https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
8 แนวทาง นักเรียนนักศึกษา มาออมเงินกันเถอะ! MUSLIMTHAIPOST

 

8 แนวทาง นักเรียนนักศึกษา มาออมเงินกันเถอะ!


2,552 ผู้ชม

สำหรับนักเรียนนักศึกษาหลายๆ คน ในช่วงวัยนี้ส่วนใหญ่ยังได้เงินค่าขนมและเงินสำหรับค่าใช้จ่ายต่างๆ จากผู้ปกครองอยู่ ...


8 แนวทาง นักเรียนนักศึกษา มาออมเงินกันเถอะ!

สำหรับนักเรียนนักศึกษาหลายๆ คน ในช่วงวัยนี้ส่วนใหญ่ยังได้เงินค่าขนมและเงินสำหรับค่าใช้จ่ายต่างๆ จากผู้ปกครองอยู่ ทำให้อาจไม่ต้องกังวลกับเรื่องเงินๆ ทองๆ มากนัก แต่ก็ไม่ควรจะละเลยการออมเงินนะคะ เพราะมันคือการฝึกนิสัยการออมซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความมั่งคั่งในอนาคตเมื่อถึงวัยผู้ใหญ่

นอกจากนี้ บางทีเราก็อยากได้นั่นอยากได้นี่ หรืออยากไปเที่ยวไกลๆ กับเพื่อน ก็ใช่ว่าพ่อแม่จะออกเงินให้ตลอด เราก็เลยต้องออมเงินไว้บ้างถูกไหมล่ะ ฉะนั้นเราเลยได้รวบรวม 8 แนวทางในการออมเงินมาฝากเพื่อให้นำไปปรับใช้กันค่ะ

1. เก็บเหรียญหยอดกระปุก
วิธีสุดคลาสสิคที่ไม่เคยตกยุคสมัย นั่นก็คือการเก็บเหรียญแล้วหยอดกระปุกนั่นเอง แต่ละวันเราใช้จ่ายไปกับค่าอาหารกลางวัน ค่าขนม พอได้เงินทอนเป็นเหรียญมา ไม่ว่าจะเหรียญบาท เหรียญห้า เหรียญสิบ ให้เก็บทั้งหมดลงกระปุกโลด

การเก็บเล็กผสมน้อยแบบนี้นี่แหละ เชื่อไหมว่าเดือนนึงอาจจะเก็บได้ไม่ต่ำกว่า 500 บาทจากตรงนี้อย่างเดียว พอถึงหนึ่งปี ก็ได้ไม่น้อยกว่า 6,000 บาท

2. แบ่งไปออมก่อนใช้
แม้จะฟังดูหักดิบหน่อยๆ แต่วิธีนี้ได้ผลจริงนะจ๊ะ สำหรับใครที่ยังได้ค่าขนมเป็นรายวัน สมมุติได้วันละ 50 บาท ก็แบ่งออกมาไว้เลย 10 บาทสำหรับออม พอหมดวันมีเงินเหลือกลับบ้านเท่าไรก็ออมเพิ่มไปอีก ถ้ากินข้าวกินขนม 30 บาท วันนึงก็ได้ออม 20 บาท ซึ่งไม่ใช่น้อยๆ เลย

สำหรับนักเรียนนักศึกษาที่ผู้ปกครองโอนเงินให้เป็นรายเดือน ให้คิดก่อนเลยว่าจะออมกี่บาท จากนั้นก็ถอนเงินออกมาใช้โดยไม่ให้แตะจำนวนที่ออม เช่น ได้เงินเดือนละ 10,000 บาท คิดจะออม 2,000 บาท ก็ถอนออกมาใช้แค่ 8,000 บาทเท่านั้น ห้ามถอนเพิ่ม

3. ยืมหนังสือ อุปกรณ์การเรียนรุ่นพี่
พวกตำราเรียนหรืออุปกรณ์การเรียนบางวิชา เราไม่จำเป็นต้องซื้อใหม่เสมอไป โดยเราสามารถขอยืมรุ่นพี่ที่รู้จัก หรือพี่รหัส ที่เคยเรียนวิชานั้น เราจะได้ไม่ต้องเสียเงินซื้อโดยใช่เหตุ ได้ประหยัดเงิน แถมอาจจะยังได้เห็นร่องรอยการเลคเชอร์ของรุ่นพี่เผื่อเราใช้อ่านตอนสอบอีกด้วย

