หย่าร้าง, ปัญหาหย่าร้าง, บอกลูกเรื่องหย่า, เลิกรา, เลิกกัน, พ่อแม่เลิกกัน, พ่อแม่แยกทาง, พ่อแม่หย่าร้าง, เด็กมีปัญหา, ปัญหาครอบครัว, ครอบครัวแตกแยก


4,316 ผู้ชม


จะบอกลูกเรื่อง "หย่า" ตอนไหนดี


Q : ตอนนี้ ดิฉันกับสามีไม่สามารถลงรอยกันทางความรู้สึกได้อีกแล้ว ย้ำ...ไม่มีทาง เป็นไปได้เลย เป็นอย่างนี้มาปีเศษ รอเวลาที่จะแยกจากกันอย่างเด็ดขาด ตอนนี้อยู่เพื่อ ประคองให้ลูกๆโตอีกนิด แต่เมื่อไหร่ ดิฉันถามตัวเองแล้วก็ไม่มีคำตอบ ขอพึ่งคุณหมอตรงนี้ค่ะ

ลูกๆ อายุ 11 กับ 4 ขวบค่ะ ยังไม่รู้เรื่องของพ่อแม่ เราอาจเล่นละครกันได้ เก่งมาก ยังไปไหนด้วยกันเป็นครอบครัว แต่ก็ฝืนความรู้สึกอยู่บ้าง คิดแต่ว่า "เพื่อลูก" ก็ มีกำลังใจที่จะฝืนให้กับสามีได้ เด็กๆอายุเท่าไหร่จึงจะเหมาะแก่การเข้าใจว่า บางทีคนสองคนก็ไม่สามารถ อยู่ร่วมกันได้ เพราะมีการทำร้ายความรู้สึกกันเกินกว่าจะให้อภัย โปรดอย่าถามรายละเอียดว่าเป็นเรื่องอะไรนะคะ

ดิฉันต้องการทราบเพียงว่า เด็กวัยเท่าไหร่จึงจะมีความรับรู้เรื่องชีวิต และเข้า ใจได้ว่า ถ้าพ่อแม่จะเลิกกัน แม่ก็ยังรักลูกที่สุดในชีวิต ดิฉันพยายามคิดให้รอบด้านที่สุดก่อนจะทำอะไรลงไป และนี่ก็เป็นหนึ่งในปัญหาที่ คิดไม่ตกค่ะ ขอบพระคุณคุณหมอมากค่ะ ที่กรุณาให้คำตอบ...ดิฉันจะรอ - ชมนาด


A : คุณ ชมนาด กำลังจะหย่ากับสามีอย่างแน่นอน แต่มีลูกอายุ 4 และ 11 ขวบ ซึ่งยัง ไม่รู้เรื่องนี้เลย จะบอกตอนไหนดี

ก่อนจะตอบคำถามนี้ หมอขออธิบายสิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อครอบครัวมีการหย่าหรือ แยกทางกัน ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทั้งต่อตัวเด็กและพ่อแม่ ปัจจุบันสถิติการหย่าร้างกัน ของคู่แต่งงานในสังคมไทยมีแนวโน้มจะมากขึ้นตามอย่างประเทศตะวันตก ถ้าพ่อแม่มีความ จำเป็นที่จะอยู่ด้วยกันไม่ได้จริงๆ อย่างกรณีของคุณชมนาด การเตรียมตัวเตรียมใจ เตรียมครอบครัว และเตรียมเด็กได้ดี ก็อาจลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้

ปฏิกิริยาที่พบในเด็กจากการแยกทางของพ่อแม่ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ เพราะ สถานการณ์เช่นนี้เป็นความเครียดรุนแรงของเด็ก เด็กจะต้องปรับตัวอย่างมาก จะปรับตัว ได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่

