รับมืออย่างไรเมื่อลูกชายเป็นเกย์เป็นตุ๊ด
เมื่อรู้ว่าลูกชายมีความเบี่ยงเบนทางเพศ เป็นเกย์ พ่อแม่อย่างเราควรรับมือและเลี้ยงดูลูกอย่างไรให้เขาเป็นคนดีใน และทำให้สิ่งที่เขาเลือกแล้วอย่างถูกต้อง
ลูกชายวัย 13 ทำเอาคุณแม่ใจแป้วขึ้นทุกทีกับกิริยาท่าทางกระเดียดผู้หญิง จะพูดจาแต่ละครั้ง ทั้งน้ำเสียง ทั้งมือไม้ หน้าตาท่าทาง วุ้ย! ช่างออกแต๋วออกตุ๊ดซะจนแม่ละกลุ้ม ฝ่ายคุณพ่อก็ใช่จะน้อยหน้า หวั่นอยู่เหมือนกันว่าลูกชายจะผิดเพศ ไอ้ครั้นจะถามให้รู้ดำรู้แดง ก็กลัวๆ คำตอบ...ได้แต่คิดปลอบใจ (ตัวเอง) "ลูกเราไม่ใช่ตุ๊ด เขาเป็นเด็กสุภาพเรียบร้อยต่างหาก" ว่าแต่...ถ้าใช่ละ
เราจะทำไงดี! ลูกเป็นตุ๊ด...ได้ไง
พ่อแม่ที่มีลูกชายลักษณะนี้ อย่าเพิ่งกังวลใจไปว่าเขาจะเป็นตุ๊ดเป็นแต๋วอย่างที่เข้าใจ บางทีกิริยาอาการที่ลูกแสดงออก อาจเป็นเพียงการตามอย่างเพื่อนที่เขาสนิทสนมผูกพันกันตามวัยก็ได้ พอโตขึ้น วุฒิภาวะมากตาม ก็จะปรับตัวปรับพฤติกรรมได้เอง
แต่ถ้าพ่อแม่บางคนยังหวั่นใจ เพราะเห็นว่าท่าทางลูกจะไม่ได้เป็นแค่ตุ๊ดชั่วคราว อยากจะยืนยันกับตัวเองว่าใช่หรือไม่ใช่แน่ เผื่อจะได้ทำใจหรือหาทางแก้ไขต่อไป ก็ขอให้ลองนึกทบทวนให้ดีค่ะ ลูกคุณจะเบี่ยงเบนหรือไม่ สำคัญที่การอบรมเลี้ยงดูเขาตั้งแต่ยังเล็ก
พ่อแม่อบรมเลี้ยงดูลูกแบบไหน แม่บางคนอยากได้ลูกผู้หญิงมาก ก็เลยเลี้ยงแบบเด็กผู้หญิง บางคนอยากให้ลูกชาย สุภาพเรียบร้อย ก็ตั้งหน้าตั้งตาพร่ำสอนลูกให้อยู่แต่ในกรอบ หรือลูกชายเติบโตท่ามกลางญาติพี่น้องที่ล้วนแต่เป็นผู้หญิง ยิ่งสนิทสนมกันมากก็จะถ่ายทอดแบบอย่างครอบครัวมีแบบอย่างทางเพศที่ถูกต้อง มั้ย เด็กผู้ชายควรมีพ่อเป็นแบบอย่างทางเพศ แต่ถ้าพ่อไม่ค่อยอยู่บ้าน เป็นคนดุ ฉุนเฉียว ไร้เหตุผล ติดเหล้า ชอบลงโทษลูกรุนแรงและน่ากลัว เช่น จับขังในห้องมืด ดุด่าทุบตีลูกแทบปางตายด้วยเรื่องเพียงเล็กน้อย พ่อบางคนมักแสดงให้ลูกเห็นเสมอว่า กลัวแม่ยิ่งกว่าหนูกลัวแมว อย่างนี้ก็จะทำให้ลูกชายไม่ศรัทธาในบทบาททางเพศตัวเอง
ลักษณะของลูกกระเดียดไปทางผู้หญิงอยู่แล้ว เช่น เรียบร้อย นุ่มนิ่ม อ่อนแอ ไม่ชอบเล่นอะไรที่รุนแรง ชอบเล่นคลุกคลีกับเด็กผู้หญิงมากกว่า ยิ่งถูกล้อเลียนและกีดกันจากเพื่อนๆ ผู้ชายด้วยแล้ว เด็กก็จะยิ่งไม่ชอบเพศตัวเอง สำหรับพ่อแม่บางคนที่คิดว่า ลูกเป็นแต๋วเป็นตุ๊ดเพราะฮอร์โมนเพศของเขาน้อย ขอบอกค่ะว่าเข้าใจผิด น.พ.พนม ยืนยันว่า คนที่เป็นรักร่วมเพศยังคงมีฮอร์โมนเพศที่ปกติ