4. ใช้สิทธิ์นักเรียนนักศึกษา
เมื่อไรก็ตามที่เราทราบว่า สถานที่ท่องเที่ยว ช็อปปิ้ง โรงภาพยนตร์ต่างๆ มอบส่วนลดและสิทธิพิเศษให้กับนักเรียนนักศึกษา ก็อย่าลังเลที่จะใช้สิทธิ์ของเราให้เต็มที่ มีโรงภาพยนตร์หลายแห่งที่แค่สมัครสมาชิกฟรี และลงทะเบียนว่าเป็นนักศึกษา เราก็ได้ส่วนลดตั๋วดูหนังครึ่งนึง แบบนี้ไม่ใช้ได้ไง ประหยัดสุดๆ

5. ขายของมือสอง
เดี๋ยวนี้ใครๆ ก็ใช้เฟสบุค อินสตาแกรม ดังนั้น เปิดร้านขายของมือสองออนไลน์ซะเลย! โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาวๆ ที่ชอบซื้อเสื้อผ้าเต็มตู้แล้วบางตัวก็ไม่เคยใส่ ใส่แค่ไม่กี่ครั้ง หรือเบื่อไม่อยากใส่แล้ว เอามาโพสต์ขายดีกว่า นอกจากจะได้เคลียร์ห้องแล้ว ยังได้เงินเข้ากระเป๋าเพิ่มสวยๆ อีกต่างหาก

6. แบ่งเงินใส่ถุง
วิธีนี้น่าจะเหมาะกับคนที่ได้รับเงินเป็นรายเดือนซึ่งเราสามารถทำได้ง่ายๆ โดยการแบ่งเงินสำหรับค่าใช้จ่ายในหนึ่งวันที่คำนวณไว้คร่าวๆ ใส่ในถุง จะเป็นหนึ่งสัปดาห์หรือหนึ่งเดือนก็ได้ จากนั้นเวลาจะออกจากบ้าน ก็หยิบติดตัวไปหนึ่งถุง

การแบ่งเงินใส่ถุงจะทำให้เราต้องบังคับตัวเองให้ใช้เงินภายในงบประมาณของแต่ละวันที่อยู่ในถุงเท่านั้น ไม่มีเผลอใช้เงินจนสิ้นเดือนต้องกินมาม่าประทังชีวิตแน่นอน

7. เน้นดื่มน้ำเปล่า
ถ้าหันกลับมาดูค่าใช้จ่ายแต่ละวันดีๆ เราอาจจะพบว่าเราเสียเงินไปกับพวกน้ำอัดลม น้ำหวาน กาแฟ ชา และเครื่องดื่มชนิดอื่นๆ กันมากพอสมควร บางอย่างเอาไปซื้อข้าวได้ตั้ง 3-4 จานแน่ะ!

แต่ถ้าเราเปลี่ยนมาเป็นพกน้ำเปล่าจากบ้านไว้ดื่มตลอดทั้งวัน แบบนี้เราจะประหยัดเงินได้เยอะเลย และยังช่วยไม่ให้เราอ้วนจากการบริโภคน้ำตาลจำนวนมากจากเครื่องดื่มเหล่านั้นด้วย

8. หนีให้ไกลจากของให้โทษต่อสุขภาพ
วัยนี้เป็นวัยที่อยากรู้อยากลอง และเป็นช่วงชีวิตที่ได้อยู่กับเพื่อนๆ เยอะมากด้วย บางทีก็ต้องไปกินเที่ยวกันบ้าง แต่ถ้าอยากจะเก็บเงินเพื่ออนาคต เราคงต้องเพลาๆ กับเรื่องอบายมุข การกินเที่ยวลงหน่อย เพราะของพวกนี้ทำให้เราหมดเงินไปทีละมากๆ และบั่นทอนสุขภาพด้วย

การฝึกออมเงินตั้งแต่ยังอยู่ในวัยนักเรียนนักศึกษา มักจะควบคู่ไปกับการฝึกนิสัยการใช้เงินอย่างเหมาะสมด้วย จริงอยู่ที่เราควรนึกถึงว่า เราออมเงินแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์ได้เท่าไร แต่เราก็ควรให้ความสำคัญกับการใช้เงินของเราด้วย ว่าใช้จ่ายไปกับอะไรบ้าง ฟุ่มเฟือยเกินจำเป็นหรือไม่ สองอย่างนี้ จะทำให้การออมเงินของเราประสบความสำเร็จได้ค่ะ

อัพเดทล่าสุด