การท้อง ตั้งท้อง การตั้งครรภ์ ตั้งครรภ์ ท้องเดี่ยว


1,338 ผู้ชม

การตั้งครรภ์ หมายถึง ช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันแรกที่ไข่และอสุจิเกิดการปฏิสนธิจนเกิดเป็นตัวอ่อนที่พัฒนามาเป็นทารกจนถึงการคลอด โดยปกติมนุษย์ใช้เวลาในการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์


การตั้งครรภ์



preteen_momypedia

การตั้งครรภ์คืออะไร
การตั้งครรภ์ หมายถึง ช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันแรกที่ไข่และอสุจิเกิดการปฏิสนธิจนเกิดเป็นตัวอ่อนที่พัฒนามาเป็นทารกจนถึงการคลอด โดยปกติมนุษย์ใช้เวลาในการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์

ลักษณะของการตั้งครรภ์เดี่ยว
การตั้งครรภ์เดี่ยว คือ การตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นตามภาวะปกติที่ผู้หญิงจะมีไข่ตกครั้งละหนึ่งใบ เมื่อได้รับการปฏิสนธิจากอสุจิตัวที่แข็งแรงที่สุดเพียงตัวเดียว และเกิดการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วเพียงเซลล์เดียวตลอดเวลา 40 สัปดาห์ในครรภ์

ลักษณะของการตั้งครรภ์แฝด
การตั้งครรภ์แฝด คือ การตั้งครรภ์โดยมีตัวอ่อน 2 ตัวขึ้นไป โดยมีลักษณะของการตั้งครรภ์แฝด ดังต่อไปนี้

        • ครรภ์แฝดจากไข่ใบเดียว (Single Ovum Twins, Indentical Twins หรือ Mono-zygotic Twins)

แฝดชนิดนี้เกิดจากความผิดปกติในการเจริญเติบโตและแบ่งตัวของไข่ที่ถูกผสมแล้วในครรภ์ของแม่ ซึ่งเป็นไข่ใบเดียวที่แบ่งเซลล์ออกเป็น 2 กลุ่ม ส่วนใหญ่เกิดหลังจากมีการฝังตัวของไข่ที่ถูกผสมแล้วในโพรงมดลูก แฝดชนิดนี้มีรกอันเดียวกัน เราพบแฝดชนิดนี้ได้ประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 30 ของแฝดทั้งหมด
เด็กที่เกิดมาจะมีลักษณะเหมือนกันทุกอย่าง มีเพศเดียวกัน รูปร่าง หน้าตา สีผม และหมู่เลือดเหมือนกันหมด การเกิดแฝดชนิดนี้มีโอกาสเกิดได้เท่าๆ กันทั้งในครรภ์แรกหรือครรภ์หลังๆ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติใด เผ่าพันธุ์ใด ภาษาใด หรืออายุเท่าใดก็ตาม

        • ครรภ์แฝดจากไข่สองใบ หรือมากกว่า (Double Ovum Twins, Fraternal Twins หรือ Dizygotic Twins)

แฝดชนิดนี้พบได้ประมาณ 2 ใน 3 หรือร้อยละ 70 ของแฝดทั้งหมด เด็กอาจจะเป็นเพศเดียวกันหรือต่างเพศก็ได้ และหน้าตาอาจจะคล้ายกันหรือลักษณะผิดแผกกันไป เช่นเดียวกับพี่น้องท้องเดียวกันที่ไม่ใช่แฝดทั่วไป
แฝดชนิดนี้พบมากในครรภ์หลังๆ หรือแม่ที่มีอายุมากๆ ซึ่งเกิดจากการทำงานของรังไข่ผิดปกติ หรือแม่ที่กินยากระตุ้นให้รังไข่ทำงาน ไข่ตกมากกว่าครั้งละ 1 ใบ เมื่อมีการผสมโดยตัวอสุจิต่างตัวกันแล้วเจริญเติบโตเป็นลูกแฝด โดยที่รกจะแยกกัน แต่บางกรณีอาจอยู่ชิดกันจนแยกไม่ออกก็มี นอกจากนี้ยังพบบ่อยในบางเชื้อชาติ เช่น นิโกร รองลงมา ได้แก่ คนผิวขาว ส่วนคนผิวเหลือง เช่น ชาวเอเชีย พบได้น้อยกว่า แต่ทุกวันนี้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทำให้พบภาวะนี้ได้บ่อยมากขึ้นกว่าเดิม
pregnancy_momypedia

