แพ้ยา,ยาแก้อักเสบ,แพ้ยาแก้อักเสบ,แพ้ยาปฏิชีวนะ,ยาปฏิชีวนะ,อาการแพ้ ยาแก้อักเสบ,อาการแพ้ ยาปฏิชีวนะ,อาการแพ้


4,470 ผู้ชม


แพ้ ยาแก้อักเสบ ทำให้เมาได้จริงหรือ?

จากข่าวบันเทิงที่กำลังเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันในขณะนี้ คงหนีไม่พ้นข่าวของดาราชาย โฬม พัชฏะ ที่ไปออกงานอีเว้นท์งานหนึ่ง โดยระหว่างที่ให้สัมภาษณ์กับสื่อ หนุ่มโฬมก็มีอาการแปลกไปอย่างเห็นได้ชัด อาทิ พูดเสียงสูง, พูดกระดกลิ้นรัว, ตาปรือ, หน้าซีด, ยืนไม่นิ่ง และมีท่าทางประกอบการพูดที่ผิดกับปกติไปมาก คล้ายคนที่มีอาการมึนเมา ทั้งนี้ทางผู้จัดการส่วนตัวของหนุ่ม โฬม พัชฏะ เผยเป็นอาการจากการเบลอและแพ้ยาแก้อักเสบที่กินเข้าไปก่อนที่จะมาร่วมงานดังกล่าว ซึ่งทำให้หลายคนสงสัยว่า การแพ้ ยาแก้อักเสบ จะทำให้เกิดอาการเบลอ มึนเมา ได้เช่นนี้หรือ? วันนี้เราเลยนำความรู้เกี่ยวกับ ยาแก้อักเสบ มาฝากกันค่ะ ไปดูกันเลยดีกว่า

แพ้ยา,ยาแก้อักเสบ,แพ้ยาแก้อักเสบ,แพ้ยาปฏิชีวนะ,ยาปฏิชีวนะ,อาการแพ้ ยาแก้อักเสบ,อาการแพ้ ยาปฏิชีวนะ,อาการแพ้

อย่างแรกเลยเราต้องทำความเข้าใจกันใหม่เสียก่อน เนื่องจากคนไทยมักชอบเรียกชื่อยาแบบผิดๆ ซึ่งมักเรียกยาปฏิชีวนะว่า “ยาแก้อักเสบ” ซึ่งเป็นการเรียกที่ไม่ถูกต้อง โดยยาปฏิชีวนะ และ ยาแก้อักเสบ แตกต่างกัน และใช้รักษาอาการป่วยที่ต่างกันด้วย โดยสรุปได้ง่ายๆดังนี้

  • ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เช่น ยาปฏิชีวนะกลุ่มเพนิซิลลิน (Penicillin Antibiotics) อะมอกซิซิลลิน (Amoxycillin) เตตราไซคลีน (Tetracyclines) ซึ่งไม่มีฤทธิ์แก้ปวด หรือลดการอักเสบ ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัส ใช้รักษาโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น! เช่น ต่อมทอนซิลอักเสบเป็นหนอง
  • ยาแก้อักเสบ (NSAIDs ย่อมาจาก Non-Steroidal Anti-Inflammatory Drugs) เป็นยาที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ แก้ปวด ลดไข้ เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน ซึ่งไม่มีฤทธิ์ฆ่าแบคทีเรียและไวรัส ใช้บรรเทาอาการปวด อาการอักเสบ เช่น ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ อาการเคล็ดขัดยอก เส้นเอ็นอักเสบ กล้ามเนื้ออักเสบ

แพ้ยา,ยาแก้อักเสบ,แพ้ยาแก้อักเสบ,แพ้ยาปฏิชีวนะ,ยาปฏิชีวนะ,อาการแพ้ ยาแก้อักเสบ,อาการแพ้ ยาปฏิชีวนะ,อาการแพ้

หากแพ้ยาปฏิชีวนะ และ ยาแก้อักเสบ จะมีอาการอย่างไร?

