ใครมี “สิทธิ” ออกเสียงประชามติ และเฉพาะ “คะแนน” ของใครที่จะถูกนับ ต้องมีคุณสมบัติอะไร ต้องเตรียมตัวอย่างไร ใครมีสิทธิออกเสียง


1,337 ผู้ชม

ใครมี “สิทธิ” ออกเสียงประชามติ และเฉพาะ “คะแนน” ของใครที่จะถูกนับ


ใครมี “สิทธิ” ออกเสียงประชามติ และเฉพาะ “คะแนน” ของใครที่จะถูกนับ ต้องมีคุณสมบัติอะไร ต้องเตรียมตัวอย่างไร ใครมีสิทธิออกเสียง

ในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 โดยผู้มีสิทธิออกเสียงทุกคน จะต้องไปเตรียมตัวไปออกเสียงใน 2 ประเด็นคำถาม คือ

  1. จะให้ความ “เห็นชอบ” หรือ “ไม่เห็นชอบ” กับร่างรัฐธรรมนูญฯ ซึ่งยกร่างขึ้นมาโดยคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ที่มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน “ทั้งฉบับ” หรือไม่
  2. จะให้ความ “เห็นชอบ” หรือ “ไม่เห็นชอบ” กับประเด็นเพิ่มเติม (คำถามพ่วง) ที่เสนอโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มีใจความโดยสรุปว่า จะให้ ส.ว. ชุดแรกที่มาจากการสรรหาโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ทั้งหมด มีส่วนในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี กับ ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้ง ในช่วงระยะเวลา 5 ปี หลังจากร่างรัฐธรรมนูญฯ นี้มีผลบังคับใช้หรือไม่

คำถามที่น่าสนใจก็คือ ใครจะมีสิทธิร่วมออกเสียงประชามติเพื่อกำหนดอนาคตประเทศครั้งนี้บ้าง

ควรรู้ไว้ว่า การออกเสียงประชามติครั้งนี้ ซึ่งเป็นครั้งที่ 2 ในประวัติศาสตร์ของไทย ใช้อำนาจตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 (พ.ร.บ.ประชามติ) เป็นหลัก

ใครมี “สิทธิ” ออกเสียงประชามติ และเฉพาะ “คะแนน” ของใครที่จะถูกนับ ต้องมีคุณสมบัติอะไร ต้องเตรียมตัวอย่างไร ใครมีสิทธิออกเสียง

โดยคุณสมบัติและคุณสมบัติต้องห้าม ของ “ผู้มีสิทธิออกเสียง” จะมีอยู่ด้วยกัน 7 ข้อ ดังนี้

  1. มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี (นับถึงวันออกเสียง)
  2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันออกเสียง
  3. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตออกเสียงมาแล้วไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันออกเสียง
  4. ไม่เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
  5. ไม่อยู่ระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
  6. ไม่ถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
  7. ไม่วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

เป็นคุณสมบัติทั่วๆ ไป คล้ายกับการเข้าคูหาหย่อนบัตรครั้งก่อนๆ แต่สิ่งที่แตกต่างออกไปจากการใช้พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 (พ.ร.บ.เลือกตั้ง) ทั้งในการเลือกตั้ง ส.ส. ทั่วประเทศ เมื่อปี 2550 และปี 2554 และการเลือกตั้ง ส.ว. ทั่วประเทศ เมื่อปี 2551 และปี 2557

นั่นคือ จะไม่มีการ “ออกเสียงล่วงหน้า” หรือ “ออกเสียงนอกราชอาณาจักร”

มีเพียงการ “ออกเสียงนอกเขตจังหวัด” ซึ่งต้องมายื่นขอลงทะเบียนทะเบียนล่วงหน้าผ่านทางเว็บไซต์ election.dopa.go.th และผ่านทางไปรษณีย์ ที่หมดเขตไปแล้วตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2559 แต่ยังเหลือวิธีการไปยื่นขอลงทะเบียนด้วยตัวเองที่สำนักงานเขต/ที่ว่าการอำเภอ ซึ่งสามารถทำได้จนถึงวันที่ 7 กรกฎาคม 2559

โดยการออกเสียงประชามติจะมีขึ้นพร้อมกันวันเดียว คือวันที่ 7 สิงหาคม 2559 ระหว่างเวลา 08.00–16.00 น. เท่านั้น

