วางคีย์บอร์ด, วางเมาส์, ตำแหน่งการจัดวางแป้นพิมพ์, ตำแหน่งการจัดวางเมาส์, คอมพิวเตอร์, คีย์บอร์ด, นั่งหน้าคอมพิวเตอร์, ปวดข้อมือ, ปวดคอ, ปวดหลัง, เมาส์, แป้นพิมพ์


1,710 ผู้ชม


วางคีย์บอร์ด และ เมาส์ อย่างไรให้เหมาะสม

นอกจากการจัดวางจอคอมพิวเตอร์ เอกสารที่พิมพ์ โต๊ะ และเก้าอี้ให้เหมาะสม ยังมีความจำเป็นอย่างที่ต้องจัดวางแป้นพิมพ์และ เมาส์ ให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องเหมาะสมกับอุปกรณ์งานที่ทำ ตลอดจนตัวผู้ใช้เองเพราะการจัดวางที่ไม่เหมาะสมทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง หรือเกิดการบาดเจ็บของส่วนต่างๆ ของร่างกาย ได้ เช่น เส้นประสาทและเอ็นรอบอุโมงค์ข้อมืออักเสบ เอ็นข้อศอกอักเสบ กล้ามเนื้อ บ่าและไหล่อักเสบ

ตำแหน่งในการจัดวางแป้นพิมพ์และ เมาส์

การจัดวางที่เหมาะสมมีหลักการดังนี้

วางคีย์บอร์ด, วางเมาส์, ตำแหน่งการจัดวางแป้นพิมพ์, ตำแหน่งการจัดวางเมาส์, คอมพิวเตอร์, คีย์บอร์ด, นั่งหน้าคอมพิวเตอร์, ปวดข้อมือ, ปวดคอ, ปวดหลัง, เมาส์, แป้นพิมพ์

1. ความสูงของที่วางแป้นพิมพ์และ เมาส์ ควรอยู่ ที่ระดับพอดีกับมือเมื่องอศอก 90 องศา หรือสูงกว่าเล็กน้อย(โดยที่เมื่อวางมือแล้วไม่มีแรงกดระหว่างข้อมือ และแป้นพิมพ์ หรือขอบโต๊ะ) โดยที่แขนส่วนบนไม่เหยียด ออก (วางตามแนวลำตัว) แขนส่วนล่างขนานกับพื้น ไหล่ไม่เกร็งและไม่ยกข้อมือไม่งอหรือกระดก แป้นพิมพ์และ เมาส์ ที่ต่ำเกินอาจทำให้ต้องก้มคอมากเพื่อมองแป้นพิมพ์ ส่วนแป้นพิมพ์และ เมาส์ ที่สูง อาจทำให้ไหล่ต้องยกกล้ามเนื้อไหล่เกร็งตัว และข้อมือมีแนวโน้มกดทับกับแป้นพิมพ์หรือโต๊ะได้

2. หากมีโต๊ะและเก้าอี้อยู่แล้ว ความสูงของแป้นพิมพ์และ เมาส์ ที่ควรเป็นคือระดับตามความสูงของโต๊ะที่มีอยู่เพราะโต๊ะส่วนมากไม่สามารถปรับความสูงได้ ดังนั้นอาจจำเป็นต้องจัดความสูงเก้าอี้ เพื่อให้มืออยู่ในระดับที่เหมาะสมตามข้อ 1 ดังนั้นเมื่อปรับเก้าอี้อาจจำเป็นต้องมีที่พักเท้าเพื่อไม่ให้ขาห้อย จนทำให้มีการกดทับหลอดเลือดใต้ต่อเข่า แต่ถ้านั่งแล้วเข่าชันแสดงว่า โต๊ะอาจเตี้ยไป จำเป็นต้องหนุนโต๊ะให้สูงขึ้น

3. แป้นพิมพ์ต้องวางตรงด้านหน้า วางใกล้กับลำตัวผู้ใช้ให้มากที่สุด และต้องไม่ห่างไปจากแนวกลางไปทางด้านข้างมากนัก เพราะจะมีผลต่อการวางมือ และทำให้ต้องเอื้อม แขนต้องเหยียดยื่นออก ไหล่ก็จะเกร็งตัวมากขึ้น หรือผู้ใช้อาจใช้วิธีโน้มตัวไปข้างหน้าเพื่อให้ตัวเข้าใกล้แป้นพิมพ์และ เมาส์ มากขึ้น ซึ่งส่งผลคือกล้ามเนื้อหลังและคอทำงานมากขึ้น และแรงกดต่อหมอนรองกระดูกสันหลังมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยง สำหรับโรคปวดหลัง

