ภาวะเท้าแบน, เท้า, เท้าแบน


751 ผู้ชม


อย่ามองข้ามเรื่อง เท้าแบน

ในแต่ละวันที่เราดำเนินชีวิต ไม่ว่าอยู่บ้าน หรือไปทำงาน หรือเดินทางไปทำธุระ ท่องเที่ยว ปาร์ตี้สังสรรค์ใดๆ ก็แล้วแต่ ‘เท้า’ เป็นอวัยวะที่พาเราก้าวไปในทุกๆที่ ที่เราจะไป ดังนั้นเท้าจึงถูกใช้งานอยู่ตลอด หากเราไม่หยุดพัก เมื่ออวัยวะใดๆในร่างกายทำงานหนัก มันอาจจะแสดงออกด้วยการประท้วง พาร่างกายเจ็บป่วยเอาได้ และอวัยวะที่ชื่อว่า “เท้า” ก็สามารถพบความผิดปกติได้เช่นกัน

ภาวะเท้าแบน, เท้า, เท้าแบน

ภาวะความผิดปกติหรือ โรคต่างๆ บริเวณเท้า เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม บางภาวะที่ทุกคนมองเป็นเรื่องปกติ แต่อันที่จริงแล้วมันไม่ใช่เรื่องธรรมดา ยกตัวอย่างเช่น ภาวะ เท้าแบน

รู้จักกับภาวะ เท้าแบน

ภาวะ เท้าแบน เป็นภาวะที่พบได้มากโดยทั่วไป ซึ่งหลายๆ คนก็อาจยังไม่รู้ว่าตัวเองเท้าแบน แต่มักจะสงสัยว่าทำไมถึงเจ็บเท้าบ่อยๆ มีอาการปวดฝ่าเท้า ส้นเท้า หรือเวลาใส่รองเท้าแล้วเกินลำบาก ซึ่งสาเหตุเหล่านี้อาจเกิดจากภาวะเอ็นพยุงอุ้งเท้าสูญเสียการทำงาน หรือข้อเสื่อมบริเวณกลางเท้า สาเหตุมักมาจากความเสื่อมของการใช้งานมาก อ้วน ผู้ป่วยมักเริ่มมีอาการจากการอักเสบ ปวด บวม แดง ร้อนบริเวณใต้ตาตุ่มใน และทำให้เท้าแบนมากขึ้น ถ้าเป็นนานอาจเกิดภาวะข้อติด ข้อเสื่อม และภาวะสมรรถนะทางร่างกายต่ำตามมา‘เท้าแบน’ นั้นไม่ใช่โรค แต่เป็นเพียงภาวะผิดปกติอย่างหนึ่ง เนื่องจากไม่ก่อให้เกิดอาการอักเสบ โดยแท้จริงแล้วภาวะเท้าแบนนั้นเกิดจากพันธุกรรม ซึ่งภาวะเหล่านี้สามารถพบได้ตั้งแต่เด็ก และก็อาจเกิดจากข้อบกพร่องของการใช้เท้าในมนุษย์ เช่น อุบัติเหตุ หรืออาการบาดเจ็บในช่วงหนุ่มสาวนั้นป้องกันไม่ได้ แต่ถ้ามาจากโรคอ้วนก็มีไลฟ์สไตล์ที่สามารถเปลี่ยนได้บ้าง ซึ่งความอ้วนนั้นจะส่งแรงกดลงบนส่วนโค้งของเท้าและทำให้มันแบนมากขึ้น และหากตรวจพบตั้งแต่เด็ก ๆ ก่อนอายุ 9 ขวบ จะสามารถแก้ไขให้กลับมาเป็นปกติได้

เท้าแบนจะมีสองชนิด อย่างแรกเรียกกันว่า Rigid Flat Feet หรือเท้าแบนชนิดปีกแข็ง โดยในประเภทนี้อาจจะมีความผิดปกติจากส่วนอื่นร่วมด้วย อย่างเช่น อาการของสมองที่เรียกว่า Cerebral Palsy หรืออาการของไขสันหลัง หรืออีกอย่างหนึ่งก็คือโครงสร้างของเท้า ซึ่งกระดูกแต่ละชิ้นมีความผิดปกติ ประเภทที่สองก็คือ Flexible Flat Feet พวกนี้จะพบได้เยอะกว่า พอน้ำหนักกดลงไปปุ๊บ เท้าก็จะแบน โดยข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขระบุว่ามีประมาณ 10-15% ของประชากรไทย

