5 เรื่องที่พ่อแม่ควรสอนลูกใช้โซเชียลมีเดีย


2,440 ผู้ชม


5 เรื่องที่พ่อแม่ควรสอนลูกใช้โซเชียลมีเดีย

5 เรื่องที่พ่อแม่ควรสอนลูกใช้โซเชียลมีเดีย

เป็นเรื่องเป็นราว เป็นข่าวดังขึ้นมาเมื่อ “น้องวันใหม่” เด็กน้อยแห่งบ้านฉัตรบริรักษ์ ที่กำลังโด่งดังเพราะความ สดใส น่ารัก กับภาพและคลิปที่คุณแม่งามทิพย์ได้โพสต์ลงในโซเชี่ยลมีเดียอย่าง Instagram กำลังจะต้องถูกปิด account ไป ตามที่คุณแม่ได้แจ้งว่าเพราะผิดข้อกำหนดของทาง Instagram ว่าเป็น account ของเด็กที่อายุต่ำกว่า 13 ปี

5 เรื่องที่พ่อแม่ควรสอนลูกใช้โซเชียลมีเดีย5 เรื่องที่พ่อแม่ควรสอนลูกใช้โซเชียลมีเดีย

เหตุผลที่พ่อแม่ควรระวังการใช้งานบนโซเชียลมีเดีย

เรื่องนี้เช่นเดียวกับกฎและข้อกำหนดการใช้งานของโซเชียลมีเดียวเกือบจะทั่วทั้งโลกคือ ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปีใช้งาน

ทำไมถึงห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี ใช้งานโซเชียลมีเดียต่างๆ : ข้อกำหนดนี้เป็นข้อกำหนดที่หลายสื่อฯ โซเชียลมีเดียทั่วโลกออกเป็นกฎที่สำคัญไว้เพราะเพื่อป้องกันเด็ก เยาวชนที่ยังอาจจะขาดวุฒิภาวะ และวิจารณญาณในการจะต้องสื่อสารกับคนแปลกหน้าใช้งานโซเชียลมีเดียที่อาจจะเจอกับบุคคลไม่ประสงค์ดีเข้ามาล่อลวง หรือทำอันตรายได้ ดังนั้นด้วยเหตุผลนี้ทำให้ทาง Instagram ต้องแจ้งปิด account ของน้องวันใหม่ ถึงแม้ทางครอบครัวจะชี้แจงว่าเป็น account ที่คุณแม่ใช้งาน ไม่ใช่น้องเล่นเองก็ตาม

Instagram เป็นแอปพลิเคชั่นแชร์รูปที่เป็นที่นิยมไปทั่วโลก หลายๆ คนคงรู้จักกันดี เป็นอีกสื่อออนไลน์ที่ได้รับนิยมแม่แพ้ Facebook ทางที่ดีพ่อแม่ควรต้องศึกษาและรู้จักกับการใช้งานไว้บ้าง ถ้าหากลูกๆ คุณอยากใช้งาน จะได้รู้เท่าทัน และคอยดูแลลูกเมื่อเขาใช้งาน
5 เรื่องที่พ่อแม่ควรสอนลูกใช้โซเชียลมีเดีย

5 เรื่องที่พ่อแม่ควรสอนลูกใช้ Instagram Facebook Twitter ฯลฯ 

1. อย่าบังคับลูก : สมัยนี้การบังคับไม่ได้ผลแน่นอน ถ้าถึงเวลาที่ลูกอยากใช้งาน เราควรให้เขาได้ใช้งาน แต่คอยระวังให้อยู่ในสายตาแทนการบังคับ เพราะถ้าบังคับลูก เขาอาจจะสร้าง account ลับๆ แอบพ่อแม่ใช้งานเอง และตอนนั้นก็คงจะยิ่งลำบากในการดูแลสอดส่อง

2. สอนลูกรู้ถึงอันตรายบนโซเชียลมีเดียต่างๆ : ถ้าไม่สามารถยับยั้งให้ลูกใช้งานได้ การสอนให้เขารู้ถึงโทษ อันตราย ที่จะต้องเจอในโลกโซเชียลฯ เป็นหน้าที่ของผู้ปกครองที่ต้องบอกต้องสอนเขาแต่เนิ่นๆ รวมถึงวิธีการรับมือ เมื่อกับเจอเหตุการณ์ผิดปกติไม่ชอบมาพากลต่างๆ ด้วย

3. เราไม่รู้ว่าคนที่ follow เราคือใคร : เพราะเราไม่รู้ว่าคนที่ follow เราอยู่หวังดี หรือหวังร้าย หรือจะเซฟรูปลูกเราไปใช้ในทางไม่เหมาะสมหรือไม่ ทางที่ดีอาจจะตั้งสถานะให้เป็น private และเลือกคนที่มา follow ว่าเป็นคนที่เรารู้จัก หรือมีความน่าเชื่อถือ

4. อย่าเปิดการใช้งานจีโอโลเคชั่น หรือ การระบุตำแหน่งพิกัดการใช้งานว่าอยู่ที่ไหน เพราะอาจจะเป็นภัยถึงตัวได้ง่ายๆ เลยค่ะ

5. อย่าโพสต์ข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป : เป็นอีกข้อที่สำคัญไม่เว้นแม่กระทั่งพ่อแม่ผู้ปกครอง หรือผู้ใหญ่แล้วก็ตาม การโพสต์ข้อมูลส่วนตัวบางอย่างมากเกินไป อาจจะทำให้ภัยอันตรายมาถึงตัว เช่น ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ที่ทำงาน โรงเรียน ฯลฯ

อัพเดทล่าสุด