ความเจ็บร้อนภายในปากที่หากรับประทานอาหารรสจัดหรือเพียงแค่มีอุณหภูมิร้อนขึ้นมาสักหน่อยก็จะแผลงฤทธิ์ให้เจ็บปวดขึ้นมานั้น ส่วนใหญ่เราเรียกว่า “ ร้อนใน ”
ความเจ็บร้อนภายในปากที่หากรับประทานอาหารรสจัดหรือเพียงแค่มีอุณหภูมิร้อนขึ้นมาสักหน่อยก็จะแผลงฤทธิ์ให้เจ็บปวดขึ้นมานั้น ส่วนใหญ่เราเรียกว่า “ ร้อนใน ” คำนี้มีความหมายลึกซึ้งมากในทางสุขภาพเพราะสามารถบอกโรคภัยไข้เจ็บไปจนถึงเรื่องของจิตใจและอารมณ์ของบุคคลนั้นๆ ได้แถมยังเป็นมาตรวัดสุขภาพที่รู้ได้ด้วยตัวเองดังนั้นหากเกิดอาการ ร้อนใน ขึ้นมาจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรต้องทราบให้รู้แน่
ร้อนใน บอกอะไร
สาเหตุของแผล ร้อนใน ที่น่ารู้และดูแล้วพบบ่อยมีหลายเรื่องที่คาดไม่ถึงครับ ส่วนใหญ่เรามักคิดถึงสาเหตุจากการเหนื่อยล้าหรือนอนดึกเท่านั้น แต่ยังมีเหตุที่น่าสนใจอีกดังต่อไปนี้ครับ
- ติดเชื้อในช่องปาก ทั้งจากเชื้อแบคทีเรียและไวรัส หรือบางคนที่ภูมิไม่แข็งแรงอยู่แล้วอาจพ่วงเชื้อ “รา” เข้าไปด้วย มีอาการแผลกว้างและลึก มีน้ำเหลืองหรือหนองออกมาเปรอะ และที่แน่นอนคือ ต่อมน้ำเหลืองข้างคอต้องโตด้วยครับ นอกจากนั้นยังมีเชื้อแปลกบางชนิดที่ผลิตแผล ร้อนใน ได้ อาทิ เชื้อวัณโรคครับ
- มีสิ่งแปลกปลอมในปาก อาทิ ก้างปลา เหล็กดัดฟัน ฟันปลอมที่ไม่พอดีเหงือก เหล่านี้มีสิทธิ์เป็นผู้ร้ายทำอันตรายเยื่อเมือกอ่อนๆ (Oral Mucosa) ได้ หากมีสิ่งแปลกปลอมชั่วครั้งชั่วคราวอย่างเหล็กดัดฟัน พอเลิกใส่มันก็จะหายได้เอง แต่ถ้าเป็นของที่อยู่นานอย่างฟันปลอมก็อาจทำให้เป็นแผลเรื้อรังมีกลิ่นปากได้ครับ
- กินอาหารมันและหวานจัด การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยน้ำมันพืชจะมีกรด “โอเมก้า 6” สูง กระตุ้นการอักเสบในช่องปากได้ส่วนของหวานก็ทำให้เกิดการอักเสบและเรียกเชื้อแบคทีเรียมารุมกินโต๊ะด้วยได้ง่ายขึ้น
ที่ว่ามาคือสาเหตุที่มักพบบ่อยครับ ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่มักพ่วงมากับ ร้อนใน คือ “ต่อมน้ำเหลืองโต” ซึ่งเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ และเมื่อ ร้อนใน หายมันก็จะหายไปเช่นกัน เรื่องสำคัญอยู่ที่ต้องแก้ให้ถูกจุดเท่านั้นละครับ
ร้อนใน อาจเป็นได้มากกว่าที่คิด
การรู้จักสาเหตุของ ร้อนใน ให้ดีเป็นสิ่งที่จำเป็นครับ เพราะ ร้อนใน อาจเป็นสัญญาณที่บอกเป็นนัยถึงสิ่งไม่พึงปรารถนาอย่างการเป็น “มะเร็งในช่องปาก” นั้น จากการศึกษาพบว่า แผล ร้อนใน ไม่ใช่ความเสี่ยงหรือสาเหตุแน่ครับ แต่สำหรับผู้ที่เป็นแผลในปากก็อย่าเพิ่งวางใจว่าแผล ร้อนใน นั้นไร้พิษภัย ข้อนี้ฝากไว้ด้วยความเป็นห่วงจริงๆ ครับ เพราะสิ่งหนึ่งที่ต้องนึกถึงไว้เสมอคือแผลในช่องปากไม่ใช่แผล ร้อนใน อักเสบเสมอไป แต่อาจเป็น “แผลมะเร็ง” ได้ ดังนั้นจึงไม่ใช่ว่าเป็นกันบ่อยแล้วจะเห็นเป็นเรื่องธรรมดานะครับ ในกรณีของสาเหตุ ร้อนใน ที่พบได้ไม่บ่อยแต่ก็ไม่ควรประมาทมีอยู่สองอย่าง คือ
