การตรวจระหว่างตั้งครรภ์, การตรวจเนื้อเยื่อรก, การเจาะเลือดจากสายสะดือ, การตรวจเลือด, การวัดความหนาของผิวหนังต้นคอทารก, การตรวจการเต้นของหัวใจทารก, การตรวจปัสสาว, วิกิตั้งครรภ์, สารานุกรมการตั้งครรภ์,


1,301 ผู้ชม


6 เรื่องสำคัญที่ต้องตรวจระหว่างตั้งครรภ์

  • การตรวจเนื้อเยื่อรก
  • การเจาะเลือดจากสายสะดือ
  • การตรวจเลือด (Serum Screening)
  • การตรวจวัดความหนาของผิวหนังบริเวณต้นคอทารก (Nuchal Translucency)
  • การตรวจการเต้นของหัวใจทารก (Non-stress Test)
  • การตรวจปัสสาวะ


การตรวจระหว่างตั้งครรภ์

การตรวจเนื้อเยื่อรก
การตรวจเนื้อเยื่อรกเป็นการนำเนื้อเยื่อรกมาตรวจ ซึ่งทำได้ตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ 2-3 เดือนแรก เนื่องจากทารกและรกมีกำเนิดมาจากเซลล์กลุ่มเดียวกัน ในระยะแรกๆ ของการแบ่งตัวโครโมโซมของรกและทารกจึงเหมือนกันทุกประการ การนำเนื้อเยื่อของรกมาตรวจจะสามารถบอกถึงความผิดปกติของโครโมโซมในตัวทารกได้
คุณหมอเก็บเนื้อเยื่อรกอย่างไร
การเจาะเก็บเนื้อเยื่อรกคุณหมอจะทำเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ 10-12 สัปดาห์ เพราะเป็นช่วงที่ถุงน้ำคร่ำยังโตไม่เต็มโพรงมดลูก แต่คุณแม่บางคนอาจตัดสินใจตรวจเนื้อเยื่อรกในช่วงอายุครรภ์ที่มากกว่า คือประมาณ 13-14 สัปดาห์
การเก็บเนื้อเยื่อรก ทำได้ 2 วิธี
1. เจาะตรวจทางช่องคลอด การเจาะตรวจทางช่องคลอด คุณแม่จะต้องนอนบนเตียงคนไข้เหมือนกับการตรวจภายใน คุณหมอจะใช้เครื่องมือสอดผ่านปากมดลูกเข้าไปให้อยู่ที่ขอบรก แล้วตัดเอาเนื้อเยื่อรกมาตรวจ


2. เจาะตรวจทางหน้าท้อง การเจาะตรวจทางหน้าจะคล้ายกับวิธีการเจาะตรวจน้ำคร่ำ
การตรวจเก็บเนื้อเยื่อรก คุณแม่มีโอกาสแท้งประมาณ 2% ซึ่งสูงกว่าวิธีการเจาะตรวจน้ำคร่ำ โดยทั่วไปคุณแม่ที่ตัดสินใจจะตรวจวิธีพิเศษจึงมักจะรอให้อายุครรภ์มากขึ้น เพื่อจะได้เจาะตรวจน้ำคร่ำแทนการตรวจเนื้อเยื่อรก
ทำไมต้องตรวจเนื้อเยื่อรก
คุณแม่ที่จำเป็นต้องตรวจด้วยวิธีนี้ก็คือ คุณแม่ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการมีลูกปัญญาอ่อน หรือรายที่เสี่ยงต่อโรคเม็ดเลือดแดงผิดปกติ โรคเลือดทาลัสซีเมีย หรือรายที่เสี่ยงต่อความผิดปกติทางเอนไซม์


การเจาะเลือดจากสายสะดือ

 การเจาะเลือดทางสายสะดือ คือ การเจาะเอาเลือดจากทารกโดยตรงออกมาเพื่อวินิจฉัยความผิดปกติของทารก คุณหมอจะตรวจด้วยวิธีนี้กับคุณแม่ที่ทารกในครรภ์มีภาวะซีดและโลหิตจาง รวมทั้งการถ่ายเลือดให้ทารกผ่านทางสายสะดือ
คุณหมอเจาะเลือดจากสายสะดือได้อย่างไร

