ไขปริศนา การแมะ
การแมะ (pulse diagnosis 切脉) หรือการจับชีพจรของแพทย์แผนจีน เป็นเสน่ห์หนึ่งของแพทย์แผนจีน หลายคนคงสงสัยว่า แค่แมะก็รู้เลยหรือว่าป่วยเป็นอะไร วันนี้เราจะมาไขปริศนาแห่งศาสตร์อันล้ำลึกนี้
การแมะ คือการใช้นิ้วมือทั้งสาม (นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง) แตะลงบนชีพจรตรงบริเวณเส้นเลือดแดงใกล้ข้อมือฝั่งนิ้วโป้ง โดยนิ้วกลางจะวางตรงบริเวณที่กระดูกข้อมือนูนขึ้นมา(จุดชุ่น寸) นิ้วชี้วางถัดจากนิ้วกลางไปทางปลายนิ้วผู้ป่วย(จุดกวน关) นิ้วนางวางถัดจากนิ้วกลางไปทางต้นแขน(จุดฉื่อ尺) สามนิ้ววางเรียงกัน
การแมะ จะแมะมือทั้ง 2 ข้าง ซึ่งแต่ละจุดของมือทั้ง 2 ข้าง ได้แสดงถึงอวัยวะภายในไว้ดังนี้
จุดที่ต้องสังเกตในระหว่างทำการแมะ
- ระดับของการแมะ การเต้นของชีพจรอยู่ตื้นหรืออยู่ลึก แต่ละตาแหน่งของจุดชุ่น จุดกวน จุดฉื่อ มีความยาวความสั้นอย่างไร
- ความถี่และจังหวะของการเต้น ชีพจรเต้นเร็วหรือช้า จังหวะการเต้นสม่าเสมอหรือไม่
- ลักษณะของเส้นเลือด เวลาชีพจรเต้นความกว้างของเส้นเลือดใหญ่หรือเล็ก เส้นเลือดตึงแข็งหรืออ่อนนิ่ม
- ลักษณะการเต้น ชีพจรเต้นมีแรงหรือเต้นเบา ไหลลื่นหรือไม่
จากการสังเกตชีพจรข้างต้น ปัจจุบันการแพทย์แผนจีนได้ระบุลักษณะชีพจรไว้ถึง 28 ชนิดด้วยกัน แต่ละชีพจรจะบ่งบอกถึงสภาพภายในร่างกายของเรา เช่น ชีพจรลอย(浮脉) เวลาสัมผัสเบาๆจะพบชีพจรคล้ายท่อนซุงลอยน้ำ เมื่อกดจะจมเล็กน้อย บ่งบอกถึงอาการเป็นไข้หวัดหรือโรคนั้นอยู่ภายนอกชีพจรลื่นจะมีลักษณะไหลลื่นคล้ายไข่มุกกลิ้งอยู่ บ่งบอกถึงผู้ป่วยมีเสมหะ มีอาการร้อนแกร่ง หรือสตรีตั้งครรภ์ หรือเป็นชีพจรปกติในวัยหนุ่ม
สำหรับชีพจรของคนปกติ จะมีการเต้นของชีพจรที่ไม่ใหญ่ ไม่เล็ก ไม่ลอย ไม่ลึก ไม่เร็ว ไม่ช้า เต้น 4-5 ครั้ง ต่อการหายใจเข้าออก 1 ครั้ง(ประมาณ 72-80ครั้ง/นาที) จังหวะการเต้นสม่าเสมอ แต่ชีพจรของคนปกติอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามวัย เพศ อากาศ สภาพแวดล้อมและอื่นๆได้ เช่น เด็กชีพจรจะเต้นเร็วกว่าผู้ใหญ่ หลังทานอาหารชีพจรจะเต้นเร็วและมีแรง
สำหรับเด็กที่มีอายุระหว่าง 3-10 ปี เนื่องจากพื้นที่ที่ใช้จับชีพจรค่อนข้างเล็ก จึงไม่จำเป็นต้องใช้ 3 นิ้วจับชีพจร แต่ใช้เพียงนิ้วโป้งนิ้วเดียวจับชีพจรทั้ง 3 ตาแหน่ง ส่วนเด็กเล็กที่มีอายุต่ากว่า 3 ปี จะใช้การสังเกตเส้นเลือดฝอยของนิ้วชี้ทั้ง 2 ข้าง
การแมะ เป็นเพียง 1ใน 4 ของวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคของแพทย์แผนจีน ซึ่งก็คือการมอง(望) การดมและการฟัง(闻) การถาม(问) และการแมะ(切) แพทย์จีนจะใช้ 4 วิธีนี้ควบคู่กันไปในการตรวจวินิจฉัย เพื่อให้ได้ผลการตรวจที่ถูกต้องและแม่นยำที่สุด
ขอบคุณที่มาและรูปภาพจาก : คณะการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