https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
โรคย้ำคิดย้ำทำ อาการทางจิต คิด-ทำซ้ำ ๆ อันเกิดความจากกลัว MUSLIMTHAIPOST

 

โรคย้ำคิดย้ำทำ อาการทางจิต คิด-ทำซ้ำ ๆ อันเกิดความจากกลัว


4,332 ผู้ชม

โรคย้ำคิดย้ำทำ หรือ obsessive-compulsive disorder (OCD) โรคที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความวิตกกังวลใจ สาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง แล้วมีโอกาสรักษาหายไหม มาคลายข้อสงสัยกัน...


โรคย้ำคิดย้ำทำ อาการทางจิต คิด-ทำซ้ำ ๆ อันเกิดความจากกลัว

พฤติกรรมทำอะไรซ้ำแล้วซ้ำเล่า หรือคิดในเรื่องเดิม ๆ วนไปวนมา อาจทำให้หลายคนนึกสงสัยอยู่ครามครันว่านี่เราป่วยเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำหรือเปล่า เอาเป็นว่าอย่ามัววิตกกังวลใจไปก่อนจะได้ศึกษาความเป็นไปของโรคย้ำคิดย้ำทำให้แน่ชัด แล้วมาดูซิว่าอาการของโรคย้ำคิดย้ำทำเป็นอย่างไร สาเหตุของโรคย้ำคิดย้ำทำเกิดจากจุดไหน และโรคย้ำคิดย้ำทำจะรักษายังไงให้หายขาด

โรคย้ำคิดย้ำทำ คืออะไร
 
          โรคย้ำคิดย้ำทำ หรือ Obsessive-Compulsive Disorder (OCD) เป็นโรคที่ผู้ป่วยมีความคิดซ้ำ ๆ ก่อให้เกิดความรู้สึกวิตกกังวลใจ และต่อยอดมาถึงการตอบสนองทางความคิดด้วยการทำพฤติกรรมซ้ำ ๆ เพื่อลดความวิตกกังวลนั้นให้หายไป 
    
          ทั้งนี้ผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำอาจรู้ตัวดีว่าพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำของตัวเองไม่มีเหตุผล แถมยังทำให้เสียเวลาชีวิตไปกับพฤติกรรมเหล่านั้นไม่น้อย แต่ก็ไม่สามารถหยุดความคิดและการกระทำดังกล่าวได้เลย ส่งผลให้เกิดอาการเครียดจากโรคย้ำคิดย้ำต่อมาอีกทอดหนึ่ง

โรคย้ำคิดย้ำทำ สาเหตุเกิดจากอะไร
          สาเหตุของโรคย้ำคิดย้ำทำ แบ่งออกได้เป็น 2 ปัจจัยใหญ่ ๆ ดังนี้
1. ปัจจัยทางชีวภาพ
    
          - ความผิดปกติของการทำงานของสมอง 
          โดยทางการแพทย์พบว่าผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำมีการทำงานของสมองในส่วน orbitofrontal cortex, cingulate cortex, caudate และ thalamus เพิ่มขึ้น
          - ความผิดปกติของระบบประสาท 
              
          ทางการแพทย์สันนิษฐานว่า ผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำอาจมีกลไกการหลั่งสารสื่อนำประสาทในระบบซีโรโทนินผิดปกติ เนื่องจากพบว่าการรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำด้วยยาแก้โรคซึมเศร้าที่ออกฤทธิ์ต่อระบบซีโรโทนินได้ประสิทธิภาพพอสมควร
          - ด้านพันธุกรรม
          ตามสถิติพบว่า อัตราการเกิดโรคในแฝดไข่ใบเดียวกันสูงถึงร้อยละ 60-90 ในขณะที่ประชากรทั่วไปพบในร้อยละ 2-3 เท่านั้น
2. ปัจจัยด้านพฤติกรรมการเรียนรู้และความกลัว
          โดยเฉพาะสถานการณ์ที่มีเงื่อนไข และความกลัว ซึ่งสามารถแยกประเภทความกลัวได้เป็น 2 ข้อใหญ่ ๆ คือ 
    
