ภาษีรถยนต์ใหม่ เริ่มใช้ปี 59 เรื่องที่คนเตรียมถอยรถป้ายแดงควรรู้


1,683 ผู้ชม



������� ภาษีรถยนต์ใหม่ ที่จะเริ่มบังคับใช้ในปี 2559 ทำให้คนที่กำลังคิดจะซื้อรถต้องนั่งคำนวณตัวเลขกันวุ่นกับภาษีที่ต้องเสียเพิ่มขึ้น แต่งานนี้ Eco Car ได้รับอานิสงส์ไปเต็ม ๆ เพราะได้ลดภาษี !

������ใครที่กำลังวางแผนซื้อรถใหม่ในช่วงปี 2559 เตรียมเก็บเงินเพิ่มได้เลย เพราะตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 เป็นต้นไป รัฐบาลจะทำการปรับอัตราการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ทั้งระบบ ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อปี 2555 ในสมัยรัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เห็นชอบ เนื่องจากเห็นว่า การจัดเก็บภาษีในอัตราเดิมนั้นมีการบิดเบือนโครงสร้างทางภาษีสรรพสามิต และก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีรถยนต์ จึงได้มีการคลอดเกณฑ์การจัดเก็บภาษีรถยนต์แบบใหม่ โดยพิจารณาจากปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ด้วยหวังจะลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศนั่นเอง
������งานนี้เหล่าผู้ที่กำลังจะควักกระเป๋าซื้อรถประเภทอีโคคาร์ ดูเหมือนจะได้รับอานิสงส์จากภาษีใหม่ไปเต็ม ๆ เพราะเป็นรถประเภทที่ปล่อยไอเสียในอัตราที่ไม่สูงมาก ทำให้อัตราการเก็บภาษีลดลงไปโดยปริยาย ขณะที่รถยนต์ประเภทอื่น ๆ ที่ปล่อยไอเสียในอัตราที่สูง ก็เตรียมก้มหน้ารับรายจ่ายที่เพิ่มมากขึ้นตามปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาได้เลย ซึ่งแบ่งเป็นการคิดภาษีตามประเภทรถยนต์และอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ดังนี้



�������� ​กลุ่มรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ซีซี (3.0 ลิตร) อัตราภาษี แยกเป็น
� � � � >�ปล่อยก๊าซไม่เกิน 150 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 30% จากเดิมจัดเก็บภาษี 25%
� � � � >�ปล่อยก๊าซ 150-200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 35% จากเดิมจัดเก็บภาษี 25%
� � � � >�ปล่อยก๊าซเกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 40% จากเดิมจัดเก็บภาษี 30% ซึ่งจะเห็นว่าภาษีจะเเพงขึ้นตามปริมาณก๊าซที่ปล่อยออกมา

�������� กลุ่มรถยนต์นั่งประเภทอี 85 และรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติที่มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ซีซี อัตราภาษี คือ

� � � � >�ปล่อยก๊าซไม่เกิน 150 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 25% จากเดิมจัดเก็บภาษี 25%
� � � � >�ปล่อยก๊าซ 150-200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 30% จากเดิมจัดเก็บภาษี 25%
� � � � >�ปล่อยก๊าซเกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 35% เดิมจัดเก็บภาษี 30%

�������� กลุ่มรถยนต์แบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิง และไฟฟ้า (ไฮบริด) ที่มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ซีซี เดิมจัดเก็บภาษี 10% อัตราภาษีใหม่ คือ

� � � � >�ปล่อยก๊าซไม่เกิน 100 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 10%
� � � � >�ปล่อยก๊าซเกิน 100-150 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 20%
� � � � >�ปล่อยก๊าซเกิน 150-200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 25%
� � � � >�ปล่อยก๊าซเกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 30%

�������� กลุ่มรถยนต์ Eco Car เดิมจัดเก็บภาษี 17% อัตราภาษีใหม่ คือ
� � � � >�ปล่อยก๊าซไม่เกิน 100 กรัมต่อกิโลเมตร และใช้น้ำมัน E85 ได้ จัดเก็บภาษี 12%
� � � � >�ปล่อยก๊าซไม่เกิน 100 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 14%
� � � � >�ปล่อยก๊าซเกิน 100-120 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 17%
�������� กลุ่มรถยนต์กระบะที่ไม่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลังคนขับ (ไม่มีแค็บ) มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ซีซี เดิมจัดเก็บภาษี 3% อัตราภาษีใหม่ คือ

� � � � >�ปล่อยก๊าซไม่เกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 3%,
� � � � >�ปล่อยก๊าซเกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 5%
��������� กลุ่มรถยนต์กระบะที่มีพื้นใส่สัมภาระด้านหลังคนขับ (มีแค็บ) มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ซีซี เดิมจัดเก็บภาษี 3% อัตราภาษีใหม่ คือ
� � � � >�ปล่อยก๊าซไม่เกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 5%
� � � � >�ปล่อยก๊าซเกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 7%
��������� กลุ่มรถยนต์นั่งที่มีกระบะ (กระบะ 4 ประตู) มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ซีซี เดิมจัดเก็บภาษี 12% อัตราภาษีใหม่ คือ
� � � � >�ปล่อยก๊าซไม่เกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 12%
� � � � >�ปล่อยก๊าซเกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 15%

��������� กลุ่มรถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก (กระบะดัดแปลง (PPV) มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,250 ซีซี เดิมจัดเก็บภาษี 20% อัตราภาษีใหม่ คือ
� � � � >�ปล่อยก๊าซไม่เกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 25%
� � � � >�ปล่อยก๊าซเกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร จัดเก็บภาษี 30%
�������� ทั้งนี้การปรับเปลี่ยนอัตราการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ทั้งหมด รัฐบาลในสมัยนั้นได้ให้เวลาผู้ประกอบการและผู้ผลิตในการปรับตัวเป็นระยะเวลา 3 ปี โดยเริ่มจากปี 2555 ไปจนถึงสิ้นปี 2558 และจะมีผลบังคับใช้จริงในวันที่ 1 มกราคม 2559 แต่การปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ในครั้งนี้ก็มีหลายฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย อาทิ ผู้ประกอบการ ผู้ผลิต สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เนื่องจากมองว่าขั้นตอนการปฏิบัติหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้อาจจะกระทบกับผู้ประกอบการหรือผู้บริโภคที่ต้องแบกรับภาษีในอัตราที่สูงเกินไป
�������� อย่างไรก็ตามคงต้องติดตามกันต่อไปว่า หลังจากนี้ทางรัฐบาลจะมีการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีรถยนต์ใหม่เพิ่มเติมอีกหรือไม่ ซึ่งถ้าหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงตัวบทกฎหมายในเรื่องนี้ ดีเดย์วันที่ 1 มกราคม 2559 เป็นอันว่าคนไทยที่จะซื้อรถใหม่ในปีหน้าก็เตรียมตัวเตรียมใจเสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้นนะครับ

ที่มา: กระปุก

อัพเดทล่าสุด