ระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิงและผู้ชายมีส่วนสำคัญต่อการตั้งครรภ์ เพราะถ้าระบบสืบพันธุ์มีความสมบูรณ์พร้อมก็จะเป็นผลดีต่อการปฏิสนธิเพื่อการตั้งครรภ์ต่อไป
ระบบสืบพันธุ์และการปฏิสนธิ
- ระบบสืบพันธุ์ของผู้ชาย
ระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง
อวัยวะสืบพันธุ์ของผู้หญิงจะอยู่ภายในร่างกายเกือบทั้งหมด มีเพียงหัวหน่าว แคมใหญ่ แคมเล็ก ซึ่งเรียกโดยรวมว่า ปากช่องคลอด (Vulva) ที่อยู่ภายนอก แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ตั้งครรภ์ได้คือ ไข่ ซึ่งต้องมี รังไข่ (Ovaries) เป็นแหล่งผลิตไข่ประจำทุกเดือนที่อยู่ส่วนปลายด้านบนของมดลูกทั้งซ้าย-ขวา หรือบริเวณช่องท้องส่วนล่าง
บริเวณที่อยู่ใกล้กับรังไข่คือ ปลายหลอดมดลูก (Fimbriae) ซึ่งมีลักษณะคล้ายนิ้วมือแผ่คลุมไว้ เพื่อช่วยเชื่อมระหว่างรังไข่กับท่อนำไข่ (Fallopian) เข้าด้วยกัน เมื่อไข่สุกก็จะเคลื่อนตัวจากรังไข่ผ่านท่อนำไข่ แล้วค่อยๆ เจริญเติบโตเข้าไปฝังตัวในมดลูก (Uterus or Womb) ซึ่งมีรูปร่างคล้ายลูกแพร์ขนาดเท่าผลชมพู่ ภายในมดลูกมีลักษณะกลวงเป็นโพรง ตอนปลายแคบและชี้ลงเบื้องล่าง
ปากทางเข้ามดลูกเรียกว่า คอมดลูก (Cervix) และบริเวณถัดต่ำมาคือ ช่องคลอด (Vagina) ซึ่งยาวประมาณ 8 เซนติเมตร ช่องคลอดจะอยู่ระหว่างกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ตรง มีลักษณะแบนเรียบแต่สามารถขยายตัวระหว่างมีเพศสัมพันธ์หรือเป็นช่องทางสำหรับการคลอดลูก
ด้านหน้าของช่องคลอดจะเป็นกลีบเนื้อที่พับตัวอยู่คู่กัน เรียกว่า แคม (Labia) ทำหน้าที่ป้องกันอวัยวะต่างๆ ที่อยู่ภายใน ตรงรอยต่อด้านบนของแคมเล็ก มีปุ่มกล้ามเนื้อเล็กๆ ติดอยู่เรียกว่า ปุ่มกระสัน (Clitoris) ซึ่งจะขยายตัวใหญ่ขึ้นเมื่อเกิดอารมณ์ทางเพศ
ฮอร์โมนของผู้หญิง
ฮอร์โมนต่างๆ ของผู้หญิงที่เป็นตัวกำเนิดให้เกิดวงจรการตกไข่ ได้แก่ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) เอสโตรเจน (Estrogen) แอลเอช (LH – Luteinizing Hormone) และเอฟเอสเอช (FSH – Follicle Stimulating Hormone)
-
-
-
- ฮอร์โมนของผู้หญิงทั้ง 4 ชนิดจะคอยควบคุมการตกไข่
- ฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนแอลเอช จะช่วยกันคัดเลือกไข่ที่สมบูรณ์เพียงฟองเดียว และเร่งให้ไข่ตกในช่วงกลางรอบเดือน คือประมาณวันที่ 14 ไข่ฟองนี้จะทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่จะช่วยในการดูแลตัวอ่อนต่อไป
- ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน จะเป็นฮอร์โมนหล่อเลี้ยงการตั้งครรภ์ ระดับของฮอร์โมนในตัวผู้หญิงจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยรกจะเป็นตัวหลักในการสร้างซึ่งจะทำให้ผู้หญิงตั้งครรภ์มีอาการแพ้ท้อง และยังทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนกับโปรเจสเตอโรนสูงขึ้นด้วย
- ฮอร์โมนเอฟเอสเอช จะทำหน้าที่สร้างไข่และทำให้ไข่เติบโตพร้อมกันประมาณ 15–20 ฟองกระบวนการสร้างไข่
-
ถุงรังไข่ซึ่งอยู่บริเวณผิวหน้าของไข่จะค่อยๆ พองออกเล็กน้อย เมื่อถุงรังไข่ขยายได้ขนาดประมาณ 2 เซนติเมตร ก็จะฉีกขาดแล้วปล่อยไข่ให้หลุดออกมา เราเรียกขั้นตอนนี้ว่า “การตกไข่” กระบวนการนี้จะไปเป็นวงจรเกิดขึ้นทุกๆ 21–35 วัน
หลังจากไข่ตก ไข่ที่สุกแล้วจะเคลื่อนไปยังท่อนำไข่ทันที แต่ยังไม่สามารถปฏิสนธิได้ไข่ที่สุกแล้วจะต้องใช้เวลาระยะหนึ่งเดินทางไปถึงบริเวณที่เรียกว่า ท่อนำไข่ ซึ่งบริเวณที่เหมาะสมในการปฏิสนธิ โดยไข่สามารถเดินทางเข้าสู่ท่อนำไข่ข้างเดียวกัน แล้วผ่านโพรงมดลูกไปยังท่อนำไข่อีกข้างหนึ่งได้
การหดรัดตัวของกล้ามเนื้อท่อนำไข่จะบีบตัวให้ไข่เคลื่อนตัวเป็นจังหวะ ไม่ใช่การเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ ซึ่งไข่จะใช้เวลาเดินทางประมาณ 6 วันก่อนฝังตัวที่โพรงมดลูก -
ระบบสืบพันธุ์ของผู้ชาย
อวัยวะสืบพันธุ์ของผู้ชายที่ทั้งส่วนที่อยู่ภายนอกและภายนอกร่างกาย
ส่วนที่อยู่ภายนอกร่างกาย คือลูกอัณฑะ 2 ลูก บรรจุอยู่ในถุงหนังที่เรียกว่า ถุงอัณฑะ บริเวณขาหนีบ และมีองคชาติ ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อหรือหลอดอยู่เหนือลูกอัณฑะ
ส่วนที่อยู่ภายในร่างกายจะอยู่บริเวณช่องท้อง ได้แก่ ถุงสร้างน้ำเชื้อ (Seminiferous Tubules) เซลล์สืบพันธุ์เพศชายหรืออสุจิ ถุงนี้จะอยู่ในท่อเล็กๆ ที่ขดไปขดมาเหนือลูกอัณฑะแต่ละข้าง ถุงสร้างน้ำเชื้อจะทำหน้าที่มีการผลิตอสุจิ จากนั้นจะลำเลียงมาจากกระเปาะอสุจิ (Epididymis) เข้าสู่ท่อส่งตัวอสุจิ (Vas Deferens) โดยใน 1 วันอัณฑะสามารถผลิตอสุจิได้มากหลายร้อยล้านตัว
อสุจิจะถูกส่งจากลูกอัณฑะมาตามท่อส่งตัวอสุจิที่ทอดตัวขดไปตามส่วนต่างๆ ของระบบปัสสาวะ จากนั้นอสุจิจะผสมกับของเหลวที่ต่อมลูกหมากผลิตขึ้นมา กลายเป็นของเหลวขุ่นข้นคล้ายนม เรียกว่า น้ำเชื้ออสุจิ (Semen) ที่กักเก็บไว้ในถุงน้ำเชื้ออสุจิ (Seminal Vesicles) เมื่อมีเพศสัมพันธ์จนถึงจุดสุดยอด ถุงน้ำเชื้อก็จะสูบฉีดน้ำเชื้อให้ไหลไปตามท่อองคชาติแล้วหลั่งออกมาภายนอก
ปริมาณน้ำอสุจิในการหลั่งแต่ละครั้งจะมีปริมาณเฉลี่ย 3-3.5 มิลลิลิตร มีอสุจิที่สมบูรณ์ประมาณ 60–150 ล้านตัว แต่ประมาณร้อยละ 20-25 เป็นตัวอสุจิที่ผิดปกติ และจะมีอสุจิที่สมบูรณ์เพียงตัวเดียว ที่สามารถผสมกับไข่ของผู้หญิงได้
