ยาสลบ, ฉีดยาชา, ถอนฟัน, ถอนฟันคุด, ผ่าฟันคุด, ฟันคุด, ทันตกรรม, ทำฟัน, ฟัน, ยา


1,445 ผู้ชม


เมื่อต้อง ผ่าฟันคุด ทำไมไม่ใช้ยาสลบ

หลายๆคนคงเคยมีประสบการณ์การ ผ่าฟันคุด หรือบางคนที่ยังไม่ได้ผ่าแต่มักจะได้ยินเรื่องเล่าจากเพื่อนๆมาไม่น้อยว่าการ ผ่าฟันคุด มันช่างเจ็บปวดทรมานเหลือเกิน เลือดไหลเยอะ น่ากลัว ผ่าเสร็จแล้วก็กินอะไรไม่ค่อยได้ กว่าจะหายก็นาน ทำให้บางคนไม่กล้าไปตรวจและ ผ่าฟันคุด หรือบางคนก็อยากให้คุณหมอวางยาสลบจะได้ไม่ต้องรู้สึกอะไร แต่การวางยาสลบนั้น คุณหมอจะไม่ค่อยทำให้ เหตุผลเพราะอะไร ไปดูกันเลยค่ะ

ยาสลบ, ฉีดยาชา, ถอนฟัน, ถอนฟันคุด, ผ่าฟันคุด, ฟันคุด, ทันตกรรม, ทำฟัน, ฟัน, ยา

ถาม : คุณหมอคะ หนูมีฟันคุด แต่กลัวฉีดยาชา ขอดมยาสลบเลยได้ไหมคะ ?

ตอบ : ได้ครับแต่โดยทั่วไปการ ผ่าฟันคุด ก็ไม่จำเป็นต้องผ่าพร้อมกันทุกซี่ สามารถทยอยผ่าออกทีละ 1 หรือ 2 ซี่ โดยใช้ยาชาเฉพาะที่ก็สามารถทำได้แล้ว ความเสี่ยงก็น้อยกว่าการดมยาสลบ แต่สำหรับการดมยาสลบ ทันตแพทย์จะพิจารณาจากตัวผู้ป่วยเป็นสำคัญ อาทิ ผู้ป่วยแพ้ยาชาเฉพาะที่ ผู้ป่วยเด็กหรือบุคคลปัญญาอ่อนที่ไม่ให้ความร่วมมือในการผ่าตัด ผู้ป่วยที่ไม่สามารถฉีดยาชาเฉพาะที่แล้วระงับความรู้สึกได้อย่างสมบูรณ์ ผู้ป่วยที่กลัว วิตกกังวล จนไม่สามารถทนต่อการผ่าตัดได้ และผู้ป่วยอัมพาต ที่ไม่รู้สึกตัวหรือไม่ตอบสนองต่อความรู้สึก นอกจากนี้ยังรวมถึงผู้ป่วยที่มีฟันคุดหลายซี่ การผ่าตัดฟันคุดไม่ได้เจ็บหรือน่ากลัวอย่างที่คิด แต่การปล่อยให้มีฟันคุดแล้วเกิดอาการปวดนี่สิน่ากลัวกว่า ฉะนั้นเมื่อทราบว่ามีฟันคุด หรือ อายุอยู่ในช่วง 18 – 25 ปี ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจและเอกซเรย์ จะได้ทราบว่ามีฟันคุดอยู่ทั้งหมดกี่ซี่ หลังจากนั้นก็ทยอยผ่าตัดเอาฟันคุดออกให้เสร็จภายใน 6 เดือน เพื่อป้องกันอาการปวดหรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆที่จะเกิดขึ้นจากฟันคุด ที่สำคัญ แม้การใช้ยาสลบร่วมกับการผ่าตัดจะมีข้อดี เพราะสามารถทำได้ภายในครั้งเดียวโดยที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว แต่ก็ต้องคำนึงถึงความเสี่ยงของการดมยาสลบด้วย โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคทางสมอง และอื่นๆ ซึ่งเสี่ยงต่อการดมยาสลบ ดังนั้น ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ทันตแพทย์จะไม่ใช้ยาสลบเพื่อระงับความรู้สึกเป็นทางเลือกแรกในผู้ป่วยที่ ต้องผ่าตัดฟันคุดครับ

ฟันคุด คือ ฟันที่ไม่สามารถโผล่พ้นเหงือกขึ้นมาในช่องปากได้ตามปกติ อาจจะฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรทั้งซี่ หรือโผล่ขึ้นมาเพียงบางส่วน จะเป็นฟันซี่ใดก็ได้ในช่องปาก แต่ที่พบมาก คือ ฟันกรามล่างซี่สุดท้าย การรักษา คือ การผ่าตัดเอาฟันคุด

ขอบคุณที่มาจาก : ทพ.นิวัฒน์ พันธ์ไพศาล
งานทันตกรรม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล


อัพเดทล่าสุด