การดูแลระหว่างตั้งครรภ์แฝด
คุณแม่ที่ตั้งครรภ์แฝดต้องหาวิธีดูแลตัวเองให้มากขึ้นทั้งตัวเองและทารกในครรภ์ เพื่อความสมบูรณ์ของstrong>การตั้งครรภ์ ไม่มีปัญหาในการคลอด

        • อาหาร ความต้องการอาหาร แร่ธาตุ และวิตามินจะมากขึ้น คุณแม่ที่ตั้งครรภ์แฝดจึงต้องได้อาหารมากขึ้นกว่าคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ปกติ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการที่มากขึ้น โดยเฉพาะธาตุเหล็ก คุณแม่ต้องคิดเสมอว่าในช่วงเวลานี้ไม่ใช่กินหนึ่งเผื่อสอง แต่เป็นการกินหนึ่งเผื่อสาม สี่ ห้า ฯลฯ/li>
        • การพักผ่อน คุณแม่ต้องพักผ่อนให้เพียงพอและมากกว่าคุณแม่ที่ตั้งครรภ์เดี่ยว โดยเฉพาะในระยะ 3 เดือนหลัง การพักผ่อนที่เพียงพอจะช่วยลดอัตราการคลอดก่อนกำหนดได้มาก และการที่แม่ได้พักมากๆ ยังช่วยให้ลูกน้ำหนักดีขึ้นด้วย
        • การตรวจครรภ์ คุณแม่ต้องไปรับการตรวจครรภ์อย่างสม่ำเสมอตามที่หมอนัด ซึ่งหมอก็จะนัดตรวจครรภ์ถี่กว่าปกติ หรือตรวจในคลินิกตรวจครรภ์พิเศษ เพื่อให้มีเวลาดูแลคุณแม่มากขึ้น ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น บวมมาก ปวดศีรษะ แน่นท้อง ท้องตึงมากหรือท้องแข็งเป็นพักๆ บ่อยๆ ต้องรีบไปหาหมอทันที
        • การคลอด การที่คุณแม่จะคลอดได้เองหรือต้องผ่าตัดคลอดขึ้นอยู่กับท่าของลูกน้อยในครรภ์ ถ้าท่าของทารกในครรภ์ปกติคือเอาหัวลงทั้งคู่ และไม่มีโรคแทรกซ้อนใดๆ ก็ควรจะคลอดปกติหรือคลอดทางช่องคลอดได้
        • การใช้เครื่องมือหรือการช่วยคลอดด้วยวิธีต่างๆ ก็ขึ้นอยู่กับความจำเป็นในแต่ละราย ระยะเวลาระหว่างการคลอดแฝดพี่และแฝดน้องมักห่างกันไม่เกิน 15 นาที เพราะถ้ารอนานเกินไปจะมีผลร้ายต่อแฝดน้อง เช่น อาจจะมีการลอกตัวของรกก่อนได้ ทำให้แฝดน้องขาดออกซิเจน

ภาวะแทรกซ้อนที่ควรระวัง
การตั้งครรภ์แฝดมีโอกาสเกิดความผิดปกติได้ เช่น

        • ปัญหาเรื่องซีด ซึ่งจำเป็นต้องได้ธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น
        • ความดันโลหิตสูง
        • เจ็บครรภ์ก่อนกำหนด
        • การตกเลือดหลังคลอด เนื่องจากมดลูกเกิดการยืดขยายมาก และหดรัดตัวไม่ค่อยดีหลังคลอด จึงมีโอกาสที่จะตกเลือดหลังคลอดได้
        • TTTS ( Twin To Twin Transfusion Syndrome) คือ มีเลือดวิ่งถ่ายเทระหว่างกันตอนอยู่ในท้อง โดยคนหนึ่งให้อีกคนรับ เป็นภาวะที่เส้นเลือดมาต่อกันโดยบังเอิญ ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือคนที่ให้ก็ไม่โตสักที ตัวเล็ก คนรับก็อ้วนท้วนสมบูรณ์

ส่วนใหญ่คนที่เสียชีวิตคือคนที่ตัวโต เพราะเกิดภาวะเลือดข้น หัวใจวาย หรือบวมน้ำ แต่ถ้าขนาดต่างกันนิดหน่อยไม่เกิน 10-20% ก็ไม่มีปัญหา

อัพเดทล่าสุด