หลายๆ คนเมื่อป่วยไข้ นอกจากวิธีการไปพบแพทย์แผนปัจจุบันตามโรงพยาบาล บางคนก็ถูกแนะนำให้ลองปรึกษาแพทย์แผนโบราณ นำยาหม้อ ยาสมุนไพรต่างๆ มาทาน อาจจะด้วยความเชื่อที่ว่าสมุนไพรมาจากธรรมชาติ ดีต่อร่างกายมากกว่า ไม่ตกค้าง หรืออาจจะด้วยเรื่องของราคาที่อาจจะถูกกว่ายาปฏิชีวนะบางตัว บางคนก็ถูกกับยาแผนปัจจุบัน บางคนก็ถูกกับยาแผนโบราณมากกว่า
แต่ทราบหรือไม่คะว่า ถ้าหากทานยาทั้งสองชนิดนี้ด้วยกัน หรือพร้อมกัน ผลจะเป็นอย่างไร เรานำคำตอบจากรายการ Did You Know? คุณรู้หรือไม่? มาฝากค่ะ
สมุนไพร หรือยาแผนโบราณเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรคตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายายของเรา ปัจจุบันสมุนไพรไทยต่างๆ เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น โดยใช้เป็นยารักษาโรค หรืออาหารเสริมเพื่อสุขภาพ นอกจากนี้กระทรวงสาธารณะสุขมีการส่งเสริมให้มีการใช้ยาแผนโบราณ หรือยาสมุนไรควบคู่กันไปกับยาแผนโบราณ ตามโรงพยาบาลที่อยู่ภายใต้สังกัดของกระทรวงสาธารณะสุขอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม หลายคนยังสงสัยว่า หากทานยาแผนปัจจุบัน กับยาแผนโบราณควบคู่กันไป หรือทานพร้อมกัย จะมีปฏิกิริยา หรือส่งผลอย่างไรต่อร่างกายหรือไม่?
คำตอบคือ ผลงานวิจัยจากต่างประเทศระบุว่า หากทานยาแผนโบราณ หรือยาสมุนไร ควบคู่ไปกับยาปฏิชีวนะ หรือยาแผนโบราณในการรักษาโรค อาจมีปฏิกิริยา หรือส่งผลข้างเคียงที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายได้ หากใช้อย่างไม่ระมัดระวัง ทั้งชนิด และปริมาณ โดยปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจะมี 2 แบบ คือ
1. ปฏิกิริยาเภสัชจลนศาสตร์ หมายถึง ยาชนิดใดชนิดกนึ่งจะเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพในการดูดซึม การกระจายตัว การเผาผลาญ และการขจัดออกจากร่างกายทำให้ยาชนิดนั้นๆ ออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่ เช่น การทานยาบางชนิด ควบคู่ไปกับการดื่มชาเขียว เป็นต้น
2. ปฏิกิริยาเภสัชพลศาสตร์ หมายถึง การที่ยาชนิดใดชนิดหนึ่งเปลี่ยนแปลงการออกฤทธิ์ที่เนื้อเยื่อ หรืออวัยวะเป้าหมายโดยตรง มีผลทำให้ยาชนิดนั้นๆ มีฤทธิ์ที่แรงกว่าปกติ จนทำให้เกิดอาการข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ได้
นอกจากนั้น สถาบันแพทย์แผนไทย ยังมีคำเตือนอีกด้วยว่า ไม่คสรทานยาสมุนไพร และยาแผนใหม่ที่ออกฤทธิ์คล้ายกันเพราะอาจทำให้ร่างกายได้รับยาเกินขนาด ร่างกายอาจเสียสมดุล และการรักษาอาจไม่เป็นผลอย่างที่ต้องการได้
เพราะฉะนั้น เราสามารถทานยาสมุนไพร ควบคู่ไปกับยาแผนปัจจุบันได้ แต่ต้องแจ้งคุณหมอว่าเรากำลังทานยาสมุนไพรอะไรอยู่ เพราะยาสมุนไพรกับยาแผนปัจจุบันบางตัว อาจออกฤทธิ์คล้ายกัน และไปตีกันข้างในร่างกาย คุณหมอจะได้หลีกเลี่ยงการจ่ายยาที่ออกฤทธิ์
ที่มา: สนุกออนไลน์