รู้จักกับ โรคโมยาโมยา โรคอันตรายหายาก


4,525 ผู้ชม


รู้จักกับ โรคโมยาโมยา โรคอันตรายหายาก

เราเริ่มรู้จักกับโรคโมยาโมยานี้ เพราะมีข่าวขึ้นมาว่า น้องซีดี นักแสดงตัวน้อยจากภาพยนตร์ “ตุ๊กแกรักแป้งมาก” กำลังป่วยด้วยโรคนี้และกำลังจะเข้ารับการผ่าตัด โรคนี้เป็นโรคที่พบได้น้อยมาก

โดยในวันที่ 23 ส.ค. นี้ น้องซีดีจะเข้ารับการผ่าตัดคุณแม่น้องซีดีได้ขอรับบริจาคเลือดสำรองไว้

คุณแม่และน้องซีดี ขอรับบริจาคเลือด เพื่อรักษา โรคโมยาโมยา โดยการผ่าตัดเปิดกะโหลก ต่อหลอดเลือดฝั่งซ้าย 1 ในล้านที่คนไทยจะเจอโรคนี้ ขอผู้ใหญ่ใจดี มาบริจาคได้ตั้งแต่ วันที่ 23-24-25-26 สค.58 เลือด กรุ๊ป บี ที่ รพ..รามา ห้องบริจาคเลือด ศูนย์การแพทย์ตึกพระเทพ ชั้น 3 หรือ บริจาคได้ที่ คลังเลือด ตึกเก่า อาคาร 1 ชั้น 2 เวลา 8.30-16.30 น. @ แจ้งชื่อ ด.ช.กฤตไน เลาหปราสาท HN.5004301 (เบอร์คุณแม่ 061 362 6595 ) - facebook https://www.facebook.com/CDVIP
รู้จักกับ โรคโมยาโมยา โรคอันตรายหายาก
facebook https://www.facebook.com/CDVIP

โรคโมยาโมยาคือโรคอะไร

โรคโมยาโมยาหรือ Moyamoya disease เป็นโรคที่มีการตีบตันของเส้นเลือดแดงแคโรติด และหลอดเลือดในสมองและระบบเลือดที่เลี้ยงสมอง (circle of Willis) ทำให้เกิดกลุ่มหลอดเลือดใหม่เรียกว่า moyamoya vessels ซึ่งเป็นกลุ่มหลอดเลือดใหม่ที่เกิดขึ้นทดแทน โดยลักษณะที่เห็นในการเอ็กซเรย์หลอดเลือดจะคล้ายกับกลุ่มหมอกควัน ทำให้มีชื่อว่าโมยาโมยา ซึ่ง Moyamoya ในภาษาญี่ปุ่นแปลว่ากลุ่มควันนั่นเอง ช่วงอายุที่เริ่มมีอาการครั้งแรกส่วนใหญ่พบในเด็กช่วงเด็กอายุ 1-4 ปี


รู้จักกับ โรคโมยาโมยา โรคอันตรายหายาก
Photo : https://neurosurgery.washington.edu

อาการของโรคโมยาโมยาเป็นอย่างไร

อาการแสดงของผู้ป่วยโรคโมยาโมยาจะแตกต่างกันระหว่างกลุ่มผู้ป่วยเด็กและผู้ใหญ่ จะมีการดำเนินโรคที่มากขึ้นเรื่อยๆ จากการที่หลอดเลือดมีการตีบตันมากขึ้นร่วมไปกับการเกิด moyamoya vessels ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมามากมาย

  • อาการที่พบเริ่มแรกและพบมากที่สุดคืออาการอ่อนแรงครึ่งซีก
  • มีอาการชักร่วมด้วย ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการชักคือ การรับประทานอาหารรสเผ็ด
  • เมื่อทำการตรวจทางรังสี พบสมองขาดเลือด โดยพบมากที่บริเวณสมองกลีบหน้า (Frontal lobe) ส่วนหลอดเลือดที่พบมีการตีบตันมากที่สุด คือ เส้นเลือดแดงแคโรติด


การวินิจฉัยและรักษาโรคโมยาโมยา

  • รักษาโรคโมยาโมยาโดยให้ยาละลายลิ่มเลือด หรือยาต้านเกล็ดเลือด
  • รักษาโรคโมยาโมยาโดยการผ่าตัดเชื่อมต่อหลอดเลือด
  • รักษาโรคโมยาโมยาโดยการทำกายภาพบำบัด

ถึงแม้โรคโมยาโมยาอาจจะพบไม่ได้บ่อยหนักแต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่สามารถเกิดขึ้นกับลูกๆ เราได้ หากลูกๆ มีอาการผิดปกติ เช่น อาการอ่อนแรงครึ่งซีก คล้ายอาการอัมพาต ปวดศีรษะ อาการชัก ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อซักประวัติ วินิจฉัย ตรวจรักษาโรคโมยาโมยาอย่างละเอียดต่อไปค่ะ

ที่มา: มัมมี่พิเดีย


อัพเดทล่าสุด