10 ปัญหาความชื้นใน “บ้าน” ที่ทุกคนควรรู้


1,694 ผู้ชม

ความชื้นในอากาศเป็นสิ่งที่หลาย ๆ คนมองข้าม แต่ในความเป็นจริงแล้วสภาพอากาศที่มีความชื้นมากเกินไปหรือน้อยเกินไปก็ส่งผลต่อสุขภาพของเราได้...


10 ปัญหาความชื้นใน “บ้าน” ที่ทุกคนควรรู้

10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับความชื้นในอากาศ ซึ่งจะช่วยให้เราจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ในครัวเรือน และสุขภาพของเราได้ดียิ่งขึ้น

1.ของในบ้านเป็นต้นเหตุของความชื้น ไม่ว่าจะเป็นการทำอาการ การซักล้าง การอาบน้ำ การออกกำลังกาย สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความชื้นในอากาศทั้งนั้น ทั้งสมาชิกครอบครัวแต่ละคน และสัตว์เลี้ยง ต่างก็ช่วยกันนำความชื้นเข้ามาในบ้าน วันละหลายลิตร นอกจากนี้บ้านที่มีห้องใต้ดินก็ได้รับความชื้นมาจากพื้นดินเช่นกัน

2.ความชื้นมากเกินไปไม่ดีต่อสุขภาพ ในสภาพอากาศที่มีระดับความชื้นเป็นปกติ ทำให้รู้สึกสบายแต่ถ้าในบ้านมีความชื้นมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ เชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ ที่เรามองไม่เห็นเติบโตได้ดีในสภาพอากาศชื้น และเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคหอบหืดและภูมิแพ้

3.ความชื้นน้อยเกินไปก็ไม่ดี สภาพอากาศที่มีความชื้นต่ำก็มีผลเสียไม่น้อย ทั้งทำให้ผิวแห้ง ปากแตก ระคายเคืองตา หายใจลำบาก รวมทั้งปวดบริเวณไซนัส ข้อเท็จจริงนี้สังเกตเห็นได้ชัดในช่วงฤดูหนาว หรือในเวลาที่เราเข้ามาอยู่ในห้องแอร์ หรือเวลาโดยสารเครื่องบิน หลาย ๆ คนจะมีอาการดังกล่าวข้างต้น   

4.เชื้อโรคและเชื้อรา ต่างก็ชอบบ้านที่มีความชื้น พวกมันต่างเติบโตได้ดีในสภาพอากาศชื้น ไรฝุ่นชอบอากาศอบอุ่น อุณหภูมิประมาณ 23-27 องคาเซลเซียส และระดับความชื้นที่ 70-80 เปอร์เซนต์นับว่าเป็นสภาพที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับพวกมัน และหากต้องการจะกำจัด และหยุดการแพร่พันธุ์ของไรฝุ่น เราต้องลดระดับความชื้นลงเหลือ 60 เปอร์เซ็นต์ นั่นหมายความว่าห้องแอร์ช่วยลดปริมาณไรฝุ่นได้ ส่วนเชื้อราก็ชอบความชื้นเช่นกัน ถ้ามีระดับความชื้นมากกว่า 80 เปอร์เซนต์ เชื้อราจะเติบโตเร็วขึ้นอีกเท่าตัว และสปอร์ของเชื้อรา ก็ก่อให้เกิดโรคหอบหือและภูมิแพ้ในเด็กได้

5.ความชื้นเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์เสียหาย นอกจากความชื้นที่มากไปจะเป็นผลเสียต่อสุขภาพแล้ว เครื่องไม้เครื่องมืออิเล็กทรอนิคส์ก็พลอยได้รับผลเสียไปด้วยอย่างหนึ่งที่เห็นชัดก็คือสนิม โดยเฉพาะบริเวณฉนวนกันความร้อนภายในตัวเครื่องหรืออุปกรณ์ บางครั้งอาจเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ หากเราเก็บอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ ไว้ในบริเวณที่มีอากาศชื้น หรืออากาศเย็นเกินไป เช่น ในโรงรถ ในห้องเก็บของชั้นใต้ดิน การนำมาใช้ ต้องเพิ่มความระมัดระวัง ควรนำมาวางไว้ในสภาพอากาศและอุณภูมิปกติสักพัก ก่อนเปิดใช้งาน และในการเก็บ ก็ควรเก็บใส่กล่องพลาสติก และใส่ถุงกันชื้น เพื่อยืดอายุการใช้งาน