  • พื้นอารมณ์เดิมของเด็ก เด็กแต่ละคนมีพื้นอารมณ์พื้นฐานไม่เหมือนกัน บางคน อารมณ์ดี ไม่เครียดง่าย ปรับตัวเก่ง ตรงกันข้ามกับเด็กบางคนที่อารมณ์หวั่นไหวง่าย เหตุ การณ์กระทบจิตใจเดียวกันจึงมีผลกระทบต่อเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน ในกรณีของคุณชมนาดเอง คงต้องประเมินด้วยว่า ลูกทั้งสองคนนั้นมีพื้นอารมณ์เดิมเป็นอย่างไร ถ้าพื้นอารมณ์ดี ก็ อาจมีผลกระทบน้อย
  • การเลี้ยงดูที่ผ่านมา ความสามารถของเด็กในการปรับตัวได้มากหรือน้อยนั้น บางส่วนเกิดจากการเลี้ยงดูตั้งแต่แรกเกิด ถ้าพ่อแม่เลี้ยงดูได้ถูกต้อง เด็กก็จะปรับตัวได้ดี การเลี้ยงดูนั้นบางทีขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมรอบตัวเด็กด้วย เช่น พ่อแม่มีความสัมพันธ์ดีต่อ กัน ซึ่งจะช่วยให้เด็กมีความมั่นคงทางอารมณ์สูง จะปรับตัวกับความเครียดได้ง่าย
  • อายุและพัฒนาการของเด็ก ในเด็กเล็กก่อนวัยเรียน เด็กจะยังไม่มีความ รู้สึกกระทบกับการหย่าร้างของพ่อแม่มาก ไม่ได้รู้สึกว่าขาดพ่อจะกลายเป็นปมด้อย สิ่ง ที่สำคัญคือ คนที่อยู่ใกล้ชิด ถ้าแยกกันแล้วเด็กอยู่กับคนที่เด็กคุ้นเคย สามารถเลี้ยงดูเขาได้ ถูกต้อง เขาก็จะไม่มีปัญหา
  • ในเด็กโตหรือวัยรุ่น เริ่มมีความคิดความอ่านลึกซึ้งขึ้น การหย่าร้างกันของพ่อ แม่อาจกระตุ้นให้เด็กคิดว่าเป็นความผิดของตนเอง (ที่ทำให้พ่อแม่ไม่อยู่ด้วยกัน) หรืออาจ รู้สึกเป็นปมด้อย (ที่ครอบครัวแตกแยก ไม่สมบูรณ์เหมือนอย่างเพื่อนๆ) วัยรุ่นอาจมีปัญหา มาก เพราะอารมณ์จิตใจวัยนี้ก็ปั่นป่วนวุ่นวายอยู่มากแล้ว การมีความเครียดเรื่องครอบครัว เพิ่มเข้ามาอาจทำให้เด็กเกิดปัญหาทางจิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม หรือปัญหาการเรียนได้
  • สภาพความสงบสุขก่อนการแยกทางกัน ในครอบครัวที่พ่อแม่มีปัญหากันรุนแรง มากและยาวนาน เรื้อรัง จะมีผลกระทบต่อพัฒนาการทางจิตใจอารมณ์เด็ก ทำให้เวลา แยกทางกันจริงๆเด็กปรับตัวได้ยาก เพราะสภาพจิตใจไม่มั่นคงพอ
  • ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่หลังหย่ากัน เด็กจะปรับตัวได้ดี ถ้าพ่อแม่เลิกกัน แล้วก็ยังดีๆกันอยู่ เป็นเพื่อนกัน พูดคุยปรึกษาหารือกันได้ ไม่โกรธกัน ไม่รังเกียจกัน เปิด โอกาสให้อีกฝ่ายหนึ่งติดต่อลูกได้ตลอดเวลา ไม่ยึดครองลูกเอาไว้เป็นสมบัติของตนแต่ฝ่าย เดียว และพยายามให้ลูกรู้สึกและคิดถึงอีกฝ่ายหนึ่งในทางที่ดีไว้เสมอไม่ควรตำหนิอีกฝ่ายหนึ่งให้ลูกฟังบ่อยๆ
  • ความสามารถของพ่อหรือแม่ในการดูแลเด็ก เด็กส่วนใหญ่จะปรับตัวได้ถ้า ผู้ใหญ่ที่ดูแลเขาปรับใจได้ และเลี้ยงลูกต่อไปด้วยความสุข ความสงบ ถ้ามีญาติพี่น้องช่วย เหลืออาจเป็นประโยชน์พึ่งพาด้านเศรษฐกิจและด้านการดูแลเด็ก