4. ตำแหน่งของแป้นพิมพ์และ เมาส์ ควรอยู่ในระดับเดียวกัน บางกรณี โต๊ะคอมพิวเตอร์มีลิ้นชักสำหรับวางแป้นพิมพ์ แต่ไม่มีพื้นที่เพียงพอสำหรับวาง เมาส์ ผลคือเมาส์ต้องถูกนำมาวางไว้บนโต๊ะ ทำให้เวลาทำงานต้องมีการยกแขนขึ้นลงสลับกันตลอดเวลา เมื่อมีการใช้งานสลับกันระหว่างแป้นพิมพ์และ เมาส์

5. เมื่อตำแหน่งแป้นพิมพ์และ เมาส์ พอเหมาะแล้ว ให้สังเกตว่า ศอกได้รับการพยุงจากที่พักแขนของเก้าอี้หรือไม่ หากมีการพยุงที่ดีจะส่งผลให้กล้ามเนื้อ บ่าและไหล่ทำงานลดลง ทำให้กล้ามเนื้อดังกล่าวไม่เมื่อยล้าหรือเมื่อยน้อยลง อย่างไรก็ตามเมื่อมีการจัดวางที่ดีแล้ว อาจเป็นไปได้ว่าผู้ใช้บางท่านอาจยังคงมีอาการปวดเมื่อยที่บ่า ทั้งนี้ให้ลองสังเกตว่า ตนเองเป็นผู้ที่เคร่งเครียดกับงานจนทำให้เกิดการเกร็งตัวของไหล่ และการโน้มตัวไปข้างหน้าหรือไม่ โดยสังเกตว่าไหล่ของท่านยกและลอยตัวจากที่พักแขนหรือไม่ พนักพิงยังคงติดอยู่กับหลังของท่านหรือไม่ (กรณีของพนักพิงที่เอียงไปด้านหลังมาก จะเหมาะ สำหรับให้เอนหลังพักหลังเมื่อทำงานไปสักระยะหนึ่ง จึงเป็นไปได้ว่าหลังจะไม่ติดอยู่กับพนักพิงตลอดเวลา หากเป็นเช่นนั้น ให้ดูว่าหลังโค้งและโน้มไปด้านหน้าหรือไม่

ลักษณะการวางมือที่ถูกต้อง เมื่อใช้แป้นพิมพ์หรือ เมาส์


วางคีย์บอร์ด, วางเมาส์, ตำแหน่งการจัดวางแป้นพิมพ์, ตำแหน่งการจัดวางเมาส์, คอมพิวเตอร์, คีย์บอร์ด, นั่งหน้าคอมพิวเตอร์, ปวดข้อมือ, ปวดคอ, ปวดหลัง, เมาส์, แป้นพิมพ์

ถึงแม้จะมีการจัดวางแป้นพิมพ์ที่ดีก็ตาม หากวางมือและใช้งานไม่ถูกต้อง ก็อาจทำให้เกิดปัญหาต่อข้อมือได้ ลักษณะการวางมือที่ดีสังเกตโดย ข้อมือต้องไม่กระดกขึ้นหรืองอลง นั้นคือข้อมือ ควรอยู่ในแนวตรง โดยให้ลองสังเกตว่า ถ้าวางแขนราบคว่ำไปบนโต๊ะ ข้อมือจะกระดกขึ้นเล็กน้อย และปลายนิ้ว ทั้ง 5 นิ้วจะวางบนโต๊ะด้วย ซึ่งมุมข้อมือนั้นคือมุมปกติของข้อมือที่ควรจะเป็นเมื่อมีการใช้งานกับแป้นพิมพ์และ เมาส์ สำหรับแป้นพิมพ์บางแป้นจะมีขาหนุนด้านหลังให้สูงขึ้น การหนุนให้แป้นสูงขึ้นนั้นไม่มีความจำเป็น ยกเว้นกรณีที่ปรับให้แป้นพิมพ์วางอยู่สูงกว่าข้อศอกมากๆ ทำให้การเอียงตัวของแป้นอยู่ในแนวระนาบของข้อมือพอดี