          1. กลัวโชคร้าย เช่น กลัวว่าจะปิดบ้านไม่เรียบร้อย กลัวระบบฟืนไฟจะก่อให้เกิดอันตราย จนต้องวนเวียนมาตรวจสอบซ้ำแล้วซ้ำเล่า 
    
          2. กลัวความสกปรก เช่น กลัวล้างมือไม่สะอาด กลัวล้างตัวไม่หมดฟองสบู่ หรือเดินผ่านกองขี้หมาก็ต้องยกเท้าขึ้นมาดูซ้ำแล้วซ้ำอีก เป็นต้น

โรคย้ำคิดย้ำทำ อาการทางจิต คิด-ทำซ้ำ ๆ อันเกิดความจากกลัว

อาการโรคย้ำคิดย้ำทำ เช็กจากอะไร
          โรคย้ำคิดย้ำทำ อาการจะถูกแยกออกเป็น 2 กลุ่มตามชื่อของโรคดังนี้
1. โรคย้ำคิด หรืออาการย้ำคิด (Obsession) 
          ผู้ป่วยจะมีความคิด ความรู้สึก ที่เกิดจากแรงผลักดันภายใต้จิตใจหรือจินตนาการ และโดยส่วนมากก็มีรากฐานมาจากความกลัว ซึ่งแม้ผู้ป่วยจะตระหนักดีว่าเรื่องที่คิดซ้ำ ๆ นั้นไร้สาระ ไม่มีเหตุผล แต่ก็ไม่สามารถหยุดความคิดได้ เช่น คิดวนไปวนมาว่าไม่ได้ล็อกประตู ไม่ได้ปิดเตาแก๊ส ไม่ได้ปิดสวิชท์ไฟ ซึ่งก่อให้เกิดความกังวลใจ ความไม่สบายใจ และความรำคาญใจต่อความคิดของตัวเองเป็นอย่างมาก
2. อาการย้ำทำ (Compulsion)
          เป็นพฤติกรรมที่ต่อยอดมาจากความคิดซ้ำ ๆ ผลักดันให้ผู้ป่วยตอบสนองความคิดเหล่านั้นในรูปแบบของการกระทำ เช่น เดินไปปิดสวิทช์ไฟตัวเดิมไม่ต่ำกว่า 3 รอบ ตรวจสอบประตูลูกบิดครั้งแล้วครั้งเล่า เพื่อลดทอนความวิตกกังวลใจ และป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ร้ายและอันตรายต่อตัวเอง ซึ่งพฤติกรรมที่ทำดังกล่าวมักจะเป็นพฤติกรรมที่เรียกว่า “เยอะ” จนเกินไป และดูไม่ค่อยสมเหตุสมผล
          ทว่าในการวินิจฉัยโรคย้ำคิดย้ำทำ ผศ.นพ.สเปญ อุ่นอนงค์ จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ทางการแพทย์จะถือว่าป่วยเป็น โรคย้ำคิดย้ำทำก็ต่อเมื่ออาการย้ำคิดย้ำทำนั้นเป็นมาก จนทำให้เกิดปัญหาหนึ่งใน 3 อย่างต่อไปนี้
          1. อาการเป็นมาก เลิกคิดเลิกทำไม่ได้จนทำให้รู้สึกเป็นทุกข์ทรมานมาก
          
          2. อาการเป็นมากจนทำให้เสียงานเสียการ เพราะมัวแต่ย้ำคิดย้ำทำ หรือต้องคอยหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะมากระตุ้นให้เกิดอาการย้ำคิด
          