อาการแพ้ ยาปฏิชีวนะ

  • พบบ่อย : อึดอัดในท้อง ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ลำไส้ใหญ่อักเสบ มีอาการท้องเป็นตะคริวและท้องเดินอย่างรุนแรง ท้องเดินไม่หยุดจนกระทั่งอาจถ่ายเป็นเลือด ปากระบม ลิ้นเป็นฝ้า โลหิตจาง เลือดออกง่ายผิดปกติ จำนวนเกล็ดเลือดและเม็ดเลือดขาวลดต่ำ ติดเชื้อราในช่องปากและทวารหนัก
  • พบได้น้อย : ระคายช่องคลอด เบื่ออาหาร คันนัยน์ตา และรู้สึกร้อนวูบวาบ
  • พบได้น้อยมาก : ผิวหนังหรือตาขาวเป็นสีเหลือง

อาการแพ้ ยาแก้อักเสบ

อาการแพ้แบบอันตราย ควรหยุดยาทันทีและปรึกษาแพทย์ในกรณีที่พบอาการดังต่อไปนี้

  • มีอาการแน่หน้าอก อ่อนแรง หายใจเหนื่อยหอบ อาการเตือนของสมองขาดเลือด
  • อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจาระดำ
  • ไอเสมหะมีเลือดปน อาเจียนดำเหมือนน้ำโค๊ก
  • บวมเท้า หรือน้ำหนักขึ้นมาก
  • ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ
  • คลื่นไส้อาเจียน แน่นชายโครง เบื่ออาหาร ปัสสาวะเข้ม อุจาระซีด ตัวเหลืองตาเหลือง
  • มีผื่น เลือดออกง่ายกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • เกิดอาการแพ้ชนิดรุนแรงได้แก่ ไข้ เจ็บคอ บวมใบหน้าหนังตา ผื่นลอกตามผิวหนัง ได้ Steven Johnson’s syndrome,Erythema multiforme

 ผลข้างเคียงจากยาที่พบโดยทั่วไป

  • ระคายต่อกระเพาะ หากรับประทานขนาดยาไม่สูงและรับช่วงสั้นๆอาจจะมีอาการแน่นท้อง เสียดท้อง หากรับประทานยาในขนาดสูงและติดต่อกันเป็นเวลานานก็อาจจะทำให้เกิดโรคกระเพาะ และมีเลือดออกได้
  • ตับอักเสบ หากรับประทานยากลุ่มนี้ในขนาดสูงเป็นระยะเวลานาน
  • ไต การใช้ยากลุ่มนี้แม้ว่าในระยะสั้นก็อาจจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น และมีปัญหากับไต ดังนั้นคงต้องติดตามความดันและการทำงานของไต
  • หูอื้อ พบมากในผู้ที่รับประทานยาในขนาดสูง
  • มึนงง เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ
  • น้ำมูกไหล เจ็บคอ
  • ผื่นคันเล็กน้อย

ได้รู้จักยาปฏิชีวนะและ ยาแก้อักเสบ รวมถึงอาการแพ้ยากันไปแล้วนะคะ ส่วนในกรณีของหนุ่ม โฬม พัชฏะ เอง เราก็ไม่ทราบว่าได้รับประทานยาตัวไหนไปเข้าไป และแพ้ยาตัวไหน เพราะผู้จัดการได้ออกมาบอกแค่ว่า ยาแก้อักเสบ เอาเป็นว่าหากเราป่วย ก็ควรพักผ่อน หาหมอและรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง เพื่อสุขภาพร่างกายที่ดีของตัวเองนะคะ แล้วอย่าลืมสังเกตตัวเองด้วยว่า แพ้ยาตัวไหนหรือเปล่า?

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.siamhealth.net
www.vcharkarn.com
Rational Drug Use (Facebook)

อัพเดทล่าสุด