส่งผลเสียต่อสุขภาพได้มากกว่าผู้ชาย
        • อาหารการกิน ผู้หญิงที่เตรียมตัวตั้งครรภ์ต้องดูแลและบำรุงร่างกายให้ดีด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อเป็นพื้นฐานที่ดีของการตั้งครรภ์คุณภาพ โดยไม่ควรให้อ้วนหรือผอมจนเกินไปซึ่งอาจเทียบกับมาตรฐานส่วนสูงและน้ำหนักตัวทั่วไป หรือรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ เมื่อร่างกายแม่พร้อมการมีลูกก็ไม่ใช่เรื่องยากและยังส่งผลต่อสุขภาพที่ดีของทารกในครรภ์ในที่จะได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตเช่นกัน
        • การออกกำลังกาย การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ร่างกายแม่แข็งแรง และผ่อนคลายความเครียดและพร้อมที่จะตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพ และเมื่อตั้งครรภ์แล้วการออกกำลังกายก็ยังดีต่อทารกในครรภ์ด้วย เนื่องจากจะมีสารแห่งความสุขหรือเอ็นโดฟินส์ (Endophins) ทำให้คุณแม่มีจิตใจแจ่มใส ลูกในครรภ์ก็มีความสุขไปด้วย นอกจากนี้ยังทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ช่วยให้คุณแม่คลอดง่าย
        • วัยที่เหมาะสม อายุของพ่อแม่เป็นปัจจัยสำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับการตั้งครรภ์ ช่วงวัยที่เหมาะสมที่สุดต่อการตั้งครรภ์ คืออายุระหว่าง 21–30 ปี ผู้หญิงอายุมากมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์ได้ง่าย การคลอดเองตามธรรมชาติก็ยากขึ้น และมีความเสี่ยงต่อการคลอดทารกดาวน์ซินโดรม และผู้ชายอายุมากก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดทารกดาวน์ซินโดรมมากถึง 25% กลุ่มพ่อแม่อายุมากจำเป็นต้องให้คุณหมอดูแลครรภ์อย่างใกล้ชิด
        • การใช้ยา เมื่อวางแผนตั้งครรภ์ พ่อแม่ควรรับคำปรึกษาจากแพทย์เรื่องการใช้ยาเป็นพิเศษ เพราะพ่อแม่ที่มีโรคประจำตัวและใช้ยาบางประเภทอาจจะทำให้ตั้งครรภ์ยาก หรืออันตรายต่อทารกในครรภ์ และเมื่อรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ คุณแม่ควรงดการใช้ยาทุกชนิด ไม่ซื้อยามาใช้เอง ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้ยาต้องปรึกษาแพทย์นั้น แต่หากไม่สบายหรือต้องเข้ารับการรักษาโรคบางชนิดโดยเฉพาะในระหว่างตั้งครรภ์ จะต้องแจ้งแพทย์และพยาบาลก่อนทุกครั้งว่ากำลังตั้งครรภ์ เพื่อให้แพทย์ระมัดระวังในการให้ยาที่จะไม่ส่งผลต่อทารก
        • สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ คู่สมรสควรเตรียมสภาพแวดล้อมให้พร้อมกับการตั้งครรภ์ เช่น หลีกเลี่ยงสิ่งเป็นพิษ อาหารริมทางเท้าที่เต็มไปด้วยฝุ่นและควันรถ ระมัดระวังอุจจาระหมาแมวในบ้านหรือข้างถนน รวมทั้งสารเคมีภายในบ้าน เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ เป็นต้น และหากตั้งครรภ์แล้วก็ยิ่งต้องระวังให้เป็นพิเศษเพราะถ้าได้รับหรือสูดดมสารพิษติดต่อกันนานก็เป็นอันตรายต่อทารกในท้อง
        • ความพร้อมด้านจิตใจ หากพ่อแม่ตั้งใจว่าจะมีลูก ควรเตรียมความพร้อมด้านจิตใจให้มาก เช่น ความมั่นคงทางอารมณ์ มีสุขภาพจิตดีเพื่อให้การตั้งครรภ์ไม่เกิดความเครียด ซึ่งไม่ได้มีผลเพียงให้ความสุขระหว่างสามีภรรยาเท่านั้น ยังเป็นพื้นฐานสร้างสานอารมณ์ให้แก่ทารกในครรภ์มีสุขภาพจิตที่ดีเช่นกัน
pregnancy_momypedia

การตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์
การตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ จะช่วยทำให้คู่สามีภรรยาทราบว่าร่างกายมีความพร้อมมากแค่ไหนสำหรับการมีบุตร รวมไปถึงตรวจคัดกรองโรคที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ระหว่างการตั้งครรภ์ด้วย โดยทั่วไปจะมีวิธีการตรวจ 2 ลักษณะ คือ การตรวจเลือด และการตรวจภายใน

การตรวจเลือด
1. โรคทางพันธุกรรม เพราะทารกได้รับการถ่ายทอดพันธุกรรมจากทั้งพ่อและแม่ หากใครคนใดคนหนึ่งมีมรดกทางพันธุกรรมที่ไม่พึงประสงค์ก็จะส่งผลต่อทารก

        • โรคเลือดจางทาลัสซีเมีย พ่อแม่ที่มีโรคเลือดจางทาลัสซีเมียจะสามารถมีบุตรได้หรือไม่ และจะส่งผลอย่างไรต่อทารกที่เกิด และต้องดูแลครรภ์อย่างไรหากต้องการมีบุตร
        • โรคฮีโมฟีเบีย (เลือดไหลไม่หยุด) สามารถตรวจได้จากการสืบสาวไปถึงประวัติครอบครัวด้วยว่า ใครเป็นโรคอะไรบ้าง เช่น ลุงเป็นโรคฮีโมฟีเบีย และจะส่งผลต่อลูกในครรภ์หรือไม่
        • คุณแม่ที่แท้งบ่อย เคยมีประวัติการแท้งลูก หรือคลอดลูกแล้วเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ
        • คุณแม่ที่เคยคลอดลูกพิการอันเนื่องจากเป็นโรคทางพันธุกรรม หรือคลอดลูกพิการโดยไม่ทราบสาเหตุมาแล้วหลายครั้ง

2. โรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพื่อตรวจดูว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีโรคร้ายที่จะถ่ายทอดผ่านการมีเพศสัมพันธ์จนอาจจะเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์หรือไม่ เช่น

        • โรคซิฟิลิส หากตรวจพบโรคซิฟิลิสในขณะตั้งครรภ์ไม่เกิน 5 เดือนจะสามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยที่เชื้อจะยังไม่ทันได้เข้าไปสร้างความพิการแก่ทารกในครรภ์ เช่น ลิ้นหัวใจรั่ว แท้ง คลอดก่อนกำหนด ไปจนกระทั่งทำให้ทารกเสียชีวิตได้
        • โรคเอดส์ และเชื้อ HIV กรณีที่ตรวจพบเชื้อ HIV ในระยะตั้งครรภ์อ่อนๆ สามารถปรึกษาคุณหมอถึงการทำแท้งหรือจะตั้งครรภ์ต่อไป หากคุณแม่ยินดีตั้งครรภ์ คุณหมอจะให้ยาต้านทานไวรัสแก่คุณแม่ในเดือนสุดท้ายก่อนคลอด เพื่อลดโอกาสที่ลูกจะติดเชื้อไวรัสนี้จากแม่

