https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
สมุนไพร "ยาถ่าย" ธรรมชาติ MUSLIMTHAIPOST

 

สมุนไพร "ยาถ่าย" ธรรมชาติ


2,655 ผู้ชม

   สมุนไพรแก้ท้องผูก ใครมีอาการท้องผูกอย่างที่เรียกว่าเจ็บมาจนชิน แนะนำให้ลองกิน สมุนไพรแก้ท้องผูกตัวปราบเซียนถ่ายยากต่อไปนี้


   สมุนไพรแก้ท้องผูก ใครมีอาการท้องผูกอย่างที่เรียกว่าเจ็บมาจนชิน แนะนำให้ลองกิน สมุนไพรแก้ท้องผูกตัวปราบเซียนถ่ายยากต่อไปนี้
    

” คูน “
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Cassia fistula  L.
ชื่อสามัญ :    Golden shower, Indian laburnum, Pudding – pine tree
วงศ์ :   LEGUMINOSAE – CAESALPINIOIDEAE
ชื่ออื่น :   กุเพยะ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ชัยพฤกษ์ ราชพฤกษ์ (ภาคกลาง) ปือยู ปูโย เปอโซ แมะหล่าหยู่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ลมแล้ง (เหนือ)

สมุนไพร \"ยาถ่าย\" ธรรมชาติ


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้นขนาดกลาง ลำต้นสีน้ำตาลแกมเทาเกลี้ยงๆ ชอบขึ้นตามป่าผลัดใบ หรือในที่ดินที่มีการถ่ายเทน้ำได้ดี ใบ เป็นใบช่อสีเขียวเป็นมัน ช่อหนึ่งๆ ยาวประมาณ 2.5 ซม. มีใบย่อยรูปป้อมๆ หรือรูปไข่ 3-6 คู่ ใบย่อยกว้างๆ 5-7 ซม. ยาว 9-15 ซม. โคนใบมนและค่อยๆ สอบไปทางปลายใบ เนื้อใบเกลี้ยงค่อนข้างบาง เส้นแขนงใบถี่ และโค้งไปตามรูปใบ ดอก ออกเป็นช่อ ยาว 20-45 ซม. กลีบรองกลีบดอกรูปขอบขนานยาวประมาณ 1 ซม. มี 5 กลีบ มักหลุดร่วงง่าย กลีบดอกยาวกว่ากลีบรองกลีบดอกประมาณ 2-3 เท่า และมีกลีบรูปไข่กลับ 5 กลีบ ตามพื้นกลีบจะเห็นเส้นกลีบชัดเจน เกสรผู้มีขนาดแตกต่างกันจำนวน 10 อัน ก้านอับเรณูโค้งงอขึ้น ผล เป็นฝักรูปทรงกระบอกเกลี้ยงๆ อาจยาวถึง 50 ซม. โตวัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.0-2.5 ซม. ฝัก อ่อนสีเขียวและออกสีดำเมื่อแก่จัด ในฝักจะมีผนังเยื่อบางๆ กั้นเป็นช่องๆ ตามขวางของฝัก และตามช่องเหล่านี้จะมีเมล็ดแบนๆ สีน้ำตาลอยู่

ส่วนที่ใช้ : ใบ ดอก เปลือก แก่น ราก ฝักแก่ เปลือกเป็นสีน้ำตาลเข้ม กระพี้ เมล็ด

สมุนไพร \"ยาถ่าย\" ธรรมชาติ

สรรพคุณ

  • ใบ  -   ขับพยาธิ
  • ดอก – แก้บาดแผลเรื้อรัง
  • เปลือก  -  บำรุงโลหิต
  • กระพี้ -  แก้โรครำมะนาด
  • แก่น -  ขับไส้เดือนในท้อง
  • ราก -  แก้ไข้ แก้โรคคุดทะราด
  • เมล็ด – รักษาโรคบิด
  • ฝักแก่ – รสหวานเอียนเล็กน้อย เป็นยาระบายถ่ายสะดวกไม่มวนไม่ไซ้ท้อง มีสารแอนทราควิโนน (Anthraquinone glycoside) เป็นตัวยาระบาย

