น้ำแข็ง, ประวัติน้ำแข็ง, เครื่องทำความเย็น, COMPRESSOR, จีน


1,261 ผู้ชม


ประวัติความเป็นมาของ "น้ำแข็ง"

น้ำแข็ง, ประวัติน้ำแข็ง, เครื่องทำความเย็น, COMPRESSOR, จีน

ชาวจีนชื่อ ไซซิง เปิดเผยเรื่องราวของการทำความเย็นว่า มีมาตั้งแต่ 1000 ปีก่อนคริสต์ศักราช และได้กล่าวถึงการเก็บน้ำแข็งไว้ห้อง ชาวกรีกและชาวโรมัน ได้รู้จักการนำหิมะมาอัดให้แน่นและหุ้มฉนวนที่ทำจากหญ้า ดิน และมูลสัตว์ ไพนี่และเอลเดอร์ ยังได้พูดถึงการเจ็บป่วยเมื่อได้ดื่มน้ำเย็น และจักรพรรดิอิเนโรได้กล่าวถึงการทำเครื่องดื่มแช่เย็น ชาวอียิปต์ และเอสโทเนียนส์รู้จักการทำน้ำแข็ง โดยใช้น้ำใส่ภาชนะแล้วนำไปวางไว้กลางแจ้งในคืนที่อากาศเย็นและท้องฟ้าแจ่มใส น้ำในภาชนะจะคายความร้อนโดยการแผ่รังสีไปยังบริเวณรอบๆ จนอุณหภูมิน้ำต่ำลงถึงจุดเยือกแข็ง 
คริสต์ศักราช 1806 ชาวอเมริกันชื่อ เฟรอเดอริกทรูดอร์ ได้มีการบรรทุกน้ำแข็งที่้เกิดขึ้นตามธรรมชาติลงเรือจำนวน 130 ตันเพื่อส่งขายยังหมู่เกาะอินเดียตะวันตก แต่น้ำแข็งได้ละลายเป็นจำนวนมาก เพราะว่าไม่รู้จักวิธีการเก็บน้ำแข็ง เมื่อไปถึงหมู่บ้านที่เกาะอินเดียตะวันตก ทรูดอร์ได้ทำไอศกรีมขาย ทำให้เป็นที่แตกตื่นกันมาก แต่ว่าทรูดอร์ก็ประสบกับการขาดทุนไปเป็นจำนวนมาก เพราะว่าเขายังไม่รู้จักการเก็บน้ำแข็งนั้นเอง 
ต่อมาคริสต์ศักราช 1849 ทรูดอร์ได้ขยายอุตสาหกรรมการผลิตน้ำแข็ง โดยส่งน้ำแข็งออกขายยังหลายประเทศ เช่น อเมริกาใต้ เปอร์เชีย หมู่เกาะอินเดีย เป็นต้น เขาได้สร้างที่เก็บน้ำแข็งโดยขี้เลื่อยของต้นสนหุ้มท่อไม่ให้น้ำแข็งละลาย ทำให้เขามีกำไรเป็นจำนวนมาก เขาส่งน้ำแข็งขายถึง 150000ตัน และปี ค.ศ. 1864 เขาได้ส่งน้ำแข็งไปขายรวมทั้งสิ้น 53 ประเทศ เขาได้ล้มเลิกกิจการไปเมื่อมีการจัดตั้งโรงงานอุสาหรรมน้ำแข็งขึ้น 
ค.ศ. 1790 โทมัส ฮาริสและจอห์น ลอง ได้มีการจดทะเบียนเครื่องทำความเย็นเป็นเครื่องแรกของโลกที่ประเทศอังกฤษ และอีก 3 ปีต่อมา จอคอม เปอร์กิ้น ชาวอเมริกันได้ประดิษฐ์เครื่องทำความเย็นชนิดอัดไอเป็นเครื่องแรก โดยที่ตัวเครื่องอัด (COMPRESSOR) ใช้มือโยก ใช้น้ำหล่อเย็นที่เครื่องควบแน่น และใช้ลิ้นแบบถ่วงน้ำหนักเป็นตัวควบคุมการไหลของสารทำความเย็น และใช้สารทำความเย็นชนิด อีเทอร์ 
ค.ศ. 1851 ดร. จอห์น กอรี่ได้มีการจดทะเบียนเครื่องทำน้ำแข็ง โดยมีการใช้อากาศเป็นสารทำความเย็น แต่ก็ประสบปัญหามากมาย และที่อุณหภูมิสูงยังได้เกิดระเบิดอีกด้วย ศาสตราจารย์ เอซี ทวินนิ่ง ชาวอเมริกัน ได้มีการปรับปรุงโดยใช้ซัลฟูริกอีเทอร์ และประสบความสำเร็จเมื่อ ค.ศ. 1853 โดยดร. เจม ฮาริสัน ชาวออสเตรเลียเมื่อปี 1860 ได้ติดตั้งเครื่องทำความเย็นขนาดใหญ่ที่สุดเป็นเครื่องแรกของโลก


อัพเดทล่าสุด