ลมบ้าหมู ลมชักในเด็ก... เกิดได้ยังไง!!!


1,266 ผู้ชม

โรคลมชัก หรือโรคลมบ้าหมู (Epilepsy, Grand mal) เกิดจากเซลล์สมองบางส่วนทำงานผิดปกติ ทั้งจากกรรมพันธุ์ หรืออาการบาดเจ็บทางสมองระหว่างคลอด



โรคลมชัก หรือโรคลมบ้าหมู (Epilepsy, Grand mal) เกิดจากเซลล์สมองบางส่วนทำงานผิดปกติ ทั้งจากกรรมพันธุ์ หรืออาการบาดเจ็บทางสมองระหว่างคลอด บางรายเคยมีประวัติชักจากไข้สูงในช่วงวัยเด็กก่อนอายุ 2 ขวบ หรือโรคบางอย่างที่มีผลกระทบต่อสมอง เช่น ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และในบางรายที่มีอาการชักครั้งแรกเมื่ออายุมากกว่า 25 ปี ส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติในสมอง เช่น มีเนื้องอก ก้อนเลือด ฝีหรือพยาธิในสมอง หรือเคยมีประวัติได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ ทั้งนี้ผู้ป่วยโรคลมชักพบได้ประมาณร้อยละ 0.5-1 ของประชากรทั่วไป


อาการ
อาการที่ชัดเจน ผู้ป่วยจะมีอาการหมดสติ กล้ามเนื้อเกร็ง หายใจลำบาก หน้าเขียว กล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายจะกระตุกเป็นระยะ ตาค้าง ตาเหลือก น้ำลายฟูมปากและมีเลือดออก เนื่องจากผู้ป่วยกัดริมฝีปากหรือลิ้นตัวเอง ปัสสาวะหรืออุจจาระราด โดยอาการชักจะเป็นอยู่นาน 1-3 นาที แต่ในบางรายอาจนานถึงครึ่งชัวโมง เมื่อฟื้นจะรู้สึกมึนงง อ่อนเพลีย จำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ แต่บางรายอาจชักซ้ำๆ ติดกันนานเป็นชั่วโมงและมีไข้สูง เรียกว่า สเตตัสเอพิเล็ปติคัส (Status epilepticus) ซึ่งเป็นอันตรายถึงเสียชีวิตได้


สาเหตุ
สาเหตุที่กระตุ้นเกิดจากพักผ่อนไม่เพียงพอทานอาหารมากหรืออดอาหารทำงานเหนื่อยเกินไปเครียดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอร์ทานยากระตุ้นประสาทท้องผูกมีประจำเดือนมีไข้สูงอยู่ในที่ๆ มีเสียงอึกทึก หรือมีแสงจ้า หรือแสงวอบแวบการหายใจเข้าออกเร็ว ๆ เป็นต้น


โดยจะมีสัญญาณเตือนล่วงหน้าหลายชั่วโมง หรือ2-3วัน เช่น หงุดหงิด เครียด ซึมเศร้าเวียนศรีษะกล้ามเนื้อกระตุก เป็นต้น และก่อนหมดสติเพียงไม่กี่วินาที ผู้ป่วยมักจะมีอาการเตือนหรือออรา(aura)เช่น ได้กลิ่นหรือรสแปลก ๆหูแว่วเสียงคนพูดเห็นภาพหลอนเวียนศีรษะมีอาการชาตามร่างกายตากระตุกแขนกระตุกแน่นหน้าอก หรือไม่สบายท้อง เป็นต้น


การตรวจวินิจฉัย
การวินิจฉัยแพทย์มักจะส่งตรวจพิเศษเพื่อการวินิจฉัยที่แน่ชัด เช่น การตรวจคลื่นสมอง หรืออีอีจี(electroencephalogramหรือEEG)การเจาะหลัง(lumbar puncture)การถ่ายภาพสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(MRI)หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น


การดูแลรักษา
การดูแลตนเองผู้ป่วยควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการกระทำและสิ่งแวดล้อมที่เสี่ยงอันตราย เช่น ว่ายน้ำ ปีนขึ้นที่สูง อยู่ใกล้ไฟ ใกล้น้ำ ทำงานกับเครื่องจักร ขับรถ ขับเรือ เดินข้ามถนนตามลำพัง เป็นต้นในบางประเทศจะอนุญาตให้ผู้ป่วยมีใบขับขี่ได้ เมื่อปลอดจากอาการชักแล้วอย่างน้อย 1 ปี

อัพเดทล่าสุด