เจ็บหัวนม อย่าทำเป็นเล่นไป อาจเป็นสัญญาณโรคร้ายที่คาดไม่ถึง


4,414 ผู้ชม


เจ็บหัวนม อย่าทำเป็นเล่นไป อาจเป็นสัญญาณโรคร้ายที่คาดไม่ถึง

picture: ladycarehealth.com

เจ็บหัวนมจี๊ด ๆ บางคนรู้สึกเจ็บหัวนมร่วมกับอาการผิดปกติเล็ก ๆ อย่างอื่นด้วย เอ๊ะ ! เจ็บหัวนมนี่เกิดจากอะไรได้บ้างนะ ?
          เชื่อว่าผู้หญิงทุกคนต้องมีประสบการณ์เจ็บหัวนมกันมาไม่มากครั้­­งก็น้อยครั้ง โดยเฉพาะในช่วงที่รู้สึกว่าฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง อาการเจ็บหัวนมมักจะมาเยี่ยมเยือนอยู่เป็นประจำ อ๊ะ ! แต่อาการเจ็บหัวนมอาจไม่ได้เกิดจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนไปอย่างเดี­­ยวก็เป็นได้นะ บางครั้งอาการเจ็บหัวนมอาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายที่เราคาดไม่ถึง­­เลยก็มี
อาการเจ็บหัวนมเกิดจากอะไรได้บ้าง
  1. ถึงวัยเจริญพันธุ์
          เมื่อถึงช่วงวัยเจริญพันธุ์ ฮอร์โมนในร่างกายของเด็กผู้หญิงจะเกิดการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้เต้านมมีขนาดใหญ่ หัวนมขยายและไวต่อความรู้สึกมากขึ้น ดังนั้นแค่เพียงสัมผัสจากเสื้อผ้าที่แผ่วเบาก็อาจทำให้รู้สึกเจ­­็บหัวนมได้ หรืออยู่เฉย ๆ ก็จะรู้สึกคัดตึงที่เต้านมและหัวนม ซึ่งถือเป็นความปกติของร่างกายเมื่อฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง
  2. ฮอร์โมนเปลี่ยนจากการตกไข่
          ระยะตกไข่ของผู้หญิงทำให้เรามีรอบเดือน พร้อมกันนั้นฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนก็จะเพิ่มส­­ูงขึ้น ต่อมน้ำนมก็จะขยายใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับกรณีที่ตั้งครรภ์ สาเหตุนี้แหละค่ะที่ทำให้เรารู้สึกคัดเต้านม รวมทั้งอาการเจ็บหัวนมจี๊ด ๆ ก็ด้วย ซึ่งอาการเจ็บหัวนมเพราะสาเหตุนี้จะเกิดขึ้นกับผู้หญิงแต่ละคนใ­­นช่วงเวลาที่แตกต่างกัน โดยบางคนอาจรู้สึกเจ็บหัวนมก่อนมีประจำเดือน ในขณะที่บางคนรู้สึกเจ็บหัวนมระหว่างหรือหลังมีประจำเดือนก็ไม่­­ถือว่าผิดปกติ
  3. ส่วนเสี้ยวหนึ่งจากอาการ PMS
          เมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนในร่างกายของผู้หญ­­ิงระหว่างที่มีประจำเดือนเกิดไม่สมดุลกัน อาการ PMS จะเข้ามาครอบงำผู้หญิงทุกคนอย่างไม่เคยปรานีใคร โดยเฉพาะหากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงกว่าโปรเจสเทอโรน สาว ๆ อาจอยากเหวี่ยงวีน รู้สึกหงุดหงิด ท้องอืด เป็นเหน็บชา รวมทั้งอาการคัดแน่นเต้านมและเจ็บหัวนมก็เกิดขึ้นได้ด้วย
  4. อาการหนึ่งของคนวัยหมดประจำเดือน
          ฮอร์โมนเพศอย่างเอสโตรเจนและโปรเจสเทอโรนนี่ร้ายไม่เบานะคะ ไม่ว่าจะมีประจำเดือน ตั้งครรภ์ หรือแม้แต่อยู่ในวัยหมดประจำเดือนก็ยังตามมารังควานไม่หยุดหย่อ­­น ยิ่งในช่วงแรก ๆ ที่ฮอร์โมนปั่นป่วนหนัก ๆ อาการเจ็บหัวนม ปวดหัว บ้านหมุน จะทวีความรุนแรงขึ้นจนแทบทำอะไรไม่ได้ แต่พอร่างกายเริ่มปรับสภาพได้แล้ว ฮอร์โมนที่เคยหลั่งออกมาจะค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ พร้อมพาเอาอาการผิดปกติที่เคยเกิดขึ้นไปจากเราด้วย

