เพลียเรื้อรัง โรคนี้มีอยู่จริงและอาจพ่วงถึงไต


2,389 ผู้ชม

อาการเพลียในที่นี้ คืออาการที่เกิดกับร่างกาย เหนื่อยกาย ไม่ใช่เหนื่อยใจ แบบว่ารู้สึกเหนื่อย เพลีย หมดแรง ไร้เรี่ยวแรง


คุณเคยรู้สึกเพลียมากๆ จนไม่อยากจะแก้ไข ไม่อยากทำอะไรกับชีวิตไหม?

อาการเพลียในที่นี้ คืออาการที่เกิดกับร่างกาย เหนื่อยกาย ไม่ใช่เหนื่อยใจ แบบว่ารู้สึกเหนื่อย เพลีย หมดแรง ไร้เรี่ยวแรง ปวดเมื่อยเนื้อตัว ไม่ได้ทำงานหนักหนาสาหัสสักเท่าไหร่ก็รู้สึกเพลีย บอกได้เลยว่า เป็นไปได้ที่คุณกำลังเสี่ยงที่จะเป็นโรคเพลียเรื้อรัง

โรคเพลียมีจริงหรือ?

เจ้าโรคเพลียเรื้อรังนี้ขอบอกว่ามีจริงๆ ค่ะ โดยชื่อทางการแพทย์ก็คือ Chronic Fatigue Syndrome หรือ CFS ไม่ใช่อาการเจ็บไข้ได้ป่วยทั่วไปอย่างไข้หวัดหรือกล้ามเนื้ออักเสบ เพราะหากเป็นการเจ็บป่วยตามธรรมดาเหล่านี้ เราจะอธิบายได้และค้นหาสาเหตุได้ แต่อาการป่วยจาก CFS เป็นอาการป่วยที่ยากต่อการรักษา เพราะหาสาเหตุไม่พบและอธิบายไม่ได้ รวมถึงค่อนข้างวินิจฉัยยากเพราะคล้ายกับหลายโรค โดยเฉพาะไข้หวัดใหญ่ และบางทีก็เกิดจากสร่างไข้ใหม่ ๆ เลยทำให้ตัวคุณเองอาจไม่แน่ใจว่าเพราะยังไม่ฟื้นไข้ดีหรือเปล่า

โรค CFS ทำให้ภูมิต้านทานโรคตกลง และมีอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง บางคนมีความจำเสื่อม สมาธิสั้นลง ปวดตามข้อหรือกล้ามเนื้อ เจ็บต่อมน้ำเหลือง (เช่น ตรงรักแร้ ขาหนีบ ฯลฯ) และเจ็บคอ ภาวะเหนื่อยเรื้อรังนี้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 2-4 เท่า แต่ตัวเลขนี้เอาแน่ยังไม่ได้ อาจเป็นไปได้ว่าเพราะผู้หญิงใส่ใจสุขภาพมากกว่า พอรู้สึกไม่สบายก็มักไปหาหมอมากกว่าผู้ชายเลยมีสถิติมากกว่าก็เป็นได้

อ.จูดี มิโควิทส์ และคณะ แห่งสถาบันวิทท์มอร์ พีเทอร์ซัน สถาบันมะเร็งแห่งชาติสหรัฐฯ และคลินิกคลีฟแลนด์ สหรัฐฯ พบไวรัสมีชื่อว่า ‘XMRV’ ในเลือดของคนไข้ CFS 68 ใน 101 คน = 67.3% เทียบกับคนที่มีสุขภาพดีพบไวรัสนี้ 8 ใน 128 = 6.25%

ยังไม่มีใครทราบว่าภาวะเพลียเรื้อรังเกิดจากอะไรกันแน่ ชื่อนี้ได้มาจากอาการที่แสดงให้เห็น เพราะไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกอ่อนเพลียมากๆ แม้จะพักผ่อนมากเท่าไรแล้วก็ตาม ทั้งเหนื่อยล้าเกินกว่าอยากจะหยิบจับทำอะไรๆ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการทำงานและการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมาก

เพลียเรื้อรัง โรคนี้มีอยู่จริงและอาจพ่วงถึงไต

ระวัง! ภาวะ เพลียเรื้อรัง รักษาได้แต่ไม่หายขาด

การสังเกตตัวเองอยู่เสมอ จะทำให้คุณรู้ตัวได้เร็วกว่าว่าคุณกำลังเสี่ยงกับโรคนี้อยู่หรือเปล่า บ่อยครั้งที่ภาวะเหนื่อยเรื้อรังเกิดหลังจากป่วยเล็กๆ น้อยๆ เช่นว่าเป็นไข้หวัดหรือท้องเสีย บางครั้งก็เกิดในช่วงที่เครียดจัด แต่ก็มีเหมือนกันที่อยู่ดีๆ ก็เป็นขึ้นมาโดยไม่มีอาการเตือนหรือไม่สบายมาก่อน ปกติแล้วอาการจะเกิดแบบต่อเนื่อง หรือเป็นๆ หายๆ ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 เดือน