ยอมรับ กระชับสัมพันธ์
ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะให้แม่หรือพ่อยอมรับการเบี่ยงเบนทางเพศ ของลูก ยิ่งในวัย 12 ขึ้นไปเขาแสดงออกอย่างนี้แล้ว คงเปลี่ยนแปลงเขายาก แม้บางครอบครัวจะตะโกนเสียดังคับสังคมว่า "พวกเรายอมรับได้" ก็ตาม
น.พ.พนม เกตุมาน แนะว่า ทางที่ดีพ่อแม่ควรทำใจยอมรับสิ่งที่ลูกเป็น มองให้ลึกนึกให้ดี เขาอาจจะถูกหล่อหลอมมาแบบนี้นานแล้วนะ เพราะถึงยังไงเขาก็เป็นลูก ของเรา แต่ถ้ายังคิดว่าช่างทำใจลำบากเสียจริง ก็ขอให้รักษาความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเอาไว้ เพราะไม่เพียงเป็นโซ่ทองร้อยหัวใจพ่อแม่ลูก ยังเป็นยาขนานเอกอีกด้วยค่ะ พ่อแม่ไม่ควรตัดสิ่งดีๆ นี้ออกนะคะ ให้คิดเสียว่า ยังไงเสียเราก็ยังดูแลกันได้ สอนให้เขาเป็นคนดีได้เหมือนเดิม ควรเชื่อว่าแม้เขาจะเป็นอย่างนี้ (โปรดอย่าใช้คำว่าเลือก เพราะมันหมายถึง สิ่งที่ลูกเป็น...เป็นความผิด) เขาก็สามารถทำตัวเป็นประโยชน์ ในสังคมได้ไม่แพ้คนอื่นๆ ทัศนคติและความสัมพันธ์ที่ดีอย่างนี้ เป็นทั้งน้ำเลี้ยงและยาวิเศษที่จะช่วยให้ลูกมีความสุข ไว้ใจ เพราะเขารู้สึกได้ว่า อย่างน้อยก็ยังมีพ่อแม่และครอบครัวที่เข้าใจยอมรับ
ทีนี้ก็ถึงตาพ่อแม่แล้วล่ะค่ะ ว่าจะใช้สูตรไหนช่วยหรือบอกกับลูกให้เข้าใจว่า เขาจะอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข อย่างไร เช่น ค่อยๆ พูดจาภาษาดอกไม้บอกให้เขารู้ เห็นและเข้าใจ เป็นต้นว่า การเป็นอย่างนี้ ลูกจะต้องถูกคนมอง ถูกล้อเลียนนะ แล้วถ้าเป็นอย่างนั้นลูกจะทำยังไง หรือ...ลูกควรจะปรับตัวปรับท่าทีดีมั้ย เช่น ลดกิริยาท่าทาง การพูด การเดิน ให้เหมือนผู้ชายมากกว่านี้ดีมั้ย จะได้ไม่มีใครล้อ ขอย้ำว่า พ่อแม่ไม่ควรสอนหรือบอกลูกด้วยวิธีการ ดุด่า ตีโพยตีพาย โกรธ ไม่เห็นด้วยหรือไม่เข้าใจ ละเลย หรือดึงดันที่จะพาลูกไปรักษา เพราะเชื่อขนมกินได้เลยค่ะว่า นอกจาก ลูกคุณไม่ต้องการอย่างนั้น แล้ว อาจจะเป็นการทำลายความสัมพันธ์อันดีของครอบครัวลงอย่างน่าเสียดาย
ควร เข้าใจด้วยว่า การที่ลูกเป็นอย่างนี้ ในทางจิตเวชไม่ถือว่าเป็นโรคหรือความ ผิดปกติ แต่เป็นความพึงพอใจทางเพศที่ไม่เหมือนคนส่วนใหญ่มากกว่า คล้ายๆ เวลาเราเห็น คนที่ชอบถ่มน้ำลายลงบนถนน แล้วคิดว่าเขามีนิสัยไม่ดีบางอย่างนั่นแหละค่ะ