ดื่มน้ำเย็นจัด ตายได้จริงหรือ?


2,162 ผู้ชม

การดื่มน้ำเย็นจัดในเวลาอันรวดเร็ว อาจทำให้เกิดอาการ brain freeze หรืออาการเย็นจี๊ดขึ้นสมอง ปวดศีรษะไปชั่วขณะได้


 

การดื่มน้ำเย็นจัดในเวลาอันรวดเร็ว อาจทำให้เกิดอาการ brain freeze หรืออาการเย็นจี๊ดขึ้นสมอง ปวดศีรษะไปชั่วขณะได้ (คนที่เป็นโรคไมเกรนจะมีโอกาสเกิดอาการนี้ง่ายกว่าคนปกติ) โดยเป็นกระบวนการของสมองที่สั่งการส่งเลือดมาไหลเวียนที่หลอดเลือดบริเวณที่เย็นจัดอย่างเฉียบพลัน เพื่อทำให้หลอดเลือดบริเวณนั้นอุ่นขึ้น และขยายหลอดเลือดให้ใหญ่ขึ้น จนไปกระตุ้นประสาทส่วนที่รับรู้ถึงความเจ็บปวดไปด้วย จึงเกิดเป็นอาการปวดศีรษะโดยฉับพลันนั่นเองแต่ไม่ต้องห่วง อาการนี้เกิดขึ้นเพียงไม่กี่วินาที และไม่ส่งผลระยะยาวต่อร่างกายใดๆ ทั้งสิ้น

แต่หากจะพูดถึงอันตรายต่อร่างกายในระยะยาว ก็มีเหมือนกัน การดื่มน้ำเย็นจัด จะทำให้ไตต้องทำหน้าที่กำจัดความเย็นออกจากร่างกายอย่างรวดเร็ว โดยการขับน้ำเย็นออกมาเก็บไว้ที่กระเพาะปัสสาวะ

นอกจากไตจะทำงานหนักขึ้นแล้ว ความเย็นยังทำให้หลอดเลือดแข็งตัว ไม่ยืดหยุ่น เลือดข้นหนืด เคลื่อนตัวได้ช้าลง และลำบากมากขึ้น ทำให้มีคราบไขมัน และของเสียในเลือดไปเกาะตามผนังหลอดเลือด และอาจสะสมพอกพูนกลายเป็นโรคหลอดเลือดตีบ จนอาจเป็นสาเหตุของอาการผิดปกติของร่างกายดังต่อไปนี้

1. ดื่มน้ำเย็นจัด ทำให้ขีดความสามารถในการทำงานของสมองลดลง

วารสารนิวไซเอินทิสต์ (New Scientist Journal) ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยของทีมนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยบริสตอลในอังกฤษ พบว่า คนที่ดื่มน้ำเย็นจัดในยามที่ร่างกายไม่ได้เกิดความรู้สึกกระหายน้ำนั้น จะทำให้ขีดความสามารถในการทำงานของสมองลดลงไปทันที โดยน้ำเย็นจัดเพียงแค่แก้วเดียวก็มากพอที่จะทำให้สมรรถภาพทางจิตใจของบางคนลดลงไปถึง 15%

ดร.ปีเตอร์ โรเจอร์ นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยบริสตอลและทีมงาน ได้ทดสอบผลกระทบของน้ำต่อกลุ่มอาสาสมัครจำนวน 60 คน ก่อนการทดสอบนั้น กลุ่มอาสาสมัครส่วนหนึ่งไม่ดื่มน้ำอะไรเลย และอีกส่วนหนึ่งดื่มน้ำก๊อก แช่เย็นจัดที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส ในปริมาณ1 แก้ว หรือ 300 มิลลิลิตร ปรากฏว่าคนที่กระหายน้ำก่อนการทดสอบและดื่มน้ำเข้าไป สามารถทำแบบทดสอบได้ดีกว่าคนที่ไม่ได้ดื่มอะไรประมาณ 10% ส่วนกลุ่มที่ไม่รู้สึกกระหายน้ำแต่ดื่มน้ำเย็นจัด ปรากฏว่าขีดความสามารถในการทำแบบทดลองลดลงไปถึง 15 %

นักวิจัยสรุปว่า การดื่มน้ำเย็นจัดมากเกินไปจะมีผลกระทบต่อขีดความสามารถในการขับรถ หรือทำงานที่ต้องใช้สมอง หรือความคิดมาก ๆ โดยอุณหภูมิของน้ำดื่มอาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสมอง

ดื่มน้ำเย็นจัด ตายได้จริงหรือ?

