อย่าทิ้ง! ขอบขนมปังมีประโยชน์กว่าที่คิด


1,435 ผู้ชม

หากพูดถึงขอบขนมปัง เชื่อแน่ว่าคุณผู้อ่าน ๆ หลาย ๆ ท่าน คงชอบตัด หรือเลือกรับประทานขนมปังที่ไม่มีขอบมากกว่า


หากพูดถึงขอบขนมปัง เชื่อแน่ว่าคุณผู้อ่าน ๆ หลาย ๆ ท่าน คงชอบตัด หรือเลือกรับประทานขนมปังที่ไม่มีขอบมากกว่า

หลายท่านที่เป็นเช่นนี้ หากไปถามว่าทำไมต้องตัดหรือดึงขอบออกก่อนด้วย ก็มักจะได้คำตอบว่า ขอบขนมปังหรือบริเวณที่ถูกอบจนเป็นสีน้ำตาลเข้มนั้น เป็นส่วนที่ไม่มีรสชาติ ฝืดคอ เหนียว เคี้ยวยากและอีกสารพัดเหตุผล แฮ่ ๆ .. แต่ทราบมั้ยว่าขอบขนมปังที่เราทิ้งไป หรือเก็บไว้ไปโยนให้ปลาในเขาดินกินนั้น เป็นส่วนที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย มากกว่าที่เราคาดคิด

ดร.โทมัส ฮอฟมานน์ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมุนสเตอร์ประเทศเยอรมนี พบว่าขอบขนมปังที่บางคนเมินนั้น เป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระอันอุดมสมบูรณ์มากกว่าส่วนอื่น ๆ ของขนมปัง จริง ๆ แล้วก่อนหน้านี้ก็เคยมีงานวิจัยที่สรุปผลออกมาว่า ขนมปังเป็นแหล่งของส่วนประกอบบางตัวที่มีคุณสมบัติต้านมะเร็ง แต่งานชิ้นเก่า ๆ จะให้เครดิตไปที่กากใยอาหารหรือไฟเบอร์ซะมากกว่า ส่วนงานวิจัยของ ดร.โทมัส นี้ได้ระบุถึงสารต้านมะเร็งตัวใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครคาดถึงมาก่อน

อย่าทิ้ง! ขอบขนมปังมีประโยชน์กว่าที่คิด

หัวหน้าทีมวิจัยได้ตรวจสอบขอบขนมปัง เนื้อขนมปัง และแป้งธรรมดา พบว่าขอบขนมปังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่เรียกว่า โพรนิลไลซีน (pronyl-lysine) มากกว่าในส่วนเป็นขนมปังสีขาวถึง 8 เท่า ส่วนแป้งธรรมดานั้นกลับไม่มีเอาเสียเลย หมายความว่าสารต้านอนุมูลอิสระที่ว่านี้ จะเกิดขึ้นต่อเมื่อขนมปัง ได้ผ่านกระบวนการอบมาเรียบร้อยแล้วเท่านั้น

สารโพรนิลไลซีนนี้เกิดขึ้นมาจาก ปฏิกิริยาของกรดอะมิโนแอล-ไลซีน แป้ง และน้ำตาลในขั้นตอนการอบ ปฏิกิริยานี้เรียกว่า ปฏิกิริยามิลลาร์ด (Maliiard reaction) ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดสีน้ำตาล บนผิวหน้าของขนมปังที่ผ่านการอบแล้ว นอกจากนั้น กระบวนการนี้ยังเป็นตัวสร้างสาร ให้กลิ่นรสชาติให้กับขนมปัง รวมทั้งสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่น ๆ อีกด้วย กระบวนการนี้สามารถเกิดได้ ทั้งในขนมปังที่ใช้ยีสต์และไม่ใช้ยีสต์ งานวิจัยยังบอกด้วยว่าขนมปังที่มีสีน้ำตาลเข้มเช่น ขนมปังโฮลวีท จะมีสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าขนมปังสีขาว นอกจากนี้สารต้านอนุมูลอิสระจะยิ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้น หากก้อนขนมปังที่เข้าเตาอบมีขนาดเล็ก เพราะชิ้นขนมปังเล็ก ๆ นั้นจะมีพื้นผิวที่มากขึ้นในการเกิดปฏิกิริยาในกระบวนการนี้ หากเทียบกับขนมปังที่เป็นก้อนใหญ่ ๆ หรือเป็นปอนด์ แต่ ดร.โทมัสแกก็เตือนเอาไว้ว่า ถ้าหากพยายามอบขนมปังให้เป็นสีน้ำตาลจนเกรียมมากไป สารเคมีที่มีประโยชน์ก็จะอันตรธานไปได้ง่าย ๆ เหมือนกัน

 

อัพเดทล่าสุด