https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
อึ้ง! ฟองน้ำล้างจาน อันตรายต่อร่างกายยิ่งกว่าที่คิด MUSLIMTHAIPOST

 

อึ้ง! ฟองน้ำล้างจาน อันตรายต่อร่างกายยิ่งกว่าที่คิด


2,113 ผู้ชม

ไม่น่าเชื่อว่าแค่ล้างจาน เราก็ต้องระวังกันขนาดนี้ ยิ่งฟองน้ำที่ใช้อยู่ ยิ่งต้องดูแลทำความสะอาดเป็นพิเศษเลย


 ไม่น่าเชื่อว่าแค่ล้างจาน เราก็ต้องระวังกันขนาดนี้ ยิ่งฟองน้ำที่ใช้อยู่ ยิ่งต้องดูแลทำความสะอาดเป็นพิเศษเลย เจอบทความนึงมาเห็นว่าน่าสนใจ เลยขอเอามาแชร์ให้เพื่อนๆ อ่านกันค่ะ (ไฮไลต์เสร็จสรรพด้วย555) เห็นแล้วอยากจะมีเครื่องล้างจานทำความสะอาดแบคทีเรียให้รู้แล้วรู้รอด 

 "ฟองน้ำ” หรือ "แผ่นใยขัดล้างจาน” ที่ใช้กันอยู่ หากทำความสะอาดไม่ถูกสุขลักษณะ อาจเป็นแหล่งสะสม ขยายพันธุ์ และเป็นพาหะของเชื้อแบคทีเรียไปสู่เครื่องใช้ในครัวเรือนทั้ง จาน ชาม ช้อน ซ้อม หรืออื่นๆ ที่เรามั่นใจว่าล้างทำความสะอาดแล้วเป็นอย่างดีได้


ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขมีสถิติผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ ประจำปี ๒๕๕๒ สูงถึง ๑ แสนรายต่อปี และสาเหตุสำคัญมาจากอุปกรณ์ทำความสะอาดภาชนะชนิดนี้นั่นเอง เนื่องจาก "ฟองน้ำ” หรือ "แผ่นใยขัดล้างจาน” ที่ใช้กันอยู่อาจเป็นแหล่งสะสม ขยายพันธุ์และเป็นพาหะของเชื้อแบคทีเรียไปสู่เครื่องใช้ที่เรามั่นใจว่าล้างทำความสะอาดแล้วเป็นอย่างดี ซึ่งแบคทีเรียที่แฝงอยู่ใน "แผ่นใยขัดล้างจาน” หรือ "ฟองน้ำ” นั้น สามารถทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ อาทิ โรคอาหารเป็นพิษซึ่งเกิดจากการเพาะบ่มของเชื้อแบคทีเรีย "ซัลโมเนลล่า” ที่ติดมากับวัตถุดิบประเภทเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อไก่ เป็นต้น

อึ้ง! ฟองน้ำล้างจาน อันตรายต่อร่างกายยิ่งกว่าที่คิด


วิธีลดหรือทำลายเชื้อแบคทีเรียในแผ่นใยขัดล้างจานหรือฟองน้ำมีหลายวิธีด้วยกัน

วิธีแรก

คือใช้ความร้อนในการฆ่าเชื้อโรค เมื่อใช้งานฟองน้ำแล้วให้ใช้น้ำยาล้างจานบีบใส่ฟองน้ำ ล้างออกด้วยน้ำสะอาด บีบน้ำออกให้แห้งและนำไปตากแดดหรือทิ้งไว้ในที่แห้งค้างคืนหรือถ้าจะให้ดีควรนำไปตากแดดให้แห้งประมาณ ๒-๓ ชม.นอกจากนี้เวลาเก็บควรเก็บแยกฟองน้ำแต่ละชนิด เช่น ฟองน้ำที่เกี่ยวข้องกับการทำความสะอาดน้ำมัน วัตถุดิบทั่วไป ฟองน้ำใช้ สำหรับล้างแก้ว ล้างจาน เป็นต้น เพื่อลดโอกาสการปนเปื้อนจากสิ่งหนึ่งไปอีกสิ่งหนึ่ง

วิธีที่ ๒

ใช้ความเป็นกรด เช่น น้ำส้มสายชู โดยการใช้น้ำส้มสายชู ๒ ช้อนโต๊ะต่อน้ำสะอาด ๑ แก้ว แช่ฟองน้ำค้างคืนซึ่งสารละลายที่เป็นกรดจะทำให้จำนวนเชื้อโรคลดน้อยลงไปได้ แต่น้ำส้มสายชูจะต้องมีการเตรียมใหม่ทุกวัน 

วิธีที่ ๓

ใช้ผลิตภัณฑ์ล้างจานที่มีส่วนช่วยในการทำความสะอาดเพื่อช่วยลดจำนวนเชื้อโรค 

อย่างไรก็ตาม ทีมนักวิจัยฯ ระบุว่าวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไม่ให้เชื้อแบคทีเรียซัมโมเนลล่ารวมทั้งเชื้อโรคต่างๆ เข้าสู่ร่างกายคือการดูแลรักษาบริเวณห้องครัวให้สะอาดและมีสุขอนามัยที่ดีอยู่เสมอ รวมทั้งการใส่ใจกับการทำความสะอาดฟองน้ำหรือแผ่นใยขัดล้างจาน ซึ่งแต่ละวิธีก็ให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าจะสะดวกใช้วิธีไหน ที่สำคัญคือเน้นที่ความปลอดภัยและความมั่นใจของแต่ละบุคคล เพื่อให้ทุกคนในครอบครัวรวมทั้งผู้บริโภคปลอดภัยห่างไกลจากโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร

อัพเดทล่าสุด