2. ดื่มน้ำเย็นจัด ทำให้รู้สึกปวดหัวจี๊ด

เวลาอากาศร้อนๆ แล้วเรารีบดื่มน้ำเย็นจัดๆ เข้าไป ก็มักจะมีอาการปวดหัวจี๊ดขึ้นสมองกันแทบทุกคน เคยสงสัยมั้ยว่ามันเป็นเพราะอะไร อาการปวดหัวแบบนี้เกี่ยวข้องกับหลอดเลือดในสมอง ที่เมื่อถูกความเย็นจัดๆ เส้นเลือดก็จะตีบลง ทำให้รู้สึกเจ็บปวด เช่นเดียวกับเมื่อคุณปวดฟันแล้วกินของหวานเข้าไป อาการปวดก็จะไม่ได้มีเพาะที่ฟันเท่านั้นแต่ยังจี๊ดขึ้นไปถึงสมองของคุณด้วย หรือเวลาอากาศร้อนมากๆ เราก็จะปวดหัวเพราะเส้นเลือดในสมองขยายตัวเกินกว่าปกตินั่นเอง ดังนั้น ถ้าร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงชนิดเฉียบพลัน คุณก็อาจจะปวดหัวจี๊ดได้เหมือนกัน

อาการปวดหัวจี๊ด…ขึ้นสมองนี้ไม่ได้เกิดเฉพาะตอนดื่มน้ำเย็น น้ำแข็งปั่น น้ำแข็งใส แม้แต่กินไอศครีม ก็ปวดหัวได้เหมือนกัน อาการนี้เขาเรียก ไอศกรีม เฮดเอดซ์ส (Ice cream headache) สาเหตุเพราะว่าของพวกนี้มีความเย็นจัด เมื่อความเย็นสัมผัสเส้นประสาทในปากจะทำให้เส้นประสาททั้งหลายเกิดอาการช็อก โดยเฉพาะแถว ๆ เพดานปากด้านใน อาการช็อกนี้ยังทำให้เส้นเลือดแดงที่ส่งสัญญาณไปสมองเกิดการขยายตัวและหดตัวแบบทันทีทันใด ทำให้เปลือกหุ้มสมองมีปริมาณเลือดน้อยลง สมองจะปวดชายาวนานหลายวินาที อาการนี้มักเกิดในช่วงที่อากาศร้อนมาก ๆ เพราะอุณหภูมิภายนอกกับภายในร่างกายแตกต่างกันเกินไป วิธีแก้อาการนี้ให้สูดลมหายใจเข้าลึก ๆ สักพักจะดีขึ้น และหลีกเลี่ยงการกินของเย็นจัดๆ

3. ดื่มน้ำเย็นจัด ทำลายระบบย่อยอาหาร

ในระบบการย่อยอาหารของคนเรา จะมีการหลั่งสารคัดหลั่งออกมาจำพวกเอ็นไซม์เพื่อย่อยอาหาร ซึ่งสารเหล่านี้ ออกแบบมาให้ทำงานได้ดีกับอุณหภูมิปกติของร่างกายของเรา ซึ่งอุณหภูมิต่ำๆ จะไปลดการทำงานของเอนไซม์ที่จะมาย่อยอาหารเหล่านี้ทำให้การย่อยไม่ดี นอกจากนี้ในระบบทางเดินอาหารของเรา ยังประกอบด้วยกล้ามเนื้อต่างๆอีกด้วย กล้ามเนื้อพวกนี้ถ้าได้รับความเย็นจากน้ำเย็นๆก็จะทำให้เกิดอาการชา (เหมือนเวลาหน้าหนาวที่อากาศหนาวจัดๆปลายนิ้วมือนิ้วเท้าจะชาๆ จากความเย็น) และทำให้เกิดการบีบตัว คลุกเคล้าอาหารที่จะทำการย่อยได้ไม่ดีก็เป็นปัญหาในระบบทางเดินอาหารอีกเช่นกัน

ปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือ ทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อ ระบบการย่อยไม่ดี และอาจทำให้เกิดเป็นโรคกรดไหลย้อนได้อีกด้วย ดังนั้น เราควรดื่มน้ำเย็นให้น้อยลง เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น

