ด่วน ! ลูกค้าธนาคารถึงเวลาตรวจเงื่อนไขการ เปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มเป็น บัตรเดบิตรแบบชิป ของธนาคารที่ใช้บริการ มีค่าเปลี่ยนบัตรใหม่ หรือไม่ อย่างไร ต้องเปลี่ยนเมื่อไรถึงได้ฟรี..
หลังจากถึงกำหนดให้ลูกค้าธนาคารที่ใช้บัตรเอทีเอ็ม แบบแถบแม่เหล็ก เปลี่ยนไปใช้ บัตรแบบใหม่ ซึ่งเป็นบัตรเดบิตแบบชิป ที่มีความปลอดภัยมากกว่า และ รองรับระบบอีเพย์เม้น หรือระบบชำระเงินออนไลน์ ในอนาคต โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศให้ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 16 พ.ค.2559 ที่ผ่านมา และให้เปลี่ยนบัตรที่มีอยู่ประมาณ 60 ล้านใบให้เสร็จในปี 2562
ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจ และ มีความสงสัยว่าจะต้องไปเปลี่ยนหรือไม่ และจะเสียเงินในการเปลี่ยนบัตรใหม่หรือไม่ และ มีค่าธรรมเนียมอะไรหรือไม่อย่างไร..
จากการสำรวจเบื้องต้น พบว่า ขณะนี้ธนาคารต่างๆประกาศความพร้อมในการเปลี่ยนบัตรตามนโยบาย แต่ การประชาสัมพันธ์ และให้ความกระจ่างเกี่ยวกับการเปลี่ยนบัตรมีค่อนข้างน้อย ไม่มีการเปิดเผยว่าในการเปลี่ยนบัตรครั้งนี้จะต้องเสียเงิน หรือว่าสามารถเปลี่ยนฟรีมากนัก ทำให้ยังมีความสับสนกันพอสมควร
และจากที่สำรวจพบว่า มีทาง ธนาคาร ไทยพาณิชย์ ที่มีการแจ้งในเพจของธนาคารชัดเจนว่า ลูกค้าของธนาคารสามารถนำบัตรแบบเดิมไปเปลี่ยนได้ฟรี จนถึงวันที่ 31กรกฎาคม 2559 ซึ่งเท่ากับว่า หลังวันที่ 31 กรกฎาคมไปแล้วจะมีการคิดค่าธรรมเนียมสำหรับทำบัตรใหม่
ส่วนทางธนาคารกสิกรไทย ได้ประกาศความพร้อมโดยมีการเปลี่ยนบัตรเป็น 3 แบบ คือ บัตรเดบิต K-Debit card บัตรเดบิต K-My Play บัตรเดบิต K-Max Plus
ทั้งนี้ สำหรับลูกค้าที่สนใจเปลี่ยนบัตรเดบิตจากแบบแถบแม่เหล็กเป็นชิปการ์ด สามารถติดต่อที่ธนาคารกสิกรไทยทุกสาขาทั่วประเทศได้ตั้งแต่วันนี้ โดยจะได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมแรกเข้า และเสียเฉพาะค่าธรรมเนียมรายปีตามประเภทของบัตร
ด้าน ธนาคาร กรุงเทพ ได้ประกาศ เปลี่ยนบัตรเอทีเอ็ม หรือบัตรบีเฟิสต์ ธนาคารกรุงเทพ แบบแถบแม่เหล็ก เป็นบัตรบีเฟิสต์ สมาร์ท โดย ฟรี! ค่าธรรมเนียมออกบัตรทดแทน* ที่ธนาคารกรุงเทพทุกสาขาทั่วประเทศ วันนี้ – 31 ธ.ค. 59 แต่มีเงื่อนไขมากมายดังนี้