          3. อาการต่าง ๆ ทำให้ต้องทำอะไรที่อาจก่อให้เกิดปัญหาตามมาได้ เช่น ต้องกินเหล้ากินเบียร์เพื่อลดความเครียด โกรธและทำร้ายตัวเอง หรือบางรายเกิดอาการซึมเศร้า อยากตาย หรือพยายามฆ่าตัวตายก็มี
โรคย้ำคิดย้ำทำ เกิดกับใครได้บ้าง
          อย่างที่บอกว่าอัตราการเกิดโรคย้ำคิดย้ำทำในประชากรทั่วไปมีอยู่ประมาณร้อยละ 2-3 และตามสถิติพบว่าจะเริ่มมีอาการโดยเฉลี่ยที่อายุประมาณ 20 ปี อีกทั้งยังมีความเสี่ยงเท่ากันทั้งเพศชายและเพศหญิง
          นอกจากนี้ยังพบร่วมกับโรคจิตเวชอื่น ๆ ได้ เช่น โรคซึมเศร้า มีความเสี่ยงเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำสูงถึงร้อยละ 60-90 รวมไปถึงโรคกลัวสังคม โรควิตกกังวลทั่วไป โรคแพนิค และการดื่มสุราก็อาจทำให้เสี่ยงต่อโรคย้ำคิดย้ำทำได้เช่นกัน

โรคย้ำคิดย้ำทำ อาการทางจิต คิด-ทำซ้ำ ๆ อันเกิดความจากกลัว

โรคย้ำคิดย้ำทำ การรักษาทำอะไรได้บ้าง
           ผศ.นพ.สเปญ อุ่นอนงค์ จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แนะนำว่า การรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำปัจจุบันมีวิธีรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำอยู่ 2 วิธีหลัก ๆ ดังนี้

1. การรักษาด้วยพฤติกรรมบำบัด

          การรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำด้วยพฤติกรรมบำบัดนั้นอาศัยหลักที่ว่า เมื่อเราพบกับสิ่งที่เรากลัว และเกิดความกลัวขึ้นแล้วเรารีบหนี ความกลัวก็จะหายไปพักหนึ่ง แต่เมื่อเราพบกับสิ่งนั้นอีกเราก็จะอยากหนีอีก แต่ถ้าเราเข้าหาและเผชิญหน้ากับสิ่งที่เรากลัวเป็นเวลานานๆ (exposure) เมื่อเวลาผ่านไปความกลัวที่เกิดขึ้นจะค่อย ๆ ลดลงเอง เพราะเราจะเกิดความชินชาขึ้น (habituation หรือ desensitization) เช่น ให้ผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำ ที่กลัวปิดน้ำไม่สนิทจงใจเปิดน้ำให้หยดแหมะ ๆ ทิ้งไว้แล้วออกไปทำงานเลย ผู้ป่วยจะเกิดความกังวลตะหงิด ๆ อยากกลับไปปิดน้ำอยู่พักใหญ่ ๆ แล้วความกังวลจะค่อย ๆ ลดลงจนลืมไปเอง ตอนเย็นกลับบ้านมาค่อยไปปิด ถ้าทำทุกวัน ๆ จะใช้เวลาเพียง 1 สัปดาห์ ผู้ป่วยก็จะเลิกกลัวการปิดน้ำไม่สนิทได้ หลักในการปฏิบัติมีอยู่ 3 ข้อ คือ
          1. ค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มจากสิ่งที่ผู้ป่วยกลัวไม่มากนักก่อน เพื่อให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้ว่าวิธีรักษาแบบนี้ได้ผลจริง แล้วค่อยฝึกกับเรื่องที่ผู้ป่วยกลัวมากขึ้นเรื่อย ๆ
          2. ให้เวลาให้นานพอ ควรให้เวลาฝึกแต่ละครั้งประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อให้มีเวลานานพอที่จะเกิดความชินชาขึ้น
          3. ทำซ้ำ ๆ อย่างต่อเนื่องทุกวัน หรืออย่างน้อยวันเว้นวันจนกว่าจะหาย
          นอกจากการฝึกโดยการเข้าหาและเผชิญหน้ากับสิ่งที่ผู้ป่วยกลัวแล้ว ผู้ป่วยยังจะต้องงดเว้นการย้ำทำในขณะฝึกด้วย (response prevention) เช่น เมื่อให้ผู้ป่วยฝึกโดยการปิดเตาแก๊ส โดยไม่ต้องปิดถังแก๊สในช่วงกลางวัน ระหว่างฝึกผู้ป่วยจะต้องไม่มาคอยตรวจตราห้องครัว และต้องไม่คอยถามคนใกล้ชิดเช่น “แก๊สคงไม่รั่วใช่ไหม” เพื่อให้เขาตอบว่า "ไม่รั่วหรอก" ในกรณีนี้ถ้าผู้ป่วย "เผลอถาม" ให้คนใกล้ชิดตอบว่า "หมอไม่ให้ตอบ" เพื่อให้ผู้ป่วยต้องฝึกที่จะทนกับความกังวลที่เกิดขึ้น จนเกิดความชินชาขึ้นในที่สุด
          การรักษาโดยการใช้พฤติกรรมบำบัดนั้นไม่ค่อยสนุกเท่าไร เพราะผู้ป่วยต้องทนทำสิ่งที่ตนกลัว แต่ถ้าผู้ป่วยยอมร่วมมือ การรักษามักได้ผลดี อาการต่าง ๆ จะหายได้อย่างรวดเร็วและหายได้อย่างค่อนข้างถาวร ที่สำคัญคือ ต้องลงมือทำจริง ๆ และให้เวลากับการฝึกแต่ละครั้งนานพอ
       