  5. สัญญาณบอกเมื่อตั้งครรภ์
          ในช่วงที่ผู้หญิงตั้งครรภ์ ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเทอโรนออกมาอย่างต่อเน­­ื่อง โดยเอสโตรเจนจะทำหน้าที่ขยายเนื้อเยื่อเต้านมให้เพิ่มขึ้น เต้านมจะมีขนาดใหญ่ขึ้นโดยธรรมชาติ ส่วนโปรเจสเทอโรนจะช่วยในเรื่องเติมน้ำให้เต้านม ด้วยเหตุนี้จึงอาจรู้สึกคัดแน่นเต้านมและเจ็บหัวนมได้
  6. กรดไขมันในร่างกายเกิดความไม่สมดุล
          เมื่อร่างกายได้รับกรดไขมันไม่เพียงพอ จนทำให้ไขมันในเซลล์ไม่สมดุล เคสนี้ก็มีส่วนทำให้เรารู้สึกคัดแน่นและเจ็บหัวนมได้เช่นกัน เนื่องจากการทำงานของเซลล์ผิวหนังและการผลิตฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกายจำเป็นต้องอาศัยกรดไขมันสำคัญในการขับเคลื่อน ดังนั้นพยายามรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ไว้จะดีที่สุด
  7. การเสียดสี
          สาวคนไหนไม่ค่อยชอบใส่บราอาจรู้สึกเจ็บหัวนมบ่อยกว่าปกติค่ะ เพราะอย่าลืมว่าหัวนมเป็นจุดที่อ่อนไหวและผิวบริเวณนั้นก็ค่อนข­­้างบอบบางพอสมควร ดังนั้นหากปล่อยให้หัวนมเสียดสีกับเสื้อผ้าบ่อย ๆ โดยเฉพาะโนบราแล้วไปวิ่ง ออกกำลังกายจนเหงื่อไคลไหลย้อย เคสนี้ขอเตือนเลยว่ายิ่งเพิ่มอาการระคายเคืองให้หัวนมรู้สึกเจ็­­บจี๊ด ๆ ได้มากขึ้น
          อีกทั้งอาจทำให้ผิวบริเวณหัวนมแห้ง คัน แดง อักเสบ และหากอาการหนักอาจมีเลือดออกซิบ ๆ บริเวณหัวนมด้วยฉะนั้นหลีกเลี่ยงการโนบราซะดีกว่า โดยเฉพาะการโนบราออกไปทำกิจกรรมชีวิตอื่น ๆ นอกบ้าน ยกเว้นแต่ว่าโนบราตอนนอนหลับแบบนี้ไม่ถือว่าอันตรายนะจ๊ะ
  8. แพ้ยา
          ยาคุมกำเนิด ยาประเภทเพิ่มฮอร์โมนหรือตัวยาที่ส่งผลต่อฮอร์โมน และยาคลายเครียด ล้วนแต่มีผลข้างเคียงไปถึงเต้านมกลม ๆ ของเราได้ ดังนั้นหากคุณกำลังรับประทานยาเหล่านี้อยู่แล้วรู้สึกเจ็บหัวนม­­ก็อย่าเพิ่งตกใจไปค่ะ
  9. ผลพวงจากอาการเจ็บหน้าอกและหัวใจ
          อย่างที่บอกว่าหัวนมเป็นส่วนที่ไวต่อความรู้สึก ดังนั้นเมื่อเราเจ็บหน้าอกและหัวใจก็มีโอกาสสะเทือนไปเจ็บที่หั­­วนมด้วยก็ได้