๐ธนาคารยกเว้นค่าธรรมเนียมออกบัตรทดแทนเฉพาะกรณีการขอออกบัตรบีเฟิสต์ สมาร์ท ทดแทน
๐บัตรเอทีเอ็ม หรือบัตรบีเฟิสต์ แบบแถบแม่เหล็ก โดยไม่ใช่กรณีที่บัตรหาย ลืมรหัส เปลี่ยนแปลง
ข้อมูลบัตร หรือบัตรชำรุด
๐บัตรที่สมัครในเขตนครหลวง สามารถติดต่อขอออกบัตรทดแทนได้ที่ธนาคารกรุงเทพสาขาในเขตกรุงเทพฯ หรือปริมณฑลที่ท่านสะดวก สำหรับบัตรที่สมัครในเขตต่างจังหวัด สามารถติดต่อขอออกบัตรทดแทนได้ที่ธนาคารกรุงเทพสาขาในเขตต่างจังหวัดที่ท่านสะดวก
๐กรณีขอออกบัตรทดแทนเนื่องจากบัตรหาย ลืมรหัส เปลี่ยนแปลงข้อมูลบัตร หรือบัตรชำรุด ธนาคารจะคิดค่าธรรมเนียมออกบัตรทดแทน 100 บาท ต่อบัตร
ธนาคารจะคิดค่าธรรมเนียมตามอัตราที่ธนาคารประกำหนดกรณีที่ลูกค้าขอออกเป็นบัตรประเภทอื่นๆ นอกเหนือจากบัตรบีเฟิสต์ สมาร์ท เช่น บัตรบีเฟิสต์ สมาร์ท แรบบิท บัตรบีเฟิสต์ สมาร์ท แรบบิทศิริราช
ส่วน ธนาคารกรุงไทย มีการยืนยันว่า สำหรับลูกค้าของธนาคารที่ถือบัตรแบบแถบแม่เหล็ก ซึ่งมีจำนวนกว่า 12 ล้านใบนั้น ยังสามารถใช้บริการผ่านเครื่องเอทีเอ็มได้ตามปกติจนกว่าบัตรจะหมดอายุหรือไปจนถึงสิ้นปี 2562
สำหรับบัตรที่หมดอายุหรือบัตรชำรุดเสียหาย ลูกค้าสามารถเปลี่ยนบัตรหรืออัพเกรดประเภทบัตรได้ โดยไม่เสียค่าทำบัตรได้ที่ทุกสาขาทั่วประเทศ ส่วนค่าธรรมเนียมรายปี ธนาคารคิดค่าธรรมเนียมตามสิทธิประโยชน์ของบัตรแต่ละประเภท ซึ่งบัตรประเภทคลาสสิก เสียค่าธรรมเนียมรายปีเพียงปีละ 200 บาท
ทั้งนี้ ในการเปลี่ยนบัตร ทางธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า ในส่วนของค่าธรรมเนียม ให้เป็นไปตามเดิมของแต่ละธนาคาร ซึ่ง ไม่มีการระบุลงไปชัดเจนว่า การเปลี่ยนบัตรเพราะต้องการรักษาความปลอดภัย และรองรับระบบอีเพย์เม้นนั้น จะให้ประชาชนไปเปลี่ยนได้ฟรี ดังนั้น จึงเป็นเรื่องของแต่ละธนาคาร ที่จะกำหนดเองว่า จะยกเว้นค่าธรรมเนียมแรกเข้าหรือทำบัตรใหม่หรือไม่ ..และ มีการกำหนดช่วงเวลาสำหรับการเปลี่ยนให้ฟรีในบางธนาคารเท่านั้น
ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ลูกค่าของแต่ละธนาคารจะต้องสืบหาข้อมูล เพื่อเปลี่ยนบัตรจากแถบแม่เหล็กมาเป็นแบบชิป จากธนาคารที่ใช้บริการเอง และจากการลองสืบค้นขอมูลในเวปไซต์ของแต่ละธนาคารก็มีการประชาสัมพันธ์ค่อนข้างน้อยและบางแห่งก็ไม่ได้ประกาศชัดเจนแต่อย่างใด
ภาพประกอบจาก www.springnews.co.th
ที่มา สนุกออนไลน์