กินดึก, โรคอ้วน, โรคเบาหวาน, ยีน, การกินอาหารบกพร่อง, ยีน การกลายพันธุ์, การกลายพันธุ์


995 ผู้ชม


วิจัยชี้ยีนมีปัญหา สร้างนิสัย "กินดึก"

ผลการวิจัยของนักวิจัยจากสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ผ่านวารสารเซลล์ รีพอร์ต พบว่าผู้ที่ต้องตื่นขึ้นมาเพื่อกินอาหารในเวลากลางคืนบ่อยๆ นั้นอาจมีสาเหตุมาจากยีน ซึ่งทำหน้าที่ในการประสานรูปแบบการกินอาหารและการนอนหลับมีความผิดปกติ และอาการดังกล่าวก็จะนำไปสู่น้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น

กินดึก, โรคอ้วน, โรคเบาหวาน, ยีน, การกินอาหารบกพร่อง,  ยีน การกลายพันธุ์, การกลายพันธุ์

ผู้ที่มีพฤติกรรมการตื่นขึ้นมาในช่วงดึกและจะไม่สามารถนอนหลับต่อได้หากไม่ได้กินอาหารนั้น มีเป็นสัดส่วนราว 1-2 เปอร์เซ็นต์ โดยผู้ที่มีพฤติกรรมดังกล่าวจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วนรวมถึงโรคเบาหวานได้เนื่องจากอาหารที่กินนั้นเป็นอาหารที่ไม่มีประโยชน์และให้พลังงานสูง ขณะที่ปัจจุบันพฤติกรรมดังกล่าวได้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มอาการ "การกินอาหารบกพร่อง" ซึ่งยังไม่สามารถหาสาเหตุได้

ทีมวิจัยจากสถาบันซอลค์ ในเมืองซานดิเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ค้นพบยีนคู่หนึ่งที่หากมีการกลายพันธุ์เกิดขึ้นแล้วจะส่งผลทำให้เกิดอาการ "การกินบกพร่อง" ยีนดังกล่าวมีชื่อว่าเปอร์1 (PER1)

ที่มาของการค้นพบยีนเปอร์1 ซึ่งเป็นยีน 1 ใน 3 คู่ (PER1-3) ทำหน้าที่กำหนดนาฬิกาชีวิตของร่างกายมนุษย์ มีที่มาจากการทดลองนำยีนเปอร์ 2 (PER2) ที่มีการกลายพันธุ์ ซึ่งมีการค้นพบเมื่อ 10 ปีก่อนว่ามีส่วนทำให้เกิด "อาการนอนบกพร่อง" และยีนเปอร์ 1 ที่มีการกลายพันธุ์เช่นเดียวกัน นำไปใส่แทนที่ยีนนาฬิกาชีวิตของหนูแล้วสังเกตพฤติกรรมหนูว่า ยีนเปอร์ 1 นั้นจะส่งผลให้หนูมีอาการ "นอนบกพร่อง" หรือไม่ ผลปรากฏว่า ยีนเปอร์ 1 ไม่ได้ทำให้หนูมีอาการนอนบกพร่องเหมือนยีนเปอร์ 2 แต่กลับให้ผลลัพธ์ที่ต่างออกไป

นักวิจัยพบว่าหนูที่มียีนเปอร์ 1 กลายพันธุ์ กลับมีอาการกินอาหารเร็วกว่าหนูตัวอื่นๆ และทำให้หนูตัวดังกล่าวต้องตื่นขึ้นมากินในช่วงเวลาที่ต้องนอนหลับตามปกติ และยังส่งผลให้กินอาหารในช่วงเวลาปกติมากขึ้นอีกด้วย

หัวหน้าทีมวิจัยในครั้งนี้ระบุว่า เป็นเวลานานแล้วที่เราไม่คิดว่าโรคกินดึกนั้นไม่มีจริง แต่ผลวิจัยในครั้งนี้ก็สามารถก่อให้เกิดคำถามอีกมากมายในอนาคตว่าเราจะควบคุมวงจรที่ถูกเปลี่ยนแปลงนั้นอย่างไร


อัพเดทล่าสุด