“ทุกเสียงมีความหมาย” แต่บางคนอาจไม่มีสิทธิได้ออกเสียง

ทั้งๆ ที่ กรธ. ของนายมีชัย ยกร่างรัฐธรรมนูญฯ ให้การเลือกตั้ง ส.ส. ใช้บัตรเพียงใบเดียวไปคิดคำนวณทั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตและ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งหลายคนวิเคราะห์ว่าจะทำให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอ่อนแอ เพราะจะทำให้ ส.ส.กระจายไปตามพรรคต่างๆ จนได้รัฐบาลผสมหลายพรรค คล้ายกับรัฐบาลในอดีตที่ไม่มีเสถียรภาพ ด้วยข้ออ้างที่ว่าเพื่อให้ “ทุกเสียงมีความหมาย”

แต่การที่ไม่กำหนดให้มีการ “ออกเสียงล่วงหน้า” หรือ “ออกเสียงนอกราชอาณาจักร” ไว้ใน พ.ร.บ.ประชามติ จะทำให้บางเสียง “ไร้ความหมาย” แน่ๆ เพราะไม่สามารถไปใช้สิทธิในวันดังกล่าวได้ หรือไม่มีแม้แต่สิทธิในการออกเสียง (เว้นแต่จะบินกลับประเทศไทย)

โดยการเลือกตั้ง ส.ส. ทั่วประเทศครั้งหลังสุด ในปี 2554 มีการยื่นลงทะเบียนขอออกเสียงล่วงหน้า ถึง 2.81 ล้านคน และขอออกเสียงนอกราชอาณาจักร 1.47 แสนคน

คนไทยที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศบางคน เมื่อทราบว่าจะไม่สามารถออกเสียงนอกราชอาณาจักรได้ ก็พยายามเคลื่อนไหวเพื่อขอให้ได้มีสิทธิในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฯ ครั้งนี้ ทั้งผ่านการติดแฮชแท็ก #AllThaiVote รวมถึงสร้างแคมเปญรณรงค์ในเว็บไซต์ change.org “We want to VOTE”แม้จะรู้ว่ายากที่จะเกิดความเปลี่ยนแปลงได

ใครมี “สิทธิ” ออกเสียงประชามติ และเฉพาะ “คะแนน” ของใครที่จะถูกนับ ต้องมีคุณสมบัติอะไร ต้องเตรียมตัวอย่างไร ใครมีสิทธิออกเสียง

เพราะก่อนหน้านี้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีด้านกฎหมาย เคยให้เหตุผลของการไม่ใส่การ “ออกเสียงนอกราชอาณาจักร” ไว้ใน พ.ร.บ.ประชามติว่า “เพราะสิ้นเปลืองงบประมาณและเสียเวลา จะเกิดความยุ่งยาก โดยเฉพาะการแจกตัวร่างรัฐธรรมนูญ ที่ต้องแจกให้ได้ 80 เปอร์เซ็นต์ของครัวเรือน เพราะถ้าไปต่างประเทศก็แจกไม่ได้อยู่ดี แล้วการมาใช้สิทธิก็คงลำบาก ก็ให้ตัดออกไป”

“โนโหวต” ไร้ค่า นับคะแนนเฉพาะ “เห็นชอบ-ไม่เห็นชอบ”

อีกประเด็นที่จะทำให้บางเสียง “ไร้ความหมาย” นั่นคือการไปออกเสียงนอกเหนือจากตัวเลือกว่า “เห็นชอบ” Vote YES หรือ “ไม่เห็นชอบ” Vote NO โดยใบบัตรออกเสียงประชามติที่มีการเผยแพร่มาก่อนหน้านี้ ก็มีเพียง 2 ช่องดังกล่าวเท่านั้น ต่างกับการเลือกตั้งทั่วไปที่มีช่อง “ไม่ประสงค์ลงคะแนน” หรือ NO Vote ให้ผู้มีสิทธิออกเสียงได้เลือกตั้ง

แต่สำหรับการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฯ นี้ หากทำสัญลักษณ์อย่างอื่นนอกเหนือจากกากบาท และนอกจากช่องที่ทำเครื่องหมาย จะถูกระบุให้เป็น “บัตรเสีย” ทั้งหมด

ในการเลือกตั้ง ส.ส. ทั่วประเทศ เมื่อปี 2554 มีผู้มาออกเสียงไม่ประสงค์ลงคะแนน ถึง 1.41 ล้านคน และทำบัตรเสียถึง 2.03 ล้านบาท

แต่การทำประชามติครั้งนี้ จะมีเฉพาะ Vote YES หรือ Vote NO เท่านั้น ฝ่ายไหนได้คะแนนมากกว่า ชนะ!