ในกรณีของคุณชมนาด ซึ่งลูกคนเล็กอายุ 4 ขวบ คนโตอายุ 11 ขวบ คนที่ อาจมีผลกระทบมากคงจะเป็นคนโต ถ้าจะหย่ากันและแยกทางกัน หมายถึงแยกกันอยู่ด้วย ควรจะเตรียมลูกคนโตให้พร้อมและทำใจยอมรับ เพราะวัยนี้อาจคิดมาก คิดกังวลสงสัยไม่ เข้าใจ บางคนก็อาจหวังไว้ลึกๆในใจว่าพ่อแม่น่าจะยังคืนดี และอยู่ร่วมกันได้ การเตรียม ตัวได้ดีนี้จะไม่ทำให้เด็กเกิดปัญหาต่างๆได้ ถ้าเตรียมได้ยาวนาน 6 เดือน-1 ปี หมอคาด ว่าลูกคงรับได้ไม่เป็นปัญหาครับ

การเตรียมตัวนั้นอาจได้แก่

  • การเกริ่นกับลูกว่าพ่อแม่อาจจะต้องแยกทางกัน แยกกันอยู่ พ่ออยู่ที่ไหน แม่อยู่ที่ไหน ลูก สองคนจะอยู่กับแม่ เป็นต้น
  • อธิบายชัดเจนอย่างกระชับว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างพ่อแม่มิได้มีสาเหตุจากลูก
  • ให้ความมั่นใจว่า ทั้งพ่อและแม่ยังคงรักและดูแลเขาต่อไป เพียงแต่พ่อไม่ได้อยู่ด้วยเท่านั้น
  • เปิดโอกาสให้ลูกถาม ในสิ่งที่เขาสงสัย
  • แสดงออกว่ายอมรับในความรู้สึกของลูก
  • กำหนดวันที่จะแยกกันจริงๆ
  • อธิบายให้เด็กเข้าใจถึงแผนการที่พ่อจะมีส่วนรับผิดชอบในการดูแลเด็ก


ส่วนในคำถามของคุณชมนาดที่ว่า เด็กอายุเท่าใดจึงจะเข้าใจว่าเหตุใดพ่อแม่จึง ต้องแยกทางกันนั้น หมอคิดว่าคงมีเด็กน้อยคนจะเข้าใจและยอมรับได้ในระยะแรก เขาจะ เข้าใจเมื่อเขาโตขึ้นเข้าวัยผู้ใหญ่แล้ว เพราะฉะนั้นอย่าไปคาดหวังว่าเขาจะเข้าใจ แต่คาด ว่าเขาจะปรับใจได้ โดยใช้เวลาสักช่วงหนึ่ง

สิ่งที่คุณชมนาดอาจจะต้องเตรียมตัวคือ เปิดเผยให้เขารับทราบถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับ พ่อแม่ทีละน้อย โดยเฉพาะลูกคนโต คงพอจะรับฟังได้ว่า พ่อแม่อาจมีปัญหากัน การที่ไม่ให้ เด็กรับรู้อะไรเลย แล้วอยู่ๆก็บอกเขาว่าพ่อแม่จะไม่ได้อยู่ด้วยกันนั้น อาจจะกะทันหันเกินไป เด็กอาจจะรับไม่ได้ สู้ให้ค่อยๆรู้จากน้อยไปหามาก แล้วในที่สุดก็ถึงจุดที่จะแยกทางกันจริงๆ เด็กจะรับได้ดีกว่าครับ


น.พ.พนม เกตุมาน
จาก: นิตยสาร Life & Family


อัพเดทล่าสุด