เพราะอาการของโรคนี้จะคลุมเครือชี้ชัดได้ยากกว่าเป็นอะไรกันแน่ และแพทย์น้อยคนนักที่จะนึกถึง ซึ่งถ้าแพทย์ให้การรักษาตามอาการแล้วยังไม่ดีขึ้น หรือมีหลายอาการประกอบกัน ก็เข้าข่ายว่าน่าจะเป็นภาวะเหนื่อยเรื้อรัง

เพราะไม่มียาเฉพาะที่จะรักษาโรคนี้ให้หายขาด การรักษาตามอาการและการดูแลสุขภาพกายและใจจึงเป็นหนทางเดียวในขณะนี้ที่จะช่วยบรรเทาได้ พร้อมๆ ไปกับการปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น ทานอาหารให้สมดุล พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเบาๆ เป็นประจำ หลีกเลี่ยงความเครียด ที่สำคัญพอรู้ตัวว่าเป็นหรือเพียงแค่สงสัยก็ควรรีบกำจัดสิ่งที่จะไปกระตุ้นให้เป็นหนักขึ้นนั้นซะ ที่สำคัญหากคิดว่าตนเองมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้แล้ว ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

เข้าใจว่าชื่อโรคอาจจะฟังดูไม่น่าเชื่อว่าจะมีเท่าไหร่ แถมฟังดูไม่น่าอันตรายอะไร แต่หากทิ้งไว้เพราะคิดว่าเป็นโรคเล็กๆ น้อยๆ ไม่น่ากลัวคงไม่ดีแน่ เพราะโรคนี้ก็เหมือนกับโรคอื่นๆ ทั่วไป ที่ยิ่งปล่อยทิ้งไว้ รังแต่จะเป็นอันตรายร้ายแรงในอนาคต

เพลียเรื้อรัง โรคนี้มีอยู่จริงและอาจพ่วงถึงไต

เพลียเรื้อรัง หนึ่งสาเหตุของไตอ่อนแอ

อาการอ่อนเพลียเรื้อรังและมึนศีรษะเป็นประจำมาร่วมปี ปัสสาวะบ่อย ขี้หนาว นอนไม่หลับ สะดุ้งตื่นเป็นประจำ ปวดเมื่อยตามร่างกาย เท้าบวม ผิวหน้าหมองคล้ำ และผมร่วง ทั้งๆ ที่ผลตรวจร่างกายก็เป็นปกติ หากวินิจฉัยตามหลักการแพทย์จีนคือ เกิดจากภาวะไตอ่อนแอ ซึ่งเป็นศัพท์เฉพาะของการแพทย์จีนที่ได้มีการบันทึกในตำราการแพทย์จีนมาแล้วนับพันปี

ภาวะไตอ่อนแอไม่ใช่โรคไตในความหมายของการแพทย์ตะวันตก หากหมายถึงสภาพไตกำลังเสื่อมลง ไม่แข็งแรงเท่าที่ควร ทำให้ไตขับน้ำส่วนเกินและของเสียออกจากร่างกายลดลง เกิดผลกระทบต่อดุลยภาพ ของอิเล็กโทรไลต์และความเป็นกรดด่างในร่างกาย

รวมทั้งเกิดภาวะพร่องฮอร์โมนสำคัญหลายชนิดที่สร้างขึ้นจากไตและต่อมหมวกไตด้วย การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้จะนำไปสู่อาการผิดปกติของอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย หากไม่มีการบำบัดรักษาอย่างทันท่วงที ก็จะแก่ก่อนวัยและพัฒนากลายเป็นโรคร้ายต่างๆ เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคเกาต์ โรคภูมิแพ้ โรคซึมเศร้า เป็นต้น หรืออาจพัฒนากลายเป็นโรคไตและไตวายได้ในที่สุด

เพราะฉะนั้น อาการป่วยเพียงน้อยนิด คุณก็ไม่อาจมองข้ามได้ ทางที่ดีหากคุณมีภาวะเพลียเรื้อรังดังที่กล่าวไป อาจต้องปรึกษาแพทย์ เพื่อรักษาก่อนที่จะป่วยหนัก

ขอบคุณที่มาจาก : emaginfo.com

อัพเดทล่าสุด