pictures: panoramio.com & nanagarden.com
กะปิ (อังกฤษ: shrimp paste หรือ shrimp sauce) เป็นเครื่องปรุงรสอย่างหนึ่งที่แพร่หลายในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทางตอนใต้ของประเทศจีน คำว่า กะปิ ใช้กันแพร่หลายทั้งในไทย ลาว และกัมพูชา ส่วนในอินโดนีเซีย เรียกกะปิว่า เตอราซี terasi (หรือ trassi, terasie), มาเลเซีย เรียกว่า เบลาจัน belacan (หรือ belachan, blachang), เวียดนาม เรียกว่า mắm tôm, ฟิลิปปินส์ เรียกว่า bagoong alamang (หรือ bagoong aramang) และ ภาษาจีนฮกเกี้ยน เรียกว่า hom ha หรือ hae ko (POJ: hê-ko)
โดยคำว่า "กะปิ" ในภาษาไทย มาจากภาษาพม่าคำว่า "งะปิ๊" หมายถึง "ปลาหมัก"
ในประเทศไทย มีกะปิมากมายหลายชนิดให้เลือกรับประทาน กะปิแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกัน ทั้งคุณภาพ วัตถุดิบ กรรมวิธีผลิต ตามแต่ท้องถิ่นนั้น ๆ โดยส่วนใหญ่ทำจากกุ้งเคย ซึ่งมีมากในแทบชายฝั่งทะเลอันดามัน จึงทำให้มีการผลิตกะปิในหลาย ๆ แห่ง ในพื้นที่ชายฝั่งติดกับทะเล
ประวัติ กะปิ - เคย
กะปิ คิดขึ้นโดยชาวประมง ที่ต้องการจะดองกุ้งที่จับมาได้เพื่อเอาไว้รับประทานได้ในระยะเวลานาน ๆ หรือ อีกข้อสันนิษฐานหนึ่งกล่าวว่าเนื่องจากไม่สามารถขายกุ้งได้หมด จึงทำการดองเอาไว้ ไม่ว่าข้อสันนิษฐานจะเป็นอย่างไร แต่ข้อเท็จจริงคือ กะปิเป็นตำรับอาหารของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งในปัจจุบัน กะปิกลายมาเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมอาหาร และสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนต่าง ๆ จากการผลิตกะปิขาย
ภาคใต้ของไทยเรียกกะปิว่า 'เคย' มี 3 แบบด้วยกัน คือ
1. เคยกุ้ง เป็นการหมักเกลือกับกุ้งเคยไว้ 1 คืน แล้วนำไปตากแดด นำมาบดหรือโม่ให้ละเอียด แล้วตากแดดอีกครั้ง จากนั้นจึงนำไปใส่เข่งหรือตะกร้าที่มีใบตองรองอีก 7 วัน แล้วจึงเก็บไว้รับประทาน
2. เคยปลา เป็นกะปิที่ทำมาจากปลาน้ำจืด ที่มีชื่อเสียงคือเคยปลาจากทะเลน้อย การทำเหมือนเคยกุ้ง โดยตัดหัวปลาและขอดเกล็ดออกก่อนหมักกับเกลือ
3. เคยกุ้งหวาน ทำเหมือนเคยกุ้ง แต่ตำให้ละเอียดแล้วตากแดดสามครั้ง ครั้งสุดท้ายตำรวมกับน้ำตาลแว่น
ประโยชน์ของ กะปิ - เคย
1. บำรุงกระดูก แคลเซียมจะถูกปลดปล่อยจากกะปิถ้าผ่านความร้อน เช่น ตอนปิ้งกะปิหรือทำข้าวคลุกกะปิด้วยข้าวสวยร้อน ๆ ถ้าเบื่อดื่มนมมากก็ขอให้ลองหากะปิมาทานบ้างเพราะให้แคลเซียมมากกว่านมวัวหลายเท่านัก
