มดลูก, มดลูกแข็งแรง, สุขภาพ, สุขภาพผู้หญิง, เคล็ดลับมีบุตร, เคล็ดลับสุขภาพ


1,179 ผู้ชม


10 Tips สำหรับคุณผู้หญิง เพื่อมดลูกแข็งแรง

สำหรับผู้หญิง ที่อยากมีบุตรแล้ว คงไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าอวัยวะภายใน อย่างมดลูก เพราะหากมดลูกไม่แข็งแรง นอกจากจะบั่นทอนสุขภาพกายของตัวเองแล้ว ยังมีผลไปถึงสุขภาพกายของเด็กในครรภ์ที่จะลืมตามาดูโลกด้วย 

 
มดลูก, มดลูกแข็งแรง, สุขภาพ, สุขภาพผู้หญิง, เคล็ดลับมีบุตร, เคล็ดลับสุขภาพ

หากถามว่า แล้วคุณผู้หญิงจะดูแลตัวเองอย่างไร เพื่อให้พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ มีบุตร วันนี้เราก็มี 10 เคล็ดลับเพื่อมดลูกแข็งแรงมากฝากกันค่ะ
มดลูก, มดลูกแข็งแรง, สุขภาพ, สุขภาพผู้หญิง, เคล็ดลับมีบุตร, เคล็ดลับสุขภาพ
1. ดูแลสุขภาพใจให้แข็งแรง
สุขภาพใจเป็นเรื่องสำคัญสุดของร่างกายค่ะ เพราะสุขภาพใจจะมีผลไปถึงสุขภาพกาย โดยเฉพาะความเครียด ที่ทำให้มดลูกไม่ปกติ เพราะระบบฮอร์โมนผิดปกติ ประจำเดือนจึงมาไม่ปกติ การลดความเครียดมีหลายวิธี เช่น รู้จักปลงตก มองโลกในแง่บวก หัวเราะทุกวัน ใช้ชีวิตพอเพียง ประหยัด พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ ให้อภัยผู้อื่น มีจุดมุ่งหมายในชีวิต รวมถึงการออกกำลังกายด้วย

มดลูก, มดลูกแข็งแรง, สุขภาพ, สุขภาพผู้หญิง, เคล็ดลับมีบุตร, เคล็ดลับสุขภาพ

2. ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง
มดลูกคืออวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกาย หากร่างกายแข็งแรง โลหิตจะไหลเวียนไปเลี้ยงได้เต็มที่ ทำให้มดลูกแข็งแรง การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เช่น
- ดูแลน้ำหนักตัวให้ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ไม่ผอมแห้งหรืออ้วนฉุเกินไป
- นอนหลับให้เพียงพอ อย่างน้อยคืนละ 6 – 8 ชั่วโมง
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะผักและผลไม้
- ดื่มน้ำสะอาดวันละ 30 – 40 ซีซี ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
- งดการดื่มเหล้า สูบบุหรี่

3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ทำให้ภูมิต้านทานดี กล้ามเนื้อหัวใจและปอดแข็งแรง สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้ดี ช่วยป้องกันมดลูกอักเสบและมดลูกต่ำ ควรออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ จ๊อกกิ้ง เต้นแอโรบิก โยคะ เป็นต้น อย่างน้อยสัปดาห์ละ 4 วัน ครั้งและประมาณครึ่งชั่วโมง
4. ระวังการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทำให้เกิดอาการตกขาว ปวดท้องน้อย มีไข้ มดลูกอักเสบ แม้รักษาหายก็ยังมีอาการปวดมดลูก ปวดประจำเดือน มีตกขาวเรื้อรัง ไข้ทับระดู ไม่ตั้งครรภ์ หรือตั้งครรภ์นอกมดลูก การหลีกเลี่ยงการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จึงเป็นสิ่งสำคัญข้อหนึ่งที่ทำให้มดลูกดี ดังนั้นควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งกับคนที่ไม่รู้จักไม่รู้ใจหรือไม่แน่ใจ