ขณะเดียวกันข้อมือต้องไม่เอียงออกด้านข้าง หรือเอียงเข้าด้านใน มือที่เอียงไปถือว่าเป็นมุมที่ไม่ปกติ
อาจทำให้เอ็นข้อมือข้างใดข้างหนึ่งยืดมากกว่าเป็นเวลานาน ทำให้เกิดเอ็นอักเสบได้ หลีกเลี่ยงการวางพักข้อมือ ในขณะทำงานด้วย การวางข้อมือบนขอบหรือพื้นโต๊ะที่แข็ง เพราะทำให้มีการกดทับที่ข้อมือซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาของข้อมือดังที่ได้กล่าวมา

การใช้ เมาส์ มีหลักการวางมือที่เหมือนกับการใช้แป้นพิมพ์ แตกต่างกันที่ เมาส์ ต้องการการขยับไปมาซึ่งการขยับนั้นอาจมาจากการขยับของข้อมือหรือแขนก็ได้ แต่เมื่อสิ้นสุดการเคลื่อนไหวหรือต้องค้างอยู่ท่าใดท่าหนึ่งนานๆ ท่านั้นควรเป็นท่าข้อมือไม่งอหรือเอียงมากเกินไป

วางคีย์บอร์ด, วางเมาส์, ตำแหน่งการจัดวางแป้นพิมพ์, ตำแหน่งการจัดวางเมาส์, คอมพิวเตอร์, คีย์บอร์ด, นั่งหน้าคอมพิวเตอร์, ปวดข้อมือ, ปวดคอ, ปวดหลัง, เมาส์, แป้นพิมพ์

การเลือกแป้นพิมพ์ เมาส์ และอุปกรณ์เสริมอื่นๆ

อุปกรณ์บางอย่างมีขนาดมาตรฐาน หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องใช้ตามแบบนั้นๆ เช่น แป้นพิมพ์ ขนาดของตัวกดอักษร แต่ที่เลือกได้ก็คือ ความฝืด ความยากง่ายในการกด อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้มีแป้นพิมพ์แบบใหม่ๆ ให้เห็นมากขึ้น เช่น แป้นที่มีการแยกออกเพื่อกันการเอียงตัวของข้อมือ แป้นพิมพ์ที่ยกเอียงตัวหงายออกด้านข้างเพื่อให้ข้อมือไม่คว่ำเป็นเวลานานๆ หรือแป้นที่มีแผ่นวัสดุนิ่มเพื่อรองรับข้อมือเพื่อกันการกดทับ สำหรับ เมาส์ มีแบบแปลกๆ ออกมาหลายแบบเช่นกัน ซึ่งลดภาระการขยับของข้อมือได้มาก เช่น เมาส์ที่มี trackball เพื่อเลื่อน cursor (ลูกศรในจอคอมพิวเตอร์) หรือเมาส์ที่มี scroll ติดอยู่ด้วย เพื่อเลื่อนหน้าเอกสารบนจอ นอกจากนั้นยังมีอุปกรณ์สำหรับการใช้เมาส์ นั่นคือแผ่นรองเมาส์ ซึ่งบางแบบอาจมียางนิ่มๆ มารองรับที่ข้อมือ แบบและอุปกรณ์ดังกล่าวนั้น ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่ดี หากสามารถซื้อหามาใช้ได้ก็จะช่วยลดปัญหาได้ อย่างไรก็ตามผู้เขียนอยากให้ข้อคิดว่า ในการเลือกอุปกรณ์ต่างๆ

สิ่งที่ต้องกระทำคือการได้ลองสัมผัส หรือลองใช้อุปกรณ์นั้นๆ ให้รู้สึกว่าเหมาะสมและถนัดมือ และอุปกรณ์นิ่มๆ ที่ช่วยรองข้อมือขณะที่พิมพ์หรือใช้เมาส์นั้น อาจไม่มีความจำเป็น หากสามารถใช้มือโดยที่ไม่วางบนพื้นโต๊ะได้ (เรียกได้ว่าอากาศนิ่มกว่าวัสดุใดๆ) แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ หรือเริ่มมีปัญหาของข้อมือแล้ว ผู้เขียนแนะนำว่า wrist support (ผ้ารัดข้อมือ) จะเป็นตัวที่ช่วยได้แต่ต้องเจาะรูบริเวณข้อมือให้เป็นช่องว่าง เพื่อไม่ให้บริเวณข้อมือที่มีเส้นประสาทและหลอดเลือดถูกกดกับโต๊ะหรือขอบของแป้นพิมพ์ นั่นคือใช้หลักการการกระจายแรงไปสู่บริเวณอื่นๆ ของข้อมือ

ขอบคุณที่มาจาก : นิตยสารหมอชาวบ้าน


อัพเดทล่าสุด