  10. ความเครียด
          ความเครียดเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ฮอร์โมนและระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกายเปลี่ยนแปลงฉับพลัน ฉะนั้นหากไม่ได้จะเป็นประจำเดือน ไม่มีโอกาสตั้งครรภ์ หรือไม่มีความเสี่ยงจากทางร่างกายอื่น ๆ ความเครียดก็อาจเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คุณรู้สึกเจ็บหัวนมจี๊ด ๆ ไม่ต่างอะไรจากตอนที่มีประจำเดือนเลย
  11. อาการแพ้
          ไม่ว่าจะแพ้อากาศ แพ้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอย่างสบู่ หรือแชมพู แพ้สารเคมีจากผลิตภัณฑ์บำรุงผิว หรือแพ้สารสังเคราะห์จากเส้นใยผ้าก็ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุให้เจ­­็บและคันหัวนมได้
  12. กิจกรรมทางเพศ
          กิจกรรมบนเตียงที่ค่อนข้างรุนแรง โดยเฉพาะกับเต้านมและหัวนมอาจเป็นสาเหตุของอาการเจ็บตึงหัวนมได­­้ ซึ่งสามารถบรรเทาอาการได้โดยทามอยส์เจอไรเซอร์หรือเจลเย็นบรร­­เทาอาการแสบร้อนเบื้องต้นก่อน พร้อมกันนั้นก็พยายามหลีกเลี่ยงกิจกรรมทางเพศสักระยะด้วย
  13. โรคพาเจ็ต (Paget’s disease)
          โรคพาเจ็ต (Paget’s disease) เป็นโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของกระดูก ซึ่งจะเกิดกับกระดูกส่วนไหนในร่างกายก็ได้ แต่หากเกิดกับกระดูกส่วนเต้านมจะเรียกว่า Paget’s disease of the nipple ซึ่งเป็นอาการร่วมอย่างหนึ่งของโรคมะเร็งเต้านม โดยลักษณะอาการของโรค คือ กระดูกจะหนาขึ้นและมีลักษณะคล้ายฟองน้ำ มีอาการบวมแดงที่หัวนมและเต้านม พร้อมกับอาการเจ็บจี๊ด ๆ ที่หัวนม
          ทว่าโอกาสเกิดโรคพาเจ็ตร่วมกับอาการมะเร็งเต้านมค่อนข้างเป็นไป­­ได้ยากนะคะ เฉลี่ยแล้วพบโรคนี้ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเพียงแค่ 1% เท่านั้นเอง และสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการผ่าตัด การรักษาด้วยคลื่นรังสี และการรักษาโรคมะเร็งเต้านมแบบอื่น ๆ
          จะว่าไปสาเหตุของอาการเจ็บหัวนมก็มีอยู่หลายปัจจัยเกินกว่าที่ค­­าดไว้นะคะ ดังนั้นคุณผู้หญิงควรหมั่นสังเกตอาการทุกครั้งที่รู้สึกเจ็บ แสบ หรือคันหัวนมไว้ด้วย หากรู้สึกได้ถึงความผิดปกติที่ไม่น่าไว้วางใจ รีบปรึกษาแพทย์เพื่อความปลอดภัยเลยดีกว่า
 



ขอขอบคุณข้อมูลจาก
WebMD
You Queen
Health Care Thai 

และ กระปุก

อัพเดทล่าสุด