https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ถั่วพิสตาชิโอ ต้านโรคเบาหวาน MUSLIMTHAIPOST

 

ถั่วพิสตาชิโอ ต้านโรคเบาหวาน


1,720 ผู้ชม

นักวิทยาศาสตร์ชาวสเปน วิจัยพบว่า การรับประทาน ถั่วพิสตาชิโอ อาจช่วยป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่สองได้


 

นักวิทยาศาสตร์ชาวสเปน วิจัยพบว่า การรับประทาน ถั่วพิสตาชิโอ อาจช่วยป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่สองได้

 

นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Rovira i Virgili ประเทศสเปน ได้ทำการศึกษาผลกระทบของผลไม้แห้งและถั่วต่างๆ ที่มีผลต่อสรีระของมนุษย์ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา และมีการศึกษากลุ่มที่อยู่ในอุตสาหกรรมถั่วพิสตาชิโอด้วย โดยทางทีมวิจัยต้องการศึกษาหาว่าถั่วมีผลต่อกระบวนการ การเผาผลาญกลูโคสและอินซูลินในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานแอบแฝงหรือไม่ โดยทำการทดลองกับอาสาสมัครจำนวน 54 คน อายุระหว่าง 25-65 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิง โดยทดลองแแบ่งกลุ่ม ออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มหนึ่งรับประทาน ถั่วพิสตาชิโอ และอีกกลุ่มหนึ่งไม่รับประทาน เป็นระยะเวลาทั้งหมด 4 เดือน พบว่ากลุ่มที่รับประทานถั่วพิสตาชิโอทุกวัน วันละ 57 กรัม จะมีระดับอินซูลินและดัชนีน้ำตาลดีขึ้น

 

โมนิก้า บลู แพทย์ที่ทำการวิจัยกล่าวว่า สารอาหารใน ถั่วพิสตาชิโอ มีส่วนช่วยป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่สอง ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงได้ โรคเบาหวานชนิดที่สองจะมีอาการเรื้อรัง ส่งผลเสียกับระบบเผาผลาญน้ำตาลกลูโคส ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกาย  ทีมนักวิจัยได้ระบุว่า กลุ่มคนที่ใส่ใจในเรื่องการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆได้

ถั่วพิสตาชิโอ ต้านโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานชนิดที่สอง

โรคเบาหวานชนิดที่สอง เรียกว่า non-insulin-dependent diabetes (NIDDM) เกิดในผู้ป่วยอายุมากกว่า 30 ปี และมักจะอ้วน ผู้ป่วยเบาหวานชนิดนี้อาจจะไม่มีอาการเหมือนผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่หนึ่ง เนื่องจากอาการค่อยๆเป็นโดยที่ผู้ป่วยไม่รู้ตัว บางรายเกิดโรคแทรกซ้อนตั้งแต่วินิจฉัยได้

สาเหตุโรคเบาหวานชนิดที่สอง

เมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไปสารอาหารจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาล และถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดร่างกายก็ขับฮอร์โมนชื่ออินซูลินเพื่อนำน้ำตาลเข้าเซลล์ โรคเบาหวานชนิดนี้เกิดจากหลายสาเหตุรวมกันได้แก่ ตับ กล้ามเนื้อ เซลล์ไขมันมีความทนทานต่ออินซูลินเพิ่ม (insulin resistance) และความผิดปกติเกี่ยวกับการหลั่งอินซูลิน (impaired beta -cell function) ของตับอ่อน ส่วนว่าอะไรเป็นสาเหตุนำยังไม่ทราบแน่ชัด โรคเบาหวานไม่หายขาดแม้ว่าท่านผู้อ่านจะควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีท่านยังต้องดูแลตัวเองอย่างต่อเนื่อง

ถั่วพิสตาชิโอ ต้านโรคเบาหวาน

การรักษาเบาหวานชนิดที่สอง

หัวใจการรักษาของเบาหวานชนิดที่ 2 คือการที่ผู้ป่วยได้รับยา metformin ร่วมกับการควบคุมอาหาร และการออกกำลังกาย โดยมีเป้าหมายการควบคุมระดับน้ำตาลเฉลี่ยไม่ให้เกิน 7% โดยคุมให้ลงภายในสามเดือน

  • การคุมอาหาร หลักการง่ายๆให้ลดอาหารไขมัน เพิ่มอาหารที่มีใยมาก
  • การออกกำลังกาย
  • การลดน้ำหนัก
  • ยาเม็ดลดน้ำตาลในกรณีที่คุมอาหารและออกกำลังแล้วไม่ได้ผล
  • การฉีดอินซูลินในกรณีที่ยาเม็ดลดน้ำตาลไม่ได้ผล

โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ

  • ภาวะน้ำตาลสูง (Hyperglycemia) มักเกิดในผู้ป่วยที่ได้รับยาไม่พอหรือมีภาวะเครียด เช่น มีไข้ เครียดอื่นๆ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะ ตามัว หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย ผิวแห้ง คันตามตัว
    เมื่อน้ำตาลในเลือดสูงมากจะก่อให้เกิดปัญหาคือ ร่างกายสร้างคีโตนเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นพิษต่อร่างกายควรหาคีโตนในปัสสาวะในกรณีดังต่อไปนี้
    • เมื่อมีอาการของน้ำตาลในเลือดสูง
    • น้ำตาลในเลือดเกิน 240 มก.%
    • เมื่อกำลังป่วย

ถั่วพิสตาชิโอ ต้านโรคเบาหวาน

รีบปรึกษาแพทย์เมื่อพบน้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับพบคีโตนในปัสสาวะ ร่างกายขาดน้ำเมื่อน้ำตาลในเลือดสูงต้องดื่มน้ำให้พอ

  • น้ำตาลในเลือดต่ำ [Hypoglycemia] ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำไปซึ่งอาจจะเกิดจาก
    • ได้รับอินซูลินมากไป
    • กินอาหารน้อยไป
    • ออกกำลังมากไป
    • ดื่มแอลกอฮอล์ขณะท้องว่าง

ผู้ป่วยที่มีอาการน้ำตาลต่ำจะเกิดอาการ หิว ใจสั่น เพลีย สับสน หมดสติ ให้รีบแก้ไขโดยกินน้ำผลไม้ครึ่งแก้ว น้ำหวาน 4 ช้อนชา หรือนม 1 แก้ว

ขอบคุณที่มาจาก : รายการ Good Morning Thailand ช่อง MONO 29
www.siamhealth.net

อัพเดทล่าสุด