4. ดื่มน้ำเย็นจัด ในระหว่างเป็นประจำเดือนทำให้ป่วยง่ายและปวดท้องมากขึ้น

ในช่วงระหว่างที่เป็นประจำเดือน ฮอร์โมนในร่างกายผู้หญิงจะแปรปรวน ไม่สมดุล ทำให้ป่วยได้ง่าย ภูมิคุ้มกันลดลง การดื่มน้ำเย็นจัดหรือแม้กระทำอาบน้ำเย็นๆ จะทำให้อุณหภูมิในร่างกายต้องปรับตัวลดลงไปด้วย บางครั้งอาจเกิดการเจ็บป่วยได้ง่าย และการดื่มน้ำเย็นจัดยังทำให้ปวดท้องประจำเดือนมากกว่าปกติอีกด้วย

ดื่มน้ำเย็นจัด ตายได้จริงหรือ?

วิธีดื่มน้ำอย่างถูกต้อง

  1. น้ำที่ดื่มถ้าจะให้ดีต้องเป็นน้ำอุณหภูมิปกติ ไม่ร้อนมากหรือเย็นจัด แต่ก็ยกเว้นในบางกรณี เช่น ตอนเช้าถ้าเป็นไปได้ควรดื่มน้ำอุ่นเพราะจะช่วยในการขับถ่ายให้ดียิ่งขึ้น ลำไส้ก็จะสะอาดมากขึ้นตามไปด้วย
  2. การดื่มนั้นที่ถูกต้องนั้น ควรดื่มอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว หรือจะให้ดีก็วันละ 14 แก้ว หรือโดยเฉลี่ยแล้วควรดื่มน้ำให้เพียงพอกับน้ำหนักตัวของคุณ เช่น ถ้าคุณมีน้ำหนัก 60 kg. ก็ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ลิตร หรือประมาณ 10 แก้วนั่นเอง (กรณีนี้ให้นับรวมปริมาณอื่นๆด้วย เช่น น้ำจากผักผลไม้ แกง ก๋วยเตี๋ยวต่างๆด้วย)
  3. ในตอนเช้าหลังตื่นนอน หรือก่อนแปรงฟัน ควรดื่มน้ำ 2-4 แก้ว เป็นน้ำอุ่นๆได้ก็จะดีมาก
  4. ในระหว่างวัน ควรดื่มน้ำ 1 แก้วทั้งก่อนและหลังมื้ออาหาร ทุกๆมื้อ และในระหว่างช่วง สาย บ่าย เย็น ก็ควรดื่มน้ำอีกครั้งละ 1 แก้ว
  5. ในช่วงก่อนนอน น้ำอุ่นๆสัก 1 แก้วจะดีมาก
  6. การดื่มน้ำควรดื่มครั้งละแก้ว และที่สำคัญไม่ควรดื่มรวดเดียวหลายๆแก้ว เพราะจะไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะ “น้ำเป็นพิษได้”
  7. ประโยชน์ของน้ำอย่าดื่มน้ำมากเกินไปก่อนที่จะรับประทานอาหาร หรือถ้าจะดื่มก็ควรดื่มน้ำก่อนสักประมาณครึ่งชั่วโมง หรือ 45 นาที
  8. ในระหว่างรับประทานอาหารไม่ควรดื่มน้ำตลอดเวลา เพราะจะทำให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารเจือจาง ทำให้ระบบย่อยทำงานได้ไม่ดี
  9. ภายหลังจากรับประทานอาหารเสร็จไม่ควรดื่มน้ำทันที เพราะจะทำให้น้ำย่อยในกระเพาะเจือจางลง ส่งผลให้การย่อยอาหารทำงานได้ไม่เต็มที่ โดยควรดื่มหลังจากรับประทานอาหารเสร็จแล้วครึ่งชั่วโมง
  10. หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็นและน้ำอัดลม เพราะน้ำเย็นจะไปดึงความร้อนในร่างกายมาทำให้น้ำที่เราดื่มเข้าไปมีอุณหภูมิเท่ากับร่างกาย จึงจะดูดซึมได้ ทำให้ร่างกายเสียเวลาในการปรับสมดุลและสูญเสียพลังงาน

 ขอบคุณที่มาจาก : oknation.net , ฟรินน์ดอทคอม ,
ASTVผู้จัดการรายวัน , Thaihealthwellness

 

อัพเดทล่าสุด