การปฏิสนธิคืออะไร
การปฏิสนธิ หมายถึง กระบวนการที่เซลล์ของเพศชาย (อสุจิ) เข้าไปผสมรวมกับเซลล์ของเพศหญิง (ไข่) แล้วทำให้เกิดเซลล์ใหม่ขึ้นมา
เมื่อมีเพศสัมพันธ์จนถึงจุดสุดยอดที่ผู้ชายหลั่งน้ำสุจิเข้าทางช่องคลอดของผู้หญิง ภายใน 90 วินาที จะมีอสุจิจ่ออยู่ที่มูกปากมดลูก อสุจิจะต้องเร่งรีบทำเวลาเพื่อไปพบไข่ให้เร็วที่สุดเพื่อให้เกิดการปฏิสนธิ หากอสุจิเดินทางช้าก็อาจจะพลาดการปฏิสนธิหรือมีโอกาสในการตั้งครรภ์จะน้อยลง
การหดตัวของมดลูกก็มีส่วนเร่งให้ตัวอสุจิเคลื่อนไปยังบริเวณท่อนำไข่เร็วขึ้นด้วย รวมเวลาในการเดินทางโดยเฉลี่ย 4–6 ชั่วโมงนับตั้งแต่อสุจิถูกปล่อยเข้าสู่ช่องคลอดของผู้หญิง
ขั้นตอนการปฏิสนธิเริ่มจากภายนอกของไข่ที่ประกอบด้วยเซลล์หลายชั้นซ้อนกันอยู่ อสุจิหลายตัวอาจเจาะผ่านเข้าไปได้ แต่เมื่อผ่านเข้าไปแล้วจะเจอบริเวณภายในของไข่ที่เรียกว่า เขตโปร่งใส มีเซลล์บางๆ และชั้นของเนื้อเยื่อชนิดหนึ่งห่อหุ้มอยู่ เขตนี้ถือเป็นเขตหวงห้าม และจะมีอสุจิที่เร็วและแข็งแรงที่สุดเพียงตัวเดียวเท่านั้นที่ทะลุเข้าไปผสมกับไข่ได้
เมื่ออสุจิที่แข็งแรงที่สุดแหวกว่ายไปถึงไข่ ส่วนหัวของอสุจิจะมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์ย่อยสลายเยื่อหุ้มของไข่เพื่อเข้าไปในไข่ และเมื่ออสุจิแทรกตัวเข้าไปแล้ว ส่วนหางของอสุจิที่เป็นเยื่อหุ้มจะทำหน้าที่เชื่อมเป็นเนื้อเดียวกับเยื่อหุ้มไข่ปิดช่องทางไม่ให้อสุจิตัวอื่นเข้ามาได้อีก
หลังจากปฏิสนธิ เซลล์จะแบ่งตามกลไกธรรมชาติที่จัดสรรไว้อย่างลงตัว จะเป็นไปตามข้อมูลพันธุกรรมที่บรรจุไว้เรียบร้อยแล้วในไข่และอสุจิของพ่อแม่ โดยในหัวอสุจิมีข้อมูลทางพันธุกรรม หรือโครโมโซม 23 แท่งของผู้ชาย จะจับคู่เข้าหาโครโมโซมของไข่อีก 23 แท่งของผู้หญิง ทำให้เกิดเซลล์ใหม่ที่มีโครโมโซม 46 แท่ง ซึ่งในกระบวนการนี้ไข่และอสุจิอย่างละหนึ่งจะกลายเป็นเซลล์เดียวกัน แล้วมีการแบ่งตัวทวีคูณอย่างรวดเร็วเกิดเป็นตัวอ่อนจนกระทั่งเติบโตเป็นทารกในที่สุด
บริเวณเยื่อบุโพรงมดลูกที่ตัวอ่อนฝังตัวจะมีการเปลี่ยนแปลงให้หนาและนุ่มขึ้นเพื่อเตรียมรับตัวอ่อน นอกจากนี้ยังยืดขยายออกเมื่อตัวอ่อนตัวโตขึ้น รวมทั้งมูกบริเวณปากมดลูกจะข้นเหนียวคอยปิดปากทางเข้าบ้านไว้ ไม่ให้เชื้อโรคผ่านเข้ามาทำอันตรายได้ เมื่อไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้ว 4 สัปดาห์ตัวอ่อนจะเติบโตไปพร้อมกับการเกิดรก ซึ่งเป็นแหล่งหล่อเลี้ยงชีวิตที่นำเลือดและอาหารของแม่ผ่านมาถึงตัวลูก