        • คุณหมอจะตรวจดูทารกในครรภ์ ตำแหน่งของรกและสายสะดือด้วยอัลตราซาวนด์
        • จากนั้นก็จะฉีดยาชาบริเวณที่จะเจาะ
        • คุณหมอจะใช้เข็มขนาดยาวเจาะผ่านท้องและมดลูกเข้าไปภายในถุงน้ำคร่ำ แล้วเล็งปลายเข็มเจาะเข้าไปในเส้นสายสะดือ
        • ดูดเลือดออกมาประมาณ 3 ซี.ซี. เพื่อนำไปตรวจ
        • คุณแม่มีโอกาสเสี่ยงต่อการแท้งประมาณ 1-2%

ทำไมต้องเจาะเลือดจากสายสะดือทารก

        • เมื่อสงสัยว่าลูกจะมีภาวะซีดจากการไม่เข้ากันของกลุ่มเลือดแม่และเลือดลูก เช่น คุณแม่ที่มีกลุ่มเลือด Rh- และลูกมีกลุ่มเลือด Rh+ ซึ่งทำให้เกิดการทำลายของเม็ดเลือดแดงจนเกิดภาวะซีดในลูกได้
        • การตรวจเลือดลูกทำให้ทราบถึงความรุนแรงของโรคและสามารถรักษาด้วยการให้เลือดกับลูกโดยตรง ซึ่งใช้วิธีเดียวกันกับการเจาะตรวจเลือด
        • คุณแม่มีความเสี่ยงสูงที่จะได้ลูกที่มีความผิดปกติทางโคโมโซม การตรวจเม็ดเลือดขาวจากทารกในครรภ์โดยตรงจะทราบผลรวดเร็วภายใน 2-3 วัน เพราะไม่ต้องไปเพาะเลี้ยงเซลล์อีก
        • กรณีที่สงสัยว่าลูกจะมีการติดเชื้อจากคุณแม่ระหว่างตั้งครรภ์ จากหัดเยอรมันหรือเชื้อในกลุ่มเริม การตรวจหาสารโปรตีนบางชนิดในเลือดของทารกในครรภ์ก็สามารถรู้ได้ว่าทารกติดเชื้อหรือไม่


การตรวจเลือด (Serum Screening)

 การตรวจเลือดในระหว่างตั้งครรภ์เป็นการตรวจคัดกรองหาระดับฮอร์โมนเอชซีจี (HCG) แอลฟา-ฟีโต โปรตีน (AFP) และเอสไตรรออล (Estriol) ระดับฮอร์โมนทั้ง 3 ตัวนี้ เมื่อนำผลที่ได้มาร่วมพิจารณากับอายุของคุณแม่และอายุครรภ์จะสามารถบอกได้ว่า คุณแม่มีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ทารกที่มีความผิดปกติของฮอร์โมนเพียงใด
อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลของรัฐหลายแห่งยังไม่สามารถตรวจคัดกรองหาระดับฮอร์โมนเหล่านี้ในตัวคุณแม่ทุกคนที่มีความเสี่ยงสูงได้ทุกคน เนื่องจากเป็นการตรวจที่ต้องใช้จ่ายสูงมากเมื่อเทียบกับการตรวจด้วยวิธีอื่น
ส่วนข้อเสียก็คือไม่สามารถให้ผลได้แน่นอน เพราะเป็นการตรวจคัดกรอง (Screening) เท่านั้น คุณแม่จำเป็นต้องตรวจด้วยวิธีพิเศษอื่นตามความเหมาะสมอีกครั้ง ความนิยมในการตรวจคัดกรองเลือดจึงลดน้อยลงไป
ถ้าคุณหมอพบว่าคุณแม่มีความเสี่ยงสูงก็จะแนะนำให้คุณแม่ตรวจพิเศษโดยวิธีตรวจน้ำคร่ำ เนื้อเยื่อรก หรือเลือดของทารก