- มะเร็งในช่องปาก สังเกตได้ง่ายคือ ผู้ป่วยมักมีประวัติสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ และตัวแผลนั้นก็ดู “ดุ” กว่า ร้อนใน ทั่วไป เช่น แผลโตไว ดูขรุขระ ขอบไม่สวย และเป็นเรื้อรังผิดสังเกต
- เชื้อไวรัสเริม เชื้อเริมเติบโตได้ดีที่เยื่อบุครับ ในช่องปากเป็นบ้านที่อยู่สบายของไวรัส เพราะมีทั้งความชุ่มชื้นอบอุ่นและเป็นส่วนตัวจึงไม่น่าแปลกที่เชื้อไวรัสแผลในปากจะงอกงามดีอย่างที่เรียกว่าแพร่ลูกหลานไปเป็นแผลหลายจุดได้
ดังนั้นในคนที่เป็นแผล ร้อนใน แบบมีออปชั่นเสริมอย่างมีไข้ต่อมน้ำเหลืองโต เจ็บและแผลดูไม่สวย แถมเป็นๆ หายๆ ไม่ขาดสักทีอย่างนี้อย่านอนใจครับ
ต้าน ร้อนใน ด้วยสูตรป้องกันแผลในปาก
ประการแรก ให้ตัดบุหรี่และพิษที่เสี่ยงต่อช่องปาก เช่น ของทอดของมัน ของหวานจัด รวมถึงการกินของร้อนจัดเกินไป และการดื่มเครื่องดื่มพวกชา กาแฟ และแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไปประการต่อมาคือ เรื่องของอาหาร โดยขอให้เน้นอาหารที่มี “ฤทธิ์เย็น” ซึ่งช่วยดับการอักเสบได้ มักมีรสขมซึ่งอุดมไปด้วยธาตุฝาดสมานอย่างมะระ ผักที่มีรสขมเป็นยาของแท้ ถ้าอยากแก้อาการ ร้อนใน ต้องไม่พลาดเมนูต้มมะระหรือมะระผัดไข่ ส่วนคนที่สนใจทางเลือกอาจนำมะระมารับประทานกับขนมจีนน้ำยาก็อร่อยดีครับ ส่วนสะเดาเอาใจผู้ที่ชอบสูตรน้ำปลาหวาน แต่สำหรับสูตรต้านแผลในปากไม่อยากให้รสหวานหรือเค็มเกินไป อาจรับประทานกับปลาย่างสูตรโบราณก็ได้เพราะในสะเดามีทั้งโฟเลต ธาตุเหล็ก และสังกะสีที่ช่วยแผล ร้อนใน อีกทั้งวิตามินช่วยสมานแผลที่ผิวหนังอย่างวิตามินเอและซีก็มีอยู่มากครับ
นอกจากนี้ยังมีประเภทเครื่องดื่มที่เยียวยาแผล ร้อนใน ได้ดี ไม่ว่าจะเป็นน้ำใบบัวบกและน้ำข้าวกล้องงอก ซึ่งมีเคมีที่ช่วยดับอักเสบอย่าง “วิตามินบี” มาก ช่วยสมานแผลที่กำลังอักเสบอยู่และปกป้องช่องปากจากแผล ร้อนใน หากต้องการเพิ่มคุณค่า เวลาดื่มน้ำข้าวกล้องงอกให้ใส่ธัญพืชเข้าไปด้วยจะยิ่งช่วยได้มากครับ สำหรับน้ำเก๊กฮวยจะดื่มแบบร้อนหรือเย็นก็เป็นของช่วยลดอาการร้อนอักเสบในร่างกายได้หรือจะเป็นน้ำเฉาก๊วยเย็นชื่นใจใส่น้ำตาลพอหวานปะแล่มๆ ช่วยให้ปากที่ ร้อนใน สบายขึ้นเหมือนติดแอร์เลยครับ
ที่ว่ามาเป็นทางเลือกที่จะใช้ช่วยทุเลาอาการ ร้อนใน ได้ และในกรณีที่เป็นไม่มากก็รักษาให้หายได้เลย จะได้ไม่ต้องใช้ “ยาป้ายแก้แผล ร้อนใน ” บ่อยเกินไป เพราะยาป้ายกลุ่มนี้ถ้าเป็นครีมใสๆ ก็มักมี “สเตียรอยด์” อ่อนๆ ผสมอยู่ ถ้าทาถูไปนานๆ อาจพาเชื้ออักเสบเข้ามาแถมได้อีก เช่น เชื้อหนองและเชื้อราครับ กลายเป็นยิ่งทายิ่ง ร้อนใน แสนปวดใจเวลาอดกินของอร่อย
ขอบคุณที่มาจาก : นิตยสาร Health&Cuisine ตุลาคม, Issue 141