วิธีและปริมาณที่ใช้ : โดยเอาเนื้อในฝักแก่ก้อนเท่าหัวแม่มือ (ประมาณ 4 กรัม) น้ำ 1 ถ้วยแก้วต้มกับน้ำใส่เกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนนอนหรือตอนก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว เหมาะเป็นยาระบายสำหรับคนที่ท้องผูกเป็นประจำและสตรีมีครรภ์

สมุนไพร \"ยาถ่าย\" ธรรมชาติ

” จำปา “
ชื่อวิทยาศาสตร์ :    Michelia champaca  L.
ชื่อสามัญ :  Champak
วงศ์ :   MAGNOLIACEAE
ชื่ออื่น :  จำปากอ (มลายู-ใต้) จำปาเขา จำปาทอง (นครศรีธรรมราช) จำปาป่า (สุราษฎร์ธานี)
Champak, Orange Chempaka, Sonchampa


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 15-30 เมตร ลำต้นเปลาตรง ทรงพุ่มโปร่งเป็นรูปกรวยคว่ำ สำหรับต้นที่ปลูกเลี้ยงเป็นไม้ดอกไม้ประดับกันอยู่ทั่วไปนั้น เป็นการคัดเลือกตามธรรมชาติจากต้นที่มีขนาดเล็ก แต่มีดอกดก ดอกมีขนาดใหญ่และออกดอกได้ตลอดปี ใบ รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-9 ซม. ยาว 10-22 ซม. ใบบาง เส้นแขนงใบ 12-20 คู่ ก้านใบยาว 2-4 ซม. โคนก้านใบป่อง ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ดอกสีเหลืองส้ม ออกตามซอกใบ กาบหุ้มดอกสีเขียวอ่อน มี 1 แผ่น ดอกบานตั้งขึ้นและส่งกลิ่นหอมแรง กลีบดอกมี 12-15 กลีบ กลีบนอกรูปใบหอก ค่อนข้างกว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 4-4.5 ซม. กลีบในแคบและสั้นกว่า ผล กลุ่ม เป็นช่อยาว ประกอบด้วยผลย่อย 8-40 ผล อยู่รอบแกน ผลย่อยค่อนข้างกลมหรือกลมรี เปลือกหนาแข็ง มีช่องอากาศเป็นจุดเล็กสีขาวอยู่ทั่วไป ผลแก่แห้งแตกแนวเดียว ขนาดผลย่อยกว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 1.5-2 ซม. ผลอ่อนสีเขียวอ่อนหรือสีน้ำตาลอ่อนประจุดสีขาว เมล็ด มีเนื้อหุ้ม รูปเสี้ยววงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-1 ซม. เมล็ดอ่อนมีเนื้อหุ้มสีขาว เมล็ดแก่เนื้อหุ้มสีแดง ผลย่อยมี 1-6 เมล็ด

ส่วนที่ใช้ : ดอก เปลือกต้น เปลือกราก ใบ กระพี้ เนื้อไม้ เมล็ด ราก น้ำมันกลั่นจากดอก

สรรพคุณ

  • ใบ  -  แก้โรคเส้นประสาทพิการ แก้ป่วงของทารก
  • ดอก – แก้วิงเวียนอ่อนเพลีย หน้ามืดตาลาย บำรุงหัวใจ กระจายโลหิต
  • เปลือกต้น  – ฝาดสมาน แก้ไข้ ทำให้เสมหะในลำคอเกิด
  • เปลือกราก - เป็น ยาถ่าย ทำให้ประจำเดือนมาปกติ รักษาโรคปวดตามข้อ
  • กระพี้ -  ถอนพิษผิดสำแดง
  • เนื้อไม้ – บำรุงโลหิต
  • ราก -  ขับโลหิตสตรีที่อยู่ในเรือนไฟให้ตก
  • น้ำมันกลั่นจากดอก – แก้ปวดศีรษะ แก้ตาบวม

สมุนไพร \"ยาถ่าย\" ธรรมชาติ

” มะขามแขก “
 ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Senna alexandrina P. Miller
ชื่อสามัญ :   Alexandria senna, Alexandrian senna Indian senna
วงศ์ :   Fabaceae (Leguminosae-Caesalpinioideae)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 0.5 – 1.5 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 2.5-3.5 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบตอนปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง ผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนาน

ส่วนที่ใช้ :  ใบแห้ง และฝักแห้ง ช่วงอายุ 1 เดือนครึ่ง (หรือก่อนออกดอก)

สรรพคุณ : ใบและฝัก  -  ใช้เป็น ยาถ่าย ที่ดี ใบไซ้ท้องมากกว่าฝัก

วิธีและปริมาณที่ใช้

ใบมะขามแขกหนัก 2 กรัม หรือ 2 หยิบมือ หรือใช้ฝัก 10-15 ฝัก ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว 5 นาที ใส่เกลือเล็กน้อยเพื่อกลบรสเฝื่อน รับประทานครั้งเดียว หรือ ใช้วิธีบดใบแห้ง เป็นผงชงน้ำดื่ม บางคนดื่มแล้วเกิดอาการไซ้ท้อง แก้ไขโดย ต้มรวมกับยาขับลมจำนวนเล็กน้อย (เช่น กระวาน กานพลู อบเชย)  เพื่อแต่งรสและบรรเทาอาการไซ้ท้อง มะขามแขก เหมาะกับคนสูงอายุ ที่ท้องผูกเป็นประจำแต่ควรใช้เป็นครั้งคราว

ข้อห้าม :  ผู้หญิงมีครรภ์ หรือ มีประจำเดือน ห้ามรับประทาน

สารเคมี :  ใบและฝักพบสารประกอบพวก anthraquinones เช่น sennoside A.B.C.D. aloe emodin , emodin , rhein  , physcion , และสาร anthrones dianthrones

สมุนไพร \"ยาถ่าย\" ธรรมชาติ

” แมงลัก “
ชื่อวิทยาศาสตร์ :    Ocimum basilicum  L.f. var. citratum Back.
ชื่อสามัญ :   Hairy Basil
วงศ์ :  Apiaceae ( Labiatae )
ชื่ออื่น :   ก้อมก้อขาว มังลัก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชล้มลุก ลำต้นตรง โคนต้นแข็ง สูงประมาณ 40-65 ซ.ม. แตกกิ่งก้าน ทุกส่วนมีกลิ่นหอม ใบ เดี่ยว สีใบสีนวล ใบมีขนอ่อน ๆ ใบเรียงตรงข้ามเป็นคู่ ๆ ดอก ช่อ ออกที่ปลายยอด ช่ออาจเป็นช่อเดี่ยว หรือแตกออกเป็นช่อย่อย ๆ ดอกบานจากข้างล่างขึ้นข้างบน กลีบรองดอกจะคงทนและขยายใหญ่ขึ้นเมื่อเป็นผล กลีบดอกสีขาวแบ่งเป็น 2 ปาก ร่วงง่าย เกสรตัวผู้จะยื่นยาวกว่ากลีบดอก ดอกย่อยออกโดยรอบก้านช่อเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นมีดอกย่อย 6 ดอก แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 3 ดอก ดอกตรงกลางจะบานก่อน และช่อดอกย่อยที่อยู่ชั้นล่างสุดของก้านช่อดอกจะบานก่อนเช่นกัน ผล 1 ดอกมีผล 4 ผล ขนาดเล็ก คือเมล็ดแมงลัก รูปร่างรูปรีไข่ สีดำ

ส่วนที่ใช้ :  เมล็ด และใบ

สรรพคุณ

  • เมล็ด  -  ออกฤทธิ์เป็นยาระบาย โดยการเพิ่มปริมาตรของกากอาหารกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้
  • ใบ -  ใช้ขับลม

วิธีและปริมาณที่ใช้
รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนชา  แช่น้ำให้พอง แล้วดื่มก่อนนอน จะช่วยทำให้ระบาย เป็น ยาถ่าย

สารเคมี

  • เมือกจากเมล็ด พบ D-xylos, D-glucose, D-galactose, D-mannose, L-arabinose, L-rhamnose, uronic acid , oil, polysaccharide และ mucilage
  • ส่วนใบ  พบน้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบด้วย borneol L-B-cadinene, 1-8-cineol, B-caryophyllene, eugenol

ขอบคุณที่มาจาก : โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ขอบคุณภาพจาก : อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล / วิกิพีเดีย

อัพเดทล่าสุด