รู้ได้อย่างไรว่า เท้าแบน

การสังเกตถึงภาวะเท้าแบน โดยทั่วไปหากเป็นการวินิจฉัยของแพทย์ แพทย์จะให้คนไข้เดินเหยียบแผ่นทดสอบ โดยปกติแล้วคนเท้าปกติ หากเดินไปจะมีรอยเท้า ที่เป็นรอบเว้าครึ่งหนึ่งของเท้า บริเวณส้นเท้าจะมีรอยโค้งออกมา แต่หากเท้าแบน จะเห็นมีรอยเท้าที่เต็ม แต่การสังเกตง่ายๆด้วยตัวเองก็สามารถทำได้ ในขณะที่คุณเดินหรือยืน หากเท้าแบน คุณจะสังเกตว่าด้านในของเท้าไม่มีแนวโค้ง สังเกตง่าย ๆ คือ ลองยืนบนปลายเท้า ถ้าฝ่าเท้าของคุณโค้งก็แสดงว่าปกติ แต่ถ้าไม่มีโค้ง เท้าของคุณก็มีโอกาสที่จะบิดเข้าข้างในเมื่อเดินหรือวิ่ง หรือถ้ายังไม่แน่ใจ ให้เอาเท้าจุ่มน้ำจนเปียกแล้วเดินในที่ที่คุณจะเห็นรอยเท้าอย่างพื้นคอนกรีต ถ้าเห็นเป็นรูปเท้าเต็ม ๆ ชัดเจน ก็เป็นไปได้ว่าเท้าของคุณแบน

ส่วนลักษณะการเดินของคนเท้าแบนนั้น จะสังเกตได้ว่า จะเดินเท้าล้มเข้าด้านใน หรือเดินแบะออกคล้ายนกเพนกวิน เท้าแบนอาจไม่ส่งผลเมื่อเป็นวัยรุ่น แต่หากอายุเริ่มเข้าวัย 30 จะรู้สึกเจ็บที่ด้านในของเท้า ด้านนอกเท้าแนวตั้งแต่นิ้วก้อย ฝ่าเท้า อุ้งเท้า หรือน่องด้านหลัง ทำให้การก้าวเท้าเดินไม่ดีเท่าที่ควร หรือบางคนที่เท้าแบนนั้น จะพบว่าน้ำหนักตัวกระจายไปไม่สมดุล โดยเฉพาะคนที่เท้าบิดเข้าด้านในมาก ถ้าเป็นเช่นนั้นรองเท้าของคุณก็จะสึกอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับข้อเท้าและเอ็นร้อยหวายของคุณด้วย

การรักษาของภาวะเท้าแบน

การรักษาเท้าแบน สามารถรักษาหรือบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้โดยทั้งผ่าตัดและไม่ผ่าตัด ถ้าหากเป็นกรณีที่ไม่ต้องทำการผ่าตัด ส่วนใหญ่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการรักษาด้วยการสวมแผ่นรองรองเท้าที่ผลิตขึ้นพิเศษเฉพาะบุคคล ที่รองรับกับลักษณะเท้าแบนของคนไข้ ซึ่งเป็นวิธีธรรมชาติและทำได้ง่าย แต่หากเป็นกรณีเท้าแบนที่เกิดจาก Rigid Flat Feet คือเป็นโครงสร้างที่ผิดปกติ จะต้องผ่าตัดอย่างเดียว แต่จะต้องแก้ปัญหาที่สมองกับไขสันหลังก่อน แต่ส่วนใหญ่จะแก้ไม่ได้ ปัญหาคือถ้าจะผ่าตัดต้องผ่าตรงไหน ซึ่งเราจะต้องรู้ว่าเท้าเป็นอย่างไร แบนและเอียง หรือแบนและชี้ลง มันมีหลายแบบ แต่การผ่าตัดจะต้องเริ่มที่การตัดเอ็นร้อยหวายเสียก่อน แล้วค่อยไปแก้รูปเท้าที่ผิดปกติ ส่วนอีกกลุ่มที่เป็น Flexible Flat Feet การรักษาก็คือต้องรู้จักตัวเอง อย่างที่สองคือต้องคอนโทรลน้ำหนัก และเลือกชนิดกีฬากับรองเท้าให้เหมาะสม เพราะฉะนั้น ถ้ามีปัญหาพวกนี้จะต้องดูที่ปัจจัยก่อน คือน้ำหนักตัว กีฬา และลักษณะของรองเท้าว่าเหมาะไหม หรือว่าเสื่อมสภาพหรือยัง

อวัยวะใดๆ ในร่างกาย ย่อมต้องการความเอาใจใส่ถึงสุขภาพจากเจ้าของ และเท้าเองนั้นก็เป็นอวัยวะหนึ่งที่เราต้องให้ความสำคัญ หากพบความผิดปกติก็ควรที่จะพบแพทย์ ให้แพทย์วินิจฉัยและรักษา เพื่อที่จะให้เราได้พบกับความสุขยืนยาวในทุกย่างก้าวที่เดิน

ขอบคุณที่มาจาก : emaginfo.com


อัพเดทล่าสุด