มดลูก, มดลูกแข็งแรง, สุขภาพ, สุขภาพผู้หญิง, เคล็ดลับมีบุตร, เคล็ดลับสุขภาพ

5. ระวังการติดเชื้อโรคทั่วไป
การติดเชื้อโรคทั่วไปทำให้เกิดอาการมดลูกอักเสบได้ เชื้อโรคทั่วไปนั้นมักปนเปื้อนอยู่กับอุจจาระ ระวังการทำความสะอาด โดยล้างจากด้านหน้าไปยังด้านหลัง เพื่อไม่ให้เชื้อโรคทางทวารหนักมาทำให้ชิ่งคลอดและมดลูกติดเชื้อ

6. ขมิบเพื่อบริหารอุ้มเชิงกรางอย่างสม่ำเสมอ
การขมิบคือ การเกร็งกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (เหมือนการกลั้นอุจจาระ ปัสสาวะ) วิธีการคือ ให้เกร็งค้างไว้ นับ 1 – 5 แล้วผ่อนคลาย อาจทำต่อเนื่องกันหรือแบ่งเป็นครั้งละ 20 – 30 ชุดก็ได้ จะทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานแข็งแรง และมดลูกไม่ต่ำ

7. ไม่ยกของหนัก
การยกของหนักทำให้มดลูกต่ำ กระเพราะปัสสาวะกระทบกระเทือน หากจำเป็นต้องยกของหนักควรปัสสาวะก่อน

8. ไม่กินสมุนไพร ยาสตรี หรืออาหารเสริมที่มีฮอร์โมนเพศหญิงเป็นประจำ โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์
เนื่องจากมดลูกเป็นอวัยวะภายในสตรีที่ไวต่อฮอร์โมนมาก การกินฮอร์โมนเพศหญิง จึงเป็นการเพิ่มการอักเสบของมดลูก ทำให้มดลูกโต เนื้องอก มดลูกขยายขนาด และเกิดโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งล้วนเป็นสาเหตุของมดลูกไม่ดี อาจทำให้ไม่สามารถมีลูกได้ และอาจต้องตัดมดลูก

มดลูก, มดลูกแข็งแรง, สุขภาพ, สุขภาพผู้หญิง, เคล็ดลับมีบุตร, เคล็ดลับสุขภาพ

9. ตรวจร่างกายเป็นประจำ
แม้ว่าเราจะแข็งแรง ก็ควรตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำ เพื่อค้นหาโรคในระยะเริ่มแรก โรคภัยไข้เจ็บมีผลต่อมดลูกไม่มากก็น้อย เช่น โรคเบาหวาน อาจทำให้มดลูกอักเสบ ติดเชื้อ เป็นเชื้อรา และโรคเรื้อรังอื่นๆ อย่างความดันโลหิดสูง โรคไทรอยด์ โรคตับ โรคไต อาจทำให้มีการตกเลือด ประจำเดือนมามากหรือกะปริบกะปรอย

10. ตรวจภายในเป็นประจำตามกำหนดและตรวจทุกครั้งที่พบความผิดปกติ
ความผิดปกติที่ว่าได้แก่ ตกขาวผิดปกติ (มามาก มีสี มีกลิ่น) มีเลือดออกผิดปกติ (กะปริบกะปรอย ประจำเดือนมามาก มานาน) ปวดท้องน้อย ปวดประจำเดือน เป็นต้น การตรวจภายในสามารถตรวจวินิจฉัยและรักษาการอักเสบ ติดเชื้อในช่องคลอด ปากมดลูก จนทำให้มดลูกไม่ดีได้ ทั้งยังสามารถตรวจวินิจฉัยและรักษาอาการผิดปกติของมดลูกได้แต่เนิ่นๆ เช่น เนื้องอกธรรมดาของโพรงมดลูก เนื้องอกธรรมดาของมดลูก และเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ก่อนลงเอยด้วยการตัดมดลูก


อัพเดทล่าสุด