การตรวจระหว่างตั้งครรภ์

การตรวจวัดความหนาของผิวหนังบริเวณต้นคอทารก (Nuchal Translucency)

 คุณหมอจะตรวจเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ประมาณ 4-5 สัปดาห์ โดยการใช้อัลตราซาวนด์วัดความหนาของผิวหนังบริเวณต้อคอทารก โดยทั่วไปจะมีความหนาไม่เกิน 3 มิลลิเมตร แต่ถ้าหนาเกิน 3 มิลลิเมตร จะบ่งบอกได้ว่าคุณแม่มีความเสี่ยงต่อกาตั้งครรภ์ทารกที่มีความผิดปกติทางโคโมโซม


ถ้าคุณแม่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป โอกาสเสี่ยงต่อการมีทารกที่ผิดปกติก็จะสูงยิ่งขึ้น คุณหมอจึงมักแนะนำให้คุณแม่ตรวจพิเศษโดยวิธีการเจาะน้ำคร่ำหรือเนื้อเยื่อรก เพื่อให้ได้ผลแน่นอนต่อไป

การตรวจการเต้นของหัวใจทารก (Non-stress Test)

 การตรวจการเต้นของหัวใจทารก คือ การตรวจติดตามการเต้นของหัวใจทารก ทารกที่มีการเจริญเติบโตดีเป็นปกติ ได้รับออกซิเจนเพียงพอตลอดการตั้งครรภ์ จะมีการตอบสนองที่ดีเมื่อได้รับการกระตุ้น คุณแม่จะรู้ได้ว่าหัวใจทารกเต้นได้ดีเพียงใด จะต้องติดเครื่องตรวจทางหน้าท้อง เพื่อฟังการเต้นของหัวใจทารก ในขณะที่ทารกดิ้น หัวใจจะเต้นเร็วขึ้นประมาณ 15 นาทีต่อครั้ง นานติดต่อกัน 15 วินาที


เมื่อมดลูกหดตัวในระหว่างเจ็บครรภ์ ทารกจะอยู่ในภาวะบีบคั้นจากการขาดออกซิเจน หากทารกแข็งแรง หัวใจจะยิ่งเต้นเร็วขึ้น เป็นการปรับตัวของร่างกาย เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายดีขึ้น


แต่ถ้าการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ช้าลง แสดงว่าทารกเริ่มมีสุขภาพไม่ดี มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในครรภ์สูง คุณหมอจะให้ตรวจพิเศษเพิ่มอีก และอาจพิจารณาให้คุณแม่ยุติการตั้งครรภ์


การตรวจปัสสาวะ

 ตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ 9 เดือน คุณแม่จะพบว่ามีการตรวจปัสสาวะตั้งแต่ช่วงเริ่มตั้งครรภ์และทุกครั้งที่พบคุณหมอตลอดช่วงเวลาที่ตั้งครรภ์
ตรวจปัสสาวะบอกอะไรได้บ้าง

        • บอกถึงภาวะการตั้งครรภ์ ปัสสาวะของผู้หญิงตั้งครรภ์จะมีปริมาณฮอร์โมน HCG สูงมาก เพราะฮอร์โมนนี้จะถูกสร้างขึ้นเพื่อฟูมฟักตัวอ่อนให้เติบโต ดังนั้น เมื่อตรวจปัสสาวะจะบอกผลการตั้งครรภ์ได้แม่นยำมาก
        • ตรวจหาน้ำตาลในปัสสาวะ ถ้าพบว่าปริมาณน้ำตาลในปัสสาวะสูงมาก อาจแสดงว่ามีภาวะของโรคเบาหวาน อย่างไรก็ตาม การตรวจปัสสาวะหลังกินอาหารอิ่มใหม่ๆ จะไม่สามารถบอกผลการตรวจที่แน่นอนได้ ต้องตรวจใหม่อีกครั้ง
        • ตรวจโปรตีนไข่ขาว เพื่อดูว่ามีภาวะครรภ์เป็นพิษ หรือเป็นเพราะระบบกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

อัพเดทล่าสุด