2. การใช้ยา
          โดยทั่วไปยาที่ใช้รักษาโรคย้ำคิดย้ำทำได้ผล คือ ยาในกลุ่มยาแก้โรคซึมเศร้า ชนิดที่ออกฤทธิ์กับสารสื่อนำประสาทในสมองที่เรียกว่า ซีโรโทนิน (serotonin) ซึ่งแบ่งประเภทได้ 3 กลุ่มดังนี้
          1.ยาแก้ซึมเศร้า ยาที่รักษาได้ผลดีใน OCD เป็นยาที่จัดอยู่ในกลุ่มที่ออกฤทธิ์ต่อระบบซีโรโทนิน เช่น clomipramine และยาในกลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitors (SSRI) ทุกตัว ได้แก่ fluoxetine, fluvoxamine, paroxetine, sertraline และ escitalopram 
    
          โดยทั่วไปมักใช้ในขนาดที่ใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้า ส่วนอาการข้างเคียงที่อาจพบได้แก่ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ
          2. ยาคลายกังวล ในผู้ป่วยที่มีความวิตกกังวลอยู่สูงอาจใช้ยาในกลุ่ม benzodiazepine ในระยะสั้น ๆ แต่ยาในกลุ่มนี้ไม่มีผลในการรักษาอาการย้ำคิดหรืออาการย้ำทำ
          3. ยาต้านโรคจิต ในผู้ป่วยบางรายที่ได้รับการรักษาด้วยยาแก้ซึมเศร้าแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณาให้ยาต้านโรคจิต เช่น risperidone ควบคู่ไปกับยาแก้ซึมเศร้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา
          ทว่าในการรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำ ต้องใช้ยาในขนาดค่อนข้างสูงและใช้เวลารักษานาน โดยทั่วไปถ้าจะรักษาด้วยยาเพียงอย่างเดียว จะต้องให้ผู้ป่วยรับประทานยาอยู่นานประมาณ 1-2 ปี แต่การรักษาด้วยยาก็มีข้อดีคือ สะดวกกว่าการฝึก 
    
          ในบางรายที่มีอาการมาก ๆ และไม่กล้าฝึกแพทย์อาจให้การรักษาด้วยยาไปก่อน เมื่ออาการย้ำคิดย้ำทำน้อยลง และผู้ป่วยพร้อมที่จะฝึกค่อยให้ผู้ป่วยเริ่มฝึกก็ได้ 
          อย่างไรก็ตามคนที่เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำไม่ได้เป็นบ้า หรือมีอาการทางจิตที่น่าหวาดระแวง เพราะผู้ป่วยยังรู้ว่าอะไรจริงอะไรไม่จริง ผู้ป่วยรู้ว่าสิ่งที่ตนกลัวนั้นไร้สาระ แต่หยุดการย้ำคิดและอดที่จะกลัวไม่ได้ และไม่กล้าฝืนที่จะไม่ย้ำทำ ดังนั้นการให้ความร่วมมือกับการรักษาไม่ว่าจะด้วยวิธีไหน ๆ ก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดที่จะทำให้ผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำหายขาด และหลุดพ้นจากสถานะผู้ป่วยได้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่มา  กระปุกออนไลน์ 


อัพเดทล่าสุด