6.ฤดูหนาวเป็นฤดูกาลที่ในบ้านจะมีความชื้นสูงที่สุด แม้ฤดูหนาวจะเป็นช่วงเวลาที่อากาศทั้งเย็นและแห้ง ทั้งผิวหนัง ปาก เล็บ ของเรา ต่างก็ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศแบบนี้ แต่ภายในบ้าน กลับกลายเป็นที่สะสมความชื้น นั่นเป็นเพราะเราต่างพยายามทำให้ภายในบ้านอบอุ่น เราปิดหน้าต่าง ประตู ทำให้อากาศไม่ถ่ายเท ในขณะที่เมืองหนาว ที่มีหิมะตก เมื่อเราออกไปย้ำหิมะข้างนอก แล้วเข้ามาในบ้าน ความชื้นก็ติดเข้าบ้านมาด้วย นอกจากนี้ ความชื้นก็ยังมาตามท่อน้ำ ห้องใต้ดิน ยิ่งเราปิดไม่ให้บ้านมีการถ่ายอากาศ ความชื้นก็ยิ่งสะสมมากขึ้น ทำให้ทั้งไรฝุ่น ทั้งเชื้อรา เติบโตได้เป็นอย่างดี

7.การเปิดให้อากาศระบายเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะในบริเวณที่มีความชื้นสูง เช่น ห้องน้ำ ห้องครัว ห้องนอน ต้องพยายามเปิดให้มีการหมุนเวียน ถ่ายเทอากาศให้มากที่สุด

8.ความชื้นสัมพัทธ์เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึง ความชื้นสัมพัทธ์คืออัตราส่วนของปริมาณน้ำที่มีอยู่ในอากาศต่อปริมาณน้ำอิ่มตัวในอุณหภูมิเดียวกัน หากความชื้นสัมพัทธ์เป็น 100 เปอร์เซนต์ นั่นหมายถึงว่า ณ อุณหภูมินั้น มีปริมาณน้ำเต็มที่แล้ว และในอากาศอบอุ่น จะมีปริมาณน้ำมากกว่าอากาศเย็น ปัญหาในเรื่องนี้จะเกิดขึ้นเมื่ออากาศเย็น ไม่สามารถโอบอุ้มปริมาณน้ำในอากาศไว้ได้มาก มันก็กลายเป็นหยดน้ำออกมา สังเกตได้เมื่อเวลาอากาศร้อน มาเจอกับอากาศเย็น จะมีละอองน้ำเกาะ จุดนี้ทำให้ต้องเพิ่มความระมัดระวังทั้งในบ้าน และการขับรถ ขับเรือ รวมทั้งยานพาหนะอื่น ๆ

9.หากต้องการควบคุมความชื้นภายในตัวบ้านควรอยู่ที่ระดับ 40-60 เปอร์เซนต์ เพราะในระดับความชื้นที่น้อยเกินไป หรือมากเกินไป ก็สามารถส่งผลเสียให้กับร่างกายได้ทั้งนั้น

10.เราสามารถควบคุมความชื้นได้ อาจจะใช้อุปกรณ์วัดระดับความชื้น เครื่องดูดความชื้น หรือเพิ่มความชื้น ต่างก็สามารถหาซื้อมาใช้ได้ทั่ว ๆ ไป แต่ในการเลือกซื้อและนำมาใช้งานก็ควรศึกษาผลดี และผลเสียของอุปกรณ์ดังกล่าวให้ละเอียดรอบคอบเสียก่อน

ที่มา  สนุกออนไลน์

อัพเดทล่าสุด