3. ตรวจเพื่อหาภูมิต้านทานโรคต่างๆ

        • หัดเยอรมัน หากเกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์จะทำให้ทารกพิการ ลิ้นหัวใจรั่ว ตาบอด และสมองเล็กลีบได้ ซึ่งถ้าพบว่ายังไม่มีภูมิคุ้มกันก็สามารถฉีดวัคซีนให้ภูมิคุ้มกันได้ โดยควรฉีดวัคซีนหัดเยอรมันก่อนการตั้งครรภ์อย่างน้อย 3 เดือน
        • หากตั้งครรภ์แล้วยังไม่เคยได้รับวัคซีนนี้มาก่อน คุณแม่สามารถเจาะเลือดตรวจดูความต้านทานได้ ถ้ายังมีภูมิต้านทานอยู่ก็สบายใจได้ แต่ถ้าไม่มีภูมิเลยหรืออยู่ในระดับต่ำ ห้ามฉีดวัคซีนหัดเยอรมันเด็ดขาดตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ เนื่องจากวัคซีนตัวนี้เป็นไวรัสที่มีชีวิตและอาจส่งผลใฟ้ทารกได้รับอันตราย
        • ไวรัสตับอักเสบบี ในเมืองไทยพบแม่ตั้งครรภ์เป็นพาหะโรคนี้มาก ผู้ที่เป็นพาหะของโรคนี้มีโอกาสเป็นโรคตับแข็งหรือมะเร็งตับสูงกว่าคนทั่วไปถึง 200 เท่า และติดต่อง่ายที่สุดโดยผ่านทางเลือด เพราะฉะนั้นหากแม่ตั้งครรภ์เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบีจึงมีโอกาสที่ลูกจะติดโรคนี้จากแม่ขณะคลอดได้มากเช่นกัน

หากทราบล่วงหน้าว่าคุณแม่เป็นพาหะ หลังจากคลอดทารกแล้ว 12 ชั่วโมง แพทย์จะทำการฉีดวัคซีนป้องกันให้แก่ทารก และฉีดกระตุ้นภูมิต้านทานอีก 3 เข็มแก่ทารก คือ ช่วงหลังคลอด อายุครบ 1 เดือน และ 6 เดือนตามลำดับ

การตรวจภายใน
การตรวจภายในทำเพื่อตรวจความพร้อมของสภาพร่างกายฝ่ายหญิงกรณีเตรียมตัวมีลูก เพราะจะทำให้ทราบว่าอวัยวะต่างๆ ในระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิงแต่ละคนพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์หรือไม่ เช่น

        • มดลูกมีความปกติหรือไม่
        • มีเนื้องอกในมดลูกหรือไม่
        • การอักเสบในอุ้งเชิงกราน
        • มีพังผืดหรือมีถุงน้ำในรังไข่หรือไม่

หากตรวจพบอาการผิดปกติดังกล่าวก่อนการตั้งครรภ์ แพทย์จะทำการรักษาให้หายเสียก่อนจึงจะสามารถตั้งครรภ์ได้ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับแม่และทารกในระหว่าง
pregnancy_momypedia

การตรวจสุขภาพของพ่อแม่อายุมาก
การตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์สำหรับคนที่มีอายุมากกว่า 30 ปีมีความจำเป็นมาก เพราะอายุที่มากขึ้นก็จะมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ได้ เช่น

        • โรคความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
        • เบาหวานระหว่างตั้งครรภ์
        • คุณแม่ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป หรือคุณพ่ออายุ 50 ปี ไข่และอสุจิที่แก่ตัวลงขณะปฏิสนธิจะมีโอกาสเกิดการแบ่งตัวที่ทำให้จำนวนโครโมโซมขาดหรือเกินได้ ถ้าขาดหรือน้อยไปมักจะเกิดภาวะแท้งลูก หรือถ้ารอดชีวิตคลอดออกมามักจะพิการ แต่หากโครโมโซมมากหรือเกินไปจะทำให้ทารกเป็นเด็กดาวน์ซินโดรมหรือปัญญาอ่อนได้

ตัวอย่างโปรแกรมการตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์

รายการตรวจ หญิง ชาย
ตรวจร่างกายโดยอายุรแพทย์ Physical examination * *
ตรวจการเป็นพาหะนำโรคธาลัสซีเมีย Hemoglobintyping * *
ตรวจหาความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด CBC * *
ตรวจหมู่เลือด ABO, Rh * *

ตรวจไวรัสตับอักเสบ B (หาเชื้อ)

ตรวจไวรัสตับอักเสบ B (หาภูมิ)


HbsAg

HbsAb


*

*

*

*
ตรวจซิฟิลิส VDRL * *
ตรวจเอดส์ Anti HIV * *
ตรวจภูมิต้านทานต่อไวรัสหัดเยอรมัน Rubella lgG *  

ที่มา : https://www.kasemrad.co.th/pcc/check.php

อัพเดทล่าสุด