2. ถูกกับเลือดจาง กะปิมีวิตามินบี 12 ซึ่งต้องได้จากภายนอกเท่านั้น ร่างกายเราสร้างเองไม่ได้ แต่มีในกะปิ วิตามินชนิดนี้ดีกับเลือดมาก หากขาดจะทำให้ป่วยเลือดจางได้เช่นเดียวกับท่านที่กินมังสวิรัติ
3. ไม่ให้ร้างฟัน มีการศึกษาโดยคุณหมอฟันที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่า กะปิที่ผ่านความร้อนช่วยให้ฟันไม่ผุ ทำให้ชาวใต้ที่รับประทานกะปิและน้ำบูดูบ่อย ไม่ค่อยพบปัญหาฟันผุฟันสึกมากเหมือนพี่น้องภาคอื่น ๆ
4. บำรุงมันปลา มีน้ำมันโอเมก้า 3 ชนิดเดียวกับที่อยู่ในปลาน้ำลึกมาก เพราะเป็นตัวแม่ที่แท้จริงที่สร้างน้ำมันดีชนิดนี้ แถมมีมากและดูดซึมได้ดีด้วย ลองช่วยกินสลับกับปลาสดบ้างก็ดี ไม่ต้องกลัวธาตุเค็ม หรือ โซเดียม เกินจากกะปิ เพราะถ้าเทียบกันแล้วอาหารใกล้ตัวหลายอย่างมีมากกว่า อย่างปลาเค็ม ไส้กรอก แหนมและขนมกรุบ กรอบใส่ผงชูรส
5. หาจุลินทรีย์ เป็นเชื้อดีที่หมักอยู่ในกะปิมีสารพัดจุลินทรีย์ที่ช่วยเป็น ?โปรไบโอติกส์? ในลำไส้ เสริมภูมิให้เชื้อผู้ร้ายไม่มาแผ้วพาน แต่ข้อสำคัญคือต้องเลือกกะปิที่สะอาดดีจริงไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นเพิ่มเชื้อร้ายให้ท้องไส้เสียกันไปได้
6. ป้องกันตา มีแอนตี้ออกซิแดนท์สำคัญคือ แอสตาแซนทิน กินแล้วช่วยคลายเครียดให้ตา ให้ไม่เหนื่อยล้าเมื่อยตา และล้างสนิมแก่ออกจากตาได้ดี
7. พาวิตามินดี นอกจากแสงแดดแล้วกะปิเป็นแหล่งวิตามินดีที่แสนดีที่นอกจากช่วยกระดูกแล้ว ยังช่วยคลายเครียดให้อารมณ์ผ่องใสได้ เพราะคนที่ไร้วิตามินดีมาก ๆ นั้นจะมีอารมณ์ออกไปทางซึมเศร้าเฉาชีวิต
8. ไม่มีเลือดหนืด ด้วยอานิสงส์จากน้ำมันดีในกะปิอีกแล้วที่ช่วยหล่อลื่นให้เลือดไหลปรูดปราดไม่ขาดช่วง ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันตามที่สำคัญอย่างหัวสมองและหัวใจ ออกฤทธิ์คล้าย ๆ พี่ใหญ่แอสไพรินทีเดียว
9. โอเมก้า 3 ช่วยหล่อลื่นให้สมองแล่นไวเหมือนกับได้น้ำมันออโต้ลู้บบำรุงสมอง และน้ำมันในกะปิเป็นของที่ละลายผ่านไขมันได้ดี จะช่วยบำรุงส่วนประสาทที่มีชั้นไขมันเคลือบอยู่ได้มาก
10. พิชิตโรคใจ ทั้งปกป้องห้องหัวใจและป้องกันหัวสมองที่เป็นดั่งดวงใจ ยกเว้นว่าอย่าทานเค็มจัดเกินไปเพราะในกะปิมีตัวช่วยสำคัญคือน้ำมันที่ช่วยหลอดเลือดอยู่ ทั้งในสมองและหัวใจเป็นเสมือนชุมทาง
ขอบคุณข้อมูลจากโรงพยาบาลราชวิถี
สนุกออนไลน์
วิกิพิเดีย