ใครมี “สิทธิ” ออกเสียงประชามติ และเฉพาะ “คะแนน” ของใครที่จะถูกนับ ต้องมีคุณสมบัติอะไร ต้องเตรียมตัวอย่างไร ใครมีสิทธิออกเสียง

ทั้งๆ ที่ในร่างรัฐธรรมนูญฯ ฉบับที่ต้องการประชามติเห็นชอบเพื่อรับรองความชอบธรรมและให้มีผลบังคับใช้นี้ มองว่าเสียง NO Vote มีความหมาย ถึงขั้นกำหนดไว้ในมาตรา 85 วรรคสอง ถ้าผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตที่จะถือว่าได้รับเลือกตั้ง นอกจากจะต้องมีคะแนนสูงสุดในเขตนั้นๆ แล้ว ยังจะต้องมีคะแนนสูงกว่า No Vote ด้วย

เลยเกิดเป็นความลักลั่นย้อนแย้ง รัฐธรรมนูญที่บอกว่า NO Vote ก็มีความหมาย เกิดจากการทำประชามติที่บอกว่า NO Vote ไม่มีความหมาย

เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะวิธีการนับคะแนนนี้ถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 มาตรา 39/1 วรรคสิบสอง ที่ระบุว่า ให้ถือคะแนนเสียงข้างมากระหว่างคะแนนเสียงเห็นชอบกับไม่เห็นชอบเป็นเกณฑ์” ซึ่งถ้อยคำนี้ เกิดขึ้นจากผลการประชุมร่วมกันระหว่าง คสช. กับคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2559 เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2557 เดิมให้มีการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฯ ที่ กรธ. ยกร่างด้วย

เหตุที่ต้องใช้วิธีคิดผลการออกเสียงประชามติเช่นนี้ นายวิษณุอธิบายว่า คำว่า “คะแนน” ที่เติมลงไปนั้นหมายความว่าเอาเฉพาะสิ่งที่เป็นคะแนน ดังนั้น “บัตรเสีย” หรือ “โนโหวต” ถือว่าไม่ใช้ “สิทธิ” ไม่ถือเป็นคะแนน ซึ่งเป็นสากลทั่วโลกว่ากฎหมายเลือกตั้งระบุว่าบัตรเสียไม่นับเป็นคะแนน ส่วนคำว่าคะแนนเสียงข้างมากแปลว่าฝ่ายที่มาก (ไม่ใช่เสียงเกินครึ่ง) ของผู้ออกเสียงลงประชามติ

“ยกตัวอย่างได้ว่า คนไทย 67 ล้านคน มีสิทธิเพราะอายุเกิน 18 ปี มีจำนวน 50 ล้านคน ออกมาใช้สิทธิ 30 ล้านคน แต่เมื่อลงคะแนนเห็นชอบ 12 ล้านเสียง ไม่เห็นชอบ 10 ล้านเสียง บัตรเสีย 8 ล้านเสียง รวมเป็น 30 ล้านเสียง แต่ถ้าไม่มีคำว่าคะแนน ที่เห็นชอบ 12 ล้านถือว่าไม่ชนะ เพราะเป็นเสียงข้างมากของผู้มาใช้สิทธิ ทั้งที่ผู้ใช้สิทธิเสียงข้างมากจะต้องมี 15 บวก 1

“แต่เมื่อเป็นคะแนน จึงนับเฉพาะที่เป็นคะแนน ที่เหลือเพียงแต่เห็นชอบ 12 ล้าน กับไม่เห็นชอบ 10 ล้าน เมื่อ 12 ล้านมากกว่า 10 ล้าน ถือเป็นเสียงข้างมาก และในบัตรลงคะแนนจะมีคำว่าเห็นชอบกับไม่เห็นชอบเท่านั้น โดยจะไม่มีช่องไม่ออกเสียง” นายวิษณุกล่าว

การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฯ ครั้งนี้ จึงไม่ได้พิเศษเฉพาะบรรยากาศการเมืองที่ไม่เอื้อหรือไม่เปิดกว้างให้มีการรณรงค์อย่างเต็มที่เท่านั้น (เพราะมีคำสั่งและประกาศ คสช. เป็นกรอบจำกัดอยู่) วิธีการลงคะแนนและวิธีการนับคะแนนยังแตกต่างจากการเข้าคูหาครั้งก่อนๆ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งทั่วประเทศของ ส.ส. หรือ ส.ว. จึงควรจะพิจารณาข้อมูลต่างๆ ให้ดี ก่อนจะตัดสินใจ Vote YES หรือ Vote NO ด้วยเหตุผลประการใดก็สุดแล้วแต่

เพราะการกากบาท 2 ครั้งในบัตรออกเสียงประชามติ ในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 นี้ จะมีผลต่ออนาคตของประเทศไทยอย่างแน่นอน

ที่มา thaipublica.org

อัพเดทล่าสุด