นิสัย 5 อย่างที่จะทำให้สมองมีความสุข


1,946 ผู้ชม

อเล็กซ์ คอร์บ (Alex Corb) ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาทแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลิส (UCLA) แนะนำวิธีง่ายๆ ที่จะทำให้สมองมีความสุขและรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นในแต่ละวัน...


นิสัย 5 อย่างที่จะทำให้สมองมีความสุข

อเล็กซ์ คอร์บ (Alex Corb) ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาทแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลิส (UCLA) แนะนำวิธีง่ายๆ ที่จะทำให้สมองมีความสุขและรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นในแต่ละวัน

ข้อหนึ่ง ฟังเพลงที่คุณเคยฟังในช่วงที่มีความสุขที่สุดของชีวิต –เสียงดนตรีสามารถกระตุ้นความทรงจำเกี่ยวกับสถานที่หรือสิ่งแวดล้อมเก่าๆ ที่เคยฟังเพลงนั้นได้ เป็นผลจากการเชื่อมโยงกันของต่อมประสาท ฮิปโปแคมปัส ที่ทำหน้าที่ควบคุมความต้องการทางเพศและประสบการณ์ (เป็นส่วนประกอบหนึ่งของระบบลิมบิก --ระบบประสาทอยู่บริเวณสมองส่วนหน้า)

ข้อสอง ยิ้ม – สมองก็ไม่ได้ฉลาดเสมอไปหรอกนะ คุณอาจยิ้มได้เพราะว่ามีความสุข แต่ในเมื่อมันคือการทำงานทั้งสองทาง บางครั้งจึงต้องยิ้มเพื่อให้สมองเดาไปเองว่า ฉันกำลังยิ้มเพราะฉันกำลังมีความสุข สิ่งนี้คือการทำงานของ ไบโอฟีดแบ็ก (biofeedback) (การทำงานของสมอง ที่สามารถรับรู้ได้ว่าขณะนั้นร่างกายมีสภาพอย่างไร และมันจะตัดสินออกมาผ่านความความรู้สึกของเราต่อสถานการณ์นั้นๆ)

ข้อสาม ตั้งเป้าหมายที่จะทำให้คุณมองโลกเปลี่ยนไป – เมื่อรู้สึกเครียด หรือกดดัน ลองคิดเกี่ยวกับเป้าหมายระยะยาวของตัวเอง มันจะช่วยให้การรับรู้ของประสาทรับรู้ของสมองปล่อย “โดปามีน (dopamine)” ออกมาเพื่อทำให้คุณรู้สึกดีและถูกกระตุ้นให้ขับเคลื่อนได้มากขึ้น (โดปามีน คือฮอร์โมนหนึ่งที่เป็นสารสื่อประสาททำให้เรารู้สึกตื่นตัว กระฉับกระเฉง มีสมาธิมากขึ้น)

ข้อสี่ นอนหลับให้พอ –บางทีความเครียดก็ทำให้นอนไม่หลับ วิธีแก้ คือจัดที่นอนให้สบายและทำแสงให้สลัวมากที่สุด เข้านอนเวลาเดียวกันในทุกๆ คืน นั่นจะทำให้สมองสามารถเตรียมพักผ่อนได้ดีที่สุด และอย่าลืมนึกขอบคุณตัวเองในแต่ละวันก่อนนอนทุกคืนก็ช่วยให้คุณหลับสบายขึ้น

ข้อห้า อย่าผัดวันประกันพรุ่ง – บางทีเราก็รู้สึกเครียดและหัวหมุนเพราะงานที่เข้ามาชนพร้อมกันหลายอย่าง และมันจะทำให้ สมองส่วนหน้า (หรือprefrontal cortex– ทำหน้าที่ควบคุมการใช้เหตุผล ยั้งคิด แยกแยะและจัดระบบข้อมูลต่างๆ) ทำงานอย่างหนักและสับสนจนไม่ทำอะไรไปตามแผน จึงต้องลดความเครียดลง เริ่มทำสิ่งเล็กๆที่ทำได้ง่ายที่สุดก่อน และจากนั้นค่อยจัดการงานที่เหลืออย่างเป็นระบบ แค่นี้ก็จะทำให้ไม่ต้องหัวหมุนและไม่ต้องผัดวันประกันพรุ่งได้แล้ว

ที่มา: https://time.com/4149478/happiness-neuroscience-simplicity/?xid=time_socialflow_twitter  , สนุกออนไลน์

อัพเดทล่าสุด